การเทรด คืออะไร เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที ประสบการณ์จริง

เรื่องPatihanUhas

การเทรด คืออะไร

สารบัญ

ทำความรู้จัก การเทรด คืออะไร

การเทรด คืออะไร? หลายคนอาจจะได้ยินคำนี้อยู่บ่อยๆ แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าเป็นการซื้อ-ขายอย่างไร จะได้เงินจริงไหม มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงไหน Trade Forex คืออะไร จะเหมือนกับการเทรดทั่วไปหรือไม่ การเทรดมีกี่แบบ ถ้าอยากรู้แล้วว่าคืออะไร มารู้จักการเทรด จากบทความนี้ได้เล

การเทรด คืออะไร?

การเทรด คือ การเก็งกำไร โดยการซื้อมา ขายไปเพื่อเก็งกำไรส่วนต่าง ด้วยการซื้อสินค้าอย่างหนึ่งในราคาที่ถูก และนำมาขายในราคาที่แพงกว่าผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้ได้กำไรส่วนต่างที่เกิดขึ้น เป็นการซื้อ-ขาย ระยะสั้น ๆ เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาที่มีความผันผวนไม่คงที่ตลอดเวลา เช่น การเทรด Forex (Trade Forex) การเทรดหุ้น หรือทองคำ นั่นเอง หลายคนคงจะได้ยินคำว่าเทรดกันบ่อยๆ และอาจจะมองว่าเป็นอะไรที่ซับซ้อน แต่ความเป็นจริงแล้ว ถ้าเข้าใจพื้นฐานตั้งแต่แรกว่าการเทรด คือการเก็งกำไรจากส่วนต่างราคา ก็จะเข้าใจตลาดว่าเมื่อราคาลงมาสู่ในระดับที่หลายคนเชื่อว่าราคาถูก ก็จะมีคนเข้าซื้อเป็นจำนวนมาก และเมื่อราคาขึ้นไปในราคาที่สูงขึ้น ก็จะต้องมีคนขายเพื่อทำกำไร ส่วนใครที่ไปซื้อในราคาแพงๆ และเมื่อราคาลดก็จะขายไม่ได้ เพราะถ้าขายก็จะขาดทุน จึงเลือกถือเก็บเอาไว้รอจนกว่าราคาจะขึ้นกลับไปในราคาที่ซื้อ หรือที่เรียกว่า ติดดอยนั่นเอง

การเทรด Forex จะสามารถทำการซื้อขายได้ทั้งสองทาง ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง

  1. Buy คือ การทำกำไรขาขึ้น หากมองว่าราคาจะขึ้นให้เปิดออเดอร์ Buy
  2. Sell คือ การทำกำไรขาลง หากมองว่าราคาจะขึ้นให้เปิดออเดอร์ Sell

 

การเทรด คืออะไร

Trade Forex คืออะไร?

Trade Forex  คือ การเก็งกำไร ของนักเก็งกำไร เพราะสามารถทำการซื้อขายได้ตลาด 24 ชั่วโมง ออกคำสั่งง่ายเพียงปลายนิ้ว มีเงินน้อยก็เทรดได้ หากมี Leverage ช่วย การเทรด Forex จึงเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเก็งกำไรชื่อชอบเป็นอย่างมาก การเทรด Forex จึงเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาในทุกวันนี้  

คำว่าเทรด มาจากคำว่า Trade ซึ่งมีความหมายว่า การซื้อขาย การเทรด Forex คือ การซื้อขาย Forex โดยหวังผลกำไร จากการขึ้นลงของกราฟราคา  

และคำว่า เทรดเดอร์ มาจากคำว่า Trader ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่ทำการซื้อขาย หากเป็นคำว่า Forex Trader หมายถึง ผู้ที่ทำการซื้อขายในตลาด Forex นั่นเอง  

ซึ่งหลายคนอาจจะนิยมใช้คำว่า เทรดเดอร์ Forex, นักเก็งกำไร Forex, นักซื้อขาย Forex แต่จะไม่นิยมใช้คำว่า เล่น Forex เพราะฟังดูแล้ว เหมือนนักพนัน หรือคนที่ไม่ค่อยจริงจังกับการซื้อขายเท่าไหร่ เพราะมันคือคำว่า “เล่น” และคำว่า “นักลงทุน Forex” ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ เพราะการซื้อขาย Forex เป็นการทำกำไรจากส่วนต่างของกราฟราคา เราไม่ได้นำเงินไปลงทุน หรือต่อยอดใดๆ คำว่านักลงทุน Forex ก็ไม่เป็นที่ยมสักเท่าไหร่  

การเทรดมีกี่แบบ

การเทรด Forex ก็มีเทคนิคกลยุทธ์ที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งทุกกลยุทธ์นั้นสามารถทำกำไรได้ แต่ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความถนัดของแต่ละบุคคลมากกว่า ไปดูกันเลยว่าการเทรดนั้นมีกลยุทธ์แบบใดบ้าง แล้วเราเหมาะกับการใช้กลยุทธ์แบบนี้หรือไม่

Swing Trading การย่อซื้อ

การเทรด Forex ก็มีเทคนิคกลยุทธ์ที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งทุกกลยุทธ์นั้นสามารถทำกำไรได้ แต่ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความถนัดของแต่ละบุคคลมากกว่า ไปดูกันเลยว่าการเทรดนั้นมีกลยุทธ์แบบใดบ้าง แล้วเราเหมาะกับการใช้กลยุทธ์แบบนี้หรือไม่

Day Trading การเล่นให้จบในวันเดียว

Day Trading เป็นกลยุทธ์ที่จะมีการซื้อและขายให้จบภายในวันเดียว เทรดเดอร์จะไม่มีการถือออเดอร์ข้ามคืน Day Trading จึงเหมาะกับเทรดเดอร์ที่มีเวลาคอยดูตลาดทั้งวัน เพราะต้องคอยติดตามการเคลื่อนไหวของราคาตลอดเวลา

Momentum Trading การเล่นตามรอบโมเมนตัม

Momentum Trading เป็นกลยุทธ์ที่เล่นตามโมเมนตัมของราคา คือจะเป็นการดูอัตราเร่งของราคาว่าดูมีแนวโน้มที่จะไปทิศทางเดียวกันต่อไปได้เรื่อย ๆ หรือไม่ คือเมื่อราคาแข็งแกร่งมากพอแล้วจนกำหนดทิศทางได้ การเคลื่อนไหวของราคาก็จะเป็นไปตามทิศทางดังกล่าวในช่วงเวลาหนึ่งเลย  ซึ่งอัลกอรึทึมของโปรแกรมเทรดจะช่วยระบุสัญญาณความแข็งแกร่งได้อย่างชัดเจน ช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจเทรดได้เร็วขึ้น

Scalping การเก็บกำไรในเวลาสั้นๆ

Scalping เป็นกลยุทธ์การเก็บกำไรที่สั้นมาก จะเน้นการทำกำไรจากการแกว่งตัวสั้นๆ ของราคา และไม่ได้ดู

ผลตอบแทนเป็น % เทรดหลายครั้งในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เป็นการกองและทบยอดกำไรเล็กๆ จนมีผลกำไรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อเวลาผ่านไป แต่ต้องใช้ความเข้าใจขั้นสูง และตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว

เทรดเดอร์ เทรดอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้ว เทรดเดอร์ เรามักจะใช้กับผู้ที่ซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตราสารหนี้, หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, Cryptocurrency หรือ Forex เป็นต้น เราจะเรียกว่า เทรดเดอร์ หรือ นักเก็งกำไร ก็ได้ซึ่งมีความหมายในทางการปฏิบัติใกล้เคียงกัน คือ ซื้อมาขายไป แล้วหวังผลกำไรจากความแตกต่างของราคา หรือ ซื้อมาถูกๆ แล้วขายไปในราคาที่แพงกว่านั่นเอง  

 

เทรดเดอร์ มีกี่ประเภท ในการวิเคราะห์ราคา

1. เทรดเดอร์ วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การเทรด คืออะไร

 

เทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยฐาน (Fundamental Analysis) จะนำข้อมูลหลายๆ อย่างมาเพื่ออ้างอิงความเป็นไปได้ ต้องอาศัยข้อมูลภาวะทางเศรษฐกิจ CEO ของบริษัทว่ามีความสามารถขนาดพาบริษัทโตไปมากกว่านี้หรือไม่ การเมืองและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังศึกษาผลประกอบการ เช่น อัตราการเติบโตในอดีตเพื่อคาดคะเนแนวโน้มในอนาคต แล้วนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประเมินราคากับหลักทรัพย์นั้นๆ ว่าควรจะมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น  

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

บริษัทท่องเที่ยว A ก่อตั้งได้ 10 ปี กำไรเติบโตทุกปี ตอนนี้ หุ้น บริษัท A อยู่ที่ราคา 10 บาท และบริษัทมีผลกำไร 1 บาทต่อหุ้น เท่ากับว่า ถ้ายังกำไรแบบนี้อยู่อีก 10 ปี ถ้าซื้อหุ้นตอนนี้ที่ราคา 10 บาท จะเท่ากับว่า 10 ปีข้างหน้าจะได้ผลกำไรจากหุ้น 10 บาท หรือ 10 ปีคืนทุนนั้นเอง  

 

บริษัทท่องเที่ยว B ก่อตั้งได้ 10 ปี กำไรเติบโตทุกปี ตอนนี้ หุ้น บริษัท A อยู่ที่ราคา 10 บาท และบริษัทมีผลกำไร 0.1 บาทต่อหุ้น เท่ากับว่า ถ้ายังกำไรแบบนี้อยู่อีก 100 ปี ถ้าซื้อหุ้นตอนนี้ที่ราคา 10 บาท จะเท่ากับว่า 100 ปีข้างหน้าจะได้ผลกำไรจากหุ้น 10 บาท หรือ 100 ปีคืนทุนนั้นเอง  

 

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานทำให้เห็นว่า บริษัท A และ B อยู่หมวดอุตหกรรมท่องเที่ยวเหมือนกัน ราคาหุ้นก็ 10 บาทเท่ากัน แต่ความสามารถในการทำกำไรต่างกัน 10 เท่า ระยะเวลาคืนทุนก็ต่างกัน 10 เท่า ทำให้หุ้นราคา 10 บาท ของบริษัท A ดูเหมือนจะคุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่าบริษัท B  

 

ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน มีรากฐานมาจากแนวความคิดที่ว่า “มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value)” โดยการวิเคราะห์ทางพื้นฐานมีขั้นตอนวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อยู่หลักๆ 3 ขั้นตอน

  1. วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analysis) วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก
  2. วิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis) เวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์จากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม ตลอดจนอนาคตของอุตสาหกรรมว่าจะมีการเติบโตอย่างไร
  3. วิเคราะห์บริษัท (Company Analysis) โดยจะเน้นวิเคราะห์ประเภทของบริษัทและประเภทของหลักทรัพย์ โดยจะวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) และเชิงปริมาณ(Quantitative Analysis)

 

ตัวอย่าง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

ตัวอย่าง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ที่นักลงทุนหลายคนนำไปใช้วิเคราะห์บนตลาดจริง

 

ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์เศรษฐกิจ

วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก ว่ามีเศรษฐกิจโลกตอนนี้ มีแนวโน้มอย่างไร น่าสนใจหรือไม่ ถ้าน่าสนใจ นักลงทุนจะไปวิเคราะห์ต่อในข้อ 2. แต่ถ้าไม่น่าสนใจ นักลงทุนจะพักการลงทุนไปก่อน

 

ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์อุตสาหกรรม

วิเคราะห์อุตสาหกรรม นักลงทุนจะมองหาอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะเติบโตได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ตอนนี้โลกของเรากำลังประสบปัญหาโลกร้อน นักลงทุนก็จะมองหาอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะเติบโตอย่าง อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด มากกว่าสนใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมฟอสซิล ถ่านหิน แบบดั่งเดิม เป็นต้น

 

ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์บริษัท

วิเคราะห์บริษัท เมื่อนักลงทุนตัดสินใจได้แล้วว่าจะลงทุนในอุตสาหกรรมอะไร นักลงทุนจะเจาะลึกลงไปว่า ในอุตสาหกรรมนี้ มีบริษัทใดบ้าง และแต่ละบริษัทนั้นมีวิสัยทัศน์อย่างไร ใครคือผู้บริหาร มีงบการเงินเป็นอย่างไร เป็นต้น เมื่อเจอบริษัทที่ถูกใจ นักลงทุนก็จะเลือกที่จะนำเงินไปซื้อหุ้นในบริษัทนั้นๆ

 

เทรดเดอร์ในตลาด Forex ส่วนใหญ่ ไม่นิยมวิเคราะห์กราฟราคาด้วยปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากว่าการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานค่อนข้างต้องใช้เวลา เทรดเดอร์ในตลาด Forex ส่วนใหญ่เป็นนักเก็งกำไรที่ต้องการความรวดเร็ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคจึงตอบโจทย์มากกว่า แต่เทรดเดอร์หลายคนก็เอาการวิเคราะห์ข่าวมาร่วมด้วย ด้วยการดูข่าวจาก forexfacetory.com แล้วนำตัวเลขนั้นมาช่วยในการวิเคราะห์ทิศทางของราคา  

 

2. เทรดเดอร์ วิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

การเทรด คืออะไร

 

การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เทรดเดอร์ในตลาด Forex มักนิยมใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค มากกว่าการวิเคราะห์ในรูปแบบอื่นๆ เพราะการวิเคราะห์ทางเทคนิคสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก เหมือนนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อาจจะซื้อขายตาม แนวรับ แนวต้าน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการเทรดของเทรดเดอร์แต่ละคน

 

โดยแนวคิดของการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีอยู่ด้วยกัน 3 แนวคิดได้แก่

  1. ราคาจะเคลื่อนที่ตามแนวโน้มเดิมไปเรื่อยๆ จนกระทั้งหมดแนวโน้มราคาถึงจะเปลี่ยนแนวโ้น้ม
  2. ข้อมูลทุกอย่างจะสะท้อนมาในรูปแบบกราฟราคา
  3. พฤติกรรมของราคาหุ้นจะเคลื่อนที่ตามแนวโน้มเดิมซ้ำๆ

ดังนั้นการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นเปรียบเสมือนการวิเคราะห์จิตวิทยาตลาด วิเคราะห์ด้วยการคำนวณค่าสถิติ ความน่าจะเป็น ของคณิตศาสตร์เข้าร่วม  

 

การวิเคราะห์เทคนิคค่อนข้างเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากสำหรับเทรดเดอร์ในตลาดฟอเร็กซ์ ไม่ว่าจะวิเคราะห์แบบเน้นใช้ Indicators หรือการวิเคราะห์ด้วยการดูกราฟแท่งเทียน หรือ Price Action สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิค  

 

ทำไม การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ได้รับความนิยม

  1. มีความแม่นยำในระดับหนึ่ง เนื่องจากว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคเปรียบเสมือนเปรียบเสมือนการวิเคราะห์จิตวิทยาตลาด วิเคราะห์ด้วยการคำนวณค่าสถิติ ความน่าจะเป็น ของหลักคณิตศาสตร์
  2. ใช้ข้อมูลน้อย มีความรวดเร็วในการหาข้อมูล เนื่องจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้ข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นหลักคณิตศาสตร์
  3. ใช้หลักคณิตศาสตร์ช่วยในการวิเคราะห์ ทำให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากยิ่งขึ้น
  4. สามารถแปลข้อมูลในการวิเคราะห์เป็น EA Forex ให้ซื้อขายอัตโนมัติได้
  5. เหมาะกับตลาด Forex เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง มีหลายกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์นิยมใช้ในการเทรดสั้น

 

เครื่องมือของนักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

 

3. เทรดเดอร์ ที่ไม่มีการวิเคราะห์ หรือ นักพนัน

การเทรด คืออะไร

 

เทรดเดอร์ในตลาด Forex ส่วนใหญ่เป็น นักเก็งกำไร Forex แต่เทรดเดอร์ที่ไม่มีการวิเคราะห์ ไม่มีการวางแผนการแผน คนกลุ่มนี้มักถูกเรียกว่า “นักพนัน” คือการซื้อโดยไม่มีหลักการ ไม่มีเหตุผล ซื้อขายเพราะคิดว่าราคาน่าจะขึ้นหรือลง

 

แต่เทรดเดอร์บางรายอาจจะเป็นเทรดเดอร์สายวิเคราะห์ทางเทคนิคแต่เกิดความโลภ จนซื้อขายโดยไม่มีการวางแผน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “ผีพนันเข้าสิง” แม้จะซื้อขายด้วยการวางแผนมาตลาด แต่ถ้าหากไม่วางแผนเพียงแค่ครั้งเดียวก็อาจจะทำให้เงินลงทุนของคุณเป็น 0 ได้เลย

 

เหตุผลที่นักเก็งกำไร เลือกตลาด Forex

1. สามารถซื้อขายได้ 24 ชั่วโมง

5 วันต่อสัปดาหร์ สามารถเลือกเองได้ว่าจะทำการเทรดช่วงไหน เวลาเท่าไหร่ เพราะตลาดนี้เปิดรอให้นักเก็งกำไร เข้ามาสร้างรายได้ไม่มีขีดจำกัด ด้วยการเปิดตลาดทั้ง 5 วันต่อสัปดาห์นี้

 

2. ออกคำสั่งง่ายๆ ผ่านปลายนิ้ว

ถ้าจะไปซื้อสินค้าประเภทอื่น เพื่อทำกำการเก็งกำไรอาจจะต้องยุ่งยากในการเลือกซื้อสินค้า และจะต้องวางแผนต่ออีกว่าสินค้านั้นจะขายออกหรือไม่ แต่การเก็งกำไรในตลาด Forex ไม่ว่าราคาในระดับใด ก็จะมีคนพร้อมที่จะซื้อหรือขายในทุกช่วงราคา แล้วก็ทำการออกคำสั่งซื้อขายผ่านปลายนิ้วได้ง่า ๆ ด้วยมือหรือคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องรถติด นับว่าสะดวกสบายไม่น้อยเลย

 

3. ไม่ต้องสต๊อกสินค้า

สินค้าประเภทอื่นอาจจะต้องมีสต๊อกสินค้าเอาไว้เพื่อขายต่อ และถ้าขายไม่ออกก็คงจะต้องนั่งดูสินค้าเพื่อทำใจ แต่ในตลาด Forex ไม่ต้องสต๊อกสินค้าใด ๆ แค่เทรดถูกทางก็ปิดทำกำไร หรือถ้าผิดทางก็ตัดขายทุนแค่เพียงเล็กน้อย ออเดอร์ไหนที่ดูแล้วไม่สร้างผลกำไรก็สามารถปิดได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องปล่อยไว้ค้างสต๊อก

 

4. ไม่ต้องใช้เงินทุนเยอะ

ถ้าเป็นตลาดหุ้น หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ จะเก็บกำไรเล็กน้อยเพื่อให้ได้รายได้ตามที่ต้องการ อาจจะต้องใช้เงินทุนมากมาย แต่การเทรด Forex ใช้เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำกำไรได้ ทั้งนี้อยู่ที่ความรู้และประสบการณ์ของนักเก็งกำไรเอง

 

5. มีสภาพคล่องสูง

ตลาด Forex เป็นตลาดใหญ่ และได้รับความนิยมจากนักเก็งกำไรทั่วโลก จึงมีสภาพคล่องสูง ในทุกระดับราคามีผู้ที่พร้อมจะซื้อหรือจะขายตลอดแน่นอน และไม่ต้องห่วงว่าจะมีนายทุนปั่นราคาอีกด้วย