Fibonacci คืออะไร Fibonacci Retracement ใช้อย่างไร

เรื่องPatihanUhas

Fibonacci คืออะไร วิธีใช้ Fibonacci ใช้เทรด Forex อย่างไร ซึ่งเทรดเดอร์ Forex อาจจะนิยมใช้ Fibonacci Retracement ในการเทรด แต่ Fibonacci Retracement คือประเภทหนึ่งของ Fibonacci เท่านั้นเอง

 

จริงๆ แล้ว Fibonacci มีหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ Retracement, Time Zone, Fan, Arcs และ Expansion แต่ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ Retracement เราจึงเห็นคำว่า Fibonacci Retracement อยู่จำนวนมาก

 

Fibonacci คืออะไร

Fibonacci หรือ ฟิโบ คือ อินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด Forex และตลาดหุ้นทั่วโลกในการใช้วิเคราะห์กราฟราคา โดยหลักการวิเคราะห์ของ Fibonacci เป็นการวิเคราะห์ทิศทางของกราฟราคา ด้วยหลัก แนวรับและแนวต้าน โดยตัวเลขมหัศจรรย์

โดยเฉพาะเพื่อ Fibonacci Retracement ที่เทรดเดอร์หลายคนนิยมใช้ในการวิเคราะห์กราฟราคาเป็นอย่างมาก โดยเทรดเดอร์ Forex นิยมใช้ Fibonacci Retracement หาจุดพักตัวของราคา จุดกลับตัวของราคา จุดทำกำไรและจุดหยุดขาดทุน

ประวัติ Fibonacci

Leonardo Fibonacci

Leonardo Fibonacci (ลีโอนาร์โด ฟีโบนักชี) เป็นผู้คิดค้นแนวคิดของ Fibonacci (ฟีโบนักชี) โดยตัวเขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่เมืองปิซ่า ประเทศอิตาลี เกิดในช่วงปลายทศวรรษที่ 12 ประมาณปี ค.ศ. 1170 – 1250  เขายังมีชื่ออื่นๆ เช่น เลโอนาร์โด ปีซาโน (Leonardo Pisano) แต่ในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักในชื่อ Fibonacci ถือว่าเขาคือ นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น

 

บิดาของ Leonardo Fibonacci (ลีโอนาร์โด ฟีโบนักชี) คือ กูกลีเอลโม วิลเลียม (Guglielmo William) อาชีพศุลการักษ์ ในสมัยนั้น เมืองบูเกีย (Bugia) เป็นเมืองท่าอยู่บริเวณแอฟริกาเหนือ Fibonacci ได้ร่วมเดินทางมาอยู่กับพ่อของเขาด้วยตั้งแต่เด็ก ซึ่งในตอนนั้นเองเขาจึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ‘ระบบเลขอาราบิก’

 

หลังจาก Leonardo Fibonacci ได้เรียนรู้ระบบเลขอาราบิกแล้ว เขารู้สึกว่า ระบบเลขอาราบิก เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าเลขโรมัน เขาจึงตัดสินใจออกเดินทางไปคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนกับนักคณิตศาสตร์อีกคน ซึ่งเป็นชาวอาหรับ

 

และได้เดินทางกลับมาในบ้านเกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1200 และ ปี ค.ศ. 1202 ในตอนนั้นเขาอายุได้ประมาณ 32 ปี เขาได้เผยแพร่สิ่งที่เขาศึกษามาในหนังสือ Liber Abaci โดยชื่อภาษาไทยว่า คัมภีร์แห่งการคำนวณ

 

Liber Abaci

อ้างอิงข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

 

Fibonacci (ฟีโบนักชี) โด่งดังเป็นอย่างมากถึงขั้นได้รับเกียรติให้เป็นพระราชอาคันตุกะของจักรพรรดิเฟรดริกที่ 2 (Emperor Frederick II)

อ้างอิงเนื้อหาจาก วิกิพีเดีย

 

ตัวเลข Fibonacci

ตัวเลข Fibonacci ถูกคิดค้นเมื่อทศวรรษที่ 13 จากแนวคิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น รูปแบบเปลือกหอยทาก รูปแบบของฟ้าแลบ คิดค้นออกมาเป็นสัดส่วนจนได้สัดส่วนที่เรียกว่า Golden Ratio หรือ “สัดส่วนทองคำ

ตัวเลข Fibonacci

ภาพจาก www.companyfolders.com

 

ตัวเลข Fibonacci ที่ได้มาคือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233….. ไม่มีที่สิ้นสุด

 

หลักวิธีคิดตัวเลข Fibonacci คือ นำตัวเลขตัวข้างหน้า 2 ตัวมาบวกกัน จะได้ตัวเลขปัจจุบัน

  • 1, 1, 2 (เกิดจาก 1+1)
  • 3 (เกิดจาก 2+1)
  • 5 (เกิดจาก 2+3)
  • 8 (เกิดจาก 3+5)
  • 13 (เกิดจาก 5+8)
  • 21 (เกิดจาก 8+13)
  • 34 (เกิดจาก 13+21)
  • 55 (เกิดจาก 21+34)
  • 89 (เกิดจาก 34+55)
  • 144 (เกิดจาก 55+89)
  • 233 (เกิดจาก 89+144)…

 

คุณสมบัติน่าทึ่งของตัวเลข Fibonacci

ตัวเลข Fibonacci ที่ได้มาจากตัวอย่างข้างบนคือ คือ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233….. ไม่มีที่สิ้นสุด เราจะนำตัวเลขเหล่านี้มาคำนวณ

  • เลข Fibonacci ตัวหน้า หารด้วย เลข Fibonacci ตัวหลัง มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 0.618 เสมอ เช่น 144/233 = 0.618
  • เลข Fibonacci ตัวหลัง หารด้วย เลข Fibonacci ตัวหน้า มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 1.618 เสมอ เช่น 233/144 = 1.618
  • เลข Fibonacci ตัวหน้า หารด้วย เลข Fibonacci ตัวหลัง 2 อันดับถัดไป มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 0.382 เสมอ เช่น 89/233 = 0.382
  • เลข Fibonacci ตัวหน้า หารด้วย เลข Fibonacci ตัวหลัง 2 อันดับก่อนหน้า มีค่าออกมาใกล้เคียงกับ 2.618 เสมอ เช่น 89/34 = 2.618

 

สัดส่วนที่ออกมา  0.618, 1.618, 0.382 และ 2.618 เป็นสัดส่วนที่พบในธรรมชาติ โดยสัดส่วนที่สำคัญคือ 0.618 และ 1.618 มีชื่อเรียกว่า Golden Ratio หรือ “สัดส่วนทองคำ”

 

วิธีใช้ Fibonacci ในตลาด Forex

วิธีใช้ Fibonacci ก็มีความเกี่ยวข้อง และเป็นศัพท์ทางตลาด Forex เช่นกัน เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสามารถดูกราฟ หรือวิเคราะห์กราฟในการเทรดได้ง่ายขึ้น โดยประเภทของ Fibonacci ค่า Fibo ที่นิยมมากที่สุดในตลาด Forex คือ Fibonacci Retracement โดยไปที่แถบเมนูบน Insert > Fibonacci > Fibonacci Retracement ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพูดถึง Fibonacci Retracement

Fibonacci Retracement

 

การลาก Fibonacci Retracement

1. วิเคราะห์ แนวโน้มก่อนลาก Fibonacci

ให้เราวิเคราะห์ก่อนว่าตอนนี้แนวโน้มคือ แนวโน้มอะไร ก่อนจะตัดสินใจลาก Fibonacci Retracement หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ให้เรานำค่า 0 ไว้ที่จุดต่ำสุด แล้วนำค่า 100 ไว้ที่จุดสูงสุด

 

ตัวอย่าง แนวโน้มขาขึ้น

Fibonacci Retracement

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ให้เรานำค่า 100 ไว้ที่จุดต่ำสุด แล้วนำค่า 0 ไว้ที่จุดสูงสุด

 

ตัวอย่าง แนวโน้มขาลง

Fibonacci Retracement

 

2. การปรับค่า Fibonacci Retracement

ก่อนใช้งานเราจะมาปรับค่า Fibonacci Retracement กันก่อน เพื่อให้การอ่านกราฟสะดวกมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนแรกให้เราดับเบิลคลิกที่เส้นประ Fibonacci จนเกิดจุด 3 จุดขึ้นมาบริเวณเส้นประ หลังจากนั้น คลิกขวาที่จุด 3 จุด แล้วเลือก Fibo properties… ปรับค่าที่ Fibo Levels ในช่อง Description โดยเพิ่ม =%$ ไว้ข้างหลังตัวเลข (ตามภาพข้างล่าง) เพื่อให้ตำแหน่งของ Fibonacci Retracement แสดงราคา ณ ตรงนั้นด้วย

ปรับค่า Fibonacci Retracement

 

หลังเพิ่ม =%$ ข้างหลังค่า Fibonacci ลงไปในช่อง Description ของ Fibonacci Retracement แล้วตัวอินดิเคเตอร์จะแสดงตำแหน่งราคาบน Fibonacci Retracement ด้วย เพื่อให้เราดูกราฟราคาได้ง่ายมากยิ่งขึ้นและรู้ว่าตำแหน่งแต่ละค่าของ Fibonacci อยู่ที่ราคาเท่าไหร่

ปรับค่า Fibonacci Retracement

3. การวิเคราะห์ Fibonacci เบื้องต้น

การวิเคราะห์ Fibonacci เบื้องต้น ให้เราดูค่า Fibonacci ที่สำคัญ คือ 61.8, 50.00 และ 38.2 เป็นเป้าหมายการพักตัวของกราฟราคา

  • ค่า 61.8 คือ จุดพักตัวที่ 1 โดยทั่วไปแล้ว ราคามักจะมีการพักตัว บริเวณนี้
  • ค่า 50.0 คือ จุดพักตัวที่ 2 เป็นเป้าหมายการพักตัวจุดที่ 2 หากราคาผ่านจุดพักตัวที่ 1 ลงมาได้
  • ค่า 38.2 คือ จุดพักตัวที่ 3 ปกติแล้วราคามักจะไม่ลงมาพักตัวลึกถึงจุดที่ 3 หากอยู่ในแนวโน้มที่แข็งแกร่ง แต่ถ้าหากราคาเคลื่อนมาถึงจุดนี้ ให้เราเตรียมใจไว้ว่าราคาอาจจะมีโอกาสกลับตัวสูง

ปรับค่า Fibonacci Retracement

 

ค่า 61.8, 50.00 และ 38.2 คือ ค่าเป้าหมายการพักตัวของกราฟราคา (จากภาพข้างบน) หากราคาพักตัวเรียบร้อยแล้ว และปรับระดับขึ้นมาให้เราตั้งเป้าหมายที่ราคาจะขึ้นไปต่อที่ค่า 161.8 แต่อย่างไรก็ตามเราควรตั้งเป้าหมายราคาที่ค่า 100.0 ก่อน เพราะถือว่าเป็นจุดสูงสุดเก่า ถ้าราคาสามารถทะล ค่า 100.0 ไปได้มีโอกาสสูงที่ราคาจะไปถึงค่า 161.8

 

จากตัวอย่างข้างล่าง เห็นได้ชัดว่า ราคาลงมาพักตัวที่ค่า 38.2 แล้วขึ้น ไปที่ทะลุที่ค่า 161.8 จากตัวอย่างนี้เห็นได้ว่าการเคลื่อนที่ของราคาเป็นไปตามกฎของตัวเลข Fibonacci

ปรับค่า Fibonacci Retracement

 

แต่ถ้าหากราคาทะลุจุดพักตัวทั้ง 3 จุดนี้ไปได้ ให้เราคาดการณ์ว่าราคาอาจจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มในเร็วๆนี้ แต่ในบางครั้งราคาอาจจะมาพักตัวลึกถึงค่า 23.6 หรือ 0.0 แต่ถ้าราคาได้ทะลุค่า 0.0 ลงมา อาจจะทำให้ราคามีการเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงได้ จากภาพข้างล่าง

ปรับค่า Fibonacci Retracement

 

4. การใช้ Fibonacci Retracement ขั้นสูง

การใช้ Fibonacci Retracement ขั้นสูง ใน Forex แบบละเอียด พร้อมค่าที่ปรับใหม่ โดยวิธีการปรับค่า สามารถเลื่อนกลับไปในวิธีการใน ข้อ 2. ได้เลยครับ

การใช้ Fibonacci Retracement

 

เมื่อเราตั้งค่า Fibonacci Retracement เราจะเห็นได้ว่า เส้นของ Fibonacci Retracement มีจำนวนมากขึ้นเป็นอย่างมาก ในบทความนี้ผมจะขออธิบายทีละโซนเลยนะครับ

การใช้ Fibonacci Retracement

 

1. ค่า Fibonacci โซน Target

การวิเคราะห์ค่า Fibonacci โซน Target หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ให้เราตั้งเป้าหมายราคา ไว้ที่ค่าข้างล่างนี้

 

2 โซน Target นี้เป็นเป้าหมายของราคาที่เราคิดว่า ราคาจะมีการปรับตัวมาถึง เมื่อราคามาถึงค่า 161.8 คือ เป้าหมายแรก แต่ถ้าราคามีท่าทีจะขึ้นไปต่อ ให้เราตั้งเป้าหมาย ไว้ที่โซน Target ที่ 2 บนค่า 261.8 ได้เลย

2.618 261.8=%$ Target
1.618 161.8=%$ Target

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ให้ตั้งเป้าหมายราคาไว้ที่ค่าข้างล่างนี้

2 โซน Target นี้เป็นเป้าหมายของราคาที่เราคิดว่า ราคาจะมีการปรับตัวมาถึง เมื่อราคามาถึงค่า 161.8 คือ เป้าหมายแรก แต่ถ้าราคามีท่าทีจะลงต่อ ให้เราตั้งเป้าหมาย ไว้ที่โซน Target ที่ 2 บนค่า 261.8 ได้เลย

-0.618 161.8=%$ Target
-1.618 261.8=%$ Target

 

2. ค่า Fibonacci โซน Divergence Zone

ค่า Fibonacci โซน Divergence Zone เป็นโซนที่ราคามักจะมี Divergence เกิดขึ้น ให้เราระวังให้ดี โดยทั่วไปราคาเมื่อมาถึงโซนนี้ อาจจะมี Divergence เกิดขึ้น อาจจะเป็นสัญญาณการกลับตัวของกราฟราคาได้

 

โดยเมื่อราคา เข้าสู่โซน Divergence เรามักจะใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ เช่น MACD, RSI หรือ Stochastic Oscillator เพื่อใช้ในการคอนเฟิร์มว่า มี Divergence เกิดขึ้นหรือไม่

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ให้เราดูโซน Divergence Zone ไว้ที่ค่าข้างล่างนี้

โซน Divergence ระหว่างค่า 116 ถึง 127 ให้เราคอยสังเกตุไว้ให้ดี อาจจะมี Divergence เกิดขึ้นได้ หากมี Divergence เกิดขึ้น หมายความว่า ราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่ ราคาอาจจะมีการปรับตัวลง หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มไปเลยก็ได้

1.270 127=%$ Divergence Zone
1.160 116=%$ Divergence Zone

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ให้เราดูโซน Divergence Zone ไว้ที่ค่าข้างล่างนี้

โซน Divergence ระหว่างค่า 116 ถึง 127 ให้เราคอยสังเกตไว้ให้ดี อาจจะมี Divergence เกิดขึ้นได้ หากมี Divergence เกิดขึ้น หมายความว่า ราคาที่กำลังปรับตัวลงอยู่ ราคาอาจจะมีการปรับตัวขึ้น หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มไปเลยก็ได้

-0.160 116=%$ Divergence Zone
-0.270 127=%$ Divergence Zone

 

3. ค่า Fibonacci โซน Low

หากว่า ราคาเดินทางมาถึง โซน Low ให้เราคาดการณ์ว่าราคากำลังอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มในเร็วๆ นี้

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ค่า 0.00 คือ จุดต่ำสุด หากราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่ มีการพักตัวลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม อาจหมายถึง ราคาที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น อาจเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงได้

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ค่า 0.00 คือ จุดสูงสุด หากราคาที่กำลังปรับตัวลงอยู่ อยู่ๆราคาดันขึ้นมาสูงกว่าจุดสูงสุดเดิม อาจจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มก็เป็นได้ อาจเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงได้

0.000 0.00=%$ Low

 

4. ค่า Fibonacci โซน High

หากว่า ราคาเดินทางมาถึ งโซน High ให้เราคาดการณ์ว่าราคาอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปต่อ และอาจจะเคลื่อนที่ไปต่อถึง โซน Target

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ค่า 100 คือ จุดสูงสุด หากราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่ ปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าจุดสูงสุดเดิม ให้เราตั้งเป้าหมายราคา ที่โซน Target ได้เลย

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ค่า 100 คือ จุดต่ำสุด หากราคาที่กำลังปรับตัวลงอยู่ ปรับตัวลงไปต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม ให้เราตั้งเป้าหมายราคา ที่โซน Target ได้เลย

1.000 100=%$ High

 

5. ค่า Fibonacci โซน Retracement Zone

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ราคามักจะลงมาพักตัว ที่ค่าข้างล่างนี้

0.786 78.6=%$ Retracement Zone
0.681 61.8=%$  Retracement Zone

 

หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง โดยทั่วไปแล้ว ราคามักจะขึ้นมาพักตัว ที่ค่าข้างล่างนี้

0.382 38.2=%$ Retracement Zone
0.236 23.6=%$ Retracement Zone

นี่คือ วิธีใช้ Fibonacci Retracement ในรูปแบบของผมเอง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีการใช้ Fibonacci Retracement ในรูปแบบที่แตกต่างกัน คุณผู้ฟังลองนำเอาไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองได้เลยนะครับ Uhas ยังมีบทความน่าสนใจเกี่ยวกับการเทรด รวม ความรู้เบื้องต้น เทคนิคต่าง ๆ ในการเทรด พร้อมคำแนะนำดี ๆ อีกมากมาย สามารถติดตามอ่านได้ที่นี่ Uhas.com