Ichimoku (อิชิโมกุ) คืออะไร และวิธีใช้ใน Forex

เรื่องPatihanUhas

Ichimoku

Ichimoku (อิชิโมกุ) เป็น อินดิเคเตอร์ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด Forex โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น อาจจะเป็นเพราะว่า Ichimoku (อิชิโมกุ) ถูกคิดค้นขึ้นโดยคนญี่ปุ่น แต่นั่นคงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้อินดิเคเตอร์ Forex ตัวนี้ ได้รับความนิยมไปอย่างแพร่หลายดั่งในทุกวันนี้ สาเหตุที่ทำให้อินดิเคเตอร์ตัวนี้ได้รับความนิยมก็คงเป็นเพราะ Ichimoku (อิชิโมกุ)

 

นั้นมีความแม่นยำที่เชื่อถือได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ จึงทำให้อินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่เพียงในประเทศญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น ดังนั้นในบทความนี้ผมจะพาไปรู้จักกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ) พร้อมวิธีการใช้เบื้องต้นในตลาด Forex

 

ก่อนที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ) ผมอยากให้เทรดเดอร์ศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากว่าอินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้ค่อนข้างยากและเทรดเดอร์จะต้องมีความรู้เรื่องอื่นๆก่อนที่จะทำความรู้จัก Ichimoku (อิชิโมกุ) ดังนั้นผมจึงขอแนะนำเนื้อหาที่เทรดเดอร์ต้องอ่านก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ)

 

Ichimoku (อิชิโมกุ) คืออะไร

https://www.youtube.com/watch?v=h9U8EFkxVpw

Ichimoku (อิชิโมกุ) คืออินดิเคเตอร์ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในวงการ Forex และตลาดหุ้น ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ 1950 โดนนาย Goishi Hosoda เป็นนักข่าวชาวญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญในตลาดการเงินสำหรับหนังสือพิมพ์ “Ichimoku Kinko Hyo” ใช้เวลา 30 ปีในการพัฒนาเทคนิคต่างๆ ก่อนที่จะปล่อยออกมาให้แก่ผู้คนใช้จริง

 

Ichimoku (อิชิโมกุ) ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้สมาธิในการศึกษาสักระยะหนึ่งเพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ค่อนข้างยากต่อการเข้าใจสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ ดังนั้นในบทความนี้ผมจะอธิบายในภาษาง่ายๆเหมือนภาษาที่เราคุยกันเผื่อเทรดเดอร์จะเข้าใจมากยิ่งขึ้น

 

Ichimoku (อิชิโมกุ) มีเครื่องมือย่อยอยู่ 5 อย่าง ได้แก่

  1. Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น)
  2. Kijun Sen (คิจุน เซ็น)
  3. Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ)
  4. Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี)
  5. Chinkou Span (ชินโคว สแปน)

5 ข้อนี้ เป็นสิ่งที่เราจะใช้ในการทำความเข้าใจและใช้ในการวิเคราะห์กราฟในตลาด Forex ด้วย Ichimoku (อิชิโมกุ)

 

การเรียกใช้อินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ)

เข้าไปที่ โปรแกรม MetaTrader 4 หรือโปรแกรม MetaTrader 5 เข้ามาที่แท็บเมนู Insert > Indicators > Trend > Ichimoku Kinko Hyo

Ichimoku

 

ค่าดั่งเดิมในโปรแกรมแรกเริ่มมีค่า Tenkan-sen: 9, Kijun-sen: 26, Senkou Span B: 52 ตามภาพ ให้กด “OK”

Ichimoku

 

เมื่อกดตกลง หรือ OK แล้วจะมีหน้าตาตามภาพข้างล่าง แบบนี้ถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นตอนการเรียกใช้

Ichimoku

 

ทำความเข้าใจอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ)

สิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์ต้องรู้ว่าค่าเหล่านี้คืออะไร Tenkan-sen: 9, Kijun-sen: 26, Senkou Span B: 52

Ichimoku

 

  • ค่าแรก Tenkan-sen: 9 คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 9 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 9 วัน
  • ค่าที่สอง  Kijun-sen: 26 คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 26 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 26 วัน

หลักการวิเคราะห์สำหรับเส้น 2 ค่านี้ก็เหมือนกับการใช้เส้น Moving Average ทั่วไป ที่ใช้การตัดกันของเส้นเป็นสัญญาณการซื้อขาย

 

ส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ Ichimoku

เส้นเหล่านี้เป็นเส้นส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ Ichimoku โดยสีเหล่านี้เป็นสีค่ามตราฐานที่มากับโปรแกรม เทรดเดอร์อย่าเพิ่งไปปรับสีตามใจตัวเองนะครับ เพราะอาจจะเข้าใจยากมากขึ้น เพราะบางคำศัพท์ผมจะเรียกชื่อสีเส้นมากว่าชื่อของเส้นนั้นๆ จะทำให้เทรดเดอร์เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

Ichimoku

 

  1. เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น)
  2. เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น)
  3. ก้อนเมฆสีชมพู Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Down Kumo
  4. ก้อนเมฆสีส้ม Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Up Kumo
  5. เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน)

 

ความหมายแต่ละส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ Ichimoku

Ichimoku

 

1. เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น)

เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น) คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 9 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 9 วัน

 

2. เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น)

เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น) คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 26 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 26 วัน

 

3. ก้อนเมฆสีชมพู Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Down Kumo

ก้อนเมฆสีชมพู Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Down Kumo หากจินตการตามรูปภาพเราจะรู้ทันทีว่าส่วนใดที่เราเรียกว่าก้อนเมฆ เนื่องจากว่าในอินดิเคเตอร์ Ichimoku จะประกอบไปด้วยเส้นต่างๆมากมาย

 

แต่ในภาพมีสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่เส้นลักษณะคล้ายก้อนเมฆเราจึงเรียกสิ่งนั้นว่า “ก้อนเมฆ” และถ้าหากก้อนเมฆเป็นสีชมพู หมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ดูแค่สีของก้อนเมฆพอนะครับ อย่าไปดูตำแหน่งของก้อนเมฆว่าขึ้นหรือลงเพราะอาจจะเกิดความสับสนได้ ท่องแค่ว่าสีชมพูคือแนวโน้มขาลง

 

ยิ่งก้อนเมฆมีความหนามากเท่าไหร่อาจจะบอกได้ว่าราคานั้นมีการเคลื่อนที่ในแนวโน้มที่แข็งแรง

 

4. ก้อนเมฆสีส้ม Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Up Kumo

ก้อนเมฆสีส้ม Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Up Kumo หากจินตการตามรูปภาพเราจะรู้ทันทีว่าส่วนใดที่เราเรียกว่าก้อนเมฆ เนื่องจากว่าในอินดิเคเตอร์ Ichimoku จะประกอบไปด้วยเส้นต่างๆมากมาย

 

แต่ในภาพมีสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่เส้นลักษณะคล้ายก้อนเมฆเราจึงเรียกสิ่งนั้นว่า “ก้อนเมฆ” และถ้าหากก้อนเมฆเป็นสีส้ม หมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ดูแค่สีของก้อนเมฆพอนะครับ อย่าไปดูตำแหน่งของก้อนเมฆว่าขึ้นหรือลงเพราะอาจจะเกิดความสับสนได้ ท่องแค่ว่าสีส้มคือแนวโน้มขาขึ้น

 

ยิ่งก้อนเมฆมีความหนามากเท่าไหร่อาจจะบอกได้ว่าราคานั้นมีการเคลื่อนที่ในแนวโน้มที่แข็งแรง

 

5. เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน)

เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน) อาจจะดูเหมือนไม่สำคัญแต่จริงๆแล้วสำคัญมากเลยทีเดียวเพราะเส้นสีเขียวเป็นเส้นที่บ่งบอกว่าราคานั้นเคลื่อนที่ในแนวโน้มอย่างแข็งแรงหรือไม่ สมมุติว่าราคามีการเคลื่อนที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างแข็งแรง เส้นสีเขียวจะมีการปรับตัวขึ้นและอยู่ห่างจากราคาจริงมาก และถ้าหากราคาอยู่ในแนวโน้ม Sideway เส้นสีเขียวนี้จะแทบวิ่งติดกับกราฟราคา ตามภาพ

Ichimoku อิชิโมกุ

 

หลักการใช้งานของอินดิเคเตอร์ Ichimoku

1. เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน) ช่วยบอกความแข็งแรงของแนวโน้มได้ ถ้าหากเส้นสีเขียวห่างกราฟราคามาก แนวโน้วนั้นก็จะแข็งแรง หากเส้นสีเขียวติดกราฟราคาหมายความว่าแนวโน้มนั้นไม่แข็งแรงหรือราคาอยู่ในแนวโน้ม Sideway

 

2. หากก้อนเมฆ Senkou Span A และ Senkou Span B เป็นสีส้มหมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หากเป็นสีชมพูหมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ถ้าหากก้อนเมฆยิ่งหนาเท่าไหร่หมายความว่าราคานั้นมีการเคลื่อนที่ในแนวโน้มที่แข็งแรง และเทรดเดอร์สามารถใช้ ก้อนเมฆนี้เป็นแนวรับแนวต้านได้อีกด้วย

 

3. เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น) และ เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น) ให้ความหมายว่าหากเส้นสีแดงอยู่ข้างบนเส้นสีน้ำเงินราคานั้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หากเส้นสีน้ำเงินนั้นอยู่ข้างบนเส้นสีแดงหมายความว่าราคานั้นอยู่ในแนวโน้มขาลง

 

นี่เป็นเพียงเรื่องราวเบื้องต้นเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku เท่านั้น หากเทรดเดอร์สนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Uhas.com