กลยุทธ์ทำกำไร Forex ด้วย Demand Supply Zone

เรื่องPatihanUhas

Demand Supply Zone

กลยุทธ์ทำกำไร Forex ด้วย Demand Supply Zone จาก The Trading Geek เทรดเดอร์ที่มีคนติดตามใน Youtube กว่า 2 แสนคน เขาจะมาเปิดเผยเคล็ดลับการทำกำไรด้วย Demand Supply Zone สไตล์ The Trading Geek

 

กลยุทธ์ทำกำไร Forex ด้วย Demand Supply Zone

การวิเคราะห์จุดเข้าเทรดแบบ Demand Supply Zone คือกลยุทธ์หนึ่งในการเทรดที่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล โดยวิเคราะห์จากความต้องการของผู้คนในตลาดทุน จากพฤติกรรมการซื้อหรือขายใน VOLUME ขนาดใหญ่

 

หลักการเทรดแนว Demand Supply Zone คือหาความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นจากแรงซื้อและแรงขายอย่างรุนแรง

 

Demand และ Supply คืออะไร

Demand Supply Zone

  • Supply หมายถึง อุปทาน หรือ ความต้องการขาย
  • Demand หมายถึง อุปสงค์ หรือ ความต้องการซื้อ

 

การที่จะทำกำไรจากกลยุทธ์ Demand และ Supply สิ่งคุณควรมองหาเมื่อทำการซื้อขาย คือแรงซื้อและแรงขายอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่า “Momentum candle” ดั่งภาพข้างบน

 

Demand Supply Zone

แต่ถ้าแท่งเทียนสีเขียวมีลักษณะเรียงกันไม่สูงแบบนี้ ไม่มี volume ไม่ถือว่าเป็นDemand  เพราะว่ามันเป็นเพียงแค่แรงซื้อเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อตลาดมาก

 

ทำไมเราจึงต้องใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Demand Supply Zone

การเทรดแบบนี้ สามารถสร้างผลกำไรให้เราได้มหาศาล เพราะมันคือการเทรดไปตามเทรนด์หรือผู้มีอิทธิพลในตลาดทุน พวกเขาเหล่านั้นมีเงินและอำนาจ สามารถขับเคลื่อนทิศทางของตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ  ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารที่มีชื่อเสียง หรือกลุ่มสถาบันนักลงทุนที่มีเงินเยอะๆ

 

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอยู่ใน Supply Zone หรือ Demand Zone

Supply Zone คือ เป็นโซนที่ราคามาถึงแล้ว มักจะถูกต้านเอาไว้ได้ (แนวคิดเดียวกับแนวต้าน) เปรียบคือ ราคาเมื่อมาถึงโซนนี้แล้ว มันจะมีแรงขายเข้ามามากขึ้น เพื่อให้ราคาลงต่ำไปอีก

 

Demand Zone คือ เป็นโซนที่ราคามาถึงแล้ว มักจะถูกรับเอาไว้ได้ (แนวคิดเดียวกับแนวรับ) เปรียบคือ ราคาเมื่อมาถึงโซนนี้แล้ว มันจะมีแรงซื้อเข้ามามากขึ้น เพื่อให้ราคาขึ้นสูงไปอีก

 

วิธีเช็คว่า.. เรากำลังอยู่ใน Demand Supply Zone หรือไม่

1. ขั้นตอนแรกคือมองหาแท่งเทียนที่มีโมเมนตัมติดต่อกันอย่างน้อย 3 แท่งขึ้นไป (แท่งเทียนหนาและยาวมี volume)

Demand Supply Zone

 

2. ขั้นตอนที่สอง คือมองหาแท่งเทียน 1แท่งก่อนหน้า ที่จะมีแรงผลักครั้งใหญ่เกิดขึ้น (จากแท่งเทียนโมเมนตัมติดต่อกันอย่างน้อย 3 แท่งขึ้นไปที่กล่าวไปในข้อแรก)

Demand Supply Zone

Demand Supply Zone

 

3. จากนั้นก็ใช้แท่งเทียน แท่งก่อนหน้า เป็นจุดเริ่มต้นทำการลากเส้นไปทางขวามือ จนเกิดเป็นเส้นอุปสงค์หรือ Demand zone

 

Supply zone แนวทางก็เหมือนกับ Demand zone คือการดูที่ volume ของแท่งเทียนสีแดงติดต่อกัน 3 แท่งหรือมากว่านั้น จากนั้นก็ลากเส้นจากแท่งเทียนก่อหน้าไปทางขวามือ เราก็จะได้ Supply zone

Demand Supply Zone

Demand Supply Zone

Demand Supply Zone

Demand Supply Zone

 

จากภาพจะเห็นได้ว่าราคาไม่สามารถทะลุ Supply zone ขึ้นไปได้ กราฟจึงร่วงลงมาอย่างในภาพ

 

Supply zone แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

1. Drop Base Drop คือ ราคาเป็นเทรนขาลง (Drop) มาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว (Base) จากนั้นราคาร่วงลงต่อ (Drop)

Demand Supply Zone

ภาพจาก forexbee.co/drop-base-drop/

 

2. Rally Base Drop คือ ราคาเป็นเทรนขาขึ้น (Rally) มาก่อน แล้วราคาเกิดการพักตัว (Base) จากนั้นราคาร่วงลงต่อ (Drop)

Demand Supply Zone

ภาพจาก forexbee.co

จุดไหนที่ควรเปิดออเดอร์ซื้อ

หลังจากที่เราลากเส้น Demand แล้ว ทีนี้ก็รอให้กราฟมันลงมายังจุด Demand zone จากนั้นเราสามารถทำการเข้าซื้อได้ โดยตั้งค่าซื้อโดยอัตโนมัติ หรือ เข้ามาซื้อเองก็ได้ ….ทั้งนี้ทั้งนั้นกราฟมันก็มีความเสี่ยงที่จะทะลุ Demand zone ลงได้เหมือนกัน

Demand Supply Zone

อย่าพึ่งเข้าซื้อเด็ดขาด ถ้าหากคุณยังไม่เห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้น

 

Demand Supply Zone

แท่งเทียนยาวและหนาถือว่าสัญญานที่ดี ในการบ่งบอกว่า ถึงเวลาที่ควรเข้าซื้อเพราะว่ามีแท่งเทียนมี volume แสดงว่ามีความต้องการซื้อมาก และตรงจุดนี้เราสามารถขี่เทรนด์ขึ้นไป สร้างกำไรได้อย่างมหาศาล

Demand Supply Zone

 

การเทรดสไตล์ของ Trading Geek

  1. Stop loss ที่ Demand Zone
  2. Take profit ที่ Supply Zone

เจ้าของช่อง (Trading Geek) บอกว่า เวลาเขาเทรด เขาต้องการข้อมูลที่มาคอนเฟิร์มกลยุทธ์ supply/demand zone ดังนั้นเขาจึงใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคมาช่วยในการดู ยกตัวอย่างเช่น  Fibonacci

Demand Supply Zone

 

เขารอให้ราคาเคลื่อนตัวลงมาที่ Demand zone

  • Buy เมื่อราคาลงมายัง Demand zone (เส้นสีเขียว เส้นไหนก็ได้ 20 ,50, 61.80 78.60)
  • Take profit เมื่อราคาขึ้นไปยังเส้นที่ (27)

Demand Supply Zone

จะเห็นได้ว่าราคาดรอปลงครั้งแรกเขายังไม่เข้าซื้อ เพราะต้องการมั่นใจมากกว่านี้ พอราคาดรอปลงครั้งที่สองตรง Demand zone เขาจึงได้ทำการเข้าซื้อ เมื่อราคาวิ่งไปที่ 27 เขาก็ได้ทำการ take profit เลย

 

และทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์การเทรดแบบ Demand Supply Zone จากช่อง The Trading Geek

 

Source