เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ในตลาด Forex มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน เมื่อ ศึกษา forex เบื้องต้น มาแล้ว หรือเวลาเทรด forex โบรกไหนดี และหนึ่งใน Indicator ที่ช่วยวิเคราะห์กราฟหุ้นให้กับนักลงทุนซึ่งส่วนใหญ่นักเทรดนิยมเลือกใช้เป็นจำนวนมากนั่นก็คือ CCI นั่นเอง วันนี้เราจะพามาทำความรู้จัก CCI Indicator เครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถหาจุดเข้าได้อย่างแม่นยำ
CCI Indicator คืออะไร
CCI ย่อมาจาก Commodity Channel Index เป็นดัชนีชี้วัดทางเทคนิคประเภทออสซิลเลเตอร์ (Oscillator) ที่พัฒนาโดย Donald Lambert ในช่วงปี 1980 เดิมทีถูกออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) แต่ในปัจจุบันนิยมนำมาประยุกต์ใช้กับตลาด Forex และสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ซึ่ง CCI จะทำหน้าที่วัดความแข็งแกร่ง และแรงขับเคลื่อนของแนวโน้มราคา โดยเปรียบเทียบราคาในปัจจุบันกับราคาเฉลี่ยในอดีต
CCI เป็น Indicator ประเภทไหน
CCI จัดเป็น Indicator ประเภทวัดโมเมนตัม (Momentum Indicator) โดยหลักๆ ทำหน้าที่วัดความแข็งแกร่ง และแรงขับเคลื่อนของแนวโน้มราคา เปรียบเหมือนกับเครื่องมือวัดแรงของคลื่น ช่วยทำให้นักลงทุนสามารถประเมินได้ว่าราคาอยู่ในช่วงขาขึ้น ขาลง หรือแกว่งตัว
สูตรการคำนวณของ CCI Indicator
CCI เป็นดัชนีชี้วัดทางเทคนิคประเภทออสซิลเลเตอร์ (Oscillator) ซึ่งจะมีสูตรการคำนวณค่อนข้างซับซ้อน โดยทั่วไปจะใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางเทคนิคซึ่งจะมีการคำนวณให้โดยอัตโนมัติ แต่เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักลงทุนมือใหม่ ก็จะมีหลักการคำนวณดังนี้
คำนวณค่า CCI
CCI = (Typical Price – 20-period SMA of TP) / (0.015 x Mean Deviation)
TP : ค่า Typical Price คือ ราคาสูงสุด+ราคาต่ำสุด+ราคาปิดในช่วงที่กำหนด
SMA : ค่า Simple Moving Average ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ TP ในช่วงเวลาที่กำหนดมักจะใช้ 20 วัน
Mean Deviation : ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำมาจากค่าเฉลี่ยผลต่างของ TP กับ SMA
0.015 : ค่าคงที่
วิธีใช้งาน CCI Indicator
CCI เป็นเครื่องมือที่ใช้ในด้านการวิเคราะห์แนวโน้มจุดเข้าซื้อ จุดเข้าขาย และจุดเปลี่ยนทิศทางของราคา โดยทั่วไปนักลงทุนจะใช้ CCI ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ในส่วนของวิธีการใช้งาน CCI Indicator มีดังนี้
- ดูค่า CCI
CCI > +100 : บ่งบอกถึงภาวะ ซื้อมากเกินไป (Overbought) ราคาอาจมีโอกาส กลับตัวลง
CCI < -100 : บ่งบอกถึงภาวะ ขายมากเกินไป (Oversold) ราคาอาจมีโอกาส กลับตัวขึ้น
CCI อยู่ระหว่าง -100 ถึง +100: ราคาอยู่ในช่วง แกว่งตัว
- ดูแนวโน้มของ CCI
CCI ไหลขึ้น : สอดคล้องกับ แนวโน้มขาขึ้น ของราคา
CCI ไหลลง : สอดคล้องกับ แนวโน้มขาลง ของราคา
- ดู Divergence
Bearish Divergence : ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ CCI ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ อาจเป็นสัญญาณว่า แนวโน้มขาขึ้น กำลังจะสิ้นสุดลง
Bullish Divergence : ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่ CCI ไม่สามารถทำจุดต่ำสุดใหม่ได้ อาจเป็นสัญญาณว่า แนวโน้มขาลง กำลังจะสิ้นสุดลง
ข้อควรระวังในการใช้ CCI Indicator
CCI เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักลงทุนในการวิเคราะห์ตลาด แต่ทั้งนี้ CCI ก็เป็นเครื่องมือวิเคราะห์รูปแบบหนึ่งซึ่งนักลงทุนควรใช้วิเคราะห์ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในการใช้งานก็มีข้อควรระวังดังนี้
- สัญญาณจาก CCI อาจคลาดเคลื่อน
CCI เป็นเพียงเครื่องมือวัดแรงของคลื่น ไม่ได้บอกทิศทางที่แน่ชัด ราคาอาจไม่กลับตัว ตามที่สัญญาณ CCI บ่งบอก เนื่องจากสัญญาณจาก CCI อาจล่าช้า ซึ่งอาจส่งสัญญาณซื้อ หรือขาย หลังจากราคาเปลี่ยนทิศทางไปแล้ว ทำให้สูญเสียโอกาสในการทำกำไร
- CCI ไม่ได้บอกจุดเข้า-ออกที่แน่นอน
CCI บ่งบอกถึง ภาวะซื้อมากเกินไป หรือ ขายมากเกินไป แต่ไม่ได้บอกจุดเข้าซื้อ หรือเข้าขาย ที่แน่นอน นักลงทุนควรใช้วิเคราะห์ประกอบกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น แนวรับ-แนวต้าน เส้นแนวโน้ม รูปแบบกราฟ นอกจากนี้ CCI อาจส่งสัญญาณซื้อ หรือขาย ในจุดที่ราคาผันผวนสูง ซึ่งนักลงทุนควรระวังความเสี่ยง
- การตั้งค่า Period
ค่า Period ที่ใช้ในการคำนวณ CCI ส่งผลต่อความไวของสัญญาณ ค่า Period ที่สั้นจะส่งสัญญาณบ่อยครั้ง แต่อาจคลาดเคลื่อนได้ ค่า Period ที่ยาวจะส่งสัญญาณน้อยลง แต่มีความแม่นยำมาก ดังนั้นนักลงทุนควรปรับค่า Period ให้เหมาะสมกับการเทรดของตัวเอง
- การใช้ CCI ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ
CCI จะมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเมื่อนำมาใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ เช่น MACD , RSI , Stochastic ทำให้การวิเคราะห์แนวโน้ม แนวรับ-แนวต้าน รูปแบบกราฟเป็นไปอย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยทำให้นักลงทุนตัดสินใจได้ดีมากขึ้น
แม้ว่า CCI จะเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถเห็นสัญญาณ หรือแนวโน้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นักลงทุนก็ไม่ควรใช้ CCI เพียงรูปแบบเดียว เพราะอาจเป็นสัญญาณที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ทางที่ดีควรนำมาใช้วิเคราะห์ร่วมกับเครื่องมือรูปแบบอื่นๆ ด้วย เพื่อลดความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
Author: