กลยุทธ์ Fibonacci Retracement ของช่อง Data Trader

เรื่องPatihanUhas

กลยุทธ์ Fibonacci Retracement ของช่อง Data Trader “สำหรับ Day trading Crypto, Forex & Stocks” วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ Fibonacci Retracement และการใช้งานกับPirce action หรือการเคลื่อนไหวของเราคา

 

สารบัญ

กลยุทธ์ Fibonacci Retracement ของช่อง Data Trader

 

มีด้วยกัน 3 หัวข้อหลักที่เราจะได้จากวิดิโอนี้

  1. วิธีการลาก Fibonacci Retracement อย่างถูกต้อง
  2. วิธีการหาจุดเข้าที่มีอัตราการชนะสูงโดยใช้กลยุทธ์ Fibonacci Retracement
  3. วิธีออกจากการซื้อ-ขายอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

อะไร คือ Fibonacci Retracement

Fibonacci Retracement คือระดับหมายเลขลำดับฟีโบนัชชีที่สามารถทำให้คุณระบุจุดสิ้นสุดของ Pullback โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Fibonacci Retracement

 

แล้วทำไมเราต้องใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ในการระบุ Pullback

 

  • จากกราฟแสดงให้เห็นว่าตอนนี้เป็นเทรนด์ขาขึ้น และคุณก็กำลังมองหาจุดเข้าที่เหมาะสม
  • เราทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่าจุดเข้าที่ดี ควรรอเข้าตอนที่ราคามีการ Pullback
  • จากนั้นเมื่อเราจุดสิ้นสุดของ Pullback ให้ทำการเปิดออเดอร์ BUY

 

 

เราสามารถรู้ได้อย่างไร ว่าจุดไหน เป็นจุดสิ้นสุดของ Pullback

แนวโน้มจุดสิ้นสุดของPullback สามารถดูได้จาก key levels ก่อนหน้า

 

ตัวอย่าง

 

  • จากภาพจะเห็นได้ว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น
  • เส้นสีขาวคือระดับแนวต้าน
  • เราจะเห็นได้ว่าราคาวิ่งทะลุแนวต้านขึ้นไป และมีการPullbackที่ระดับแนวต้านก่อนหน้านี้
  • ดังนั้นเราจึงสามารถระบุแนวโน้มจุดสิ้นสุดของPullback จาก Key levelก่อนหน้า (Key levelก่อนหน้า =ระดับแนวต้านก่อนหน้า)

 

ในกรณีที่ไม่มี Key level ก่อนหน้า

เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าจุดสิ้นสุดของ Pullback อยู่ตรงจุดไหน?

 

และนี้ก็คือที่มาของการใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement

 

วิธีการตั้งค่าเครื่องมือ Fibonacci Retracement

 

  1. คลิกที่ลูกศรชี้ในภาพแรก
  2. คลิกที่ Fibonacci Retracement
  3. จากนั้นก็คัดลอกตามที่เจ้าของช่องได้ตั้งค่าไว้เลย

 

หลักการใช้กลยุทธ์ Fibonacci Retracement

1. มองหาแนวโน้มของเทรนด์ที่ชัดเจน ทั้งเทรนด์ขาขึ้นและขาลง

 

2. การใช้เครื่องมือฟีโบนัชชีโดยการหาจุด Swing low, Swing high ของเทรนด์นั้น

 

การหา Swing low, Swing high

 

 

  • Swing Low หมายถึงจุดต่ำสุดของราคาที่มีการแกว่งตัวลงไป
  • Swing High หมายถึงจุดสูงสุดของราคาที่มีการแกว่งตัวขึ้นมา

 

 

 

การลากเส้น Fibonacci Retracement

  • หากเป็นเทรนด์ขาขึ้น เริ่มลากจากจุด Swing low ขึ้นไปยังที่Swing high
  • เทรนด์ขาลง เริ่มลากจากจุด Swing high ขึ้นไปยังที่Swing low

 

ระดับ Fibonacci Retracement ที่เจ้าของช่องใช้

 

  • 38.2%
  • 50.0%
  • 61.8%
  • 78.6%
  • 100%

 

ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นระดับที่ราคาอาจจะมีการ Pullback ได้

 

และในส่วนของ3 ระดับนี้คือ “Golden Zone”

  • 38.2%
  • 50.0%
  • 61.8%

 

ในกรณีที่ ราคาวิ่งลงมาแตะที่ระดับ

  • 78.8%
  • 100%

 

ยังถือว่าเป็นโซนPullback และราคามีโอกาสเด้งกลับขึ้นไปได้  แต่ถ้าหากราคาดิ่งลงทะลุระดับ100% สิ่งนี้สามารถระบุได้ว่าเป็นการกลับตัวของเทรนด์ (เป็นDowntrendและมีแนวโน้มที่ลงต่อไป)

 

ประเด็นสำคัญ คือ เราต้องปฏิบัติกับระดับ Fibonacci Retracement เหมือนกับเป็นเหมือนแนวรับแนวต้าน

 

จุดสิ้นสุดของ Pullback อยู่ตรงระดับไหนของ Fibonacci Retracement

  • เราไม่ควรเปิดออเดอร์ซื้อ-ขายได้ หากราคามาแตะระดับใดระดับหนึ่ง
  • สิ่งที่เราควรทำการรอดูสัญญานหรือ confirmation ที่บ่งบอกว่าราคามีแนวโน้มที่จะดีดตัวขึ้นไป

 

ตัวอย่าง สัญญาน

 

ราคาไม่สามารถทะลุเส้นระดับ 61.8% ไปได้  (แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าราคาจะไม่สามารถลงต่อได้)

 

เจอ Bullish Engulfing pattern คือสัญญาณทางเทคนิคที่ส่งสัญญาณบอกการกลับตัวของราคาเป็นขาขึ้น

 

เจอ Upwards Momentum คือโมเมตัมเทรนด์ขาขึ้น และภาพที่สองก็ได้คอนเฟิร์มอีกว่าราคาอยู่ในช่วงดีดตัวขึ้น

 

 

สรุป 3 สัญญานที่บ่งบอกว่าเป็นจุดสิ้นสุดของ Pullback

  1. ราคาไม่สามารถทะลุเส้นระดับ 61.8% ไปได้
  2. เจอ Bullish Engulfing pattern เจอUpwards Momentum
  3. โมเมนตัมแท่งเทียนสีเขียวหลายแท่ง ที่ดีดตัวขึ้นมาทำลายเส้นระดับ 50%

 

ทั้งสามนี้เป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าราคามีแนวโน้มเด้งตัวขึ้นไป และถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของ Pullback  ขั้นตอนต่อมาก็จะเป็นการเปิดออเดอร์ BUY  ข้อมูลตามภาพด้านล่าง

 

และในที่สุดเราก็ได้เห็นว่าราคาวิ่งขึ้นไปตามที่คาดการณ์ไว้  จึงถือว่าเป็นการเทรดที่ประสบความสำเร็จ

 

เราสามารถใช้ Exiting key levels+ Fibonacci levels ในการหาจุดเข้า

ตัวอย่าง

 

1. จากภาพเป็นแนวโน้มขาขึ้น และมีการ Pullback เล็กน้อย

 

2. ลากฟีโบนัชชี จากจุด swing low ไปยังswing high

 

 

3. จากนั้นเราก็เห็นการ Consolidating ก็คือรูปแบบการพักราคาที่ระดับ 2% (เพียงแค่สัญญานนี้ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าราคาจะดีดตัวขึ้นไป เราต้องมองหาสัญญาณอื่นร่วมด้วย)

 

4. key levels ก่อนหน้า ถ้าคุณสังเกตดีๆ ตรงระดับเส้นสีขาวก็คือเส้น key levels ก่อนหน้า(แนวต้าน)มาบรรจบกับระดับฟีโบนัชชี

 

5. แท่งเทียนสีเขียวหลายๆแท่งเรียงกันและได้ดีดตัวขึ้นเหนือเส้นฟีโบนัชชีระดับที่ 2%เสดงให้เห็นว่าเป็น Momentum ขาขึ้น

 

สรุป

  1. ราคาPullback มาบรรจบกันระหว่างระดับฟีโบนัชชีกับ key levels ก่อนหน้า(แนวต้าน)
  2. แท่งเทียนสีเขียวหลายแท่งดีดตัวขึ้นไปทำลายระดับฟีโบนัชชีที่2%

 

ต่อมาเป็นการหาจุดเข้าเทรนด์ขาลง

จากภาพเราไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือเทรนด์ขาลง  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร?

 

คำตอบคือ เส้น 200 EMA ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้เราระบุเทรนด์ได้ว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง

 

  • จากภาพแสดงให้เราเห็นว่าเป็นเทรนด์ขาลง
  • จากนั้นก็ทำการลากเส้นฟีโบนัชชี โดยเริ่มจากจุด Swing high ไปยังจุด swing low

 

 

สัญญานที่ระบุเป็นจุดสิ้นสุดของ Pullback

  1. ราคามีการ Pullbackที่ระดับฟีโบนัชชี
  2. ราคาไม่สามารถทะลุระดับฟีโบนัชชีขึ้นไปได้
  3. เจอรูปแบบ Bearish engulfing บ่งบอกว่าเป็นแนวโน้มขาลง

 

เมื่อเราเจอสัญญานที่สามารถ คอนเฟิร์มได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของ Pullback เป็นช่วงที่ควรเปิดออเดอร์ Sell

 

จากภาพเราก็จะเห็นได้ว่าราคาร่วงลงมาตามที่เราคาดการณ์เอาไว้  ทำให้การเทรดครั้งนี้เป็นไปอย่างคุณภาพ สร้างกำไรงาม

 

 4 อย่างที่ควรนำกลับไปปรับใช้

  1. ปฏิบัติกับระดับฟีโบนัขชีให้เหมือนดังแนวรับแนวต้าน
  2. หาภาพกว้างของเทรนด์ด้วยเครื่องมือ 200 EMA
  3. อย่าพึ่งเข้าเปิดออเดอร์ ถ้ายังไม่มีสัญญานคอนเฟิร์มของการกลับตัวใดๆ
  4. หาจุดบรรจบกันระหว่างระดับฟีโบนัชชีกับเส้นkey levelsก่อนหน้า

 

Source