Ichimoku (อิชิโมกุ) เป็น อินดิเคเตอร์ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด Forex โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น อาจจะเป็นเพราะว่า Ichimoku (อิชิโมกุ) ถูกคิดค้นขึ้นโดยคนญี่ปุ่น แต่นั่นคงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้อินดิเคเตอร์ Forex ตัวนี้ ได้รับความนิยมไปอย่างแพร่หลายดั่งในทุกวันนี้ สาเหตุที่ทำให้อินดิเคเตอร์ตัวนี้ได้รับความนิยมก็คงเป็นเพราะ Ichimoku (อิชิโมกุ)
นั้นมีความแม่นยำที่เชื่อถือได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ จึงทำให้อินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่เพียงในประเทศญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น ดังนั้นในบทความนี้ผมจะพาไปรู้จักกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ) พร้อมวิธีการใช้เบื้องต้นในตลาด Forex
ก่อนที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ) ผมอยากให้เทรดเดอร์ศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากว่าอินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้ค่อนข้างยากและเทรดเดอร์จะต้องมีความรู้เรื่องอื่นๆก่อนที่จะทำความรู้จัก Ichimoku (อิชิโมกุ) ดังนั้นผมจึงขอแนะนำเนื้อหาที่เทรดเดอร์ต้องอ่านก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ)
Ichimoku (อิชิโมกุ) คืออะไร
Ichimoku (อิชิโมกุ) คืออินดิเคเตอร์ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในวงการ Forex และตลาดหุ้น ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ 1950 โดนนาย Goishi Hosoda เป็นนักข่าวชาวญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญในตลาดการเงินสำหรับหนังสือพิมพ์ “Ichimoku Kinko Hyo” ใช้เวลา 30 ปีในการพัฒนาเทคนิคต่างๆ ก่อนที่จะปล่อยออกมาให้แก่ผู้คนใช้จริง
Ichimoku (อิชิโมกุ) ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้สมาธิในการศึกษาสักระยะหนึ่งเพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ค่อนข้างยากต่อการเข้าใจสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ ดังนั้นในบทความนี้ผมจะอธิบายในภาษาง่ายๆเหมือนภาษาที่เราคุยกันเผื่อเทรดเดอร์จะเข้าใจมากยิ่งขึ้น
Ichimoku (อิชิโมกุ) มีเครื่องมือย่อยอยู่ 5 อย่าง ได้แก่
- Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น)
- Kijun Sen (คิจุน เซ็น)
- Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ)
- Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี)
- Chinkou Span (ชินโคว สแปน)
5 ข้อนี้ เป็นสิ่งที่เราจะใช้ในการทำความเข้าใจและใช้ในการวิเคราะห์กราฟในตลาด Forex ด้วย Ichimoku (อิชิโมกุ)
การเรียกใช้อินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ)
เข้าไปที่ โปรแกรม MetaTrader 4 หรือโปรแกรม MetaTrader 5 เข้ามาที่แท็บเมนู Insert > Indicators > Trend > Ichimoku Kinko Hyo
ค่าดั่งเดิมในโปรแกรมแรกเริ่มมีค่า Tenkan-sen: 9, Kijun-sen: 26, Senkou Span B: 52 ตามภาพ ให้กด “OK”
เมื่อกดตกลง หรือ OK แล้วจะมีหน้าตาตามภาพข้างล่าง แบบนี้ถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นตอนการเรียกใช้
ทำความเข้าใจอินดิเคเตอร์ Ichimoku (อิชิโมกุ)
สิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์ต้องรู้ว่าค่าเหล่านี้คืออะไร Tenkan-sen: 9, Kijun-sen: 26, Senkou Span B: 52
- ค่าแรก Tenkan-sen: 9 คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 9 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 9 วัน
- ค่าที่สอง Kijun-sen: 26 คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 26 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 26 วัน
หลักการวิเคราะห์สำหรับเส้น 2 ค่านี้ก็เหมือนกับการใช้เส้น Moving Average ทั่วไป ที่ใช้การตัดกันของเส้นเป็นสัญญาณการซื้อขาย
ส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ Ichimoku
เส้นเหล่านี้เป็นเส้นส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ Ichimoku โดยสีเหล่านี้เป็นสีค่ามตราฐานที่มากับโปรแกรม เทรดเดอร์อย่าเพิ่งไปปรับสีตามใจตัวเองนะครับ เพราะอาจจะเข้าใจยากมากขึ้น เพราะบางคำศัพท์ผมจะเรียกชื่อสีเส้นมากว่าชื่อของเส้นนั้นๆ จะทำให้เทรดเดอร์เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น
- เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น)
- เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น)
- ก้อนเมฆสีชมพู Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Down Kumo
- ก้อนเมฆสีส้ม Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Up Kumo
- เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน)
ความหมายแต่ละส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ Ichimoku
1. เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น)
เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น) คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 9 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 9 วัน
2. เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น)
เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น) คือเส้นเฉลี่ยค่าคณิตหรือเส้น SMA โดยมีค่าเท่ากับ 26 หรือนำราคามาคำนวณย้อนหลัง 26 วัน
3. ก้อนเมฆสีชมพู Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Down Kumo
ก้อนเมฆสีชมพู Senkou Span A (เซ็นโคว สแปน เอ) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Down Kumo หากจินตการตามรูปภาพเราจะรู้ทันทีว่าส่วนใดที่เราเรียกว่าก้อนเมฆ เนื่องจากว่าในอินดิเคเตอร์ Ichimoku จะประกอบไปด้วยเส้นต่างๆมากมาย
แต่ในภาพมีสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่เส้นลักษณะคล้ายก้อนเมฆเราจึงเรียกสิ่งนั้นว่า “ก้อนเมฆ” และถ้าหากก้อนเมฆเป็นสีชมพู หมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ดูแค่สีของก้อนเมฆพอนะครับ อย่าไปดูตำแหน่งของก้อนเมฆว่าขึ้นหรือลงเพราะอาจจะเกิดความสับสนได้ ท่องแค่ว่าสีชมพูคือแนวโน้มขาลง
ยิ่งก้อนเมฆมีความหนามากเท่าไหร่อาจจะบอกได้ว่าราคานั้นมีการเคลื่อนที่ในแนวโน้มที่แข็งแรง
4. ก้อนเมฆสีส้ม Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Up Kumo
ก้อนเมฆสีส้ม Senkou Span B (เซ็นโคว สแปน บี) ชื่อบนโปรแกรม MT4 คือ Up Kumo หากจินตการตามรูปภาพเราจะรู้ทันทีว่าส่วนใดที่เราเรียกว่าก้อนเมฆ เนื่องจากว่าในอินดิเคเตอร์ Ichimoku จะประกอบไปด้วยเส้นต่างๆมากมาย
แต่ในภาพมีสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่เส้นลักษณะคล้ายก้อนเมฆเราจึงเรียกสิ่งนั้นว่า “ก้อนเมฆ” และถ้าหากก้อนเมฆเป็นสีส้ม หมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ดูแค่สีของก้อนเมฆพอนะครับ อย่าไปดูตำแหน่งของก้อนเมฆว่าขึ้นหรือลงเพราะอาจจะเกิดความสับสนได้ ท่องแค่ว่าสีส้มคือแนวโน้มขาขึ้น
ยิ่งก้อนเมฆมีความหนามากเท่าไหร่อาจจะบอกได้ว่าราคานั้นมีการเคลื่อนที่ในแนวโน้มที่แข็งแรง
5. เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน)
เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน) อาจจะดูเหมือนไม่สำคัญแต่จริงๆแล้วสำคัญมากเลยทีเดียวเพราะเส้นสีเขียวเป็นเส้นที่บ่งบอกว่าราคานั้นเคลื่อนที่ในแนวโน้มอย่างแข็งแรงหรือไม่ สมมุติว่าราคามีการเคลื่อนที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างแข็งแรง เส้นสีเขียวจะมีการปรับตัวขึ้นและอยู่ห่างจากราคาจริงมาก และถ้าหากราคาอยู่ในแนวโน้ม Sideway เส้นสีเขียวนี้จะแทบวิ่งติดกับกราฟราคา ตามภาพ
หลักการใช้งานของอินดิเคเตอร์ Ichimoku
1. เส้นสีเขียว Chinkou Span (ชินโคว สแปน) ช่วยบอกความแข็งแรงของแนวโน้มได้ ถ้าหากเส้นสีเขียวห่างกราฟราคามาก แนวโน้วนั้นก็จะแข็งแรง หากเส้นสีเขียวติดกราฟราคาหมายความว่าแนวโน้มนั้นไม่แข็งแรงหรือราคาอยู่ในแนวโน้ม Sideway
2. หากก้อนเมฆ Senkou Span A และ Senkou Span B เป็นสีส้มหมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หากเป็นสีชมพูหมายความว่าราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง ถ้าหากก้อนเมฆยิ่งหนาเท่าไหร่หมายความว่าราคานั้นมีการเคลื่อนที่ในแนวโน้มที่แข็งแรง และเทรดเดอร์สามารถใช้ ก้อนเมฆนี้เป็นแนวรับแนวต้านได้อีกด้วย
3. เส้นสีแดง Tenkan Sen (เท็นกัง เซ็น) และ เส้นสีน้ำเงิน Kijun Sen (คิจุน เซ็น) ให้ความหมายว่าหากเส้นสีแดงอยู่ข้างบนเส้นสีน้ำเงินราคานั้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หากเส้นสีน้ำเงินนั้นอยู่ข้างบนเส้นสีแดงหมายความว่าราคานั้นอยู่ในแนวโน้มขาลง
นี่เป็นเพียงเรื่องราวเบื้องต้นเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ Ichimoku เท่านั้น หากเทรดเดอร์สนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Uhas.com
Author: