ตั้งค่า MACD อย่างไร พร้อมการใช้กราฟ MACD Forex

เรื่องPatihanUhas

MACD คืออะไร

MACD คืออะไร ตั้งค่า MACD อย่างไร พร้อมการใช้ MACD Forex ซึ่งคงเป็นหัวข้อที่เทรดเดอร์ Forex มือใหม่หลายคนกำลังให้ความสนใจ เนื่องจาก อินดิเคเตอร์ MACD เป็นอินดิเคเตอร์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มเทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์กราฟราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) ทั้งในตลาดหุ้น และในตลาด Forex

 

ซึ่งจริงๆแล้ว ในตลาด Forex ก็มีอินดิเคเตอร์หลากหลายตัว ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น Stochastic Oscillator, Fibonacci Retracement, RSI, Bollinger Bands, Moving Average และ MACD

 

MACD คืออะไร ตั้งค่า MACD อย่างไร

MACD อ่านว่า เอ็ม-เอ-ซี-ดี หลายคนอาจจะอ่านว่า แม็ค-ดี โดย MACD ย่อมาจากคำว่า Moving Average Convergence Divergence ผู้คิดค้น MACD คือ Gerald Appel ถูกคิดค้นมาในช่วงปี 1970 โดยประยุกต์มาจากเส้น Moving Average 2 เส้น พร้อมๆกัน โดยมีค่าของเส้น Moving Average ที่แตกต่างกัน

วิธีการคำนวณกราฟ MACD

MACD = EMA(12) – EMA(26)

หมายถึง MACD คือ EMA(12) ที่หักออกด้วย EMA(26) นั่นเอง

ส่วนใหญ่จะใช้ EMA(12) และ EMA(26) เนื่องจากต้องการจับจังหวะซื้อขายหุ้นในระยะกลาง แต่สามารถคำนวณจำนวนวันย้อนหลังแบบอื่น ๆ ได้ ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ ความถนัด หรือรูปแบบการซื้อขายของผู้เทรดแต่ละคน

MACD เป็นบวก เป็นลบ หมายถึงอะไร

ผู้เทรดสามารถวิเคราะห์กราฟ MACD ได้ดังนี้

1) ถ้า MACD เป็นบวก แปลว่า EMA(12) มีค่ามากกว่า EMA(26) หากสังเกตจากกราฟจะเห็นเส้น EMA(12) ซึ่งเป็นเส้น EMA ระยะสั้น อยู่เหนือเส้น EMA(26) ที่เป็นเส้น EMA ระยะยาว

2) ถ้า MACD เป็นลบ แปลว่า EMA(12) มีค่าน้อยกว่า EMA(26) หากสังเกตจากกราฟจะเห็นเส้น EMA(12) เป็นเส้น EMA ระยะสั้น อยู่ใต้ EMA(26) ซึ่งเป็นเส้น EMA ระยะยาว

3) MACD เป็น 0 จะเป็นจุดตัดกันของเส้น EMA(12) และ EMA(26) นั่นเอง

ส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์ MACD

  1. MACD Histogram (แท่งสีเทา)
  2. เส้น Signal Line (เส้นประสีแดง)
  3. เส้น Moving Average (เส้นสีเขียว)

ใน โปรแกรม MetaTrader4 ส่วนประกอบหลักอินดิเคเตอร์ MACD มีส่วนประกอบ 2 ส่วน แค่ MACD Histogram และ Signal Line โดยเส้น Moving Average เราต้องเพิ่มเอาเอง

MACD คืออะไร

 

การเรียกใช้ MACD และการปรับค่า บนโปรแกรม MetaTrader

1. ไปที่แถบเมนูบน Insert > Indicators > Oscillators > MACD

MACD คืออะไร

 

ให้เราตั้งค่า Popup ที่เด้งขึ้นมา ปรับค่า MACD เป็น

  • Fast EMA: 15
  • Slow EMA: 35
  • MACD SMA: 9

เป็นค่าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน (ภาพข้างล่าง)

ตั้งค่า MACD

 

เราจะได้ MACD แสดงขึ้นออกมา (ตามภาพข้างล่าง)

ส่วนประกอบ หลักของอินดิเคเตอร์ MACD ประกอบด้วยกันอยู่ 2 MACD Histogram และ Signal Line โดยเส้น Moving Average เราต้องทำการเพิ่มเอาเองในภายหลัง

ตั้งค่า MACD

 

2. การตั้งค่า MACD โดยเพิ่มเส้น EMA

ขั้นแรกแถบเมนูด้านข้างชื่อ Navigator ให้เราหาเมนูชื่อ Indicators แล้วกดบวกแล้วเข้ามา Trend ให้เราแล้วมองหาอินดิเคเตอร์ชื่อ “Moving Average”

 

เมื่อเราเห็นอินดิเคเตอร์ Moving Average แล้ว ให้กดค้างกดอินดิเคเตอร์ Moving Average แล้วลากไปตรงส่วนหน้าต่าง MACD เราต้องลากไปที่ช่องหน้าต่าง MACD เท่านั้น หากลากไปที่กราฟราคา ถือเส้น EMA ตัวนี้จะไปแสดงในกราฟราคา จะไม่ได้อยู่บนอินดิเคเตอร์ MACD จึงต้องลากไปที่หน้าต่าง MACD

ตั้งค่า MACD

 

หลังจากที่เราลาก EMA มาที่หน้าต่าง MACD จะมี Popup เด้งขึ้นมาให้เราปรับค่า ให้เราปรับค่าตามภาพข้างล่าง

  • Period: 3
  • เปลี่ยน MA method: Simple เป็น MA method: Exponential
  • เปลี่ยน Apply to: Close เป็น Apply to: First Indicator’s Data

เนื่องจากเส้น MACD เดิมเป็นเส้นประสีแดงอยู่แล้ว เราอาจจะปรับเปลี่ยนเป็นสีเขียว เพื่อให้การอ่านกราฟง่ายมากยิ่งขึ้นตามภาพ

ตั้งค่า MACD

 

หากเราทำตามถูกขั้นตอน MACD ของเราก็จะมีเส้นสีเขียวเพิ่มขึ้นมา

ตั้งค่า MACD

 

การทำกำไรด้วย MACD

 

รูปแบบของการทำกำไรจาก MACD มีหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปการวิเคราะห์กราฟราคาด้วย MACD ในตลาด Forex แบ่งเป็น 3 รูปแบบ

 

1. ซื้อขายด้วยสัญญาณ MACD Histogram

อยากให้ผู้อ่านลองจินตนาการว่า MACD Histogram นั้นเป็นภูเขา และถ้าหาก MACD Histogram คว่ำลงให้เรามองเป็นภูเขาใต้น้ำ และหาก MACD Histogram หงายขึ้นให้เรามองเป็น ภูเขาบนน้ำ

  • หาก MACD Histogram อยู่บนน้ำ เปิดออเดอร์ Buy
  • หาก MACD Histogram อยู่ใต้น้ำ เปิดออเดอร์ Sell

ตามภาพข้างล่าง

ตั้งค่า MACD

 

2. ซื้อขายด้วยสัญญาณ Signal Line และ Moving Average

ซื้อขายด้วยสัญญาณ Signal Line (เส้นประสีแดง) และ Moving Average (เส้นสีเขียว) มีการตัดกัน

 

  • หาก Signal Line (เส้นประสีแดง) ตัดกับ Moving Average (เส้นสีเขียว) ลงมา เปิดออเดอร์ Buy
  • หาก Signal Line (เส้นประสีแดง) ตัดกับ Moving Average (เส้นสีเขียว) ขึ้นไป เปิดออเดอร์ Sell

เราไม่ควรซื้อขายเมื่อ 2 เส้นนี้ตัดกันทันที แต่เราควรรอสักพักหนึ่ง แล้วเราจึงค่อยทำการซื้อขาย

การใช้ MACD

 

3.  ซื้อขายตามสัญญาณ Divergence

ซื้อขายตามสัญญาณ Divergence หากมีสัญญาณ Divergence เกิดขึ้น สามารถเปิดออร์เดอร์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอสัญญาณอื่นๆ

  • หากมี Divergence ขาขึ้น เกิดขึ้นให้ทำการเปิดออเดอร์ Buy
  • หากมี Divergence ขาลง เกิดขึ้นให้ทำการเปิดออเดอร์ Sell

 

การใช้ MACD ดู Divergence ขาขึ้น

การใช้ MACD

 

การใช้ MACD ดู Divergence ขาลง

การใช้ MACD ดู Divergence ขาลง

 

จริงๆ แล้วการวิเคราะห์กราฟราคาด้วย MACD หลายคนก็จะมีกระบวนการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันออกไป หลายคนอาจจะนำเอา MACD ใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ ด้วย