RSI คืออะไร เทคนิคพื้นฐาน การใช้ RSI เทรด Forex โดยเฉพาะเทรดเดอร์มือใหม่ที่อาจจะยังไม่รู้ว่า RSI คืออะไร และ RSI ใช้วิเคราะห์กราฟราคายังไง ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก RSI พร้อมวิธี การใช้ RSI ในตลาด Forex
RSI คืออะไร
RSI ย่อมาจากคำว่า Relative Strength Index โดย RSI เป็นอินดิเคเตอร์ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด Forex และมีให้ใช้ฟรี บนโปรแกรม MetaTrader 4, โปรแกรม MetaTrader5 และอื่นๆ ซึ่งอินดิเคเตอร์ RSI เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator
วิธีการสังเกตุอินดิเคเตอร์ ประเภท Oscillator คือ อินดิเคเตอร์ประเภทนี้ ส่วนใหญ่มักจะอินดิเคเตอร์วิ่งในกรอบที่มีค่า 0 เป็นจุดศูนย์กลาง และเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้อินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator เพื่อให้ในการวิเคราะห์กราฟราคาใน แนวโน้ม Sideway แต่สำหรับอินดิเคเตอร์ RSI จะแตกต่างกันออกไป เนื่องจาก อินดิเคเตอร์ RSI ให้สัญญาณค่อนข้างช้า จึงทำให้เทรดเดอร์หลายคนนิยมใช้ RSI ในการหา Overbought และ Oversold
Overbought Oversold คืออะไร
- Overbought หมายถึง โซนที่มีแรงซื้อปริมาณมากจนเกินไป และอาจจะทำให้มีแรงขายเข้ามา เพราะเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มองว่า ราคา ณ ปัจจุบันราคาสูงเกินไปแล้ว
- Oversold หมายถึง โซนที่มีแรงขายปริมาณมากจนเกินไป และอาจจะทำให้มีแรงซื้อเข้ามา เพราะเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มองว่า ราคา ณ ปัจจุบันราคาถูกเกินไปแล้ว
การเรียกใช้อินดิเคเตอร์ RSI
อินดิเคเตอร์ RSI (Relative Strength Index) สามารถเรียกใช้ได้ใน โปรแกรม Metatrader 4 หรือ Metatrader 5 เลือกที่ Insert > Indicators > Oscillators > RSI
1. ใช้อินดิเคเตอร์ RSI ดู Overbought Oversold
โซน Overbought อยู่เหนือเส้นตั้งแต่ Level 70 ขึ้นไป และ Oversold อยู่ใต้เส้นตั้งแต่ Level 30 ลงมา
- ถ้าราคาเข้ามาในโซน Overbought หรืออยู่เหนือเส้น Level 70 ขึ้นไป ให้เราเตรียมตัวเปิดออเดอร์ Sell ในอนาคต เพราะตอนนี้ราคาอาจจะแพงเกินไป อาจจะมีแรงขายตามมา
- ถ้าราคาเข้ามาในโซน Oversold หรืออยู่ใต้เส้น Level 30 ลงมา ให้เราเตรียมตัวเปิดออเดอร์ Buy ในอนาคต เพราะตอนนี้ราคาอาจจะถูกเกินไป อาจจะมีแรงซื้อตามมา
2. ใช้อินดิเคเตอร์ RSI หา Divergence
RSI เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ในตลาด Forex ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ มักจะใช้ในการหา สัญญาณ Divergence แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับ MACD และ Stochastic Oscillator เนื่องจาก การหา Divergence บน RSI ค่อนข้างเกิดขึ้นยากมากๆ จึงทำให้หลายคนจนลืมไปว่า RSI ก็มี Divergence เหมือนกันนะ
โดยจะนิยมใช้ใน Time Frame 1H และ 4H
3. ใช้ RSI คอนเฟิร์มแนวโน้ม
จากภาพข้างล่าง เห็นได้ว่า ที่กราฟราคามีการเคลื่อนที่ในรูปแบบ Sideway ถ้าเราไม่รู้ว่าอนาคตราคาจะไปในทิศทางไหนต่อ เราอาจจะสังเกตุจากอินดิเคเตอร์ RSI เห็นได้ว่า RSI มีการปรับระดับลดลงเรื่อยๆ และสุดท้ายราคาก็มีการปรับตัวลง
จากภาพข้างล่าง เห็นได้ชัดว่าราคากำลังปรับตัวในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งในตอนนั้นเราก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าราคาจะขึ้นถึงเมื่อไหร่ แต่พอเราได้ดูที่อินดิเคเตอร์ RSI เราจะเห็นได้ว่าราคาเข้าสู่โซน Overbought (กรอบสีแดง)
อาจจะทำให้เราเตรียมตัวขายออเดอร์ที่ Buy ไว้ก่อนหน้านี้ และเตรียมตัว Sell แทน เพราะการที่เส้น RSI เข้าสู่โซน Overbought อาจจะหมายถึง ราคาขึ้นที่กำลังปรับตัวขึ้น อาจจะปรับตัวขึ้นสูงกว่านี้ไม่ได้แล้ว และอาจจะมีแรงขายเข้ามาในเร็วๆ นี้ ที่ทำให้ราคาร่วงลงมา ตามภาพ
นอกจาก 3 วิธีที่ผมได้กล่าวมานั้น อินดิเคเตอร์ RSI ยังสามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ ในตลาด Forex ได้อีกด้วย
Author: