4 จิตวิทยาในการเทรด กลลวงที่ทำให้เราเทรดขาดทุน

เรื่องPatihanUhas

จิตวิทยาในการเทรด

4 จิตวิทยาในการเทรด กลลวงที่ทำให้เราเทรดขาดทุน ในแต่ละวันหัวสมองของมนุษย์เราคิดเป็นพันๆ เรื่อง และในขณะที่คุณทำกิจกรรมอะไรบางอย่าง คุณอาจไม่ได้โฟกัสมัน 100%  และคุณอาจจะทำมันเป็นประจำจนเคยชิน

 

อย่างเช่นการขับรถ คุณสามารถคิดหรือคุยโทรศัพท์ขณะที่ขับรถได้ ซึ่งมันจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงมาก

 

กับการเทรดก็เหมือนกัน อย่าเทรดไปวันๆ สำคัญคือต้องมีสติ ทำตามขั้นตอนแบบแผนที่วางไว้ คิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบ

 

มีอคติที่น้อยกว่า มีชุดความคิดที่ดี จริงอยู่ที่ว่าคุณอาจจะเทรดแล้วขาดทุนบ้าง แต่คุณก็สามารถควบคุมสถาณการณ์เหล่านั้นได้หากคุณใช้สติในการเทรด

 

เราต้องเรียนรู้ลักษณะกับดักเชิงจิตวิทยาแต่ละอย่างถ้าเรารู้จักพวกมันเราจะตระหนักถึงพวกมันได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสที่จะรอดพ้นจากอิทธิพลของพวกมันได้มากขึ้น

 

 

4 จิตวิทยาในการเทรด กลลวงที่ทำให้เราเทรดขาดทุน

 

1. หลุมพราง ง่ายและไว ไว้ก่อน

หมายถึง การตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่สมองเราเข้าถึงได้เร็วที่สุด แทนที่จะมองจากมุมหลายๆ มุม เราจะรีบตัดสินใจจากข้อมูลหรือมุมมองที่เรามีอยู่

 

ทำให้เราไม่พยายามหาข้อมูลหรือมุมมองใหม่ๆ ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนมากขึ้นซึ่งจริงๆ

 

ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้เทรดเดอร์หลายคนตกหลุมพราง ทำการตัดสินโดยพิจารณาจากสิ่งแรกที่อยู่ในใจ

 

แนะนำ: ให้ฝึกกลยุทธ์ในบัญชีปลอมสัก 2-3 เดือนก่อลงสนามจริง อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์ควรทำการเทรดจำลองโดยคำนวนอัตราความเสี่ยงเสมือนกำลังเทรดโดยใช้เงินจริง

 

บ่อยครั้งที่การเทรดจำลองนี้มักทำให้หลายคนเข้าใจผิดและคิดว่าตลาดจริงๆนั้นสามารถเอาชนะและทำกำไรได้ไม่ยาก

 

เนื่องจากมองข้ามปัจจัยต่างๆ ทั้งความเครียด อารมณ์ และปัจจัยทางด้านเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยสิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้นอยู่เสมอเมื่อทำการซื้อ ขายในตลาดจริง

 

2. หลุมพราง กลัวขาดทุน

หมายถึงการหลีกหนีการสูญเสีย โดยการหาข้ออ้างให้กับตัวเองว่าเดี๋ยวกราฟมันต้องขึ้นแน่นอน ทำให้บางคนต้องถือหุ้นขาดทุนนานเกินไป ขายไม่ลง ทำใจขายไม่ได้ รับไม่ได้ กลัวขาดทุน

 

(Loss Aversion) เป็นข้อค้นพบเชิงพฤติกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งที่เสนอโดยแดเนียล คาห์นะแมน และเอมอส ทเวอร์สกี สองนักจิตวิทยาที่หนึ่งในนั้นได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์

 

อคติดังกล่าวสามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่ามนุษย์ปุถุชนจะเจ็บปวดจากการสูญเสียมากกว่ามีความสุขจากการได้รับ

 

ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น

 

คุณดีใจที่ได้เทรดได้ 10$ แต่คุณเสียใจเป็นสองเท่าหากคุณสูญเสีย 10$ นั้นไป สมองของมนุษย์เรามักจะกลัวการสูญเสีย ประมาณว่าไม่ค่อยเห็นค่าในสิ่งที่มีอยู่แต่พอสูญเสียไปเท่านั้นแหละเกิดอาการความเสียดายขึ้นมาเลยทันที

 

พอมีความรู้สึกในลักษณะนี้ทำให้เทรดเดอร์หลายคนเล่นหุ้นเท่าไรก็ไม่กำไรสักที

 

เพราะต่อให้ราคาหุ้นร่วงฮวบก็ไม่ยอมตัดใจขายขาดทุน แล้วหวังลมๆ แล้งๆ ว่าสักวันราคามันอาจจะขึ้นเท่าเดิม

 

แนะนำ : กฎสำคัญของการลงทุนคือการอย่ายึดติดอดีต เพราะเราแก้ไขอดีตไม่ได้ เริ่มใหม่และอย่าเสียกำลังใจเมื่อต้องกัดฟันขายขาดทุน แต่หากยังยื้อดื้อดึงกับการกอดหลักทรัพย์ที่ขาดทุนเอาไว้

 

เราอาจจะเสียโอกาสนำเงินเหล่านั้นไปแสวงหาหลักทรัพย์ตัวใหม่ๆ ที่อาจให้ผลตอบแทนดีกว่า

 

 

3. หลุมพราง แจ็คพ็อต ภาวะ Lottery Syndrome

หมายถึงการลงทุนเยอะเพื่อหวังผลตอบแทนหรือกำไรเยอะๆ เทรดหุ้นไม่ต่างจากการเล่นการพนัน และมันก็คือหลุมพรางของความโลภ

 

การศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้คนรู้สึกยากจน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นจริงๆ หรือไม่ก็ตาม พวกเขามีแนวโน้มที่จะซื้อลอตเตอรี่ จากเงินครึ่งหนึ่งหรือเกือบทั้งหมดที่พวกเขามีไปกับการเสี่ยงโชค

 

เมื่อเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้ากับการเทรด มีเทรดเดอร์หลายคนที่ถูกความโลภหรือความที่อยากจะเอาชนะตลาดมาครอบงำ จึงทำให้บางคนขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

แนะนำ: ไม่เสี่ยงหนักหากกลยุทธ์ยังไม่แกร่ง

 

4. รู้ว่ามันดีแต่ยังไม่ทำ

พฤติกรรมหรือจิตใจของมนุษย์มักจะรู้อยู่แก่ใจว่าถ้าหากทำแบบนี้แล้วจะดีต่อตัวเราน่ะ แต่คนส่วนมากเลือกที่จะหาข้ออ้างมาสารพัดเพื่อที่จะหลีกเลี่ยง

 

“สิ่งที่ควรทำ กับสิ่งที่อยากทำ” มันไม่เหมือนกัน

 

ยกตัวอย่างง่ายๆ คุณรู้ว่าการกินของหวานมันทำให้ร่างกายของคุณแย่ แต่คุณก็จะมีข้ออ้างให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อที่จะไม่ให้ตัวเองรู้สึกผิด

 

ในการเทรดก็เช่นกัน เทรดเดอร์ทุกคนรู้ว่าการวางแผนการอย่างละเอียดรอบคอบเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ และสมควรที่จะทำตามขั้นตอนเป็นสเต็ปๆ ไป

 

อย่างเช่นควรจะเรียนรู้กับตลาดในบัญชีปลอมก่อนเพื่อดูแนวทาง  แต่คนส่วนมากมักจะขี้เกียจและไม่มีวินัย คิดแต่จะแสวงหาผลกำไร ลงทุนเล่นใหญ่และหวังผลตอบแทนแบบพลุกๆ

 

แนะนำ: มีวินัย ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ใช้สติสัมปชัญญะในการจัดการกับความขี้เกียจของตัวเอง เพื่อที่คุณจะได้ไม่ตกในหลุมพรางกลลวงของจิต

 

Source