FOMO อาการกลัวตกรถ จนทำให้ การเทรดขาดทุน

เรื่องPatihanUhas

อาการกลัวตกรถ

FOMO อาการกลัวตกรถ จนทำให้ การเทรดขาดทุน FOMO (Fear Of Missing Out) คือการกลัวที่ตัวเองจะตกเทรนด์ เป็นอาการกลัวการตกกระแสจนรู้สึกกระวนกระวาย กลัวว่าจะพลาดเรื่องสำคัญ อยู่ตลอดเวลา

 

FOMO อาการกลัวตกรถ จนทำให้ การเทรดขาดทุน

 

 

ในแง่ของจิตวิทยา FOMO ถือว่าเป็นอคติทางปัญญาอย่างหนึ่ง เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่การกลัวตกเทรนด์ไม่ทันข่าวสารที่กำลังฮิตอยู่ในตอนนี้ กลัวที่จะต้องเผชิญกับความคิดที่ว่าพวกเขาอาจพลาดโอกาสทางสังคมกับประสบการณ์ใหม่ๆ การลงทุนที่ทำกำไรได้ หรือเหตุการณ์ที่น่าพึงพอใจและอื่นๆอีกมากมาย

 

บางครั้งมนุษย์เราก็เผลอไปทำตามกระแส ทั้งที่มันอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เขาชอบหรือเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับเขาจนเสียเงิน เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ

 

ยกตัวอย่าง …บางสถานการณ์ของ FOMO ที่สร้างประโยชน์หรือรายได้อย่างมหาศาลต่อแบรนด์ต่างๆ อย่างเช่นเกมส์ไล่ล่าตามหาโปเกม่อน ซึ่งเป็นเกม AI ที่จำลองทั้งโลกจริง และโลกของเกม เข้าหากัน

 

ย้อนกลับไปหลายปีในช่วง pokémon go เป็นที่นิยมยอดฮิตทั่วโลก

 

เพราะมันนวัตกรรมที่ใหม่ในสมัยนั้น  ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน วัยเรียนหรือทำงาน ต่างพากันไล่ล่าหาตามจับโปเกม่อน

 

ส่วนคนที่ยังไม่ได้ดาวโหลดก็ทำให้กับคนอื่นไม่รู้เรื่อง เหมือนเป็นการบังคับทางอ้อมจากกระแสสังคมให้ดาวโหลดเกมส์นี้เพื่อที่จะไม่ได้ตกเทรนด์

 

และเมื่อไม่นานมานี้ก็มีPUBG ที่โด่งดังไม่แพ้กัน สร้างรายได้อย่างมากมายให้กับเจ้าของแบรนด์

 

 FOMO กับ การเทรด

 

อาการ FOMO จัดว่าเป็นอารมณ์ความกลัวอย่างหนึ่งที่ไหลไปตามสิ่งเร้าในสังคมและสถานการณ์รอบด้าน มัน“ไม่ใช่ความกลัวว่าจะขาดทุน” หรือกลัวว่า “ตลาดจะกลับทิศ” แต่เป็นความกลัวว่าเราจะพลาดการลงทุนที่ดีที่สุดรอบนี้ไป

 

คำว่า “กลัวพลาด” ถือเป็นศัตรูร้ายสำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะผู้ที่เน้นลงทุนระยะสั้น ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนและผลักดันให้เกิดการกลัวดังกล่าว คือ อารมณ์และความรู้สึก ทำให้นักลงทุนตกหลุมพรางจนนำไปสู่ความล้มเหลว

 

ในยุคปัจจุบันของโซเชียลมีเดีย ซึ่งทำให้คนเราเข้าถึงชีวิตของผู้อื่นอย่างง่ายดาย และมันจึงทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างตัวคุณกับเทรดเดอร์คนอื่นๆ เช่นคนอื่นประสบความสำเร็จมากกว่า เขาทำได้เราก็ต้องทำได้ ทำให้เกิดความคาดหวังสูงมากเกินไป  ขาดมุมมองระยะยาว ความมั่นใจมากเกินไป/ความมั่นใจน้อยเกินไป และไม่มีความอดในการรอคอย

 

อารมณ์เป็นแรงผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง FOMO หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจสอบ อาจทำให้เทรดเดอร์ตัดสินใจผิดพลาดขาดทุนได้ ดังนั้นควรตรวจสอบอารมณ์เหล่านี้ให้ดีแล้วแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

อารมณ์ที่นำไปสู่ภาวะ FOMO มีทั้งหมด 6 อย่างได้แก่

  1. ความโลภ
  2. ความกลัว
  3. ความเร่าร้อน
  4. ความอิจฉาริษยา
  5. ความใจร้อน
  6. ความวิตกกังวล

 

 

ปัจจัยใดบ้างที่กระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในภาวะ FOMO

 

ตลาดผันผวน

FOMO ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตลาดขาขึ้นอย่างเดียวเพียงเท่านั้น ผู้คนต้องการกระโดดตามเทรนด์ อารมณ์นี้มันสามารถเล็ดลอดเข้ามาในจิตใจของเราได้ เมื่อมีการผันผวนของตลาด ล่อใจให้เทรดเดอร์ไม่อยากพลาดโอกาสดีๆ(ที่อาจจะเป็นกับดัก)

 

ชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่

เมื่อเทรดเดอร์ประสบความสำเร็จสร้างรายได้อย่ามหาศาลมักจะตกหลุมพลางของภาวะ FOMOได้ง่าย โดยเชื่อว่าตัวเองเชี่ยวชาญแล้วในตลาดนี้

 

ขาดทุนซ้ำซาก

การขาดทุนซ้ำซาก จนทำให้ท้อแท้ ขาดความมั่นใจ เมื่อลงทุนใหม่อีกครั้ง เนื่องจากความวิตกกังวลและความผิดหวังเกิดจึงทำให้ไม่กล้าที่จะไม่ถือต่อไปในระยะยาว ในที่สุดสิ่งนี้ก็สามารถนำไปสู่การขาดทุนที่มากยิ่งขึ้น

 

ข่าวและข่าวลือ

การฟังข่าวและข่าวลือโดยปราศจากการไตร่ตรองให้ดี อาจนำไปสู่ภาวะ FOMO ได้

 

โซเชียลมีเดีย

การที่เราไปติดตามผู้เชียวชาญหลายๆคนทางโซเชียลมีเดีย การที่เขาออกมาวิจารณ์บางอย่าง ทำให้เทรดเดอร์อย่างๆเราๆ ตื่นตระหนกปักธงเชื่อแนวโน้มที่เขาพูดออกมา สิ่งนี่ก็เป็นกับดักเหมื่อนกัน เพราะฉะนั้นควรจะกรองข้อมูลให้ดี

 

4 เคล็ดลับเพื่อหลีกเลี่ยงอาการ FOMO ในขณะเทรด

 

1. ไม่ร้อนวิชามากเกินไป

เวลาเทรดเดอร์ได้ยินผู้เชี่ยวชาญออกมาแนะนำว่าตัวนี้กราฟตัวนี้มีแนวโน้มจะขึ้น หรือตัวที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จึงทำให้เราไม่ลังเลหรือตรวจสอบดีๆก่อนลงทุน

 

เพราะถ้าหากดำเนินการช้าอาจทำให้พลาดโอกาสที่จะสร้างกำไรได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีเทรดเดอร์หลายคนติดกับดัก กระโดดเข้าตลาดโดยไม่ใช้เวลาพิจารณาเยอะ เพราะว่ายิ่งตัดสินใจช้าเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงพลาดในโอกาสมากขึ้นเท่านั้น

 

มีเทรดเดอร์จำนวนมาก ที่จะพยายามเข้าเทรด โดยการเข้าเทรดแบบสุ่ม เพื่อเข้าสู่การเทรดในตลาด และหวังว่ามันจะสร้างผลกำไรคืนให้ แต่ทุกอย่างมันไม่ได้ได้มาง่ายๆอย่าคิด

 

ทางแก้คือทำการวิจัยตลาดอย่างรอบคอบ หาการลงทุนที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ หาจุดสมดุลและคุ้มทุนที่สุด

 

2. สร้างแผนทางการเงินและทำตามแผนอย่างเคร่งครัด

เวลาที่คุณทำการเทรด คุณคาดหวังในการเทรดได้กี่ครั้งต่อวันหรือสัปดาห์ นานแค่ไหน? อะไรคือเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะยาวที่ต้องการประสบความสำเร็จ และสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน

 

3. เอาชนะอคติของตัวเองให้ได้

มนุษย์เรามีอคติความลำเอียงทางพฤติกรรมเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม  มีอยู่ 2 อคติใหญ่ๆ ที่พบบ่อยที่สุดและส่งผลกระตุ้นให้เกิดอาการ FOMO ให้รุนแรงมากขึ้น

 

Confirmation bias – มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะค้นหาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อตัวเอง แล้วคิดว่าความเชื่อของตนนั้นถูกต้องที่สุดแล้ว

 

วิธีแก้ปัญหา: ค้นหาข้อมูลที่ขัดแย้งกับสิ่งที่คุณคิด

 

Overconfidence – การวิจัยแสดงให้เห็นว่าหลายคนมีความมั่นใจในความสามารถในการลงทุนของตนเองมากเกินไป สาเหตุมันมาจากการเทรดที่ได้กำไรบ่อยๆ เทรดเดอร์มักจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชนะเป็นผู้เชียวชาญ ทำให้การเทรดหลังจากนั้นเป็นการเทรดลอตใหญ่และไม่วางแผนอย่างรัดกุม

 

วิธีแก้ปัญหา: พยายามถามความรู้สึกตัวเองบ่อยๆ ว่านี่เราหลงตัวเองมากเกินไหม อีกทางแก้หนึ่งก็หนึ่งปรึกษาผู้เชียวชาญบุคคลที่สามที่มีความคิดต่างกันกับคุณ แล้วมาพิจารณาอีกที

 

4. มองการณ์ไกล

เมื่อคุณไม่เข้าใจว่า จะมีการเทรดรายการใหม่ๆ หลายแสนรายการ รอคุณอยู่ มือสมัครเล่นหลายคน หันมาให้ความสำคัญกับการเทรดเพียงตรงหน้า เพียงครั้งเดียวอย่างมากเกินไป และยังต้องการบังคับให้การเทรดในครั้งนี้ ชนะอีกด้วย การเทรดแบบไม่มองการณ์ไกล ก็เหมือนกับการขุดหลุมฝังตัวเอง

 

สำหรับเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ พวกเขามักจะมองการณ์ไกล ค่อยๆก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ ค่อยๆมั่งคั่งขึ้นอย่างมั่นคง ไม่หลงกลไปกับกระแสติดกับดับFOMO จดจ่อกับการบรรลุเป้าหมายอย่างอดทน

 

Source