Julian Robertson เจ้าพ่อ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ เจ้าพ่อในกองทุนป้องกันความเสี่ยงและเป็นนักลงทุนในตำนานที่รู้จักกันในชื่อ “พ่อมดแห่ง Wall Street” และ “Father of Hedge Funds” ที่สร้างอณาจักรกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Tiger Cubs ขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่
Tiger cubs ในที่นี่หมายถึง ลูกศิษย์ลูกหาของจูเลียน โรเบิร์ตสัน ที่แยกตัวออกมาสร้างเฮดจ์ฟันด์ของตัวเองจนประสบความสำเร็จ
ภาพจาก Forbs.com
ปัจจุบันของ จูเลียน โรเบิร์ตสัน เจ้าพ่อ กองทุนเฮดจ์ฟันด์
- จูเลียน โรเบิร์ตสัน ปัจจุบันอายุ 89 ปี เกษียณแล้ว แต่ก็มี passive income เข้ามาเรื่อย ๆ จากกองทุนในลูกศิษย์ของเขา
- ล่าสุดในปี 2022 พบว่ารายได้สุทธิของจูเลียน โรเบิร์ตสัน คือ $4.8 Billion ข้อมูลจากเว็ปไซต์ Forbes
- จูเลียน โรเบิร์ตสัน เขาเป็นเจ้าของบ้านพัก รีสอร์ท และสนามกอล์ฟหลายแห่งในนิวซีแลนด์
- จูเลียน โรเบิร์ตสันได้มอบทรัพย์สินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ให้กับองค์กรการกุศล ซึ่งรวมถึงการวิจัยทางการแพทย์ โรงเรียน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- บทความจาก Financial Times ระบุว่าอิทธิพลของ Tiger Cubs กระจัดกระจายบริษัทกองทุนป้องกันความเสี่ยงการเงินไปทั่วโลก ประมาณการได้ว่ามีมากกว่า 200 แห่ง
- ในส่วนของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ดั้งเดิมมีอยู่ด้วยกัน 50 แห่ง
ภาพจาก Forbs.com
บทความส่วนหนึ่งจากเว็ปไซต์ Financial Times เมื่อวันที่ 4 JUNE2021
ปัจจุบัน Tiger Management มีตำแหน่งใหญ่ใน Facebook, Google parent Alphabet, Microsoft, ผู้ผลิตชิป Micron Technology, บริษัท เทคโนโลยีไร้สาย Qualcomm ,Uber, บริษัทบริการขนส่งอาหารในจีน
จุดกำเนิด และจุดจบ ของ “Tiger Management”
หลังจากที่จูเลียน โรเบิร์ตสัน เรียนจบ เขาก็ได้ทำงานกับคิดเดอร์พีดีหลักทรัพย์ จนมีความรู้ความสามารถเก่งพอตัว จึงริเริ่มวางแผนก่อตั้งกองทุน Tiger Management
- ในปี 1980 Tiger Management ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินประมาณ 8 ล้านดอลลาร์ และเติบโตเป็น 22 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์รุ่นบุกเบิกในสหรัฐอเมริกา
- Tiger Management ทำผลงานได้ดีมากมาตลอดหลายทศวรรษ กลยุทธ์เน้นการลงทุนแนว Value เป็นหลัก
- จนกระทั้งในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จูเลียน โรเบิร์ตสัน “ได้ปิดกองทุน Tiger Management”
- หลังจากนั้น จูเลียน โรเบิร์ตสัน ได้ทำการชำระบัญชีพอร์ตโฟลิโอของ Tiger Managemen แล้วคืนทรัพย์สินสูงถึง 75% ของ 6 พันล้านดอลลาร์ให้กับนักลงทุนเป็นเงินสด และได้นำเงินของตัวเองไปลงทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่นั้นมา
เจาะประเด็นที่ทำให้กองทุนต้องปิดตัว
A risky strategy
กองทุนป้องกันความเสี่ยงเป็นกลุ่มเงินที่ไม่มีการควบคุมและดันเลือกใช้กลยุทธ์ที่เสี่ยงกว่า เช่น อนุพันธ์และการ short-selling to boost returns.
ในกรณีของ Tiger Management กองทุน Jaguar Fund ขาดทุนอย่างหนักเป็นเวลากว่าหนึ่งปี
ในขณะเดียวกัน สินทรัพย์ของกองทุนลดลงจากประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ในปี 1998 นักวิเคราะห์กล่าวว่า Tiger Management สูญเสียเงินไปประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์
สำหรับ Tiger Management จุดเริ่มต้นของจุดจบเกิดขึ้นช่วงปี 1997–1998 เมื่อกองทุนสูญเสียเงิน 2 พันล้านดอลลาร์จากการเดิมพันที่ผิดพลาดต่อเงินเยนของญี่ปุ่น ที่เลวร้ายกว่านั้นคือกองทุนยังคงยึดมั่นในการบริโภคหุ้นที่เรียกว่า “เศรษฐกิจเก่า”
วิกฤติเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 1997–1998 เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับตั้งแต่เศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อต้นปี 1990 และในปี 1998 ต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ร้ายแรงที่สุด บับตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง GDP ลดลงอย่างต่อเนื่อง
อีกสาเหตุหนึ่งคือสายการบิน US Airways ประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องยื่นล้มละลาย และบริษัทกองทุนของ จูเลียน โรเบิร์ตสัน เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน US Airways Stock
ภาพจาก money.cnn.com
เพราะว่าขาดทุนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง… จูเลียน โรเบิร์ตสัน จึงตัดสินใจที่ปิดกองทุนเฮดจ์ฟันด์ “Tiger Management” การขาดทุนครั้งนี้ เขาก็ยังไม่เข้าใจได้อย่างแน่ชัดว่าเขาคาดการณ์อะไรพลาดไปหรือเปล่า
เขาเคยกล่าวในรายการหนึ่งว่า ด้วยใจความที่ว่า “อาจเป็นเพราะว่ากลยุทธ์ที่เขาเคยใช้ได้ดีในสมัยก่อน มันจะใช้ไม่ได้ผลกับยุคสมัยนี้แล้ว”
จูเลียน โรเบิร์ตสัน กับการปิดกองทุน
ในปี 2000 วันที่ 30 มีนาคม เวลา 6:59 p.m. บริษัทกองทุนเฮดจ์ฟันด์ “Tiger Management” ได้ปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
และได้นำเงินที่เหลือมาแบ่งสรรปันส่วนเงินให้กับลูกทีม Tiger Cubs เพื่อเป็นเงินทุนในการจัดตั้งกองทุนใหม่ พวกเขาเหล่านั้นล้วนแล้วเป็นบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่น โดยที่จูเลียน โรเบิร์ตสัน ได้คอยดูแลเป็นที่ปรึกษาและให้สมาชิกทุกคนในทีม Tiger Cubs และผลักดันให้พวกเขานั้นประสบความสำเร็จ
ภาพจาก archive.nytimes.com
จูเลียน โรเบิร์ตสัน อยู่เบื้องหลังกองทุนเฮดจ์ฟันด์เกือบ 200 แห่งตามรายงานของ LCH Investments จากการที่เขาได้ขยายอำนาจ ปั้นลูกทีม Tiger Cubs ให้ประสิทธิภาพ มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล
ยกตัวอย่าง 3 คนในสมาชิก “Tiger Cubs”
Tiger Global ของ Chase Coleman
Tiger Global เป็นอุตสาหกรรมกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ก่อตั้งในปี 2001 เริ่มต้นการลงทุนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนที่ในปี 2003 Tiger Global จะหันมาจับธุรกิจไพรเวตอิควิตี้โดยเน้นที่อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะเจาะจงที่บริษัทสตาร์ตอัพทางด้านเทคโนโลยี
ล่าสุด Tiger Global ระดมทุนได้ 6.7 พันล้านดอลลาร์สำหรับกองทุนร่วมลงทุน และขณะนี้อยู่ในตลาดที่จะระดมทุนอีก 10 พันล้านดอลลาร์เพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ
ความโดดเด่นของ Tiger Global อยู่ที่ความรวดเร็วในการตัดสินใจลงทุนในสตาร์ตอัพ โดยบางกรณีใช้เวลาในการตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่เพียงวันเดียว ส่งผลให้ปริมาณการลงทุนของไทเกอร์ โกลบอล เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ Tiger Global ยังกระจายการลงทุนไปทั่วโลก โดยเฉพาะกองทุน “พีไอพี 15” ที่ตั้งเป้าทุ่มทุนให้กับสตาร์ตอัพในสหรัฐ จีน และอินเดีย
Chase Coleman: Net worth: 10.3 billion USD (2022)
Coatue Management ของ Philippe Laffont
Coatue, LLC เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาการลงทุน ให้บริการลูกค้าในสหรัฐอเมริกา สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร70 พันล้านดอลลาร์
Philippe Laffont: Net worth: 6.5 billion USD (2022)
Maverick Capital ของ Lee Ainslie
Maverick Capital ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 เป็นกองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านหุ้นระยะยาว/ระยะสั้นในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส
Lee Ainslie : Net worth: 1- 5 million USD (2021)
หลังจากปิดกองทุน“Tiger Management” ในปี 2000 ต่อมาในปี 2003 พบว่ามูลค่าสุทธิของ จูเลียน โรเบิร์ตสัน โดยประมาณมากกว่า 400 billion USD รายได้ส่วนใหญ่ มาจากลูกทีม “Tiger Cubs” ที่เขาปั้นมากับมือ
ปัจจุบันเหล่าบรรดาสมาชิกในทีมต่างก็ประสบความสำเร็จร่ำรวยเป็นเศรษฐีพันล้าน
แต่ก็มีหนึ่งสมาชิกของ Tiger Cubs ที่ถือว่าประสบความล้มเหลวเป็นอย่างมากเช่นกัน นั้นก็คือ Bill Hwang กองทุน Tiger Asia Management เขาโดนปรับจากข้อหาการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน และได้เปลี่ยนชื่อกองทุนมาเป็น “Archegos Capital Management” ที่เพิ่งล้มละลายไปเมื่อไม่นานมานี้ จากกรณีโดนบังคับขายหุ้นรวมกันกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ภายใน 2 วัน
ซึ่งทำให้ธนาคารเจ้าหนี้อย่าง Goldman Sachs เทขายหุ้นล็อตใหญ่ในการซื้อขายแบบ Block Trade มูลค่า 1.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นการเทขายหุ้นล็อตใหญ่อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนซึ่งสร้างความปั่นป่วนอย่างมากในตลาดการเงิน
“ลูกศิษย์” สมาชิกในทีม Tiger Cubs ที่ถูกปั้นโดย จูเลียน โรเบิร์ตสัน
ภาพจาก www.ft.com
ตารางเปรียบเทียบรายได้ของลูกทีม “Tiger Cubs” ในเดือน ตุลาคม ปี2020
ภาพจาก www.ft.com
จูเลียน โรเบิร์ตสัน ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการเลือกลูกศิษย์ “Tiger Cubs”
ในยุคสมัยนั้น “Tiger Management” โด่งดังจนใครๆก็อยากมาทำงานที่นี่ ถือว่าเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จที่สุดในอเมริกา
ถ้าจะเข้ามาทำงานในตำแหน่ง นักวิเคราะห์ ก็จะต้องคัดสรรอย่างดี ต้องมีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำ
คุณสมบัติเบื้องต้นที่ต้องมีก็คือ
- ความซื่อสัตย์สุจริและการเป็นคนมีคุณธรรม (โรเบิร์ตสัน เน้นย้ำในข้อนี้เลยว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก)
- มีไหวพริบ และสติปัญญาที่ฉลาดหลักแหลม
- ตรงไปตรงมาอย่างสุภาพ
- มีเลือดนักสู้ ล้มแล้วลุกขึ้นเร็ว
- มีจิตวิทยาทางอารมณ์ที่ดี หรือเรียกอีกอย่างว่ามีความฉลาดทางอารมณ์
การที่จะเข้ามาทำงานนักวิเคราะห์ให้กับบริษัท “Tiger Management” ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนการสัมภาษณ์ทั่วไป
วัดความฉลาดทางปัญญา โดยคำถามประมาณ 450 ข้อ
วัดความฉลาดทางอามรมณ์ โดยการเล่มเกมส์ทางจิตวิทยา
ดร.แอรอน สเติร์น คือผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการคัดสรรบุคลากรเข้ามาทำงานบริษัท Tiger Management เขาเป็นนักจิตวิเคราะห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เขาทำงานในบทบาทต่างๆ ที่บริษัท รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเป็นเวลา 30 ปี ดร.แอรอน สเติร์น เสียชีวิตในเดือนเมษายนด้วยวัย 96 ปี
ดร.แอรอน สเติร์น ทำการพัฒนาและออกแบบข้อสอบ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการคัดคนเข้ามาทำงานในองค์กร
จูเลียน โรเบิร์ตสันกล่าว่า
“เทคนิคการสรรหาบุคลากรดร.แอรอน สเติร์น คิดค้นขึ้นมา มันเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมมาก ทำให้เราได้ลูกทีมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ”
จูเลียนยังบอกอีกว่า แท้จริงแล้วเขาไม่ได้ต้องการคนที่มีEQ สูงที่สุดมาทำงานด้วย แต่เขาต้องการเสือที่มีเลือดนักสู้อยู่ในตัว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องเป็นเสือที่ฉลาดและมีคุณธรรมด้วย
จูเลียน และ ดร.แอรอน ทั้งสองช่วยกันปลูกฝังให้ลูกทีม “Tiger Cubs”ทั้งหมดรักและสามัคคี ช่วยเหลือกันและกัน
จูเลียน โรเบิร์ต ฝึกฝนพวกเขาในทักษะต่างๆ ทั้งกลยุทธ์ในการเอาชนะคู่แข่ง และยังช่วยดึงศักยภาพที่มีอยู่แล้วในตัวของสมาชิกแต่ล่ะคน ให้เด่นขึ้นและช่วยพัฒนาให้เป็นจุดแข็ง
จูเลียน โรเบิร์ต ซัพพอร์ตในด้านต่างๆ ปั้นลูกทีมแต่ล่ะคนขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อคนไหนมีแววที่จะฉายออกแล้ว ก็ผลักดันให้ไปก่อตั้งบริษัทเอง ให้เติบโตและสร้างเครือข่ายย่อยไปอีก จนกลายเป็นโครงสร้างที่แน่นหนา การที่เขาปั้นลูกทีมให้แตกหน่อขยายไปเรื่อย ๆจนเป็นวงกว้าง เขาจึงได้ฉายาว่า “Father of Hedge Funds”
จูเลียน โรเบิร์ตได้ให้สัมภาษณ์ในราการ OneWire เมื่อปี 2013 ว่า เขารักลูกศิษย์ “Tiger Cubs” ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และรู้สึกภูมิใจอย่างมากที่ได้เห็นพวกเขาเติบโต และพวกเขาไทำผลงานออกมาได้ดีมากกว่าคาดไว้อีก
ประวัติโดยสังเขปของจูเลียน โรเบิร์ตสัน
อเล็กซ์ โรเบิร์ตสัน ลูกชายของ จูเลียน โรเบิร์ตสัน
- วัยเด็ก: จูเลียน โรเบิร์ตสันเกิดวันที่ 25 มิถุนายน 1932 ในเมืองเล็กๆในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจที่มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า
- คู่สมรส: โจเซฟิน ทัคเกอร์ โรเบิร์ตสัน (เสียชีวิตในปี 2010)
- ลูก: อเล็กซ์ โรเบิร์ตสัน, สเปนเซอร์ โรเบิร์ตสัน, เจย์ โรเบิร์ตสัน
สรุป Timeline ของ Tiger Tiger Management
- 1980 : Julian Robertson ก่อตั้ง Tiger Management ด้วยทรัพย์สินประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ สิ้นปีนี้ทำกำไรได้ 54.9%
- 1991 : ดร.แอรอน สเติร์น เข้ามาร่วมงาน “Tiger Management”
- 1997 : หลังจากหลายปีของการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง สินทรัพย์ของ Tiger ได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 23 พันล้านดอลลาร์
- 1998 : Tiger Management ขาดทุน 1.8 พันล้านดอลลาร์เนื่องจากความปั่นป่วนในตลาดดอลลาร์-เงินเยนญี่ปุ่น และสิ้นปีนี้ลดลง 4%
- 1999 : Tiger Management หลบเลี่ยงการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นทางอินเทอร์เน็ต ทำให้หดตัวลงเหลือ 8 พันล้านดอลลาร์เนื่องจากผลการดำเนินงานแย่ลงอีกครั้ง ทำให้สิ้นปีนี้ลดลง 19%
- 2000 : จูเลียน โรเบิร์ตสัน แถลงการณ์ปิดตัวลงของ Tiger Management
ถึงแม้ Tiger Management ล่มสลายลงไป แต่มันให้ จูเลียน โรเบิร์ตสัน แยกร่างผลักดันลูกทีม Tiger Cups ให้ประสบผลสำเร็จ เขาจึงกลายมาเป็นผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งในWall Street
Source
- https://www.ft.com/content/e1d1c558-9a87-4843-9cd8-29ab203b7911
- https://marcellus.in/story/tiger-cubs-how-julian-robertson-built-a-hedge-fund-dynasty/#
- https://books.mec.biz/download-book/3647
- https://archive.nytimes.com/www.nytimes.com/interactive/2012/07/30/business/The-Tiger-and-His-Cubs.html?_r=2
- https://www.ft.com/content/b2783e24-db12-49e0-9cfc-9cdb7badf4ee
- https://money.cnn.com/2000/03/30/mutualfunds/q_funds_tiger/
- https://www.nytimes.com/2001/09/23/business/investing-diary-left-holding-the-bag-on-us-airways-stock.html
- https://www.bloomberg.com/profile/company/2915801Z:US
- https://wikispro.com/lee-ainslie-wiki-networth-age/
- https://www.youtube.com/watch?v=apco3D5B_7A
Author: