เอาชนะตลาด ด้วย จิตวิทยาในการเทรด โดย Mark Douglas

เรื่องPatihanUhas

จิตวิทยาในการเทรด

เอาชนะตลาด ด้วย จิตวิทยาในการเทรด โดย Mark Douglas บทความนี้จัดได้ว่าเป็นบทความที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากเราจะพาไปทำความรู้จัก Mark Douglas เรายังจะพาไปทำความเข้าใจ 12 เคล็ดลับ ดั่งมนตรา ของ “มาร์ค ดักลาส” อีกด้วย

 

 

เอาชนะตลาด ด้วย จิตวิทยาในการเทรด โดย Mark Douglas

  • มาร์ค ดักลาส เกิดในปี 1968 ประเทศนิวซีแลนด์
  • เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านจริยธรรมคริสเตียนที่Columbia Theological Seminary
  • เขาเป็นเทรดเดอร์, โค้ชของเทรดเดอร์, นักเขียน, และอาจารย์สอนวิชาจิตวิทยาการเทรด ตลอดหลายสิบปีในวงการ
  • เขาเดินทางไปสัมมนาทั่วโลกตลอด25 ปี กับคู่หูของเขา พอลล่า ในการเป็น Coaching & Workshops เพื่อชี้ทางให้เทรดเดอร์มีชุดความคิดที่ดีในการเทรดให้ประสบความสำเร็จโดยใช้หลักจิตวิทยา “The Super Success Mindset”
  • สิ่งที่ทำให้เขาโด่งดังเป็นที่รู้จัก เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียน “เชิงจิตวิทยา” เกี่ยวกับการเทรด เขาปล่อยหนังสือออกมาสองเล่ม เล่มแรกตีพิมพ์ในปี 1990 ทั้งสองเล่มขายดิบขายดี จนกลายเป็นตำนานหนังสืออำมตะ เปรียบเสมือนดั่งเป็นคู่มือสำหรับเทรดเดอร์ ที่ใช้ได้กับทุกยุค ทุกสมัย
  • เขามีลูกศิษย์อยู่ถึง 28 ประเทศ
  • Workshops 2 วัน ราคาอยู่ที่ $3,500
  • เขาจากโลกนี้ไปในวัย 67ปี เมื่อวันที่ 12 กันยายนปี 2015 ที่บ้านของเขาในเมืองสกอตส์เดลรัฐแอริโซนา

 

จำไว้ว่าเราไม่ใช้ตลาด เราบังคับตลาดไม่ได้ และตลาดก็ไม่จำเป็นต้องตอบสนองต่อความคาดหวังของเรา

 

มาร์ค ดักลาส ผลงานของเขาที่ชื่อ Trading in the zone หรือโซนแห่งเทรดเดอร์ ก็เป็นหนึ่งในหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากเทรดเดอร์ทั่วโลก

 

หนังสือ Forex

 

ในส่วนของ The disciplined trader มาร์ค ดักลาส ได้ทำร่วมกับ Paula T. Webb

 

“มาร์ค ดักลาส” ได้ใช้ประสบการณ์หลายปีในงานวิจัยที่เขาทุ่มเทมาตลอดชีวิต เขียนหนังสือซึ่งภายหลังกลายเป็นผลงานชิ้นเอกของวงการเทรดเดอร์เล่มหนึ่งตลอดกาล

 

เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงปัญหาและความท้าทายที่เทรดเดอร์ต้องพบเจออยู่ตลอด ในมุมมองเทรดเดอร์มือใหม่บางคน พวกเขาคิดว่าจะต้องพัฒนาหรือซื้อกลยุทธ์การเทรดที่น่าเชื่อถือมาชิ้นหนึ่ง ทำตามกฎ และจากนั้นการเทรดก็จะเป็นเรื่องง่าย

 

หลังจากนั้นไม่นาน เทรดเดอร์หน้าใหม่เหล่านั้นก็จะค้นพบว่า การเข้ามาเทรดเป็นสิ่งที่น่าผิดหวังที่สุดที่พวกเขาเคยทำมาในชีวิต

 

มีผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า 95% ของเทรดเดอร์ที่เข้ามาในตลาดจะพบกับการขาดทุนในช่วงปีแรกของการเทรด

 

 

ทำไมคนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในสาขาวิชาชีพของตัวเอง แต่กลับล้มเหลวในการเทรด?

 

สิ่งที่จำเป็นก็คือพวกเขาจะต้องพัฒนาแนวความคิดในการเทรดที่ถูกต้องขึ้นมา ฟังดูง่าย แต่จริงๆ แล้ว แนวคิดเหล่านี้มันแตกต่างกับแนวคิดที่พวกเรามีในการดำรงชีวิตอย่างสิ้นเชิง

 

มันชัดเจนว่าความรู้ที่ทำให้ได้คะแนนสูงๆ ในโรงเรียน ทำให้ก้าวหน้าในอาชีพการงาน หรือความรู้อื่นๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน กลายเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมในการเทรด

 

เทรดเดอร์จำเป็นต้องคิดในเรื่องของความน่าจะเป็น และทิ้งแนวคิดทั้งหมดที่เคยเรียนมา “มาร์ค” จะนำคุณทั้งหลายเข้าสู่เรื่องราวที่เขารวบรวมเอาไว้ ในฐานะเทรดเดอร์ โค้ชของเทรดเดอร์ ผู้เขียน และอาจารย์สอนวิชาจิตวิทยาการเทรด ตลอดหลายสิบปีในวงการ

 

เคล็ดลับ ดั่งมนตรา ของ “มาร์ค ดักลาส” เพื่อ เอาชนะตลาด

 

1. Fill the “profit gap” with the right things

หา Gap ช่องว่างเพื่อทำกำไร

 

ไม่ว่าจะเป็นในหนังสือ การสัมมนา หรือการสัมภาษณ์ตามรายการต่างๆ เขามักจะพูดถึงว่า Gap ช่องว่างของโอกาสการทำกำไร” พูดให้เห็นภาพชัดๆก็คือ ผลต่างระหว่างกำไรที่ควรจะได้ในการเทรด กับผลกำไรที่เกิดขึ้นจริงในการเทรดนั้น

 

เทรดเดอร์ทำการเทรดด้วยความหวังที่สูง พวกเขาอยากจะสร้างรายได้ที่สามารถพึ่งพาได้ และได้รับผลลัพธ์ที่สม่ำเสมอจากการเทรดของพวกเขา

 

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณมีวิธีการเทรดที่มีประสิทธิภาพด้วยวินัยและความสม่ำเสมอ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทำ และเป็นผลให้พวกเขามีช่องว่างกำไรตามที่มาร์คกล่าว

 

ดักลาส ยังพูดอีกว่า โดยปกติของเทรดเดอร์มักจะพยายามเรียนรู้การสร้างกำไรให้เพิ่มมากขึ้น โดยการเรียนรู้ตลาด การใช้กลยุทธ์ต่างๆ การเรียนรู้ทางเทคนิค ใช้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์มากขึ้น ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เทรดเดอร์จำเป็นจะต้องเรียนรู้คือ “ปฏิกิริยาที่เทรดของตัวเองที่มีต่อตลาด” หรือการวินิจฉัยตัวเอง

 

การเทรดแบบใช้อารมณ์ร่วมด้วยแล้ว เราจะแยกไม่ออกเลยว่าแต่ละการเทรดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะอะไร เราได้กำไรเพราะสติ หรือกำไรเพราะโชคดี เราขาดทุนเพราะทำตามแผน หรือขาดทุนเพราะเรื่องไร้สาระ

 

และเมื่อแยกความต่างไม่ได้ การวินิจฉัยตัวเองก็ทำได้ยากขึ้น

 

โดยพื้นฐานแล้วเทรดเดอร์จำเป็นต้องได้รับ “ทักษะทางจิตใจที่เหมาะสม” เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการเทรด

 

พูดอีกอย่างก็คือ ควรทำตามแผนหรือวิธีการลงทุนด้วยสติ ไม่ใช่ใช้อารมณ์ชักนำจนทำให้แผนเราเสีย เมื่อทำตามแผนได้อย่างดีแล้ว เราจะสามารถนำผลลัพธ์จากการเทรดมาวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น และอาจจะมีความสามารถในการหยั่งรู้ถึง Profit Gap ด้วยตัวเอง

 

2. Winning and being a winning trader are two different things

ความต่างระหว่าง “ผู้ชนะ” กับ “คนที่มี mindset เป็นผู้ชนะ”

 

มาร์ค ดักลาส พูดว่า ใครก็สามารถเป็นผู้ชนะได้ในเกมส์นี้ แม้แต่เด็ก 5 ขวบก็ยังสามารถชนะได้โดยอาศัยความโชคดี แบบไม่ต้องใช้ทักษะใดๆ แค่กดปุ่มคลิ๊กซื้อคลิ๊กขาย

 

มีเทรดเดอร์หน้าใหม่อยู่จำนวนไม่น้อย ที่ตกลุมพรางคิดว่าตัวเองเป็น “ผู้ชนะ” จากผลกำไรที่ทำได้ในช่วงเริ่มต้นของการเทรด จึงทำให้ผันตัวเองออกมาเป็นเทรดเดอร์เต็มตัว

 

และมีความคิดที่ว่าพวกเขาสามารถหาเลี้ยงชีพจากสิ่งนี้ได้ไม่ยาก แต่หารู้ไหมว่าการที่มีความคิดเช่นนี้อาจจะนำพาหายะนะ ความล้มเหลว การขาดทุน มาสู่ตัวเขาได้

 

เพราะว่าเขาเอาชีวิตของตัวเองมาเดิมพัน คาดหวังว่าการเป็นเทรดเดอร์จะสร้างผลกำไรอย่างงาม ยิ่งมีความคาดหวังมากเท่าไหร่ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเทรดด้วยอารมณ์มากขึ้นเท่านั้น

 

ในส่วนของคนที่มีmindset เป็นผู้ชนะ เขาจะมีทักษะทางด้านจิตใจและอารมณ์ สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ และรู้ว่าจะต้องทำใจอย่างไร

 

เขารู้ว่าตลาดตลาดเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน เขาไม่สามารถที่จะควบคุตลาดได้ แต่เขาสามารถหาช่องทางทำกำไรได้จากการไหลตามเทรนของตลาดไป

 

3. Mental skills are the key to trading

ทักษะทางจิตใจเป็นกุญแจสำคัญในการเทรด

 

ประเด็นสำคัญที่ดูเหมือนว่ามาร์ก ดักลาสต้องการจะดึงดูดผู้คนจริงๆ คือ แม้ว่าวิธีการของคุณจะเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้สูงหรือกลยุทธ์ที่ดีเลิศ

 

แต่ก็เป็นการดำเนินการที่เหมาะสมของวิธีการนั้นที่คุณต้องการทักษะทางจิตที่เหมาะสม ถ้าคุณไม่มีทักษะทางจิตเหล่านั้น แม้แต่กลยุทธ์ที่ชนะก็จะแพ้

 

ทักษะทางจิตวิทยาก็คือการมีสติรับรู้ โฟกัสในแต่ละกระบวนการในการเทรดของคุณโดยไม่กังวลของผลที่จะตามมา หากคุณผิดพลาดในการเทรด คุณก็จะมีวิธีรับมือกับความรู้สึกของตัวเอง

 

สิ่งสำคัญที่มาร์ก ดักลาส เตือนเทรดเดอร์ ด้วยใจความที่ว่า จำไว้ว่าไม่ว่าวิธีการทางเทคนิคของคุณจะดีเลิศสักแค่ไหน แต่นั้นก็ไม่สามารถการันตรีว่าคุณจะสามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอได้

 

เทคนิคหรือกลยุทธ์คือส่วนหนึ่งของการเทรดแต่ไม่ใช่ทั้งหมด คุณไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าอะไรจะเกิดขึ้น คุณอาจจะเป็นคนพลาดเอง อย่างเช่นกดซื้อช้า กดขายช้า หรืออาจะเกิดจากระบบขัดข้อง ซึ่งคุณไม่สามารถคาดเดาได้

 

ถ้าหากเทรดเดอร์คนไหน ขาดทักษะในการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง อาจจะทำให้การเทรดหลังจากนั้นล้มเหลวได้

 

“ทักษะทางจิตใจหรือจิตวิยาในการเทรด” จริงๆ แล้วมันหมายถึงการมีวินัยที่อยู่ในสายเลือด เช่น การสามารถควบคุมอามรมณ์ของตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรม ไม่ติดกับดักกับสิ่งล่อใจ

 

โดยพื้นฐานแล้ว ในฐานะเทรดเดอร์ คุณกำลังต่อสู้กับตัวเองเพื่อดูว่าส่วนใดของสมองของคุณมีการควบคุมมากกว่า บางคนใช้ตรรกะและการวางแผนขั้นสูง บางคนใช้อารมณ์นำทาง

 

แต่หากใช้จิตวิทยาเข้ามาช่วยมันจะทำให้ตรรกะและอารมณ์บาลานซ์กันทำให้การเทรดมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

 

3. Technical price patterns aren’t designed to tell us what ‘will’ happen next

รูปแบบกราฟทางเทคนิคไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบอกเราว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในอนาคต…

 

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่บ่งชี้ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่ได้หมายความว่าตลาดจะดำเนินไปในทิศทางนั้นจริงๆ เสมอไป

 

ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐมีแนวโน้มอ่อนตัวลง แต่นั่นก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าตามไปด้วย เพราะถ้าสกุลเงินอื่นๆ ทั้งหมดอ่อนค่าลง เทรดเดอร์ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกถือดอลลาร์สหรัฐไว้มากกว่า

 

เนื่องจากสหรัฐฯ คือประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก และน่าจะมีการฟื้นตัวที่เร็วกว่าประเทศอื่นๆ นั่นเอง

 

มาร์ค ดักลาส อธิบายต่อว่า การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต้องใช้เวลานานในการฝึกฝนให้ชำนาญเพื่อให้สามารถคาดการณ์ทิศทางสภาวะตลาดที่ได้รับผลกระทบจากข้อมูลทางเศรษฐกิจ อย่างเช่น รายงานสภาวะเงินเฟ้อ และการประกาศผลประกอบการของธุรกิจ เป็นต้น

 

เนื่องจากมีการใช้งานการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างแพร่หลาย จึงอาจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวในตลาดอย่างฉับพลันซึ่งมาจากการที่เทรดเดอร์หลาย ๆ คนได้ผลการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการคาดคะเนทิศทางตลาดเหมือนกันนั่นเอง

 

ในตลาดการเงินบางประเภท ควรนำเอาการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอยู่เสมอ

 

4. Accepting the random nature of trading

ยอมรับว่าการเทรดมีได้มีเสีย

 

ความผิดหวังมาจากการคาดหวังในสิ่งที่วิธีการของเราทำไม่ได้ คาดหวังมากก็ผิดหวังมาก ถึงแม้ว่าคุณจะมีวิธีการและรูปแบบทางเทคนิคที่ทำให้คุณได้เปรียบ แต่ก็ใช่ว่าคุณจะได้กำไรตลอดในทุกๆครั้ง

 

อย่ายึดติดกับการซื้อขายครั้งล่าสุดของคุณ ให้เน้นที่วิธีการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

“ไม่มีความแน่นอน ในความแน่นอน” มาร์ค ดักลาส กล่าว ทางที่ดีควรตามเทรด ทำกำไรตามเทรนด์ ถึงแม้มันไม่ใช้เงินก้อนใหญ่แต่ถ้าหากเรามิวินัยจดจ่อกับมัน เห็นช่องทาง จากเงินน้อยๆ ก็จะกลายเป็นเงินสะสมก้อนใหญ่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้เวลา

 

5. Think in probabilities, not certainties

คิดถึงความน่าจะเป็น ไม่ใช่ความแน่นอน

 

มองการเทรดในรูปแบบความน่าจะเป็น มาร์ค ต้องการจะสื่อว่าเทรดเดอร์ที่แท้จริงเขาไม่รู้หรอกว่าผลลพธ์ของการเทรดแต่ละครั้งมันจะเป็นอย่างไร ออกมาในรูปแบบไหน มีโอกาสที่จะทำกำไรได้ ขาดทุน หรือเสมอตัว

 

แต่การที่เขาวางแผนโดยการดูแนวโน้มความความน่าจะเป็นมีโอกาสที่จะทำกำไรได้ ซึ่งรูปแบบดูความน่าจะเป็นนี้สามารถช่วยให้เทรดเดอร์รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นในการเทรด

 

เพราะเขามีความคิดที่ว่าเขาทำมันดีที่สุดแล้ว การตัดสินใจนั้นเป็นอะไรที่ถูกต้องที่สุดแล้วในเวลานั้น ทำให้เทรดเดอร์ไม่ต้องมาโทษตัวเองทีหลัง

 

โดยส่วนตัวของมาร์คแล้ว ชอบเทรดแบบ swing trade  คือมุ่งเน้นไปททำกำไรได้ในระดับ 20% เท่านั้น

 

มาร์คมองว่ามันเป็นกระบวนการเทรดแบบทำธุรกิจคือทำยังไงก็ได้ให้มีกำไรมากกว่าขาดทุน และสะสมมันขึ้นไปในที่สุด แล้วถ้าการสะสมมีระยะเวลาที่ยาวนานมากพอ จำนวนปีที่มากพอ

 

ในที่สุดมันก็จะกลายเป็นความมั่งคั่งเปลี่ยนสถานะจากชนชั้นกลางจนกลายเป็นคนร่ำรวยมหาเศรษฐีมีเงินเหลือใช้ก็มีโอกาสเป็นไปได้

 

7. Beware of the “electronic disconnect”

จงระวังเทรดเดอร์รายใหญ่

 

สมัยก่อนตลาดการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น ฯลฯ เป็นคนต่อคน คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อคน แต่ตลาดในสมัยนี้โดยพื้นฐานแล้วเป็นตลาดอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ซื้อขายจากแล็ปท็อปหรือโทรสัพท์มือถือของตน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ลดลง

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเคลื่อนไหวของกราฟราคาทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ที่สร้างขึ้นโดยอารมณ์มนุษย์ ทุกสิ่งเกิดขึ้นเพราะสิ่งที่ผู้คนมีความเชื่อ..

 

นี่เป็นประเด็นสำคัญที่มาร์คพูดถึงในการสัมมนาของเขา ความจริงที่ว่าเทรดเดอร์รายใหญ่มีอิทธิพลที่จะสามารถเคลื่อนย้ายตลาดได้อย่างง่ายดาย จงระวังและติดตามข่าวสารอย่างมีสติมันจะทำให้คุณปรับตัวได้ทันท่วงที

 

8. My mind has to be free

ทำใจให้สบายเวลาเทรด

 

เพื่อที่จะให้การเทรดเป็นอย่างราบรื่น เราควรทำใจให้สบายๆ ไม่ปกดดันตัวเองว่าฉันต้องชนะการเทรดครั้งนี้ ฉันต้องได้กำไร อย่ามองเล็กๆ ให้มองดูภาพรวมว่าวันนี้ถึงแม้จะขาดทุน

 

แต่ทักษะการเรียนรู้บางอย่างก็ได้เพิ่มขึ้น อย่าตกเป็นทาสของอารมณ์ในการมุ่งหวังที่จะเป็นผู้ชนะเพียงอย่างเดียว

 

9. I have to change the way I think about the market: think like a pro.

เทรดโดยการใช้หลักความคิดแบบมืออาชีพ

 

เทรดเดอร์มืออาชีพไม่ได้คิดกับตัวเองว่า “การเทรดนี้จะได้ผลหรือไม่?” แต่พวกเขาจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของตเองทั้งในด้านจิตใจและทางด้านเทคนิค พวกเขามีวินัยทำตามแผนมากกว่าอารมณ์

 

เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะให้ความสำคัญกับการกระทำมากกว่าการคำนึงถึงเงิน ทัศนคติเช่นนี้ทำให้พวกเขาโฟกัสสิ่งที่ควรทำได้ถูกต้อง

 

ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถพัฒนาพฤติกรรมในการเทรดให้ประสบความสำเร็จและสามารถอยู่ในตลาดการลงทุนได้อย่างมั่นคง

 

ในทางกลับกัน การมัวแต่ให้ความสำคัญกับมูลค่าของเงินมากจนเกินไปจะทำให้ท่านลืมปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น การทำตามแผนการเทรด, การมีวินัยในตนเอง, การเลี่ยงการเทรดที่เกินตัว, การไม่สนใจความเสี่ยง, การถือ position นานเกินกว่าที่ควร และการตั้งจุดขาดทุนที่ผิดพลาด เป็นต้น

 

10. It’s not about being right or wrong

มันไม่มีหรอกที่ว่ากลยุทธ์นี้ถูกหรือกลยุทธ์ผิด

 

มันไม่เกี่ยวหรอกที่ว่ากลยุทธ์นี้ถูก หรือกลยุทธ์ผิด มันเกี่ยวกับโอกาส ณ ช่วงเวลานั้นๆ ต่างหาก บางคนถึงกับยืดติดว่ากลยุทธ์นี้ผิด และกลายเป็นความกลัวที่จะหลักการนั้น ทั้งที่ความจริงแล้วมันอาจจะไม่ได้ผิด 100% แต่มันแค่ไม่ถูกจังหวะองมันเฉยๆ “กลยุทธ์ถ้าทำไม่ถูกที่ถูกเวลา มันก็ไม่ประสบความสำเร็จ”

 

11. Demo trading can show me how to think

ใช้ความรู้สึกที่เทรดในบัญชี Demo กับบัญชีจริง

 

เวลาคุณเทรดในบัญชี Demo คุณไม่ได้ใช้เงินจริง คุณจึงไม่มีความกดดันหรือความเครียดที่มากมาย ให้คุณลองสังเกตุตัวเอง เวลาเทรด Demo กับบัญชีจริงอะไรให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

 

คนส่วนมากจะเทรดได้กำไรในบัญชี Demo และขาดทุนอย่างมากในบัญชีจริง แท้จริงอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนหรอ ?  มันก็อารมณ์ของเทรดเดอร์นั้นเอง

 

12. I need a good trading edge

หาข้อได้เปรียบในการเทรด

 

ดังที่มาร์คกล่าว สิ่งแรกที่คุณต้องเรียนรู้ในฐานะเทรดเดอร์คือวิธีนำโอกาสแห่งความสำเร็จมาสู่คุณ พูดอีกอย่างก็ คือ คุณต้องมีข้อได้เปรียบในการเทรดที่มีโอกาสสูง แต่อย่าลืมว่า ความได้เปรียบในการซื้อขายเป็นเพียงความน่าจะเป็นที่สามารถสร้างผลกำไรได้

 

แต่ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าคุณจะทำเงินในตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องรวบรวมทักษะทางการเทรดข้ากับทักษะทางจิตใจอย่างเหมาะสม

 

*ถ้าคุณอยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับจิตวิทยาในการเทรดของ Mark Douglas แนะนำเล่มนี้ Trading in the zone หรือโซนแห่งเทรดเดอร์ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไป

 

Source