จิตวิทยาการเทรด 3 ข้อนี้ ทำให้การเทรดเจ๊ง

เรื่องPatihanUhas

จิตวิทยาการเทรด

จิตวิทยาการเทรด 3 ข้อนี้ ทำให้การเทรดเจ๊ง เป็นกับดักทางจิตวิทยาในการเทรด ที่ทำให้เทรดเดอร์หลายคนไม่ประสบความสำเร็จในการเทรด และเทรดเดอร์หลายคนอาจจะตกอยู่ในกับดักเหล่านี้โดยที่ไม่รู้ตัว

 

จิตวิทยาการเทรด 3 ข้อนี้ ทำให้การเทรดเจ๊ง

  1. F.O.M.O trading (Fear Of Missing Out)
  2. Revenge trading
  3. Gambler’s Fallacy

 

 

1. F.O.M.O Trading (Fear of Missing Out)

FOMO ย่อมาจากคำว่า Fear Of Missing Out หรือความกลัวที่จะพลาดโอกาสอะไรบางอย่างไป เทรดเดอร์ที่ตกอยู่ในอาการ F.O.M.O มักจะมองโลกในแง่ดี เกี่ยวกับการค้าแต่ละครั้ง

 

“หากฉันพลาดการเทรดครั้งนี้ อาจจะไม่มีโอกาสเช่นนี้อีกแล้ว”

 

คนส่วนมากต่างเห็นต่างเห็นฟ้องต้องกัน ว่าเป็นช่วงเวลาดีๆในการเข้าซื้อ การที่มีอารมณ์ F.O.M.O. ส่งผลกระทบต่อเทรดเดอร์จำนวนมากโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว

 

F.O.M.O. ทำให้เกิดอารมณ์ 2 อย่างนี้ขึ้นมา

  • อย่างแรก มันอาจทำให้คุณเทรดไปตามสิ่งที่คุณเห็น (โดยขาดการพิจารณา)
  • อย่างที่สอง มันอาจจะกระตุ้นให้เพิ่มขนาดการเทรดให้ใหญ่ขึ้น และมีความเสี่ยงมากขึ้น

 

 

ทำไมถึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองตกหลุมพราง F.O.M.O

ในการประชุมประจำปีของผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway บริษัทลงทุนของ Buffett ที่ผ่านมา เขายอมรับว่าตัดสินใจผิดพลาดที่ไม่ซื้อหุ้น Google (ปัจจุบันคือ Alphabet) มาโดยตลอด

 

เขาเล่าว่าผู้ก่อตั้ง Google เคยมาเสนอขายหุ้นกับเขาหลังจากนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ๆ แต่ Buffett ปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าไม่สนใจหุ้นเทคโนโลยี

 

Buffett บอกว่าเขารู้จัก Larry Page และ Sergey Brin อีกทั้งเขามีโอกาสจะถามคำถามหรือเรียนรู้ธุรกิจไฮเทคจากผู้ก่อตั้งทั้งสอง แต่เขาเป็นคนปล่อยโอกาสนี้ให้หลุดมือไปเอง

 

คู่หูของ Buffett คือ Charlie Munger ก็ให้มุมมองแบบเดียวกันว่า สิ่งที่ Berkshire ทำผิดพลาดมากที่สุดก็ คือ การมองไม่เห็นศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจของ Google โดยเฉพาะโมเดลการขายโฆษณาบน search engine

 

โดยตอนนั้น บริษัทลูกของ Berkshire อย่างบริษัทประกัน Geico จ่ายเงินซื้อโฆษณาในราคาแพงถึง 10-11 ดอลลาร์ต่อการคลิกหนึ่งครั้ง นั่นแปลว่า Berkshire มีข้อมูลมากมายว่าโมเดลโฆษณาแบบนี้มีอนาคต แต่บริษัทกลับมองข้ามไป

 

มีบางอย่างที่เป็นจุดบอดและปิดกั้นพวกเขาไม่ให้เห็นโอกาส

 

Charlie Munger กล่าวต่อเหตุการณ์นั้นว่า “We will keep missing them! Our secret is that we don’t miss them all” เราอาจจะผิดพลาดบ้าง แต่ความลับคือเราไม่ได้พลาดไปเสียทั้งหมด

 

ดังนั้นอย่างให้ลองคิดดูสักครู่ว่า ขนาดนักลงทุนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ยังไม่กังวลเกี่ยวกับการจับทุกการลงทุน แล้วทำไม คนอย่างเราๆ ต้องกลัวเสียโอกาสนั้นไปด้วย คุณไม่อาจทราบได้หรอก ว่าผลลัพธ์มันจะเป็นอย่างไร ถ้าหากคุณแพ้ สิ่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเกมส์

 

วิธีแก้ไข

 

เอาตัวเองออกจาก Chatroom trader (จิตวิทยาการเทรด)

คุณต้องไม่เทรดตาม Ideas ของคนอื่น การที่คุณติดตามเทรดเดอร์รายอื่นบน Social media คุณควรแยกตัวเองและทำการเทรดเพียงลำพัง(สักเล็กน้อย) เหตุผลที่ฉันพูดแบบนี้ก็เพราะว่า บ่อยครั้งใน Chatroom หรือ บน Social Media เราเห็นคนอื่นทำเงินได้ และโดยธรรมชาติแล้ว สิ่งนี้ทำให้เกิดความกลัวที่จะพลาดโอกาสในอนาคต

 

จำไว้ว่า ฉันไม่ได้บอกว่าการติดตามข่าวสารใน Chatroom trader และsocial media เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ จริงๆแล้วมันก็ดี แต่คุณไม่ควรเชื่อทั้งหมดที่สื่อบอก พวกมันอาจจะมีหน้าที่เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่ง แต่ไม่ใช่สิ่งนำทาง

 

กลยุทธ์ที่ดีในการต่อสู้กับอาการ F.O.M.O คือการที่คุณศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังจะลงทุน

 

วางแผนกลยุทธ์สำหรับการเทรด

วางแผนกลยุทธ์อย่างละเอียด เมื่อไหร่ควรซื้อ เมื่อไหร่ควรขาย

 

2. Revenge trading (อยากจะเอาเงินคืน)

นี้ถือว่าเป็นการผิดพลาดทาง จิตวิทยาในการเทรด เทรดเดอร์ที่ตกหลุมพรางนี้ จะเทรดเหมือนคนบ้าคลั่ง มีโอกาสสูงมากที่เทรดเดอร์จะสูญเสียเงินหรือถึงขั้นพอร์ตแตก เพียงเพราะว่าอยากจะเอาชนะตลาด อยากจะแก้แค้น อยากจะเอาเงินที่เสียไปกลับคืนมา

 

วิธีแก้ไข

 

การกำจัดอารมณ์ ที่อยากจะแก้แค้นหรือเอาคืนนี้ เราต้องย้อนกลับมาดูที่ต้นเหตุ

  • คุณเทรด Lot ใหญ่ไปไหม? แก้ไขคือ >> Trade Smaller Size
  • ใช้ตรรกะ ในการเทรด ไม่ใช่อารมณ์
  • Drake เคยกล่าวว่า “You win some … you lose some…. Long as the outcome is Income”

 

ตราบใดที่ผลลัพธ์มันคือเงินตรา … คุณอาจจะชนะบ้าง … คุณอาจะแพ้บ้าง เป็นเรื่องธรรมดา

  • ความคาดหวังกำไรที่เวอร์เกินจริง จากการซื้อขาย
  • โฟกัสและให้มองความสำเร็จเป็นภาพใหญ่ในระยะยาว สิ่งนี้สำคัญกว่าการพยายามเทรดอย่าบ้าคลั่งเพื่อเอาเงินคืน
  • ไม่ควรที่ที่จะคาดหวังว่าต้องได้กำไรในทุกๆวัน (เพราะว่าตลาดการเงินผันผวน)

 

3. Gambler’s Fallacy : ความหลงผิดของนักพนัน

ความหลงผิดของนักพนัน คือความเชื่อผิดๆที่ว่าความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะได้รับอิทธิพลบางอย่างจากเหตุการณ์ในอดีต ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นอิสระจากกันในทางสถิติ อย่างกรณีของเลขลอตเตอรี่ การออกผลรางวัลแต่ละงวดไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ต่อกัน

 

แต่นักพนันเลขท้ายก็มักจะได้รับอิทธิพลจากผลรางวัลงวดก่อนๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ให้เชื่อไปว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ตัวเลขบางตัวจะออกในงวดถัดไป

 

ตัวอย่าง

ในการโยนเหรียญ 10 ครั้ง เหรีญหัวหมูออกมา 5 ครั้งติดๆกัน

 

คุณคิดว่า ครั้งที่ 6 จะออกมาเป็นหัวหมูหรือหางหมู ?  (ลองคิดเล่นๆดู..)

 

ถ้าหากว่าคุณตอบว่า โยนเหรียญครั้งที่ 6 โอกาสในความน่าจะเป็นคือ หางหมู คุณกำลังตกอยู่ใน Gambler’s Fallacy

 

สรุปคือ ความน่าจะเป็นที่จะออกหัวหมูหรือหางหมู ในแต่ละครั้งก็คือ 50:50 และแม้เราจะโยนเหรียญติดต่อกันสัก10 ครั้ง

 

เหตุเกิดในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1913 ณ บ่อนคาสิโนแห่งมอนติ คาร์โล ในเกมรูเลทท์ครั้งหนึ่ง ได้เกิดกรณีที่ลูกบอลรูเลทท์ตกหลุมสีดำติดต่อกันถึง 15 ครั้ง

 

เกิดความตื่นตะลึงขึ้นในหมู่นักพนัน หลายคนเชื่อว่าครั้งต่อไปผลจะต้องออกมาเป็นสีแดงเป็นแน่ เมื่อเชื่อเช่นนั้นก็ทุ่มพนันข้างแดง แต่แล้วครั้งที่ 16 ก็ยังออกมาดำอีก ครั้งที่ 17 ก็เช่นกัน

 

แต่ผลลัพธ์เช่นนี้ยิ่งทำให้นักพนันทุ่มพนันข้างแดงเพิ่มขึ้นเท่าทวี สองเท่า สามเท่า แต่ใครจะนึกไปถึงได้ว่า ลูกบอลรูเลทท์จะตกลงในช่องสีดำติดต่อกันจนกระทั้งครั้ง 26 ไม่ต้องจินตนาการให้มากนัก

 

คุณคงจะเดาออกได้ว่านักพนันหลายคนคงถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว ว่ากันว่าเกมนั้น บ่อนคาสิโนแห่งมอนติ คาร์โลรับทรัพย์ไปเป็นล้านฟรังก์

 

นี่คือตัวอย่างอันโด่งดังของความหลงผิดของนักพนัน จนทำให้มันมีอีกฉายาหนึ่งว่า ‘ความหลงผิดแห่งมอนติ คาร์โล’ (Monte Carlo fallacy) รูเลทท์เป็นอีกเกมการพนันหนึ่งที่ผลลัพธ์ในแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน หากคุณปล่อยให้การผลลัพธ์ในอดีตส่งผลต่อการตัดสินใจในครั้งต่อไปๆแล้ว คุณก็หลงไปเป็นชาวมอนติ คาร์โลกับเขาได้เช่นกัน

 

สำหรับการเทรดก็เช่นกัน ตลาดมันไม่ได้สนใจว่าการเทรดครั้งล่าสุดของคุณจะแพ้หรือชนะ

 

วิธีแก้ไข

 

คือการฝึกจิตสำนึก คอยระวังตัวเองไม่ให้ตกหลุมพราง “ความหลงผิดของนักพนัน”

  • ถ้าคุณเทรดแพ้ตลอด ไม่ได้แปลว่าครั้งต่อไปจะชนะ
  • ถ้าคุณเทรดชนะตลอดไม่ได้แปลว่าครั้งต่อไปคุณจะแพ้

 

สรุป

ตลาดหุ้นไม่ใช่สถานที่สำหรับคนที่มีอารมณ์อ่อนแอ คุณต้องเทรดบนพื้นฐานของการมีสติ

 

 

Source

 

https://www.youtube.com/watch?v=Pz_9VsW869Y