สรุปเหตุการณ์สำคัญ 115 วัน ตั้งแต่เริ่ม สงครามรัสเซีย – ยูเครน หลังจากวิกฤตโควิดเริ่มซาลง ก็มีสงคราม“รัสเซียบุกยูเครน” เข้ามาซ้ำเติม ส่งผลให้ “โลกและโมเดลเศรษฐกิจเปลี่ยนไป”
ข่าวเกี่ยวกับ สงครามรัสเซีย – ยูเครน
- การโจมตีทางอากาศของรัสเซียที่เมืองลีซีชานสก์ (Lysychansk)ทางตะวันออกของยูเครน การบุกรุกครั้งนี้ได้คร่าผู้คนไปหลายชีวิต ถนนสายหลักต้องปิด
- สื่อรัสเซียเผยแพร่ภาพพลเมืองสหรัฐฯ 2 คนที่ถูกจับกุมขณะต่อสู้เพื่อยูเครน ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กล่าวว่าเขาได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับชาวอเมริกันที่หายตัวไป แต่ก็ไม่รู้ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน
- ยูเครน ระบุว่า กองกำลังของตนโจมตีเรือลากจูงของกองทัพเรือรัสเซียด้วยขีปนาวุธ Harpoon 2 ลูกในทะเลดำ ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาอ้างว่าได้โจมตีเรือรัสเซียด้วยอาวุธต่อต้านเรือที่ทางตะวันตกจัดหาให้
- ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน แจ้งต่อประชาชนทั่วประเทศว่า แพทย์หญิงชาวยูเครนผู้บันทึกคลิปเหตุการณ์การช่วยเหลือทหารยูเครนและรัสเซียที่บาดเจ็บจากการปะทะกันในเมืองมารีอูปอลของยูเครน ได้รับการปล่อยตัวจากรัสเซียแล้ว หลังจากถูกควบคุมตัวไว้นาน 3 เดือน
ข่าวเกี่ยวกับทางการทูต
- ในการเยือนยูเครนครั้งที่สองตั้งแต่เริ่มสงคราม ของ บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เขาได้เสนอการฝึกทหารให้กับกองกำลังยูเครน ในขณะที่เขาได้พบกับเซเลนสกีในเคียฟ
- ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียกล่าวหาตะวันตกว่า มีความเย่อหยิ่งในอาณานิคม และพยายามบดขยี้ประเทศของเขาด้วยการ “คว่ำบาตรที่โง่เขลา” ซึ่งการที่ชาติตะวันตกออกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจะส่งผลกระทบย้อนกลับไปสู่ชาติตะวันตกเอง โดยจะทำให้ราคาอาหารและพลังงานพุ่งขึ้น
- Dmytro Kuleba (ดีมีโทร อีวาโนวิช คูเลบา) รัฐมนตรีของยูเครน ผู้นำด้านการทูตในภาวะสงครามผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการฑูตและแนวนโยบายต่างประเทศมากที่สุดคนหนึ่ง เขาได้เรียกร้องให้ชาติตะวันตก “ไม่เสนอเงื่อนไขที่ยอมรับไม่ได้” เห็นได้ชัดว่าเขากำลังสื่อถึงอะไร เพราะก่อนหน้านั้นประธานาธิบดีฝรั่งเศส Macron ได้กล่าว่า “การแก้ปัญหาทางการทูตไม่จำเป็นต้องทำให้รัสเซียอับอาย” ซึ่งทำให้คูเลบาไม่พอใจเท่าไหร่นัก
- แผนการของสหรัฐฯ ในการขายโดรนติดอาวุธขนาดใหญ่ 4 ลำให้กับยูเครนถูกระงับชั่วคราว เนื่องจากเกรงว่าอุปกรณ์เฝ้าระวังที่ซับซ้อนอาจตกไปอยู่ในมือของศัตรู แหล่งข่าว 2 แห่ง ได้บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์
ข่าวเกี่ยวกับเศรฐกิจ
1. กระทรวงพลังงานของลิทัวเนีย ออกแถลงการณ์ที่ระบุว่า ลิทัวเนีย ยกเลิกการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย บล็อกการนำเข้าและส่งออกสินค้าจำนวนมากโดยทางรถไฟเนื่องจากการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก
2. อิตาลีอาจประกาศ “ภาวะตื่นตัวเรื่องก๊าซ” ในสัปดาห์หน้า หากรัสเซียยังคงควบคุมการจ่ายก๊าซไปยังกรุงโรม แหล่งข่าวของรัฐบาล 2 แห่งได้ระบุว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแหล่งข่าวของรัฐบาล 2 แห่ง กล่าวว่า มีรายงงานมาจากบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของอิตาลี Eniว่ามีน้ำมันไม่เพียงพอจากมอสโกเป็นวันที่สามแล้ว (จากสำนักข่าวรอยเตอร์)
3. ก๊าซธรรมชาติที่ส่งจากรัสเซียไปเยอรมนีผ่านท่อส่ง Yamal-Europe ได้หยุดลงแม้ว่าจะมีการประมูลซื้อเพิ่มเติมจากลูกค้าของบริษัทGazprom ก็ตาม
4. ยูเครนส่งออกธัญพืชผ่านโปแลนด์-โรมาเนียแทนการส่งออกผ่านทะเลดำที่ถูกรัสเซียปิดล้อม ยูเครนได้ใช้2 เส้นทางใหม่สำหรับการส่งออกธัญพืช โดยการขนส่งทางรถไฟผ่านทางโปแลนด์และโรมาเนียทั้งนี้ เส้นทางใหม่ดังกล่าวเป็นการขนส่งหลายทอด มีราคาค่าขนส่งแพงกว่าการขนส่งสินค้าทางเรือ
5. เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เตือนนายธนาคารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการรุกรานของรัสเซีย และตอกย้ำความมุ่งมั่นของกระทรวงในการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองแบบเรียลไทม์
6. สหรัฐฯ เรียกร้องเซอร์เบียยกเลิกซื้อก๊าซรัสเซีย หลังบรรลุข้อตกลงซื้อก๊าซจากรัสเซียเป็นเวลา 3 ปี สหรัฐฯ มีแผนเสนอแหล่งอุปทานก๊าซธรรมชาติอื่นแก่เซอร์เบียทดแทนการนำเข้ารัสเซีย ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับส่งก๊าซในแอลเบเนียและกรีซโดยคาดว่าจะเสนอทางเลือกดังกล่าวให้แก่ เซอร์เบียในอีก 2 เดือนข้างหน้า พร้อมทั้งระบุว่าสหรัฐฯ จะให้การสนับสนุนการเข้าร่วมเป็นสมาชิก EU ของเซอร์เบียด้วย
7. สวีเดนเตรียมแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการก่อการร้าย-อาวุธ เพื่อเข้าเป็นสมาชิก NATO สวีเดนได้เริ่ม ดำเนินการแก้ไขกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและกรอบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกอาวุธ เพื่อที่จะทำให้ตุรกีให้ความเห็นชอบสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกของ NATO หลังตุรกีขัดขวางการเข้าเป็นสมาชิก โดยอ้างว่า สวีเดนสนับสนุนองค์กรก่อการร้ายในตุรกี
8. FAO ระบุว่า ข้าวอาจแพงขึ้นตามราคาอาหารทั่วโลก และมีความเสี่ยงที่จะมีการใช้มาตรการปกป้อง ทางการค้า องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)ระบุว่า ราคาอาหารทั่วโลก ตั้งแต่ข้าวสาลีและธัญพืชอื่นๆ ไปจนถึงเนื้อสัตว์และน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความขัดแย้ง ในยูเครน ทำให้เกิดภาวะชะงักงันและมีการห้ามการส่งออกอาหารในหลายประเทศโดยข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย อาจเป็นสินค้าชนิดต่อไปที่มีราคาสูงขึ้น
9. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนภูมิภาคเอเชียมีความเสี่ยงเกิดภาวะ stagflation (26 เม.ย.2022) เจ้าหน้าที่อาวุโสของ IMF ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียอาจเผชิญกับแนวโน้ม stagflation หรือภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น โดยเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น ประกอบกับผลจากการชะลอตัวของคู่ค้าในยุโรป และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนกำลังเพิ่มแรงกดดันต่อการเติบโตในภูมิภาค ดังนั้นภูมิภาคเอเชียจึงอาจเผชิญกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ซบเซา ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
10. การส่งออกชาของศรีลังกาลดต่ำสุดรอบ 23 ปีหลังได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน ( 4 พ.ค.2022)การส่งออกชาซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของประเทศในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงเหลือ 63.7 ล้านกิโลกรัม จาก 69.8 ล้านกิโลกรัมในช่วงเดียวกันของปีก่อน
11. ญี่ปุ่นเตรียมใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าใช้ในประเทศ ( 8 พ.ค. 2022) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นจะใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน และทดแทนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย
12. รัสเซีย-จีน ลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐฯยกระดับการค้าขายโดยตรงระหว่างสกุลเงินหยวน-รูเบิล สำนักข่าว Bloomberg ระบุว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มี.ค. – พ.ค. 2022) ปริมาณการแลกเปลี่ยนเงินรูเบิลและหยวน เพิ่มขึ้นถึง 1,067% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะในเดือน พ.ค. 2022 ตลาดซื้อขายทันที(spot) มีการแลกเปลี่ยนเงินหยวนเป็นเงินรูเบิลประมาณ 25,910 ล้านหยวน หรือประมาณ 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุบสถิติสูงสุดของเดิมเมื่อเดือน ก.พ. 2022 ถึง 12 เท่า
ข้อมูลดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารัสเซียกำลังต้องการสินค้าของจีนเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากตะวันตกที่หยุดชะงักและสินค้าจากบริษัทข้ามชาติที่ถอนตัวออกไป ในส่วนของจีนก็เป็นการสะท้อนบทบาทความเป็นสากลของสกุลเงินหยวนในการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น
13. UN เตือนผลกระทบของความขัดแย้งกระทบความมั่นคงทุกด้าน เลขาธิการ UN ระบุว่า ผลกระทบของความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนต่อความมั่นคงทางอาหาร พลังงานและการเงิน กำลังเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ทำให้เศรษฐกิจและสังคมอยู่ในภาวะไม่มั่นคง โดยขณะนี้ มีประมาณ 94 ประเทศซึ่งมีประชากรกว่า 6 พันล้านคน กำลังเผชิญกับวิกฤตอย่างน้อยหนึ่งอย่างและไม่สามารถรับมือได้
14. รัสเซีย-จีนเปิดสะพานข้ามแดนแห่งใหม่ หลังรัสเซียถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกเมื่อวันที่10 มิ.ย. 2022 รัสเซียและจีนเปิดสะพานข้ามแดนแห่งใหม่ ความยาวกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมระหว่างเมืองบลาโกเวชเชนสก์ในภูมิภาคอามูร์ ทางตอนใต้ของรัสเซีย กับเมืองเฮ่ยเหอ ในมณฑลเฮย์หลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งช่วยลดระยะทางขนส่งสินค้าระหว่าง 2 ประเทศลงได้ถึง 1,500กิโลเมตร ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐบาลรัสเซียเปิดเผยว่าสะพานข้ามแดนแห่งนี้ จะนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างจีนกับรัสเซีย
สงครามทำให้ “เศรษฐกิจอัมพาต” ส่งผลกระทบต่อราคา crypto
ภายหลังการโจมตียูเครนจากรัสเซียทำให้ตลาดหุ้นติดแดงทุกกระดานทั่วโลก ซึ่งมีผลไปถึงตลาดคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่พากันดิ่งเหว
ราคา Bitcoin ลดลงต่ำกว่า 20,000 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2020 เนื่องจาก crypto เทขายเร็วขึ้น ราคาของ bitcoin ลดลงต่ำกว่า $20,000 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2020 ในวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณใหม่ที่บ่งชี้ว่าการเทขายในสกุลเงินดิจิทัลนั้นรุนแรงขึ้น
Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ตกลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่สำคัญทางจิตวิทยา โดยลดลงมากถึง 9% เหลือน้อยกว่า $19,000 ตามข้อมูลของ CoinDesk
ครั้งสุดท้ายที่ Bitcoin อยู่ที่ระดับนี้คือเดือนพฤศจิกายน 2020 ซึ่งมันกำลังขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบ $69,000 ตอนนี้ Bitcoin ได้สูญเสียมูลค่าไปแล้วกว่า 70% นับตั้งแต่ถึงจุดสูงสุดนั้น Ethereum เป็นอีกหนึ่งสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ร่วงลงเช่นเดียวกันในวันเสาร์
ราคาบิทคอยน์ผันผวน ปรับตัวลงต่อเนื่อง หลังจากเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับเพิ่มอัตราดอก เบี้ยเป็น 0.75% ซึ่งนับสูงสุดตั้งแต่ปี 1994 และธนาคารกลางหลายแห่งส่งสัญญาณว่า จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ
“Robert Reich” นักเศรษฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ นักเขียน และนักวิจารณ์ชาวอเมริกัน
Robert Reich เขาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ตลาดคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่ร่วงระเนระนาดว่า “สุดท้ายแล้ว การฉ้อฉลแบบพอนซี (Ponzi scheme) ก็ได้พังทลายลงไป”
SOURCE
- https://www.aljazeera.com/news/2022/6/18/russia-ukraine-war-list-of-key-events-day-115
- https://www.theguardian.com/business/2022/jun/18/we-face-a-global-economic-crisis-and-no-one-knows-what-to-do-about-it
- https://www.usatoday.com/story/money/personalfinance/2022/06/18/bitcoin-price-below-20000-crypto-selloff/7669034001/
- https://www.aa.com.tr/en/europe/serbia-secures-new-3-year-deal-with-russia-for-gas-supply/2600651
- https://www.cnbc.com/2022/06/13/rice-prices-are-rising-amid-rising-food-inflation-export-bans-.html
- https://www.straitstimes.com/business/economy/imf-warns-asia-faces-stagflation-in-its-economic-outlook
- https://www.tamilguardian.com/content/sri-lankas-tea-exports-hit-23-year-low
- https://www.reuters.com/world/asia-pacific/japan-will-utilise-nuclear-reactors-reduce-dependence-russian-energy-pm-kishida-2022-05-05/
- https://www.bnnbloomberg.ca/yuan-ruble-trading-surges-as-america-s-rivals-rebuff-dollar-1.1772486\
- https://news.un.org/en/story/2022/06/1119962
- https://www.aljazeera.com/news/2022/6/10/russia-and-china-open-cross-border-bridge-as-ties-deepen
- https://decrypt.co/103002/bitcoin-fed-biggest-interest-rate-hike-1994
- https://www.theguardian.com/technology/commentisfree/2022/jun/19/the-crypto-crash-all-ponzi-schemes-topple-eventually
Author: