ยอดวิว : 695
Stochastic คืออะไร อินดิเคเตอร์ยอดฮิต หากใครที่กำลังเริ่มศึกษาในตลาด Forex หลายคนอาจจะเน้นไปที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยการดูอินดิเคเตอร์เป็นหลัก และแน่นอนว่าหนึ่งในอินดิเคเตอร์เหล่านั้นที่มีการพูดถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Stochastic Oscillator ดังนั้นในบทความนี้จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จัก Stochastic Oscillator และเรียนรู้หลักการใช้งาน รับรองว่าทันทีที่อ่านบทความนี้จบ คุณจะเข้าใจ Stochastic มากยิ่งขึ้น Stochastic คืออะไร
Stochastic เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด Forex เนื่องจากว่า Stochastic เป็นอินดิเคเตอร์ที่ให้สัญญาณการซื้อขายที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง จึงเป็นที่ถูกใจของเทรดเดอร์ในตลาด Forex เป็นอย่างมาก โดย Stochastic เป็นอินดิเคเตอร์ที่จัดอยู่ในหมวด Oscillator ซึ่งหมายถึงอินดิเตอร์ที่วัดการแกว่งตัวของราคา หรือเป็นอินดิเคเตอร์ที่เหมาะกับการวิเคราะห์ในสภาวะตลาดที่เป็น Sidewayประวัติ Stochastic Oscillator
ประวัติของ Stochastic Oscillator แท้ที่จริงยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าแท้ที่จริงแล้วใครคือผู้คิดค้น Stochastic ขึ้นมา บ้างก็ว่าคนที่คิดค้นขึ้นมาคือ George Lane เป็นผู้คิดค้น แต่ก็มีข้อมีมาโต้แย้งที่น่าชื่อถือกว่าว่าแท้ที่จริงแล้ว บริษัท Investor Educatur เป็นผู้คิดค้น Stochastic ขึ้นมาโดยมีบทความหนึ่งชื่อว่า “Stochastic Process” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบาย Stochastic Process ของราคา แต่ก็มีเรื่อง Indicator ด้วย จนชื่อบทความหลายเป็นส่วนหนึ่งของ Indicatorการเปิดใช้งาน Stochastic Oscillator
เปิดโปรแกรม MT4 แล้วเข้ามาที่แถบเมนู Insert > Indicators > Oscillators > Stochastic Oscillator2 เส้นองค์ประกอบใน Stochastic Oscillator
- เส้น %k คือเส้น Stichastic มีลูกศรสีแดงชี้อยู่
- เส้น %D คือเส้นค่าเฉลี่ยของ %K ในรูปคือเส้นประสีแดง
การใช้ Stochastic หาจุดเข้าซื้อ ในตลาด Forex
หลักการซื้อขาย Forex ด้วย อินดิเคเตอร์ Stochastic Oscillator แบบใหม่ฉบับ Uhas.com อาจจะไม่เหมือนกับหลายคนเคยศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ เพราะการตั้งค่าต่อไปนี้ เป็นค่าที่ผมลองปรับใช้ดูครับ ในการวิเคราะห์กราฟราคา ด้วยอินดิเคเตอร์ Stochastic Oscillator ฉบับ Uhas.com เราจะแบ่ง โซน การวิเคราะห์กราฟราคาบนอินดิเคเตอร์ Stochastic Oscillator ออกเป็น 3 โซน ได้แก่- โซนไม่แน่ใจ
- โซนกลับตัว
- โซนไปต่อ
วิธีการปรับค่า Stochastic Level
1. คลิกขวาที่เส้น Stochastic แล้วเลือก Stoch(5,3,3) properties… 2. เลือกเมนู Level กดลบ Delete ค่าเดิม บนช่อง Level ออก เพื่อเพิ่มค่าใหม่ลงไป 3. กรอกค่าใหม่ลงในช่อง Level 12, 27, 50, 73 และ 881. โซนราคาไม่แน่ใจ 27-73
โซนไม่แน่ใจ เริ่มจากค่า Level 27-73 (ในโซนไฮไลท์สีเทาตามภาพข้างล่าง) คือ โซนที่เราอาจจะยังไม่สามารถวิเคราะห์กราฟราคาได้ หรือราคาที่แสดงออกมายังไม่มีความชัดเจนพอ หากราคาอยู่ในโซนนี้ เราอาจจะยังไม่ทำการซื้อขาย และรอจนกว่าราคาจะเปลี่ยนไปอยู่ในโซนไปต่อ หรือโซนกลับตัว2. โซนอาจจะกลับตัว 12-27 และ 73-88
โซนอาจจะกลับตัว เริ่มจากค่า Level 12-27 และ 73-88 โซนกลับตัว (ในโซนไฮไลท์สีเทาตามภาพข้างล่าง) คือโซนที่กราฟราคามักจะมีการกลับตัวเกิดขึ้นเมื่อเข้ามาในโซนนี้ ตัวอย่าง ถ้าหากกราฟราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่ในตอนนี้ ได้เข้ามาในโซน 73-88 ในระหว่างที่กราฟราคาวิ่งอยู่ในโซนนี้ ให้เราคาดการณ์ว่า ราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่อาจจะมีการปรับตัวลง เมื่อหากเส้น Stochastic ออกจาก Level 73 ลงมา เป็นต้นหลักการเปิดออเดอร์ ในโซนอาจจะกลับตัว
- เปิดออเดอร์ Buy เมื่อราคาออกจากโซนอาจจะกลับตัว 12-27 แต่ยังไม่เปิดออเดอร์ทันที แต่เราจะรอให้ราคาขึ้นมาชนที่เส้น Level 50 เทคนิค
- เปิดออเดอร์ Sell เมื่อราคาออกจากโซนอาจจะกลับตัว 73-88 แต่ยังไม่เปิดออเดอร์ทันที แต่เราจะรอให้ราคาลงมาชนที่เส้น Level 50 เทคนิค
- 12-27 โซนกลับตัวขาลง ราคาที่กำลังปรับตัวลงอยู่ในตอนนี้ อาจจะมีการปรับตัวขึ้น เมื่อราคาเข้ามาในโซนกลับตัวขาลง
- 73-88 โซนกลับตัวขาขึ้น ราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่ในตอนนี้ อาจจะมีการปรับตัวลง เมื่อราคาเข้ามาในโซนกลับตัวขาขึ้น
3. โซนไปต่อ 0-12 และ 88-100
โซนไปต่อ เริ่มจากค่า Level 0-12 และ 88-100 โซนไปต่อ (ในโซนไฮไลท์สีเทาตามภาพข้างล่าง) คือ โซนที่ราคาเข้ามาในโซนนี้ แล้วมีโอกาสไปต่อในแนวโน้มเดิม ตัวอย่าง ถ้าราคาทะลุเส้น Level 88 ขึ้นไป หมายความว่าราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่ในปัจจุบัน อาจจะมีการปรับตัวขึ้นไปอย่างต่อเนื่องหลักการเปิดออเดอร์ ในโซนไปต่อ
หลักการเปิดออร์เดอร์ในโซนไปต่อ คือ เราจะไม่เปิดออเดอร์ทันทีที่ราคาเข้ามาในโซน Level 0-12 และ 88-100 แต่จะเป็นการเตรียมตัวเพื่อที่จะเปิดออเดอร์แทน สมมุติว่า ราคาเข้ามาในโซนไปต่อขาขึ้น หรือ ราคาได้ทะลุ Level 88 ขึ้นไป ให้คาดการณ์ว่า ราคาที่กำลังปรับตัวขึ้นอยู่ น่าจะยังสามารถขึ้นต่อไปได้อีก แต่เรายังไม่ต้องทำการเปิดออเดอร์ Buy แต่ให้เราเตรียมตัวเปิดออเดอร์ Buy ไว้ เพราะเราจะรอให้ราคามีการย่อตัวก่อน หากราคาย่อตัวเสร็จ เราจึงค่อยเปิดออเดอร์ Buy สมมุติว่า ราคาเข้ามาในโซนไปต่อขาลง หรือ ราคาได้ทะลุ Level 12 ลงมา ให้คาดการณ์ว่า ราคาที่กำลังปรับตัวลงอยู่ ราคาน่าจะยังสามารถลงต่อไปได้อีก แต่เรายังไม่ต้องทำการเปิดออเดอร์ Sell แต่ให้เราเตรียมตัวเปิดออเดอร์ Sell ไว้ เพราะเราจะรอให้ราคามีการพักตัวก่อน หากราคาพักตัวเสร็จ เราจึงค่อยเปิดออเดอร์ Sellตัวอย่าง เปิดออเดอร์จากโซนไปต่อ
จากภาพข้างล่าง ราคาได้เข้ามาในโซนไปต่อแบบขาขึ้น เพราะราคาได้ทะลุเส้น Level 88 ขึ้นไป แต่เรายังไม่ต้องเปิดออเดอร์ Buy ทันที แต่เราจะรอให้เส้น Stochastic ลงไปก่อน ให้เราสังเกตุจากเส้น Stochastic 2 เส้น เราจะรอให้เส้น 2 เส้น กลับมาตัดกัน แล้วเราจึงค่อยทำการเปิดออร์เดอร์ Buy โดยทั่วไปแล้ว ราคาที่เข้ามาในโซนไปต่อมักจะทำให้ราคามีการปรับตัวขึ้นไปต่อ ยอดใหม่จะสูงกว่ายอดเดิม (ถ้าเป็นแนวโน้มขาลง จะมีจุดต่ำใหม่ ที่ต่ำกว่าจุดต่ำเก่า) ตามภาพ โดยปกติแล้วเมื่อราคาเข้ามาในโซนไปต่อ ไม่ว่าจะเป็นโซนไปต่อขาขึ้น หรือโซนไปต่อขาลง มักจะมี Divergence เกิดขึ้นตามมา ดังนั้น เมื่อราคาเข้ามาในโซนไปต่อ ให้เราเตรียมมองหา Divergence ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาด้วยAuthor: