หลักสูตร การเทรด Fibonacci Retracement จากช่อง Trade Prime

เรื่องPatihanUhas

การเทรด Fibonacci Retracement

การเทรด Fibonacci Retracement จากช่อง Trade Prime ในวิดิโอนี้เจ้าของช่องได้สรุปใจความสำคัญในการใช้เครื่องมือฟีโบนัชชี เป็นหลักสูตรรวบรัด Fibonacci Retracement เป็นเครื่องมือที่อธิบายการเคลื่อนไหวของราคา ทำให้เราหาจุดกลับตัวได้ง่ายขึ้น หรือหาจุดเข้าที่ได้คุณภาพสร้างกำไร เราจะสามารถใช้ Fibonacci Retracement มาปรับใช้กับการเทรดของเราได้ เพราะว่าเครื่องมือนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมาก  เป็นอัตราส่วนที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุระดับการกลับตัวที่น่าจะเป็น

 

สารบัญ

หลักสูตร การเทรด Fibonacci Retracement

 

แต่อย่าใช้เครื่องมือ การเทรด Fibonacci Retracement เพียงตัวเดียวในการเทรดของคุณ ในวิดิโอนี้จะมาพูดถึง

  1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟีโบนัชชี
  2. หลักเทรดตามกลยุทธ์ฟีโบนัชชี

 

ทำความเข้าใจในพื้นฐานของฟีโบนัชชี

ฟีโบนัชชีคืออะไร? อัตราส่วนฟีโบนัชชีมีต้นกำเนิดมาจากชุดหมายเลขฟีโบนัชชี โดยมีนิยามของความสัมพันธ์ว่า จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ และลำดับของจำนวนดังกล่าวก็จะเรียกว่า ลำดับฟีโบนัชชี ตามภาพอธิบายด้านล่าง

 

ตัวเลขฟีโบนัชชีถูกสร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เลโอนาร์โด ปิซาโน

 

สาเหตุที่ตัวเลขเหล่านี้มีความสำคัญก็เพราะว่า มีให้เห็นในแง่มุมต่างๆของโลก ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมโบราณ , กลีบดอกไม้,ใบหน้าคน และอื่นๆอีกมากมายในตลาดการเงินก็เช่นกัน ราคาของสินทรัพย์เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับ ลำดับฟีโบนัชชี

 

ฟีโบนัชชีกับการเทรด

จากการคำนวณ เมื่อนำค่าตัวเลขล่าสุด มาหารตัวเลขก่อนหน้า 1 ตำแหน่ง จะได้ค่าประมาณ 1.618 ดังนั้นแล้ว

 

ตัวเลข 1.618 จึงถูกเรียกว่า Golden Ratio

 

เราจะใช้ตัวเลขฟีโบนัชชีกับการเทรดได้อย่างไร?

หากคุณทำการซื้อขายมาสักระยะหนึ่งแล้ว คุณจะรู้อยู่แล้วว่าราคาของสินทรัพย์ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเส้นแนวตรง แต่ราคาจะเคลื่อนไหวแบบซิกแซก

 

ทุกครั้งราคาเกิดการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ มีการดึงกลับตามมาเสมอ ตามภาพด้านล่าง

 

ในฐานะเทรดเดอร์เราต้องจับการเคลื่อนไหวที่หุนหันพันแล่นขนาดใหญ่เหล่านั้นให้ได้ ช่วงที่เหมาะสมในการเปิดออเดอร์คือ ตรงตำแหน่งจุดสิ้นสุดของ pullback เพื่อที่จับเทรนด์ขึ้นไป ตามภาพที่อยู่ด้านล่างนี้

 

เรารู้ได้อย่างไรว่าช่วงไหนที่เป็นจุดสิ้นสุดของ pullback

ไม่ต้องห่วงเพราะว่าเครื่องมือ Fibonacci retracement จะมาช่วยเราหาจุดที่ดีที่สุดในการเปิดออเดอร์ซื้อขาย

 

4 หลักการในการใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement

  1. สังเกตุการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของราคา (ทั้งUptrend- downtrend)
  2. ต่อที่ราคามีการ Pullback
  3. ใช้ Fibonacci retracement ในการหาจุดสิ้นสุดของ Pullback
  4. จากนั้นก็ทำการเปิดออเดอร์ซื้อ-ขาย

 

หน้าตาของ Fibonacci retracement

 

ค่าฟีโบนัชชีที่เจ้าของช่องชอบใช้และได้ผลดีก็คือ

  • 382 (38.2)
  • 0.5 (50)
  • 618 (61.8)

 

การลากเส้น Fibonacci Retracement

  • หากเป็นเทรนด์ขาขึ้น เริ่มลากจากจุด Swing low ขึ้นไปยังที่Swing high
  • เทรนด์ขาลง เริ่มลากจากจุด Swing high ขึ้นไปยังที่Swing low

 

ตัวอย่างที่ 1 Uptrend

  • จากภาพเราจะเห็นว่าเป็นเทรนด์ขาขึ้น เราเริ่มลากจากจุด Swing low ขึ้นไปยังที่Swing high
  • เส้น Fibonacci retracement 3 เส้นที่แรเงา (อัตราส่วนฟีโบนัชชี่ 2, 5,6.18) เส้นที่แรเงา ทำหน้าที่เปรียบเสมือนดังแนวรับ(Suport)
  • เมื่อราคา retest วิ่งมาแตะที่เส้นอัตราส่วนฟีโบนัชชี่ 2 (ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับ: Support)จุดนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นสิ้นสุดของ Pullback แล้วก็ถือว่าเป็นจุดที่ควรเปิดออเดอร์ BUY

 

ตัวอย่างที่ 2 Downtrend

  • จากภาพเราจะเห็นว่าเป็นเทรนด์ขาลง เราเริ่มลากจากจุด Swing high ลงไปยังที่Swing low
  • ต่อมาราคาวิ่งมา Retest ที่เส้นอัตราส่วนฟีโบนัชชี 38.2 ที่วงกลมสีแดง(ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้าน: Resistance)
  • จุดที่วงกลมนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นสิ้นสุดของ Pullback แล้วก็ถือว่าเป็นจุดที่ควรเปิดออเดอร์ SELL

 

เคล็ดลับที่ควรรู้คือ หากราคาวิ่งมา Retest ไม่ว่าจเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลง ที่อัตราส่วนฟีโบนัชชี 38.2% นั้นแสดงว่าราคามีแนวโน้มที่แข็งแกร่งมากในทิศทางนั้นๆ

 

ใช้ฟีโบนัชชีในการหาจุดเข้า

 

  1. เราจะต้องหาเทรนด์ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นuptrend หรือ downtrend และเทรดไปตามเทรนด์
  2. เมื่อเจอเทรนด์ที่ชัดเจน จากนั้นให้หาจุด Swing high , Swing low

 

ตัวอย่างที่ 1

  • จากภาพเราจะเห็นได้ว่าเป็นเทรนด์ขาขึ้น
  • ซึ่งเราจะต้องลากจุดจาก swing low ไปยัง swing high ตามที่ลูกศรชี้
  • จุดสิ้นสุดของ Pullback อยู่ที่วงกลมสีแดง จะเห็นได้ว่าราคาวิ่งมาแตะที่เส้นอัตราส่วนฟีโบนัชชี 2
  • ถือว่าเป็นจุดที่ควรเปิดออเดอร์ BUY

 

2 เครื่องมือที่สามารถช่วยให้เราเทรดได้แม่นยำมากขึ้น ใช้คู่กันกับฟีโบนัชชี

 

1. เส้น Moving Average 50

สามารถทำให้เราระบุแนวโน้มของเทรนด์

 

2. แนวรับแนวต้าน (Support & Resistance)

เป็นเส้นที่เดอร์ทุกคนจะต้องกำหนดเอง การวาดเส้นแนวรับและแนวต้าน ทำให้เราเห็นเทรนด์ของตลาดได้อย่างชัดเจนขึ้นเช่นกัน

 

 

ตัวอย่าง 1 เทรนด์ขาขึ้น (ใช้ฟีโบนัชชี + เส้น Moving Average 50)

 

เส้น Moving average จากภาพเป็นเทรนด์ขาขึ้น

 

ต่อมาคือการลากเส้นฟีโบนัชชีจากจุด Swing low ขึ้นไปยังที่ Swing high

 

จุดวงกลมสีแดงคือจุดที่เส้น MA 50 วิ่งผ่าน ตรงเส้นอัตราส่วนฟีโบนัชชี 38.2 พอดี

 

จุดที่ควรเปิดออดเดอร์ BUY อยู่ที่ลูกศรสีเหลือง

 

Stop loss ที่ลูกศรสีแดง

 

Take profit ที่ลูกศรสีเขียว

 

ตัวอย่าง 2 เทรนด์ขาลง (ใช้ฟีโบนัชชี + เส้นmoving average 50)

เส้น Moving average 50 แสดงให้เห็นว่าเป็นเทรนด์ขาลง

 

ต่อมาคือการลากเส้นฟีโบนัชชีจากจุด Swing high ลงไปยังจุด Swing low

 

จากภาพตรงวงกลมสีแดง จะเห็นได้ว่าเส้น Moving average 50 ได้ตับกับเส้นอัตราส่วนฟีโบนัชชี 50%พอดี

 

จุดเข้าออเดอร์ Sell ตรงที่ลูกศรสีเหลือง

 

Stop loss ที่ลูกศรสีแดง

 

Take profit ที่ลูกศรสีเขียว

 

ตัวอย่าง 3 เทรนด์ขาขึ้น (ใช้ฟีโบนัชชี + แนวรับแนวต้าน)

จากภาพจะเห็นได้ว่าเส้นที่เขียนว่า Resistance เป็นทั้งแนวรับและแนวต้าน ฝั่งซ้ายเป็นแนวต้าน(Resistance) ฝั่งขวาเป็นแนวรับ (Support)

 

จากภาพจะเห็นได้ว่าเป็นเทรนด์ขาขึ้น

 

ต่อมาลากเส้นฟีโบนัชชีจากจุด Swing low ไปยัง Swing high

 

ราคาวิ่งมาแตะเส้นฟีโบนัชชีที่ 50 ตรงกับเส้นแนวรับ(support)ที่วาดไว้

 

จุดวงกลมสีแดงเป็นช่วงที่ควรเข้าทำการเปิดออเดอร์ Buy

 

จุดเข้าออเดอร์ BUY ตรงที่ลูกศรสีเหลือง

 

Stop loss ที่ลูกศรสีแดง

 

Take profit ที่ลูกศรสีเขียว

 

เมื่อนำทั้ง 3 เครื่องมือมารวมกัน ก็จะได้ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

 

ตัวอย่าง 4 เทรนด์ขาขึ้น (ใช้ฟีโบนัชชี + เส้น Moving Average 50 + แนวรับแนวต้าน)

 

จากภาพจะเห็นจากเส้น Moving average 50 ว่าเป็นเทรนด์ขาขึ้น

 

เส้นสีม่วงแรเงาเป็นเส้นแนวรับ(Support)

 

จากนั้นวาดเส้นฟีโบนัชชีจากจุด Swing low ไปยังจุด Swing high

 

จากนั้นเราก็จะได้เห็นว่าเส้นทั้ง3ซ้อนทับกันอยู่ตรงที่จุดวงกลมสีแดง

 

จุดเข้าออเดอร์ BUY ตรงที่ลูกศรสีเหลือง

 

Stop loss ที่ลูกศรสีแดง

 

Take profit ที่ลูกศรสีเขียว

 

Source

https://youtu.be/bs-gXy8UA-E