รู้จักกับ ROIC คืออะไร
roic คือ อีกหนึ่งตัวชี้วัดที่สามารถบ่งบอกความสามารถสำหรับการสร้างผลตอบแทนของการลงทุนกิจการ โดยจะมีการนำเอากำไรจากการดำเนินงาน หลังจากที่ได้มีการหักภาษีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หารด้วยเงินทุน ซึ่งค่าที่ได้ก็จะอยู่ในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์
ROIC คืออะไร
roic คือ อัตราส่วนที่ได้มีการใช้เพื่อที่จะวัดความสามารถสำหรับการทำกำไรของบริษัทนั้น ๆ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับ ROE แต่ว่าของ roic จะมีการวิเคราะห์ เกี่ยวกับกำไรต่อทรัพย์สินที่ใช้สำหรับการลงทุน นอกซะจากส่วนของผู้ถือหุ้น ก็อาจจะรวมส่วนของหนี้สินในระยะยาวด้วย หรือการเลือกทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์สิน ที่ได้มีการใช้สำหรับการดำเนินการของทางบริษัทจริงๆ โดยจะมาจากงบดุลเลยก็ได้ อาทิเช่น เงินสด สินทรัพย์ถาวร สินค้าคงคลัง เป็นต้น
ROIC ต่างจาก WACC อย่างไร
สำหรับใครที่สงสัยว่า roic มีความแตกต่างจาก WACC อย่างไร ซึ่งขออธิบายรายละเอียดแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ ให้ท่านมองว่าถ้าหากเราเป็นผู้ทำธุรกิจ เราก็จะมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกิจ ซึ่งนั่นก็คือ WACC (ต้นทุนที่ได้มาจากการกู้ยืม และต้นทุนที่ได้มาจากเงินลงทุนของตัวท่านเอง) เล่นในส่วนของผลตอบแทนจากการได้ลงทุนทำธุรกิจ คือ roic ถ้าหากท่านทำธุรกิจแล้ว ได้รับผลตอบแทนที่ต่ำกว่าต้นทุน ท่านก็อาจจะไม่เลือกที่จะทำธุรกิจนั้น หรือมีการปรับปรุงธุรกิจให้ดีขึ้นกว่าเดิม แม้แต่การเปลี่ยนธุรกิจใหม่ ที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า
- ROIC > WACC แปลว่า บริษัทที่ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุน (ได้ผลกำไร)
- ROIC < WACC แปลว่า บริษัทที่ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน (การขาดทุน)
ROIC คำนวณอย่างไร?
สูตร WACC = We*Ke +Wd*Kd *(1-T)
- We หมายถึง สัดส่วนของผู้ที่ถือหุ้น ซึ่งจะมีการคำนวณมาจากสูตร We = ส่วนของผู้ถือหุ้น /(ส่วนของผู้ถือหุ้น + หนี้สินที่มีดอกเบี้ย)
- Wd หมายถึง สัดส่วนของเจ้าหนี้ ซึ่งจะมีการคำนวณมาจากสูตร Wd = หนี้สินมีดอกเบี้ย /(ส่วนของผู้ถือหุ้น+หนี้สินที่มีดอกเบี้ย)
* สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้น และหนี้สิน ที่มีอัตราดอกเบี้ย ก็สามารถหาได้จากงบดุลของทางบริษัท
Ke หมายถึงต้นทุนของผู้ถือหุ้นที่ได้มีการลงทุน (Cost of Capital) สามารถคำนวณได้จากสูตร CAPM
- Kd หมายถึง ต้นทุนเงินลงทุนของทางเจ้าหนี้ (Cost of Debt) โดยต้นทุนส่วนนี้จะต้องมีการลบอัตราภาษีออก เนื่องจากบริษัทสามารถที่จะนำดอกเบี้ยจ่ายเพื่อที่จะไปลดภาษีได้
* Kd สามารถที่จะหาได้จากอัตราของดอกเบี้ยเงินกู้ หรืออัตราของดอกเบี้ยเงินกู้ของหุ้นกู้ที่ทางบริษัทออก
- T หมายถึง อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งของประเทศไทยใช้ 20%
Author: