ทำไม คนเราไม่รู้จักพอ? เทรดได้กำไร ก็ไม่พอ จนพาขาดทุน

เรื่องPatihanUhas

เทรดได้กำไร

ทำไม คนเราไม่รู้จักพอ? เทรดได้กำไร ก็ไม่พอ จนพาขาดทุน Reason Why We Want More And More (And More) เราอาจคิดว่าการที่เราห้ามใจไม่ให้เกิด “ความรู้สึกอยาก” เป็นเรื่องของเหตุผล สติปัญญา หรือตรรกะล้วนๆ

 

แต่มันก็ไม่ใช้ความจริงทั้งหมดชะเลยทีเดียว ความจริงแล้วเราไม่สามารถแยกร่างกายออกจากจิตใจหรือแยกความคิดออกจากความรู้สึกได้ ก็เพราะว่าสมองกับอารมณ์นั้นทำงานประสานกัน

 

ทำไม คนเราไม่รู้จักพอ? เทรดได้กำไร ก็ไม่พอ

 

ประสาทวิทยาได้อธิบายว่า “อารมณ์ความรู้สึก” ไม่ใช่แค่สารเคมีที่เวียนว่ายอยู่ในสมองอย่างที่เราเข้าใจ สมองทำงานเชื่อมโยงกับความรู้สึก(อารมณ์) จึงทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ

 

ก่อนที่เราจะไขข้องใจว่า ทำไมมนุษย์เราถึงไม่รู้จักพอ เราต้องมาทำความเข้าใจกับการทำงานของสมองกันก่อน

 

การทำงานของสมอง

สมองประกอบด้วยเซลล์จำนวนนับแสนล้านเซลล์ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีแขนงที่เชื่อมต่อกันกลายเป็นร่างแหขนาดใหญ่และซับซ้อน เมื่อมีการรับข้อมูลหรือสิ่งกระตุ้นจากภายนอก

 

เซลล์สมองจะส่งข้อมูลเป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางจุดส่งกระแสประสาทของเซลล์ซึ่งเรียกว่า ปลายแอกซอน (Axon) ไปยังจุดรับกระแสประสาทของเซลล์ข้างเคียง ที่เรียกว่า ปลายเดนไดรท์ (Dendrite)

 

จุดที่เชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) ซึ่งเป็นจุดที่จะเปลี่ยนสัญญาณกระแสไฟฟ้าให้เป็นสารเคมีหรือสารสื่อประสาท ส่งผลให้ร่างกายเรารับรู้ข้อมูล เช่น ความรู้สึกทางกาย การเห็นภาพ การได้กลิ่น และทำให้เกิดการตอบสนองหรือการสั่งการต่อไป

 

สมองของเราเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่น เครือข่ายการเชื่อมโยงของเซลล์สมองจึงมีการเพิ่มขึ้น ซับซ้อนขึ้น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ตามการเรียนรู้และประสบการณ์ที่เราได้รับ ซึ่งทำให้มนุษย์เราสามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา

 

การที่คนเรานั้นไม่รู้จักพอ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักๆก็คือ “อารมณ์ความรู้สึก”

 

ระบบประสาทของสมองเชื่อมกับร่างกายส่วนอื่นๆ และแสดงออกผ่านทั้งร่างกายของเรา

 

ยกตัวอย่างเช่น มีความรู้สึกอยากได้จนใจกระวนกระวายลุกลี้ ลุกลน, มีความรู้สึกกลัวผวาจนตัวสั่น, มีความรู้สึกเขินอายจนหน้าแดง, มีความรู้สึกดีใจจนน้ำตาไหล, มีความรู้สึกโกรธจนมือสั่น

 

จะเห็นได้ว่า เราไม่สามารถแยกอารมณ์ออกจากสมองได้ ถ้าหากมนุษย์ตัดส่วนความรู้สึก(อารมณ์)ออกไป เราจะไม่สามารถบอกได้ว่าภาพนี้สวยหรือไม่ ความงามและความน่าเกลียดต่างกันที่ตรงไหน

 

การเชื่องโยงกันระหว่างสมองกับอารมณ์

Jaak Panksepp นักประสาทวิทยาและนักจิตวิทยา ชาวเอสโตเนีย-อเมริกัน ผู้คิดค้นคำว่า “Affective Neuroscience” ซึ่งเป็นชื่อสาขาวิชาที่ศึกษากลไกทางประสาทของอารมณ์

ภาพจากประกอบจาก ช่อง TEDx Talks

 

Jaak Panksepp ได้ให้อธิบายว่าสัญชาตญาณหลักในสมองของมนุษย์มีทั้งหมด 7  ประการ

  • การแสวงหา >>> รางวัลที่จะได้รับ  ความกระตือรือร้น ความตื่นเต้น
  • ความโกรธ >>> หงุดหงิด โมโห อารมณ์เหวี่ยง
  • ความกลัว >>> วิตกกังวล
  • ตัณหา >>> Horny ความรักความสุขที่เจือปนไปด้วยความหลง
  • ความรักและห่วงใย >>>ความอ่อนโยน ความรักที่บริสุทธิ์
  • ความหวาดกลัว / Panic >>> เหงา เศร้า หดหู่
  • การเล่น >>> ความรื่นเริง ปลาบปลื้ม ความสนุกสนาน

 

การแสวงหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดมีระบบการแสวงหาโดปามีน “dopamine” ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทโดยโดปามีนจะเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ความชื่นชอบ และความปีติยินดี

 

เมื่อทำสิ่งใดแล้วรู้สึกมีความสุข ร่างกายจะหลั่งโดปามีนออกมา โดปามีนที่หลั่งออกมานี้จะกระตุ้นให้ต้องการทำสิ่งนั้นหรือพฤติกรรมนั้นมากยิ่งขึ้น ด้วยความมั่นใจ กระตือรือร้น และท้าทายให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ

 

ซึ่งหมายความว่าสัตว์แสวงหา โดปามีน โดยสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ผลรางวัลจากการค้นหาก็คือพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอด

 

Jaak Panksepp กับการทดลองในหนู

การทดลองในหนู เมื่อหนูกดคันโยกเปิดช่องให้อาหารไหลลงมา พบว่าระดับโดปามีนเพิ่มสูงขึ้น ทุกครั้งที่กดคันโยกแล้วมีอาหารไหลลงมา ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ความพึงพอใจจากรางวัล (อาหาร) ที่ได้รับเป็นแรงกระตุ้น ทำให้หนูมีพฤติกรรมกดคันโยกซ้ำๆ โดปามีนจะถูกหลั่งออกมาอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นวงจรที่เรียกว่า ระบบรางวัล (Reward circuit)

 

อีกการทดลอง ถ้าหนูได้รับการเข้าถึงคันโยกที่ทำให้พวกมันถูกไฟฟ้าช็อต แปลกมากที่หนูเข้าไปให้ไฟช็อตตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า Jaak Panksepp ตั้งข้อสังเกตในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า “Affective Neuroscience” ว่า

 

“ดูเหมือนหนูพวกนี้จะหาวิธีที่ให้ไฟฟ้าช็อตในแบบที่ตัวเองพอใจยังไม่ได้ จึงเป็นเหตุทำให้เข้าไปให้ไฟซ็อตหลายๆรอบ” สัตว์กระตุ้นตัวเองให้บ้าคลั่ง ด้วยสิ่งเร้าแบบนี้ พวกหนูแสดงให้เห็นว่า พวกมันความต้องการที่จะแสวงหาตัวเอง

 

จากการวิจัย เราจะเห็นได้ว่าการแสวงหาหรือความไม่รู้จักพอมีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่าง

  1. การมีรางวัลเป็นสิ่งล่อใจ
  2. การแสวงหาตัวเอง

 

ความปรารถนาของมนุษย์ มีจุดสิ้นสุดไหม ?

 

แอบราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) นักจิตวิทยาและนักมานุษยวิทยา

 

ซึ่งได้นำประสบการณ์ที่ได้จากการเป็นนักจิตวิทยา และผู้ให้คำปรึกษามาเป็นพื้นฐานในการเสนอทฤษฎีที่อธิบาย ถึงพฤติกรรมความปรารถนาของมนุษย์ว่าจะมีความต้องการเป็นระดับต่างๆ

 

หลายคนคงรู้จัก ทฤษฎี Maslow’s Hierarchy of need (ในส่วนนี้ไม่ขอเจาะลึก จะอธิบายคร่าวๆ)

 

แอบราฮัม มาสโลว์  กล่าวว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการอยู่เสมอและไม่มีวันสิ้นสุดและมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่มนุษย์ต้องการขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาได้รับ หรือมีอยู่แล้ว เมื่อความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้วก็ยังมีความต้องการนั้นต่อไป เช่น ความต้องการในปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

 

Evan Thompson ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย กล่าวว่า นักปรัชญาหลายๆคนได้พูดต่อๆกัน ว่า “ภารกิจคือจุดจบในตัวเอง”

 

Evan Thompson พูดต่อ “หากคุณเป็นศิลปิน ก็จะต้องหารูปแบบการแสดงใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ให้สร้างสรรค์มากกว่าเดิม โลกไม่ได้ตายตัว มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นั่นหมายความว่าคุณต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก”

 

“ฉันคิดว่าไม่น่าจะมีนักวิทยาศาสตร์คนไหน ที่คิดว่าวันหนึ่งวิทยาศาสตร์จะต้องมีจุดจบ เพราะว่าอาชีพนี้เป็นภารกิตที่ต้องแสวงหาสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา มันเป็นเรื่องของการตั้งคำถาม และมองสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ อุปกรณ์ใหม่ๆ และวิทยาศาสตร์ยังคงดำเนินต่อไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกเช่นกัน”

 

ถ้าหากมนุษย์เราไม่มี “การแสวงหา” โลกใบนี้ก็ “ไม่มีการพัฒนา”

 

ความปรารถนาหรือการแสวงหาของมนุษย์ มีจุดสิ้นสุดไหม ?

คำตอบคือ = ไม่มีที่สิ้นสุด

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องรู้ตัวเองว่าเราปารถนาหรือแสวงหาอะไร สิ่งนั้นให้คุณค่าต่อตัวเองและผู้อื่นหรือไม่ ? ใช้สติสัมปชัญญะในการไตร่ตรอง

 

ถ้าการปารถนานั้นเป็นสิ่งที่ดี ก็ทำต่อไป.. แต่ถ้าไม่ได้รู้สึกดี ก็ต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง และควบคุมตัวเองให้ได้

 

สำหรับคนที่ไม่มีความปารถนา ไม่แสวงหาอะไรเลย

 

มีความพึงพอใจ…ไม่ได้มีความรู้สึกอยากอะไรเพิ่มเติมในชีวิต

 

ในกรณีนี้ มันก็สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  1. คนบรรลุธรรม : พวกเขาพึงพอใจกับชีวิตที่เขาเป็นอยู่ แค่นี้ก็มีความสุขและเพียงพอแล้ว เช่นพระสงฆ์
  2. คนขี้เกียจ : พวกเขานั้นขี้เกียจ ขาดความทะเยอะยาน จึงพูดแบบนี้ออกไปเพื่อให้ตัวเองดูเป็นคนดี แต่ในใจลึกๆแล้วเขาก็มีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น เช่นกัน

 

“คนไม่รู้จักพอ” ที่ควบคุมอารมณณ์ตัวเองไม่ได้

 

โรเบิร์ต ซาโปลสกี้ เป็นนักวิจัยและนักเขียนชาวอเมริกัน  ปัจจุบันเขาเป็นศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาและประสาทวิทยาและวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบประสาทที่มหาวิททยาลัย Stanford University

 

โรเบิร์ต ซาโปลสกี้ ใช้เวลาหลายสิบปี ในการทำการวิจัยเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมอง และได้เผยแพร่ลงในหนังสือเรื่อง Behave: The Biology of Humans at Our Best and Worst

เทรดได้กำไร

 

โรเบิร์ต ซาโปลสกี้ กล่าวว่าสมองกลีบหน้า หรือทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า “frontal cortex” สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน, บุคลิก, การตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคมหรือการรรู้จักผิดชอบชั่วดี

 

ภารกิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือการควบคุมความคิดและการกระทำให้สอดคล้องกันไปตามเป้าหมายที่อยู่ภายในใจ

เทรดได้กำไร

สมองในส่วน “frontal cortex” เป็นสมองส่วนวิจารณญาณที่ได้พัฒนาซับซ้อนไปกว่าความรู้สึกพื้นฐาน โดยทำงานร่วมกับระบบลิมบิกในการคิดพิจารณาและให้ความรู้สึก

 

การทำงานของสมองในส่วน “frontal cortex” ทำให้มนุษย์นั้นสามารถแยกแยะหรือมีความยับยั้งชั่งใจ ตระหนักได้ถึงความผิดชอบชั่วดีต่อสังคมหรือตัวเอง “เป็นเรื่องที่ทำยากกว่าแต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง”

 

ตัวอย่างเช่น

  • ถ้าหากมีความรู้สึกว่าอยากดื่มแอลกอฮอล์ แต่สมองส่วน Frontal Cortex จะบอกว่า “ไม่น่ะ… พรุ่งนี้มีประชุมตอนเช้า ไม่ควรที่จะดื่มวันนี้”
  • คุณเห็นเงินวางอยู่ตรงหน้า ถ้าคุณขโมยก็ไม่มีใครเห็น แต่สมองส่วน Frontal Cortex จะบอกว่า “ไม่น่ะ…นั้นไม่ใช่เงินของเรา อย่าแตะต้องเด็ดขาด”
  • ในกรณีที่คุณอยากได้กระเป๋าใบใหม่ แต่สมองส่วน Frontal Cortex จะบอกว่า “ไม่น่ะ… ที่บ้านมีกระเป๋า เยอะอยู่แล้ว การซื้อกระเป๋าใหม่เป็นอะไรที่ไม่จำเป็น”

 

ในศาสตร์ของจิตวิทยา สิ่งที่ระบบ Frontal cortex ทำงาน เรียกว่ากิจบริหาร (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจำแนกความคิดที่ขัดแย้งกัน กับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและความต่างกัน ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการกระทำปัจจุบัน การทำการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ความมุ่งหวังในการกระทำ และการควบคุมตนในสังคม (คือสมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ผลเกี่ยวกับสังคมที่ไม่เป็นที่น่าชอบใจ)

 

เชื่อกันว่าการที่มนุษย์มีความรู้สึกผิด, ความสำนึกผิด, ความยับยั้งชั่งใจ และความสามารถในการเข้าใจความเป็นจริง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสมองส่วน Frontal Cortex ว่าทำงานได้ดีแค่ไหน..

 

ส่งท้าย

ความจริงแล้ว “การไม่รู้จักพอ” ก็เหมือนเป็นเหรียญสองด้าน ถ้าเราใช้มันไปในทางที่ดี ไม่เบียดเบียนใครไม่เบียดเบียนตัวเองและคนอื่น ก็เป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งมันสามารถพัฒนาตัวเราให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่คนส่วนมากชอบมองว่า “การไม่รู้จักพอเป็นสิ่งไม่ดี”

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นมันขึ้นอยู่ที่ว่า “คุณใช้ความไม่รู้จักพอ” ด้านไหนของชีวิต..

 

“คนไม่รู้จักพอ” ที่ควบคุมอารมณณ์ตัวเองไม่ได้ = ล้มเหลว

“คนไม่รู้จักพอ” ที่สามารถควบคุมอารมณณ์ตัวเองได้ = สำเร็จ

 

คนที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแล้วแต่มีความสามารถในการควบคุมสมองส่วน Frontal Cortex ของตัวเองได้ดีมาก …. สามารถที่จะบังคับตัวเองให้ทำในสิ่งที่สมควรทำ แม้จะไม่อยู่ในอารมณ์ที่อยากทำก็ตาม

 

บทเสริม

ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่ มีความรู้สึกอยากได้ อยากมี อยากเป็น  แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนต่างกันก็คือการมีความสามารถในการควบคุมสมองส่วน Frontal Cortex หรือการห้ามใจตัวเอง ในการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือ ไม่สมควรที่จะทำ

 

หนึ่งวิธีที่จะทำให้เส้นประสาทในสมองส่วน Frontal Cortex ทำงานดี คือการทำสมาธิและเจริญสติ

 

สัตว์มีอารมณ์ความรู้สึก เส้นประสาทในสมองคล้ายคลึงกับมนุษย์ สัตว์บางประเภทก็มีสมาธิจดจ่อเช่นเดียวกับมนุษย์ อย่างเช่น  สัตว์นักล่าประเภท เสือหรือสิงโตก็มีสมาธิเช่นกัน ในช่วงตอนที่มันเล็งก่อนจะวิ่งเข้าตระครุบเหยื่อ

 

แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์และสัตว์ต่างกันคือ “สติ สัมปชัญญะ”

 

เท่าที่หาข้อมูลมา ยังไม่เจอการวิจัยไหนที่บ่งบอกว่าสัตว์สามารถทำสมาธิและเจริญสติได้ดีเท่ามนุษย์

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สัตว์ก็มีความฉลาดในแบบฉบับของตัวมันเองเช่นกัน

 

ตัวอย่าง

 

1) นก : สมองของนกเล็กมาก เป็นประเด็นล้ำลึกที่สร้างความตกตะลึงให้กับวิทยาศาสตร์มาอย่างยาวนาน ก่อนหน้านี้เราเชื่อว่า ‘นกโง่’ พวกมันบินไปชนกระจกบ้างล่ะ ไปให้รถเหยียบบ้างล่ะ

 

Nicky Clayton ศาสตราจารย์ผู้ศึกษาการเรียนรู้ของสัตว์ พบพลังซ่อนเร้นของวงศ์นกกา (corvidae)

 

เขาลองให้กาเข้าทดสอบการแก้ปัญหาร่วมกับเด็กอายุ 8 ขวบ เป็นปริศนาขวดแก้วที่บรรจุน้ำไว้ภายใน มีของรางวัลล่อใจอยู่ก้นขวด ที่ไม่ว่าจะเอานิ้วคีบหรือใช้จะงอยปากจิกขึ้นมาก็ทำไม่ได้ ของล่อใจอยู่ตรงหน้า จะแก้ปัญหาอย่างไรดี

 

นกกาใช้เวลาเพียงนิดเดียวเท่านั้นในการไขปริศนา มันคาบก้อนกรวดก้อนแล้วก้อนเล่ามาใส่ขวด จนกระทั่งน้ำที่อยู่ภายในเอ่อล้นดันของรางวัลขึ้นมาในระยะที่คาบถึง ในขณะที่เด็กมนุษย์ 8 ขวบไม่สามารถแก้ปัญหาเช่นนี้ได้เลย

 

นกกาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การแก้ปัญหาในโรงเรียน พวกมันมีทักษะเช่นนี้ตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ ดังนั้น สมองของมนุษย์และนกจึงแตกต่างกัน

 

หมึกยักษ์ (Octopus) และหมึกกระดอง (Cuttlefish) : มีนิยามของสมองที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ ราวกับหลุดมาจากต่างมิติ เซลล์สมองพวกมันไม่ได้กระจุกอยู่เพียงส่วนหัว แต่อยู่เกือบทั่วทั้งตัวของร่างกาย หนวดแต่ละเส้นของหมึกมีเซลล์ประสาทราว 3 ใน 5 ของร่างกาย ทำให้หนวดหนึบๆ แต่ละเส้นมีอิสระจากกัน และสามารถแก้ปัญหาบางสถานการณ์โดยไม่ต้องพึ่งพาการสั่งการของสมองส่วนกลาง

 

แม้คุณจะตัดหนวดมันออก แต่หนวดเหล่านี้ยังสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นชั่วโมง และยังคงจดจำลักษณะการเคลื่อนไหวขณะยึดติดกับร่างของตัวเองได้ ดังนั้นคุณจึงไม่มีทางเห็นหนวดหมึกพันกันอีรุงตุงนัง สมองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายทำให้หมึกปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้รวดเร็ว เปลี่ยนสีเพื่ออำพรางตัวให้เหมือนกับสาหร่ายทะเลหรือก้อนหิน

 

Stefan Linquist นักปรัชญาจากมหาวิทยาลัย Guelph ศึกษาพฤติกรรมหมึกมาแรมปี พวกเขาพบว่าในแท็งค์อควาเรียมขนาดใหญ่ สัตว์จำพวกปลาส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองถูกจองจำในที่ผิดปกติวิสัยของธรรมชาติ

 

แต่ไม่ใช่สำหรับหมึก เพราะพวกมันรู้ซึ้งถึง ‘สัญญาณการถูกจองจำ’ พวกมันจะออกสำรวจทุกตารางเซนติเมตรโดยใช้หนวดกวาดไปทั่ว ไปอุดรูช่องปล่อยน้ำ หรือหมุนวาวล์ต่างๆ หมึกสามารถรับรู้ได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอื่นจับจ้องมันอยู่ มันจึงเลือกที่จะอยู่นิ่ง รอคอยให้พวกเขาเผลออยู่ในมุมอับลับสายตา มีรายงานบ่อยครั้งว่าอควาเรียมหลายแห่งเกิดเหตุน้ำท่วมขัง หรืออะไรวุ่นๆ โดยมีหมึกยักษ์เป็นผู้ก่อคดีเสมอ

 

Source