วิกฤตดอกทิวลิป สอนอะไรเรา

เรื่องPatihanUhas

วิกฤตดอกทิวลิป

กาลครั้งหนึ่ง.. ดอกทิวลิปเคยแพงกว่าทองคำ เมื่อราคาเป็นไปตามกลไกลของตลาด สินค้าก็จะมีราคาตามอุปสงค์และอุปทาน หากสินค้าใดมีความต้องการสูง และมีกำลังการผลิตที่ต่ำกว่าความต้องการ ก็จะส่งผลให้ราคาของสินค้านั้นสูงตามไปด้วย แต่ถ้าสินค้าใดมีความต้องการต่ำ และมีกำลังการผลิตสูง ก็จะส่งผลให้มีการจัดโปรโมชั่น ทำให้สินค้านั้นราคาถูกลงไป

 

วิกฤตดอกทิวลิป

วิกฤตดอกทิวลิปก็เช่นเดียวกัน เมื่อดอกทิวลิปได้รับความต้องการเป็นจำนวนมากส่งผลราคาดอกทิวลิปพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง และอาจทำให้หลายคนหันมาปลูกทิวลิปขาย มีหลายคนอาจจะขายบ้านขายรถเพื่อนำเงินมาปลูกทิวลิปกันเลยทีเดียว แต่เมื่อทิวลิปได้รับความสนใจน้อยลง ทำให้เกษตรกรหลายคนขายทิวลิปไม่ได้เนื่องจากมีการปลูกมาเกินไป ดอกทิวลิปก็เน่าเสีย ทำให้หลายคนขาดทุน ถึงขนาดเสียบ้านเสียรถกันเลยทีเดียว

 

นี่คือจุดเริ่มต้นของ วิกฤตดอกทิวลิป (Tulip Mania) เป็นวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1636-1637 วิกฤตครั้งนี้สอนอะไรเรา..?