ฝึกทักษะ การเทรด Forex คิดแบบนักวิทยาศาสตร์

เรื่องPatihanUhas

การเทรด Forex

ทักษะ การเทรด Forex คิดแบบนักวิทยาศาสตร์ การใช้ “ความสงสัยในตัวเอง” มาเป็นเทคนิคในการเทรด Forex ให้ประสบความสำเร็จ

 

ทักษะ การเทรด Forex คิดแบบนักวิทยาศาสตร์

มีคนพูดกันมากมายว่า “ความมั่นใจ” นั้นช่วยให้เทรดเดอร์ปฏิบัติตามแผนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น “ความสงสัยในตัวเองเล็กน้อย” ก็สามารถช่วยให้การเทรดของเรามีประสิทธิภาพได้เช่นกัน เพราะว่าบางครั้งการที่เราสงสัยความเข้าใจของตัวเอง มันเป็นการเปิดโอกาสให้เราอยากรู้ว่า เรายังขาดข้อมูลอะไรสักอย่างไป หรือจะเรียกว่า “Value of Rethinking” ก็ได้

 

“Rethinking is a skill set, but it’s also a mindset”

“การคิดทบทวนเป็นทักษะและชุดความคิด ที่จะช่วยให้คุณคิดและตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

 

กล่าวโดย Adam Grant นักเขียนและนักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกัน ได้เขียนไว้ในหนังสือ Think Again ที่ขายดิบขายดีไปทั่วโลก เป็น Best seller ของปี2022

การเทรด Forex

 

การเทรด Forex

Photograph by Jonathan Pushnik

 

“ทักษะการละทิ้งความรู้เดิม และการคิดทบทวน” สำหรับคนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า ความคิดแรกของเราที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณนั้นถูกต้องเสมอ หรือเรียกว่า “first instant fallacy” (จริงๆ สมองพัฒนาระบบนี้มาให้ประหยัดพลังงาน แต่มันไม่ได้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเสมอ)

 

ช่วงหลังมีผลการวิจัยที่ยืนยันมาแล้วว่า ความคิดแรกของเรามีแนวโน้มที่จะผิดค่อนข้างสูง และการคิดทบทวน เพื่อเปลี่ยนคำตอบ อาจทำให้เราเพิ่มโอกาสในการเลือกตัวเลือกที่ดีกว่า

 

Adam Grant ได้อธิบายว่าการตั้งคำถามต่อความรู้และความคิดเห็นของเรา อาจทำให้เราตกใจได้ เพราะมันทำให้โลกดูคาดเดาไม่ได้มากขึ้น “เราต้องยอมรับว่าข้อเท็จจริงอาจเปลี่ยนไป สิ่งที่เคยถูกต้องอาจกลายเป็นผิด” เขาเขียน

 

ตัวอย่างความมั่นใจ

เรื่องเล่าของ BlackBerry ที่เคยประสบความสำเร็จมากเพราะว่าครั้งหนึ่ง BB เคยครองตลาด ที่แทบทุกคนต้องใช้ แต่ตอนที่ BB ล้ม CEO ซึ่งฉลาดโคตรๆ แต่ยังยึดติดกับสิ่งที่เขาเชื่อ มากเกินไป และไม่ยอมทดสอบทางเลือกอื่นๆ

 

ในทางจิตวิทยา เรามี 2 Bias ที่อธิบายเรื่องนี้ คือ

  • Confirmation bias — เห็นเฉพาะที่คิดว่าจะเห็น
  • Desirability bias — เห็นเฉพาะที่อยากเห็น

 

ซึ่ง 2 Bias นี้ ทำให้ความฉลาดของเรากลายเป็นอาวุธต่อต้านความจริง และคนที่คิดว่าตัวเองไม่ Bias นั่นแหล่ะคือ Bias

 

ทักษะการ Rethink สามารถนำมาปรับใช้กับการเทรดของเราได้อย่างไรบ้าง?

 

Types หลักๆ ของเทรดเดอร์

  1. มั่นใจมากเกินไป
  2. ไม่มีความมั่นใจเลย
  3. มั่นใจแบบอ่อนน้อมถ่อมตน

 

ภายใต้สภาพแวดล้อมที่กดดันต้องการความเร็ว อย่างการเทรด Forex  ผู้คนมักจะเปลี่ยนกลับเป็นการตอบสนองที่เรียนรู้มาอย่างดีโดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยบางอย่างที่สามารถทำให้สถานการณ์แตกต่างออกไปเล็กน้อย

 

แน่นอนว่า นี่ไม่ได้หมายความเราควรละทิ้ง “สัญชาตญาณในการเทรด” ของเราไปเลย เราควรตั้งเป้าไปที่จุดที่เหมาะสมระหว่างความมั่นใจและความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือที่เรียกว่า  “Confident humility” อ่อนน้อมถ่อมตนแบบมั่นใจ

 

คนที่มี Confident Humility มักจะมั่นใจในตัวเองมากพอ ที่จะยอมรับความจริงว่า “ฉันไม่ได้ถูกทุกเรื่อง” เลยทำให้ “เรียนรู้มากกว่า” เทรดเดอร์ที่เชี่ยวชาญและมั่นใจในตัวเองเต็ม 100% (Overconfidence)

 

ส่วนมากจะเป็นเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์สูง ผ่านการประเมินความรู้และทักษะมามากมาย จนทำให้เกิดเป็น Confirmation Bias ทำให้พวกเขาคิดว่าตัวเองรู้ทุกอย่างหมดแล้วเพราะอยู่ในตลาดนี้มานาน และ Bias นี้ทำให้พวกเขาไม่เปิดใจในการปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดของพวกเขา เทรดเดอร์ที่เชี่ยวชาญแต่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง (Over-humility)

 

เทรดเดอร์บางท่านอาจเข้าข่ายเป็นโรค “Impostor syndrome” คือ โรคที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นด้อยคุณภาพ คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่มั่นใจตัวเอง ไม่มีพรสวรรค์ แม้จะมีหลักฐานภายนอกที่แสดงถึงความเป็นเลิศของพวกเขา แต่คนกลุ่มนี้ก็ยังมีความกลัวว่าจะถูกเปิดโปงว่าตัวเองเป็นคนหลอกลวงไม่เก่งจริงๆ

 

โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคนี้พบได้กับคนทั่วไป แต่มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะเกิดกับ คนที่ประสบความสำเร็จในระดับสูง เช่น นักวิชาการ นักคิด เด็กจบใหม่ หรือ กลุ่มคนที่ผ่านการย้ายสถานที่ทำงานบ่อยๆ  จนไปถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลก  โดยอาการของโรคนี้ จะแสดงออกมาได้หลากหลายรูปแบบ

  1. มีนิสัยนิยมความสมบูรณ์แบบ : มีความ Perfectionist สูง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม แต่ลึกๆ กลับรู้สึกลังเล และไม่เชื่อในความสามารถของตัวเอง ถึงได้ย้ำคิด ย้ำทำ บ่อยๆ
  2. กดดันตัวเอง ทุกสิ่งที่ทำ ยังดีไม่พอ: ไม่ว่าผลงานของคุณที่ออกไปจะมีคนชื่นชม และมีกระแสตอบรับดีแค่ไหนแต่คุณก็ยังรู้สึกว่า มันต้องดีกว่านี้
  3. One Man Show: ชอบทำทุกสิ่งอย่างด้วยตัวคนเดียว ไม่พึ่งพาใคร เพราะกลัวการถูกมองว่าเป็นคนไม่มีความสามารถ

 

Adam Grant ยังได้กล่าวถึง 3 ข้อดีของโรค “Impostor syndrome”

  1. สามรถกระตุ้นให้เราทำงานหนักขึ้น: เพราะมีแนวคิดที่ว่าตัวเองยังไม่เก่ง จึงต้องพิสูจน์เพื่อให้ได้รับความดีความชอบ
  2. สามารถกระตุ้นให้เราทำงานอย่างชาญฉลาด: เมื่อเราไม่แน่ใจว่าจะชนะหรือไม่ เราไม่มีอะไรจะเสียโดยการทบทวนกลยุทธ์ของเราใหม่
  3. สามารถทำให้เราเรียนรู้ได้ดีขึ้น : ความสงสัยในความรู้ความสามารถของตนเองทำให้เราเปิดรับการเรียนรู้จากผู้อื่นมากขึ้น

 

หัวไว ใส่ใจในการหาความรู้ในทุกเรื่อง: เกาะติดในทุกกระแส เหมือนเป็นการเติมข้อมูลใหม่ๆ ให้ตัวเองเสมอ เพื่อการรู้ทันสถานการณ์ และต้องการรู้ได้เร็ว ได้ไว กว่าผู้อื่น

 

อะไรคือจุดที่กำลังพอดี ?

ท้ายที่สุดเป็นการรวมทั้งสองทักษะไว้ด้วยกัน (Confidence) + (Humility) = Confidence Humility

 

Confidence Humility หรือความมั่นใจแบบถ่อมตัว ถึงจะฟังแล้วดูมีความคิดแย้งในตัว ความเชื่อมั่นที่ว่านี้คือความเชื่อมั่นในสิ่งที่เรารู้จริง ๆ ในสิ่งที่เป็นจุดแข็งของเรา ในขณะที่ความอ่อนน้อมถ่อมตนคือการรู้ว่าเราไม่รู้อะไร เรามีจุดอ่อนเรื่องใด ซึ่งจะทำให้เราพร้อมที่จะเปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เข้ามา

 

เทรดเดอร์ที่ความมั่นใจแบบถ่อมตัว

  • พวกเขามีความมั่นใจที่ไม่ได้มาจากการที่คิดว่าตัวเองรู้หมดแล้ว แต่เป็นการรู้ว่าสามารถเรียนรู้ได้
  • พวกเขาเชื่อว่าบางอย่างสามารถสอนกันได้ : อย่างแรกเราต้องยอมรับว่าตัวเองไม่รู้อะไร และสุดท้ายแล้วจะทำผลงานออกมาได้ดีเสมอ
  • พวกเขามีชุดความคิดคล้ายกับนักวิทยาศาสตร์ : นักวิทยาศาสตร์โดยส่วนใหญ่ “ใช้การคิดแบบมีเหตุผล” ในการหาความจริง โหมดนี้จะทำให้เราหมั่นตั้งข้อสงสัยในสิ่งที่ตัวเองรู้ และค่อย ๆ หาข้อมูลความคิดเห็นใหม่ ๆ มาเพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังไม่รู้ หรือสิ่งที่เรายังไม่แน่ใจว่ามันยังเป็นไปในแบบที่เรารู้อยู่รึเปล่า ทำให้เรารับฟังความคิดคนอื่นมากขึ้น พร้อมนำชุดข้อมูลใหม่ ๆ เข้ามาประมวลผลเพื่อหาคำตอบใหม่อีกครั้ง หรือที่เราเรียกว่ากระบวนการ “การคิดทบทวน” นั่นเอง
  • พวกเขาไม่มานั่งจมปรักอยู่กับความผิดพลาด : ลองหาเหตุผลมาหักล้างตัวเองบ้าง ตอนคุณผิดก็อย่าเศร้าไป ให้คิดซะว่า เราได้ค้นพบอะไรบางอย่าง จำไว้ว่า การรู้ว่าตัวเองผิด เป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับการเติบโต

 

การที่เราจะเป็นเทรดเดอร์ที่ความมั่นใจแบบถ่อมตัวได้ เราต้องหาจุดสมดุลในตัวเองให้เจอ โดยใช้ทักษะการ Rethinking มาช่วยเป็นไกด์นำทาง

 

Source