5 อคติที่ทำให้เรา เทรด Forex ขาดทุน จิตวิทยาในการเทรด

เรื่องPatihanUhas

forex

5 อคติที่ทำให้เรา เทรด Forex ขาดทุน จิตวิทยาในการเทรด เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในความจริงแล้ว มนุษย์เราไม่ได้ตัดสินใจอย่างเป็นกลาง ไม่ได้ตัดสินใจจากข้อมูลที่เรามี

 

แต่โดยธรรมชาติแล้ว เราตัดสินใจจาก อคติในใจของเรา ดังคำที่ว่า

 

โลกมันก็เป็นของมันแบบนั้นแหละ แต่เราจะมองว่ามันดีหรือแย่ ผ่านเลนส์ที่เรามอง

 

ในการลงทุน การเทรด Forex ก็เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่การตัดสินใจมองตลาด เราไม่ได้ตัดสินใจจากข้อมูล แต่เราตัดสินใจในความเชื่อที่เรามี เราตัดสินใจจากอคติที่เรามีต่อตลาด ไม่ได้ตัดสินใจจากข้อมูลจริงๆ

 

เช่น ถ้าเราเชื่อว่า Bitcoin คือฟองสบู่ จับต้องไม่ได้ ไม่มีมูลค่า เราจะไม่หาข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าของ Bitcoin แต่เราจะหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนความคิดเรา ว่า Bitcoin มันต้องไม่มีค่า เป็นต้น

 

อาการแบบนี้เราเรียกว่า Confirmation bias

 

5 อคติที่ทำให้เรา เทรด Forex ขาดทุน จิตวิทยาในการเทรด

 

 

1. Representative bias

หมายความว่าคุณมีความยึดมั่นหรือมีแนวโน้มที่จะทำซ้ำในการเทรดที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้ คุณอาจจะตัดสินใจทำบางอย่างลงไปโดยปราศจากการวิเคราะห์ มองภาพอย่างไม่เป็นกลาง (ก็คือมีอคตินั้นเองจึงทำให้ขาดการวิเคราะห์อย่างละเอียด)

 

การยึดติดจากประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นหรือเคยพบเห็น แล้วมีผลต่อมุมมองในเหตุการณ์อนาคตที่ตามมา

 

ยกตัวอย่างเช่น

  • ลองให้คุณจินตการถึงคนในคุก ภาพในหัวของคุณจะออกมาประมาณว่า คนที่มีรอยสัก ผิวคล้ำๆ ใบหน้าโหดเหี้ยม ร่างกายกำยำ หรือคนที่ผอมแห้งก็มองเขาว่าเป็นขี้ยา อคตินี้เรียกว่า Representative bias ก็คือการมองภาพรวมแล้วตัดสินคนๆหนึ่งจากความน่าจะเป็นโดยไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ

 

มาดูในส่วนของการเทรดบ้าง

  • ตัวอย่างเช่น คุณซื้อหุ้นที่ราคา 75 บาท และหลังจากนั้นราคาก็เพิ่มขึ้นไปที่ 100 บาท คุณลังเลที่จะขาย ณ ราคา 100 บาท แต่สุดท้ายคุณก็ตัดสินใจที่จะยังไม่ขายในราคานั้น… 3 เดือนถัดมา ราคาของหุ้นนั้นตกไปอยู่ที่ 85 บาทแทน ถ้าหากคุณมีความยึดมั่นในอคติครั้งนี้เลือกที่รอให้ราคามันกลับไป100 บาท คุณจะไม่มีทางที่จะขายหุ้นตัวนั้นอีกเลย จึงทำให้เสียโอกาสการขายไป

 

2. Negativity bias

อคติเชิงลบทำให้คุณมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมองแค่ด้านลบของการเทรด มันเกิดมากจากการที่เทรดเดอร์ขาดทุนอย่างหนักหรือขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุที่ให้เทรดเดอร์กลัวที่จะขาดทุนและไม่กล้าทำตามแผนที่วางไว้ เทรดเดอร์มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงน้อยลงหรือมีอาการลังเลที่จะเทรดแม้สภาวะจะดูสดใส

 

3. Status quo bias

เทรดเดอร์ยึดติดกับกลยุทย์การเทรดแบบเดิมๆของตัวเอง ไม่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

 

4. Confirmation bias

เทรดเดอร์มักจะหาหลักฐานหรือแหล่งอ้างอิงที่สนับสนุนความคิดเพื่อยืนยันสิ่งที่คิด และหลีกเลี่ยงข้อมูลในฝั่งที่ตนไม่เชื่อถือ…การกระทำนี้ส่งผลให้การตัดสินใจมักจะมาจากข้อมูลเพียงฝั่งเดียว

 

5. Gambler’s fallacy

มีความเชื่อแบบผิดๆ และมีความมั่นใจเกินเหตุ เทรดเดอร์ที่เทรดได้กำไรอย่าต่อเนื่องติดๆกัน และคิดว่าตัวเองเก่งแล้วไม่จำเป็นต้องวางแผนก็ได้ แต่หารู้ไม่ว่าเหรียญสามารถกลับด้านได้เสมอ

 

ตลาดเงิน ไม่ได้เคลื่อนไหวตามข่าว เหตุการณ์และการวิเคราะห์ทางเทคนิคโดยตรง แต่เป็นไปตามปฎิกริยาที่เทรดเดอร์มีต่อเหตุการณ์เหล่านี้ อารมณ์สามารถส่งผลกระทบต่อความคลื่อนไหวของราคา และจากนั้นสัญชาตญานหมู่ก็จะทำให้ตลาดเคลื่อไหวอย่างผันผวนขึ้นไปอีก

 

กฎ 7 ข้อ ช่วยควบคุม ไม่ให้ อารมณ์อยู่เหนือ การเทรด Forex

 

 

1. รู้ทันอารมณ์ของตัวเองในขณะเทรด

กุญแจสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาจิตวิทยาการเทรดให้ประสบความสำเร็จ คือการรู้ทันอารมณ์ของตัวเอง รู้ว่าตัวเองกำลังเหนื่อยท้อ หิวข้าว เหงา โกรธ หรือเริ่มที่จะหงุดหงิด ถ้าคุณอยู่ในช่วงอารมณ์อารมณ์เหล่านี้ให้หยุดพักก่อน จิตวิทยาบอกว่าอารมณ์เหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจแบบไม่มีประสิทธิภาพ

 

2. ไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง และปฏิบัติตามแผนการซื้อขายที่วางไว้

การมีแผนการซื้อขายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการรับรองว่าคุณสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ทำให้เทรดง่ายขึ้น รู้ถึงจุดไหนควรเข้า จุดไหนควรออก ลดความเสี่ยง รู้จุดอ่อนของตัวเอง เก็บสถิติย้อนหลังในการเทรด จะทำให้เทรดเดอร์เรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต และสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคตได้

 

และการมีแผนการเทรดที่ดี มันทำให้เทรดเดอร์มองเห็นเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและมีวินัยที่จะฝึกฝนมันทุกวัน

 

ยกตัวอย่างเช่น กำหนดเป้าหมายในการทำกำไรต่อปีเท่าไหร่ เช่น 5%, 10%, 15% หรือ 20% ต่อปี เป็นต้น ควรให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า ความสามารถเราขนาดไหน ถ้าพึ่งเข้ามาเทรด ก็อย่างพึ่งไปหวังผลตอบแทนสูงๆ ให้ตั้งต่ำ ๆไว้ก่อน พอเทรดได้ดีแล้ว ค่อยขยับเป้าหมายให้ไกลขึ้นออกไป

 

3. มีความอดทน

ความอดทนเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เทรดเดอร์ประสบผลสำเร็จ  การแสดงอารมณ์เช่นความกลัวอาจทำให้คุณพลาดผลกำไรโดยการปิดสถานะเร็วเกินไป เชื่อมั่นในการวิเคราะห์ของตัวเอง อดทนและมีวินัยฝึกฝนทักษะไปเรื่อยๆ รอช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วกระโจมเข้าสู่ตลาดทันที

 

จอร์จโซรอสผู้ถล่ม Bank of England เป็นตัวอย่าง เขาซุ่มดูเหตุการณ์และความเป็นไปได้ และจู่โจมทันทีเมื่อเห็นโอกาส

 

4. มีกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นได้

ถึงแม้ว่าการวางแผนการซื้อขายเป็นนั้นสิ่งสำคัญ แต่เทรดเดอร์ต้องรู้จักปรับตัวได้ให้เข้ากับทุกสถานการณ์ อาจจะมีแผนสอง แผนสามว่ากันไป เตรียมพร้อมที่จะรับมือและเรียนรู้ ปรับแผนพัฒนากลยุทย์ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

 

5. พักก่อนหากเทรดแล้วขาดทุน

เชื่อว่าเทรดเดอร์หลายคนหากขาดทุนแล้ว ใจมักกระวนกระวาย หากฝืนเทรดต่อไปก็อาจจะเสียมากกว่าได้ ควรจะพักเบรกก่อน กลับมาไตร่ตรองวางแผนกลยุทธ์ใหม่ กลับไปเทรดอีกรอบจะต้องแกร่งมากกว่าเดิม

 

6. หยุดพักให้รางวัลตัวเองหากเทรดได้กำไร

เวลาได้กำไรมาเยอะๆ ควรหาเวลาให้ตัวเองได้ออกไปพักผ่อนหย่อนใจเสียบ้าง ออกไปชื่นชมโลกภายนอก ไปเที่ยว vacation ให้รางวัลตัวเอง พักเบรกจากการเทรดสักพัก

 

จิตวิทยาบอกว่าถ้าหากเทรดเดอร์ชนะติดต่อกันเรื่อย ๆ อาจจะติดกับดัก Gambler’s fallacy หรือมั่นใจเกินควร อาจจะส่งผลทำให้เทรดเสียในอนาคตก็เป็นไปได้

 

7. เขียนบันทึกรายการซื้อขาย

การจดบันทึกการซื้อขายมันทำให้เทรดเดอร์มองเห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง เป็นการวัดผลงานว่ามีความสามารถในการลงทุนมากน้อยเพียงใด

 

การบันทึกเหตุผลในการซื้อขายสามารถเป็นเครื่องยืนยันว่าแนวทางการลงทุน หรือระบบการเทรดของเราเหมาะสมหรือไม่ สามารถทำกำไรได้หรือไม่ รวมถึงเป็นข้อเตือนใจไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการลงทุนอีก

 

Source

 

 

กลับสู่หน้าหลัก  uhas

ไปอ่านบทความ

Tags: