จอร์จ โซรอส บุรุษผู้ล้มระบบธนาคารกลางของอังกฤษ พร้อมได้กำไรไปกว่า 2,000$ ล้าน ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ จนเกิดเหตุการณ์ Black Wednesday และทำให้อังกฤษเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบเดิม ไปเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว เหตุการณ์นี้เองทำให้จอร์จ โซรอส กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เป็นการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัว
จอร์จ โซรอส บุรุษผู้ล้มระบบธนาคารกลางของอังกฤษ
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ จอร์จ โซรอสอย่างโด่งดัง คือการถล่มค่าเงินปอนด์ เป็นเหตุทำให้ธนาคารกลางของอังกฤษ (Bank of England) เกือบประสบภาวะล้มละลาย โซรอสได้เข้าไปเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนการเงินในยุโรปหลังพบว่า ค่าเงินปอนด์นั้นไปอิงอยู่กับค่าเงินมาร์กของเยอรมัน แล้วค่าเงินปอนด์นั้นสูงกว่าพื้นฐานความเป็นจริง นั่นทำให้โซรอสทำการซื้อสะสมเงินปอนด์ระยะสั้นและทำการShort Sale จนทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องทุ่มกำลังปกป้องไม่ให้ค่าเงินต่ำลงทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยลงขึ้นเรื่อย ๆ
สุดท้ายรัฐบาลต้องประกาศถอนตัวออกจากตลาดแลกเปลี่ยน (ERM) จนคนเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “Black Wednesday”
Black Wednesday คืออะไร
ย้อนไปในปี 1992 (16 กันยายน 1992) วันพุธแห่งฝันร้ายของธนาคารอังกฤษ เหตุการณ์นี้ทำให้ จอร์จ โซรอส กลายเป็นหนึ่งในนักเทรดทางด้านสกุลเงินที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ณ เวลานั้น ผู้คนได้ให้ฉายากับเขาว่า บุรุษผู้ทำลายธนาคารอังกฤษ”
วิกฤตทางการเงินครั้งนี้ทำให้ จอร์จ โซรอส ทำเงินได้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญภายในระยะเวลาสั้นๆ
ภาพจาก economicshelp.org/blog/glossary/black-wednesday
ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ Black Wednesday สหราชอาณาจักรอยู่ใน European ERM มาสองปีแล้วดังในภาพด้านบน เล่าย้อนก็คือ ยุโรปมีแผนจะรวมสกุลเงินในปี 1999 เพื่อการเตรียมความพร้อม ก็เลยจัดตั้งระบบ Exchange Rate Mechanism (ERM) ในปี 1990 ซึ่งถูกออกแบบให้สกุลต่างๆของแต่ละประเทศเคลื่อนไหวไม่ผันผวนมากเกินไป กำหนดกรอบการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้มากหรือน้อยเกินกว่าที่กำหนดและทำให้เกิดความคุ้นเคย ก่อนที่จะร่วมมาใช้สกุลเงิน Euro จริงในปี 1999
ERM คือการตรึงค่าเงินปอนด์ไว้กับสกุลเงินหลักในกลุ่มประเทศแถบยุโรปด้วยกัน (ตรึงไว้ร่วมกับหลายๆ สกุลเงิน แต่ให้น้ำหนักกับเงินมาร์คเยอรมันมากที่สุด)
Exchange Rate Mechanism (ERM) หรือกลไกอัตราแลกเปลี่ยนถทอว่าเป็นเครื่องมือนโยบายที่สำคัญสำหรับรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยม ตรรกะของการเข้าร่วม ERM คือการที่ นายกรัฐมนตรี Nigel Lawson เชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนคงที่จะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้ และให้ความมั่นคงแก่ผู้ส่งออกมากขึ้น
Nigel Lawson อดีตนายกรัฐมนตรีของพรรคอนุรักษ์นิยมของกระทรวงการคลัง https://en.wikipedia.org/wiki/Nigel_Lawson
ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะราบรื่นไปด้วยดีแต่.. ปัญหาคือ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ต่างกัน กล่าวคือ เยอรมันเจอปัญหาเงินเฟ้อสูง อยากขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ประเทศอื่นๆใน ERM ต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม ค่าเงินจึงแข็งค่าขึ้นไปด้วย แต่ตอนนั้นอังกฤษมีปัญหาคือ อัตราการว่างงานที่สูง ถ้าจะกระตุ้นเศรษฐกิจก็ควรลดดอกเบี้ย แต่เพราะอยู่ใน ERM จะทำแบบนั้นก็ทำไม่ได้
ตอนนั้นประเทศอังกฤษกำลังแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ การค้าขายซบเซา ดังนั้นเงินปอนด์จึงค่อยๆ อ่อนปวกเปียกอย่างช้าๆ แต่ด้วยระบบอัตราแลกเปลี่ยน ERM ทำให้อังกฤษจำเป็นต้องตรึงค่าเงินเอาไว้
เมื่อถึงจุดที่ค่าเงินอ่อนมากเกินไป พวกเขาจึงต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้เงินปอนด์กลับมาอยู่ในกรอบที่อยากให้เป็น อย่างเช่น
- ขึ้นดอกเบี้ย
- การซื้อเงินปอนด์ในตลาดไว้กับตัวให้ได้มากที่สุด
จุดนี้เองที่จอร์ส โซรอสเริ่มได้กลิ่นของหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้น นักเก็งกำไรคนเห็นว่า สภาวะแบบนั้นอยู่ได้ไม่ตลอด ว่าแล้วเจ้าพ่อ Hedge Fund อย่างจอร์จ โซรอส ก็เลยเข้าโจมตีค่าเงินปอนด์ (GBP) ด้วยการ Short sell ค่าเงินสกุลปอนด์อย่างมหาศาล
ด้วยความที่รัฐบาลต้องทำทั้งการขึ้นดอกเบี้ยและซื้อเงินปอนด์เพื่อรักษาระดับของอัตราแลกเปลี่ยน โซรอส มองแล้วว่ายังไงอังกฤษก็จะต้องยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบ ERM เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว อังกฤษจะต้องซื้อเงินปอนด์เพื่อรักษาค่าเงินเอาไว้จนไม่มีเงินเหลือในคลัง
สิ่งที่เขาทำคือการไปเร่งวิกฤตนี้ให้เกิดเร็วขึ้น ด้วยการ Short เงินปอนด์ ไว้ในตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โซรอสวิเคราะห์แล้วว่ายังไงอังกฤษจะต้องซื้อเงินปอนด์ต่อไปได้อีกไม่นานก็ต้องหยุด เพราะไม่งั้นเงินจะหมดเอา เขาจึงไปยืมเงินปอนด์คนอื่นมาขายให้กับอังกฤษ นั่นแปลว่า เงินแต่ละปอนด์ที่ขายให้กับอังกฤษ โซรอสจะได้กำไร
ภาพจาก finance.yahoo.com/news/could-only-buy-two-george-001313959.html
ท้ายที่สุด ธนาคารอังกฤษก็ต้องหยุดพยายามอันไร้ความหวังของตัวเองที่จะพยุงค่าเงินปอนด์เอาไว้ จึงยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบ ERM ในวันพุธที่ 16 กันยายน 1992 และปล่อยให้เงินปอนด์เคลื่อนไหวไปสู่จุดที่มันควรจะเป็น
หลังจากที่ตลาดทำจุดต่ำสุดในช่วงที่โซรอส ถล่มค่าเงินปอนด์ จะเห็นได้ว่าหลังจากนั้นตลาดก็กลายเป็นขาขึ้น
เกิดอะไรขึ้นหลังจากเหตุการณ์ “Black Wednesday”
(John Major) อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ภาพจาก historica.fandom.com/wiki/John_Major
Black Wednesday ถูกประณามว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลในยุคนั้น นอกจากนี้ยังทำลายชื่อเสียงของนายกรัฐมนตรี John Major ของอังกฤษและพรรคอนุรักษ์นิยม เพราะว่า John Major พยายามที่จะตรึงค่าเงินไว้อย่างสุดความสามรถ อนุมัติให้รัฐบาลอังกฤษใช้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านปอนด์เพื่อพยายามป้องกันไม่ให้เหตการณ์แบบ Black Wednesday เกิดขึ้น แต่ในท้ายที่สุดรัฐบาลอังกฤษก็ไม่สามารถรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ได้
ความเสียหายจากเหตุการณ์ Black Wednesday ทำให้พรรคอนุรักษ์นิยมที่เพิ่งชนะการเลือกตั้ง pro-euro platform หมดความน่าเชื่อถือ ก่อนหน้านั้นนโยบายของ John Major คือการเป็นส่วนหนึ่งของ ERM แต่แล้วนโยบายนี้ก็ล้มเหลวอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้น ในปี 1997 พรรคอนุรักษ์นิยมก็ได้แพ้การเลือกตั้ง คาดการณ์ว่าประชาชนน่าจะไม่ค่อยชอบการทำงานของพรรคนี้เท่าไหร่ หมดความศรัทธาและน่าเชื่อถือ หลังจากที่ปล่อยให้มีเหตุการณ์ Black Wednesday เกิดขึ้น
ข้อดีของเหตุการณ์ Black Wednesday
แม้ว่า Black Wednesday จะถูกมองว่าเป็นหายนะ แต่สำหรับคนบางกลุ่มก็มีแนวคิดที่ว่านี้เป็นโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนระบบการเงินใหม่ และวิกฤตครั้งนี้สามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และนโยบายที่ประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์ Black Wednesday ก็มีประสิทธิภาพและรอบคอบมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นเพราะว่าสินค้าอังกฤษราคาต่ำลงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้น มีการส่งออกมากขึ้น มีการว่างงานลดลง และอัตราเงินเฟ้อลดลง อีกทั้งBlack Wednesday ทำให้สหราชอาณาจักรไม่อยู่ใน Eurozone และช่วยให้อังกฤษพ้นจากปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรงขึ้นในภายหลัง เช่นวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป (European debt crisis)
จะเห็นได้ว่าการโจมตีค่าเงินของจอร์จ โซรอส ให้ทั้งบทเรียนและประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก
กลยุทธ์ของ จอร์จ โซรอส ในการเก็งกำไร
จอร์จ โซรอส เป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น ซึ่งหมายความว่าเขาลงทุนมากหรือน้อยเหมือนการพนัน เขาทำการเดิมพันปริมาณมหาศาลตามทิศทางของตลาดการเงิน กองทุนเฮดจ์ฟันด์ของเขาเป็นที่รู้จักจากกลยุทธ์มหภาคระดับโลก รูปแบบการซื้อขายที่เน้นไปที่การเคลื่อนไหวของสกุลเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น พันธบัตร และอื่นๆ ทั้งหมดนี้อิงจากการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค
โซรอสเคยกล่าวว่า “the objective is to ride the economic trends whose premise is false and step off from it before it is discredited.” เขาอ้างถึงปรัชญาของเขาที่อยู่เบื้องหลังกลยุทธ์การซื้อขายของเขาว่ามันคือทฤษฏีการสะท้อนกลับ (reflexivity)
ในความเห็นของเขา ความจริงไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว ความเป็นจริงมี 2 รูปแบบ ก็คือ
- สิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างได้และมีอิทธิพลเหนือ
- สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถกำหนดได้
ความเป็นจริง และการรับรู้ของความเป็นจริง
กระจกสะท้อน = ตลาด ปฏิกิริยาสะท้อนกลับของโซรอสจะเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีตัวกลางคือกระจกก่อนเป็นอันดับแรกนั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่สะท้อนออกมาให้เราได้เห็นก็คือตลาด
เศรษฐกิจของเราเป็นส่วนผสมของทั้ง 2 อย่าง มนุษย์สามารถมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจได้ เช่น พิมพ์เงินเพิ่มหรือสร้างเครื่องจักร โซรอสเชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถรับรู้ถึงความเป็นจริงได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการกระทำของมนุษย์จึงลำเอียงไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ
ทฤษฎีการสะท้อนกลับนั้นจะทำให้นักลงทุนไม่ได้ตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง แต่อาศัยการรับรู้ถึงความเป็นจริงแทน ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexivity) จะเกิดมาจากผลกระทบของกลุ่มผู้มีส่วนร่วม (Participan)ได้เข้าไปกระทำ (Actions) ในตลาดนั่นเอง ซึ่งตลาดจะเป็นกระจกสะท้อนผลลัพธ์ ยิ่งตลาดตอบสนองสอดคล้องไปในทิศทางที่เราต้องการให้เป็นมากเท่าไร อัตราการเร่งก็จะยิ่งเร่งให้ผู้สังเกตการณ์ (Observer) เข้ามามีส่วนร่วม (Participant) มากขึ้น กว่า Rate อัตราปกติที่ตลาดจะรับได้
ภาพจาก athenarium.com/principle-of-reflexivity-george-soros
ลำดับเหตุการณ์ Black Wednesday ผ่านหนังสือ ข้อคือเงินตรา
12 สิงหาคม ค.ศ. 1930 คือ วันเกิดของ จอร์จ โซรอส แต่ในวัน 18 กันยายน 1992 คือวันที่โซรอสแจ้งเกิดอย่างแท้จริง เขาได้รับชัยชนะอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ทั่วโลกรู้จักกับจอร์จ โซรอส และเขาได้รับขนานนามเป็น “บุรุษผู้ทำลายธนาคารกลางอังกฤษ”
ลำดับเหตุการณ์ Black Wednesday
ปี 1929 ค่าเงินปอนด์ คือ สกุลเงินหลักของโลกเป็นสัญลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ด้วยสงครามโลก ทำให้สภาวะเศรษฐกิจพังไม่เป็นท่า จนในวันที่ 15 สิงหาคม 1971 ประธานาธิบดี Richard Nixon ของประเทศสหรัฐฯ ได้ทำการประกาศยกเลิกการผูกราคาเงินดอลลาร์ ไว้กับทองคำ ทำให้ราคาของทองคำในตลาดลอยตัวอย่างเสรี
ปี 1979 กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป European Exchange Rate Mechanism, ย่อ: ERM ได้ก่อตั้งขึ้น เพื่อลดความแปรปรวนของอัตราแลกเปลี่ยนและบรรลุเสถียรภาพการเงินในยุโรป เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน หากสกุลเงินใดขึ้นสูงหรือตกต่ำกว่ากรอบ ธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้นๆ จะทำให้ที่ปกป้องสกุลเงินของตัวเอง
ตั้งแต่ปี 1987 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในยุโรปใช้เงินมาร์คเป็นสกุลเงินหลัก Deutsche Mark (มาร์คเยอรมัน เป็นสกุลเงินที่ใช้ในประเทศเยอรมนีจนถึง ปี 2002 จึงได้เปลี่ยนไปใช้เงินสกุลยูโรแทน โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร ต่อ 1.95583 มาร์ค) จึงมีการเทียบเงินกับเงินมาร์คเป็นหลัก เช่น เงินปอนด์ของอังกฤษ มีการเปรียบเทียบกับเงินมาร์ค ในตอนนั้นตกอยู่ที่มาร์คละ 2.95 ปอนด์
มาถึงปี 1992 ปรากฎว่าสกุลเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงินปอนด์ หรือ สกุลเงินลีร์ของอิตาลีมีมูลค่าแพงเกินจริง ถ้าเทียบกับฟรังค์ฝรั่งเศสหรือปอนด์อังกฤษ ประกอบกับมองว่าอังกฤษอาจจะไม่สามารถปล่อยให้ค่าเงินปอนด์ขึ้นกับมาร์คต่อไปได้ ดังนั้นต่างก็คาดการณ์ว่าอังกฤษจะถอนตัวออกจากระบบ ERM อย่างแน่นอน และโซรอสก็คาดการณ์ไว้แบบนั้น โซรอสมองเห็นสิ่งนี้มานานแล้ว เขาแค่รอเวลาที่เหมาะสมในการเข้าตะครุบเหยื่อ
แกรี่ แกลดสไตน์หัวหน้าฝ่ายบริหารของกองทุนจอร์จ โซรอส กล่าวว่า ความเป็นอัจฉริยะของจอร์จ โซรอส คือ เขามองเห็นแนวโน้มได้เร็วกว่าคนอื่น
7 กุมภาพันธ์ 1992 หลังจากมีการลงนามใน หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป ลงนามเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1992 นักเก็งกำไรเชื่อว่าอังกฤษกำลังมีปัญหาภาวะเศรษฐกิจ และอังกฤษเองก็กำลังหาทางที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ วิธีเดียวที่จะช่วยได้ในตอนนั้นคือ ต้องลดอัตราดอกเบี้ย แต่นั่นก็จะทำให้มูลค่าของเงินปอนด์อ่อนลงไปอีก และหากอังกฤษยอมลดอัตราดอกเบี้ย มีโอกาสที่อังกฤษจะต้องขอถอนตัวจากระบบ ERM ซึ่งทางอังกฤษเอง ยืนยันว่าจะไม่ให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น นี่เป็นสิ่งที่ต้องย้ำให้จอร์จ โซรอส ที่เตรียมการมากว่า 2-3 เดือนมั่นใจว่า ค่าเงินปอนด์จะอ่อนค่าลงไปอีก
ต้นเดือนกรกฎาคม 1992 มูลค่าเงินปอนด์ตกอยู่ที่ 2.85 ปอนด์ต่อมาร์ค นักการเงินชั้นนำ 6 คน เขียนอธิบายให้อังกฤษถอนตัวออกจาก ERM โดยเร็ว และลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่รัฐบาลอังกฤษยืนกรานที่จะไม่ทำแบบนั้น เพราะอาจจะทำให้ค่าเงินปอนด์อ่อนลง และเกรงว่าจะเป็นโอกาสให้นักเก็งกำไรเข้ามาเก็งกำไรในค่าเงินปอนด์ อังกฤษจะยอมลดอัตราดอกเบี้ยทางเดียวคือ ต้องให้ทางธนาคารกลางเยอรมันลดอัตราดอกเบี้ยด้วยกัน แต่ธนาคารกลางเยอรมันยืนยันว่าจะไม่ทำเช่นนั้น
ปลายเดือนกรกฎคม 1992 ตอนนี้ มูลค่าเงินปอนด์ตกอยู่ที่ 2.60 ปอนด์ต่อมาร์ค สถานการณ์กำลังตึงเครียด หลายคนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 3% แต่รัฐบาลอังกฤษยังยืนยันคำเดิม
กลางเดือนสิงหาคม 1992 ลามอนต์ ออกมาประกาศจุดยืนว่า “เราจะไม่มีทางปล่อยให้เงินปอนด์ลอยตัวอย่างแน่นอน การถอนตัวจาก ERM และลดอัตราดอกเบี้ย มีแต่จะทำให้เหตุการณ์แย่ลงไปทุกทีและอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงมาก”
26 สิงหาคม 1992 ลามอนต์ออกมาประกาศจุดยืนอีกครั้งว่า “เราจะไม่มีทางปล่อยให้เงินปอนด์ลอยตัวอย่างแน่นอน” ลามอนต์ให้คำมั่นว่าจะทำทุกอย่างที่จำเป็นและรัฐบาลจะไม่กลัวที่จะขึ้นดอกเบี้ยหากจำเป็น เขาไม่ตอบคำถามนักข่าวและก่อนจะจบ เขาบอกว่า “เรากำลังทำอย่างดีที่สุด” และในวันนี้เขาได้เปิดเผยว่า ธนาคารกลางได้แทรกแซงเพื่อผยุงค่าเงินด้วยการซื้อเงินปอนด์กว่า 300 ล้านปอนด์แล้ว
ปลายเดือนสิงหาคม 1992 หลังจากการสนทนาของประธานธนาคารกลางแห่งชาติเยอรมัน เขาจับทางได้ว่าเยอรมันจะไม่ทำอะไรให้กระทบกระเทือนเศรษฐกิจของตัวเอง และสิ่งที่อังกฤษขอ ธนาคารกลางแห่งชาติเยอรมันก็คงทำให้ไม่ได้ สิ่งที่จอร์จ โซรอส วาดแผนไว้เหมือนจะกำลังเกิดขึ้นทุกอย่าง
ต้นเดือนกันยายน 1992 ไม่ใช่แค่จอร์จ โซรอสคนเดียวที่มองเห็นปัญหานี้ สถานบันการเงินต่างๆ กองทุนต่างๆ กำลังทำการเทขายเงินยุโรป
3 กันยายน 1992 นอร์มัน ลามอนต์ ประกาศว่ารัฐบาลมีแผนจะกู้เงิน 7,500 ล้านปอนด์เป็นเงินตราต่างประเทศจากกลุ่มธนาคารนอกประเทศ นี่คือสิ่งที่อังกฤษไม่เคยทำมาก่อน สาเหตุเดียวที่ทำแบบนี้เพื่อต้องการรักษาสภาพเงินปอนด์เอาไว้เพียงเท่านั้น
15 กันยายน 1992 จอนห์ เมเจอร์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ยกเลิกการเดินทางไปสเปนเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ ERM และในตอนนั้นมีแรงขายเงินปอนด์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
บ่ายวันอังคาร มูลค่าเงินปอนด์ตกอยู่ที่ 2.80 ปอนด์ต่อมาร์ค ธนาคารกลางอังกฤษออกมายอมรับว่า ธนาคารแห่งชาติอังกฤษได้เข้าซื้อเงินปอนด์ไว้ที่ 3,000 ล้านปอนด์ ในตอนนี้เรียกว่า อังกฤษถล่ำลึกเข้าไปอยู่ในสงครามค่าเงินอย่างเต็มรูปแบบ ในตอนนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างแรงขายเงินปอนด์จากสถาบันการเงินต่างๆ และกองทุนต่างๆทั่วโลกที่แห่ขายเงินปอนด์ ส่วนธนาคารกลางอังกฤษต่อสู้ด้วยการซื้อกลับในราคาที่กองทุนเหล่านี้ขาย เพื่อไม่ให้ค่าเงินปอนด์อ่อนจนเกินไป
เวลา 20:00 น. ในคืนวันอังคารนักเก็งกำไรค่าเงิน ต่างพากันเทขายค่าเงินปอนด์อังกฤษและค่าเงินลีร์อิตาลี และไปซื้อเงินมาร์คเยอรมันที่แข็งเกร็งกว่า
เวลา 22:00 น. ในคืนวันอังคาร โซรอส คำนวณความเสี่ยงว่า หากเขาผิดพลาดเขาจะขาดทุนประมาณ 4% หากเขาได้กำไรจะได้กำไรมหาศาล เขาจึงตัดสินใจทำการขายเงินปอนด์ด้วยวงเงินสูงเป็นประวัติของเขา วงเงินกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่เขาจะนอนหลับไปในคืนนั้น ในเมืองแมนฮัตตันที่นิวยอร์ค
เช้าวันพุธ เป็นเช้าที่แสนสงบไร้ซึ่งเสียงใดๆ จอนห์ เมเจอร์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษก้าวขาลงจากรถกันกระสุน มีการนัดประชุมความหายนะของค่าเงินปอนด์ ทุกคนในตอนนั้นรู้สึกเหมือนสภาวะสงคราม
เวลา 11:00 น. ในวันพุธ นอร์มัน ลามอนต์ ออกประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2% ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 12% ในตอนนั้น แต่ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเลย
เวลา 12:00 น. ในวันพุธ ธนาคารแห่งชาติอังกฤษได้รับความสูญเสียเป็นอย่างมากในการสู้รบครั้งนั้น ธนาคารแห่งชาติอังกฤษสูญเงินไปกว่า 15,000 ล้านปอนด์ จากทั้งหมดที่มีทั้งหมด 44,000 ล้านปอนด์ แต่ในขณะนั้นเองที่นิวยอร์ค โซรอสได้ตื่นมารับโทรศัพท์จาก สแตนเลย์ ดรัคเคนมิลเลอร์ว่า “เฮ จอร์จ คุณเพิ่งจะทำเงินได้ 958 ล้านดอลลาร์” แม้จะเร็วไปนักที่โซรอสจะประกาศชัยชนะ แต่โอกาสที่โซรอสจะแพ้ก็แทบเป็นไปไม่ได้ในตอนนั้น
เวลา 13:30 น. ในวันพุธ เป็นเวลาที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดทำการ ซึ่งในตอนนั้นเองทำให้ค่าเงินปอนด์โดนเทขาย ราวกับเปิดน้ำทิ้ง
เวลา 14:15 น. ในวันพุธ รัฐบาลอังกฤได้ตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนในประวัติศาสตร์ คือการขึ้นขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในวันเดียว และได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มมา 3% ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 15% นี่คือการประกาศขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในวันเดียว
เวลา 17:00 น. ในวันพุธ จอนห์ เมเจอร์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ขอมติคณะรัฐมตรีเพื่อยอมแพ้ในสงครามนี้ เวลา 19:00 น. นอร์มัน ลามอนต์ ออกมาประกาศไม่เข้าแทรกแซงค่าเงินปอนด์ และยอมปล่อยให้ค่าเงินปอนด์ลอยตัวตามกลไกของตลาด
Black Wednesday – 16 September 1992. How the newspapers reported the sterling crisis. Photograph: Harris/PA Archive/Press Association Ima
24 ตุลาคม 1992 นิตยสาร Forb พาดหัวว่า จอร์จ โซรอส ทำเงินได้กว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ จากวิกฤตค่าเงินปอนด์ ในวันนั้นอนาโตล คาเลทสกี้ บรรณาธิการข่าวการเงินของ Time London กำลังกลับบ้านกับลูกสาว และได้เห็นพาดหัวนี้พอดี เมื่อกลับถึงบ้าน มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ปลายสายคือ จอร์จ โซรอส
จอร์จ โซรอส ไม่รู้จะทำยังไงดี เนื่องจากก่อนหน้านี้น้อยคนนักที่จะรู้จักเขา แต่ตอนนี้มีนักข่าวจำนานมากมารอเขาอยู่ที่หน้าบ้าน และเขาไม่รู้จะทำยังไงดี จึงโทรปรึกษา อนาโตล คาเลทสกี้ โซรอสบอกว่า “ผมอยู่ลอนดอน ไม่รู้ว่าคุณเห็นข่าวหรือยัง” อนาโตล คาเลทสกี้ ตอบกลับว่า “เห็นแล้ว” โซรอสบอกว่า “ตอนนี้นักข่าวกับช่างภาพมารุมล้อมที่หน้าบ้านผม ผมไม่รู้จะทำยังไงดี ผมอยากออกไปตีเทนนิส คุณช่วยแนะนำหน่อยได้ไหม” แต่อนาโตล คาเลทสกี้กำลังมึน งง ก็เลยถามไปว่า เรื่องในข่าวมันจริงหรือเปล่า โซรอส บอกว่า “โดยทั่วไปแล้วจริง”
หลังจากนั้นอนาโตล คาเลทสกี้ ได้เข้าไปคุยกับจอร์จ โซรอสในบ่ายวันที่ 26 ตุลาคม 1992 บทสัมภาษณ์ ของโซรอสในวันนั้นกับนิตยสารไทมส์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนรู้จักไปทั่วโลก
สองสัปดาห์ก่อนเหตุการณ์วันพุธทมิฬ โซรอสเดิมพันหมดหน้าตักกับรัฐบาลอังกฤษด้วยวงเงินสูงที่สุดในประวัติการซื้อขายของจอร์จ โซรอส และเขารู้ดีว่าเขาจะชนะในการเดิมพันครั้งนี้ แม้จะรู้สึกผิดลึกๆ ในใจ แต่ก็ไม่อาจบความภาคภูมิใจของตัวเองได้เช่นกััน
จอร์จ โซรอส กล่าวว่า เราเทขายเงินปอนด์จำนวนมาก เพราะเราเป็นกองทุนที่ใหญ่ด้วย เราขายอย่างต่อเนื่องจนถึงวันพุธทมิฬ รวมๆ ตอนนั้นน่าจะประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ จริงๆ เราจะเทขายมากกว่านี้ด้วยซ้ำ แต่เงินปอนด์ได้ล่มไปเร็วกว่าที่เขาคิด” ในตอนที่โซรอสกำลังทำการขายเงินปอนด์อย่างหนักหน่วง รัฐบาลอังกฤษมีแผนจะกู้เงินเกือบ 15,000 ล้านดอลลาร์เพื่อมาป้องกันเงินปอนด์ โซรอสรู้สึกขัน เพราะนั่นเป็นตัวเลขที่เขาต้องการจะขายอยู่พอดี
อนาโตล คาเลทสกี้ ถามโซรอสว่าจอนห์ เมเจอร์ ขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไปหรือเปล่า โซรอสบอกว่า ยิ่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วเท่าไหร่ ก็เร่งกระบวนการทั้งหลายเร็วขึ้น แต่ทันใดที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โซรอสเองก็รู้ว่า รอไม่ได้แล้ว ต้องรีบเทขาย ก่อนที่ค่าเงินปอนด์จะล่มสลายลง
อนาโตล คาเลทสกี้ ได้พูดถึงโซรอสว่า ท่าทางของโซรอสห่างเหินความรู้สึกใดๆ นอกจากสนใจทฤษฎีของเขา และเขารู้สึกปราบปลื้มที่ทฤษฎีของเขาถูกต้องทุกอย่าง (ก่อนหน้านี้ โซรอสมีความฝันอยากเป็นนักปรัชญา แต่ดูเหมือนเขาไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักปรัชญาเพื่อการสื่อสารของเขาเข้าใจยาก แต่เขาพยามใช้ทฤษฎีแนวคิดของเขาในตลาดเงินและมันก็ได้ผล)
บทสัมภาษณ์ถามโซรอสว่า เขาทำกำไรได้ 1,000 ล้านดอลลาร์จริงหรือเปล่าจากเหตุการณ์นี้ โซรอสตอบกลับว่า ยอดกำไรที่เขาได้จากเงินปอนด์ คือ 950 ล้านดอลลาร์ และอีกกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์จากค่าเงินอิตาลี สวีเดน และตลาดหุ้นญี่ปุ่น ที่โซรอสมองว่าจะได้รับผลกระทบไปด้วยกัน สำหรับคนทั่วไป อาจจะเปิดแชมเปญฉลองความสำเร็จ แต่โซรอสเขากล่าวเพียงแค่ว่า “ผมแค่เล่นไปตามเกมแค่นั้นเอง แค่ฝั่งที่เดิมพันตรงข้ามกับเขาคือธนาคารกลางของประเทศ”
ในตอนนั้นจอร์จ โซรอส คิดว่าประชาชนชาวอังกฤษคงจะเกลียดเขาเป็นอย่างมาก แต่คาเลทสกี้ บอกว่า ตรงกันข้ามเลย คนส่วนใหญ่มองจอร์จ โซรอสในแง่นักเก็งกำไรที่ปราดเปรื่อง คนส่วนใหญ่มองว่า โซรอสสมควรจะได้รับ 1,000 ล้านดอลลาร์ และรัฐบาลของเราเองควรได้รับบทเรียนจากนโยบายที่แสนจะงี่เง้า
โซรอสกล่าว่า ในทุกการเดิมพันจะต้องมีคนได้คนเสีย แต่คนเสียครั้งนี้คือธนาคารกลางของอังกฤษ เขาจึงยืนยันว่า เขาไม่ได้รู้สึกผิดเลย ต่อให้ไม่มีเขาคนอื่นก็เข้ามาเล่นอยู่ดี และแน่นอนว่าเหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่กองทุนของโซรอสได้กำไรเพียงแค่กองทุนเดียว กองทุนของคอฟเนอร์ ได้กำไรประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ พอล ทิวเดอร์ โจนส์ ได้กำไร 250 ล้านดอลลาร์ และยังมีธนาคารอย่าง ซิตี้กรุ๊ป และเจพี มอร์แกน ได้กำไรอีกมหาศาลในการล่มสลายของค่าเงินปอนด์
สรุปเส้นทางของโซรอส ในการเก็งกำไรค่าเงินปอนด์
- โซรอส มองว่าระบบที่อังกฤษใช้ มีช่องโหว่
- โซรอส มองว่าอังกฤษจะเดินหน้าป้องกันค่าเงินปอนด์ต่อไป จากการประกาศของธนาคารกลาง
- จากการให้สัมภาษณ์ของธนาคารแห่งชาติเยอรมัน โซรอสมั่นใจว่า เยอรมัน จะไม่ยอมทำเพื่ออังกฤษจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจตัวเอง
- รัฐบาลอังกฤษยอมกู้เงินเพื่อมาป้องกันค่าเงิน มากกว่ายอมรับความจริง สิ่งนี้ทำได้แค่ซื้อเวลาเท่านั้นเอง
- รัฐบาลอังกฤษขึ้นดอกเบี้ย ทำให้เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ให้เร็วขึ้นและโซรอสรู้ดีว่ารอไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
Source
- หนังสือ : ข้าคือเงินตรา
- https://www.investopedia.com/terms/b/black-wednesday.asp
- https://www.youtube.com/watch?v=EHAXNpRPE-I
- https://www.youtube.com/watch?v=jQHDTAR6434
- https://www.economicshelp.org/blog/glossary/black-wednesday/
- https://rockyxu.medium.com/george-soros-trading-strategy-explained-14054eba340b
Author: