VIX index ดัชนีแห่งความกลัวที่นักลงทุนต้องระวัง

เรื่องUhasAuthor

ทำความรู้จักกับดัชนี VIX Index

ช่วงเวลานี้ตลาดทั่วโลกพากันเทกระจาดเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าหากท่านลองเปิดดูตามเว็บการเงิน รวมไปถึง Application การเงินต่างๆ ก็จะเห็นได้เลยว่าทุกครั้งที่ตลาดโลกพร้อมใจกันลง ก็จะมีค่าดัชนีหนึ่งที่ปรากฏออกมาไม่เข้าพวกกับเขาเลย จะเขียวสว่างอยู่แค่เพียงตัวเดียว ก็คือ vix index หรือที่หลายคนมักจะเรียกกันว่า ดัชนีแห่งความกลัว หรือ Fear index แล้ว vix index คือ อะไร ตามไปทำความรู้จักพร้อมกันกับเราได้เลยว่าสิ่งที่เรียกว่าดัชนีแห่งความกลัวคืออะไร

 

ดัชนี VIX Index คืออะไร

vix index ชื่อเต็มคือ Volatility Index ซึ่งจะมีการคำนวณโดยตรงมาจากตลาดซื้อขายอนุพันธ์ (CBOE) โดยเป็นดัชนี ที่ได้มีการถูกพัฒนามาในปี 1933 พัฒนามาจาก ดร. Robert Whaley ช่วงแรก VIX จะมีการคำนวณมาจากราคาของ OEX เพียง 8 Option ต่อปี 2003 CBOE และ Goldman Sachs ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณ VIX ขึ้นมาใหม่ โดยมีการเปลี่ยนไปกับการอ้างอิงกับ Option ในตลาด S&P500 แทน จึงทำให้จาก Option 8 ตัวแรก กลายเป็น Option ที่มีจำนวนมาก สะท้อนถึงภาพรวมของตลาดที่ดีมากยิ่งขึ้น

 

 

VIX Index ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการลงทุนหุ้น

ดัชนี vix index ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการลงทุน โดยตลาดที่นักลงทุนได้มีการซื้อขายความผันผวนของตลาด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเก็งกำไร หรือเพื่อที่จะทำการประกันความเสี่ยง ของแต่ละนักลงทุน โดยยิ่งระดับราคาของ VIX Index ได้มีการถูกซื้อขึ้นไปสูง ก็จะเท่ากับว่านักลงทุนได้มีการมองว่าตลาดมีความผันผวนสูง และในช่วงของ VIX Index ที่ได้มีการพุ่งทะยานสูงขึ้น ก็จะหมายความว่า นักลงทุนเริ่มที่จะไม่มั่นใจว่าจะมีการเกิดอะไรขึ้นในตลาด หรือนักลงทุนอาจจะมองว่ามีความผันผวนสูง จึงทำให้ VIX Index ที่มักจะเรียกกันอีกชื่อว่า ดัชนีวัดความกลัวของตลาดนั่นเอง

 

VIX Index แบบไหนถือว่าสูงและเสี่ยง

Harvest Volatility Management โดยจะได้มีการคำนวณค่าเฉลี่ยของ vix index ซึ่งมีการเฉลี่ยมาตั้งแต่ปี 1995 ตัวเลขอยู่ที่ 21 ซึ่งมีความใกล้เคียงกับระดับตัวเลขที่นักลงทุนควรจะเริ่มให้ความสนใจ และควรจะเริ่มมองหาความผิดปกติของภาวะเศรษฐกิจ เลยตลาดการเงินหลายแหล่ง ที่มีความคิดเห็นตรงกันก็คือ 20 โดยปีที่ผ่านมา VIX Index ก็สูงกว่า 20 ครั้ง เช่น ช่วงปี 1929 ถึงช่วงปี 1940 ที่ได้มีการเกิดเศรษฐกิจตกต่ำ ปี 1946 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนในปี 1987 Black Monday และล่าสุดคือ Hamburger Crisis นั่นเอง