เจาะลึกคดีเหมืองทองอัครา มีอะไรที่น่าสนใจ

เรื่องUhasAuthor

เจาะลึกคดีเหมืองทองอัครา

คดีเหมืองทองอัครา ถือเป็นหนึ่งในคดีข้อพิพาทที่ดำเนินมาอย่างยาวนานและซับซ้อนที่สุดอีกคดีหนึ่งของไทย โดยในส่วนของคดีเริ่มต้นจากการที่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก แต่ต่อมาประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงรวมตัวกันต่อต้านและเรียกร้องให้มีการปิดเหมือง และนั่นจึงเป็นจุดที่นำไปสู่ข้อพิพาททางกฎหมายที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 10 ปี

ความเป็นมาของคดีเหมืองทองอัครา

เหมืองทองอัครา เดิมทีมีชื่อว่า เหมืองแร่ชาตรี ถูกจัดให้เป็นเหมืองแร่ทองคำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทย โดยในโครงการประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน คือส่วนแรกครอบคลุมพื้นที่ 5 แปลง 1,400 ไร่ เริ่มต้นโครงการในปี 2543 และโครงการหมดอายุในปี 2563 สำหรับในส่วนที่สอง ครอบคลุมพื้นที่ 9 แปลง 2,500 ไร่ เริ่มต้นโครงการในปี 2551 และหมดอายุโครงการในปี 2571 ซึ่งได้มีไทม์ไลน์ในส่วนของการดำเนินการในระยะเวลาเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

  • ปี 2544 บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินการเหมืองทองอัครา
  • ปี 2548 ชาวบ้านเริ่มร้องเรียนเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการเหมืองทอง
  • ปี 2553 ชาวบ้านในตำบลเขาเจ็ดลูก จ.พิษณุโลก ยื่นฟ้องศาลปกครองพิษณุโลก ให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองทอง
  • ปี 2556 องค์กรภาคประชาสังคม ร่วมกับชาวบ้านจัดตั้ง “เครือข่ายต่อต้านเหมืองทองอัครา”
  • ปี 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชี้ว่า เหมืองทองอัคราละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • ปี 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น  ใช้มาตรา 44 สั่งระงับการประกอบกิจการเหมืองทองอัครา
  • ปี 2560 บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ยื่นฟ้องร้องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ICSID) เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย
  • ปี 2562 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองทองอัครา 5 แปลง
  • ปี 2563  อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ICSID)  ตัดสินให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายแก่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด จำนวน 13,600 ล้านบาท
  • ปี 2564 รัฐบาลไทยถอนคำร้องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ICSID)  และยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อเพิกถอนคดีอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ICSID)
  • ปี 2566 ได้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้งในเดือนมีนาคม โดยบริษัทอัคราเป็นผู้ผลิตและส่งทองคำในรูปแบบโดเร่ให้กับผู้ประกอบการในไทยทำการแปรรูป

เหมืองทองอัคราอยู่ที่ไหน

โครงการเหมืองทองอัครา หรือชื่อเรียกเดิมคือ เหมืองแร่ชาตรี ได้มีการดำเนินการโครงการนี้ในพื้นที่คาบเกี่ยว 3 จังหวัดด้วยกัน ดังนี้

  • จังหวัดพิจิตร: ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ
  • จังหวัดเพชรบูรณ์: ตำบลวังน้ำขาว อำเภอวังน้ำขาว
  • จังหวัดพิษณุโลก: ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเนินมะปราง

ความคืบหน้าของดีเหมืองทองอัคราในปัจจุบัน

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของคดีเหมืองทองอัครานั้น ทางด้านอนุญาโตตุลาการได้เลื่อนการตัดสินชี้ขาดออกไปอีก 3 เดือน ซึ่งแต่เดิมต้องมีคำสั่งตัดสินไปในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 แต่เนื่องจากการเจรจายังหาข้อยุติไม่ได้ จึงได้มีการเลื่อนคำตัดสินชี้ขาดออกไปเป็นวันที่ 30 กันยายน 2567 แต่ทั้งนี้ก็ยังพอมีช่องทางในการเจรจาของทั้งสองฝ่ายอยู่ ในส่วนของเนื้อหาการเจรจานั้นไม่สามารถนำออกมาเผยแพร่ได้

ความคืบหน้าของดีเหมืองทองอัคราในปัจจุบัน

 

ประเด็นข้อพิพาทของคดีเหมืองทองอัคราที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั้น มีสาเหตุเนื่องมาจากคนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทั้งทางน้ำ ฝุ่นควัน เสียงดัง และการดำเนินชีวิต จนนำพาให้ประชาชนในพื้นที่เข้าร้องเรียนและรวมตัวต่อต้านการขยายสัมปทาน ที่ทางรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัท อัคราฯ ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้าและแรงกดดันจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งในที่สุดรัฐบาลไทยจำเป็นต้องหาจุดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน

นอกจากนี้ควรติดตามข่าวสาร เทรนด์ใหม่ ต่อยอดความรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความได้เปรียบจึงควรศึกษา โบรกเทรดทอง และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคนิคเทรดทองคำ ว่าแบบไหนเหมาะสมกับสไตล์การลงทุนของคุณ จะได้ประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น