ไขรหัส RSI คืออะไร ใช้วิเคราะห์อย่างไรบ้าง

เรื่องUhasAuthor

ไขรหัส RSI คืออะไร

การลงทุนในตลาดหุ้น นักเทรดจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เข้ามาช่วยวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อให้การตัดสินใจซื้อขายมีความแม่นยำมากที่สุด ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ที่ช่วยอ่านกราฟรูปแบบต่าง ๆ ที่เราจะพาไปทำความรู้จักก็คือ RSI เครื่องมือวิเคราะห์ที่จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ซื้อขายได้ดีมากขึ้น

รู้จักรหัส RSI คืออะไร

RSI หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Relative Strength Index เป็นตัวชี้วัดโมเมนตัม (Momentum) ที่ใช้วิเคราะห์ความแรงของราคาหุ้น โดยใช้อัตราส่วนของราคาที่ในช่วงเวลาที่กำหนดมาคำนวณ โดยค่า RSI จะแสดงเป็นกราฟเป็นเส้นบนสเกล 0 ถึง100 ซึ่งจะมีการอ่านค่าดังนี้

ช่วง Overbought

ช่วง Overbought เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงสถานการณ์ที่ราคาหุ้นหรือสินทรัพย์บางอย่างมีการซื้อขายมากเกินไป จนทำให้ราคาพุ่งสูงเกินกว่าความเป็นจริง ช่วงนี้มักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ RSI (Relative Strength Index) มีค่ามากกว่า 70 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการซื้อที่มากเกินไปและมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงในไม่ช้า

  • ความเสี่ยงในช่วง Overbought

เมื่อราคาสูงเกินไป นักลงทุนมักจะเริ่มขายเพื่อทำกำไร ซึ่งทำให้ราคาปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว หากไม่ระมัดระวัง อาจเจอภาวะขาดทุนได้ แต่ในบางครั้งก็อาจจะเจอสัญญาณหลอกจากค่า RSI ที่ยังคงอยู่ในช่วง Overbought นานกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นนักลงทุนควรใช้เครื่องมืออื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อลดความเสี่ยง

  • การจัดการกับช่วง Overbought

การใช้เครื่องมือวิเคราะห์รูปแบบอื่นร่วมด้วย เช่น MACD หรือ Moving Averages ร่วมกับ RSI จะช่วยให้คุณสามารถประเมินสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้หากคุณพบว่าราคาสูงเกินไป การตั้งจุดขายที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการขาดทุนได้ในกรณีที่ราคาปรับตัวลง

ช่วง Oversold

ช่วง Oversold เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงสถานการณ์ที่ราคาหุ้นหรือสินทรัพย์บางอย่างมีการขายมากเกินไป จนทำให้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ช่วงนี้มักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ RSI (Relative Strength Index) มีค่าต่ำกว่า 30 ซึ่งบ่งบอกถึงการขายที่มากเกินไปและมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นในไม่ช้า

 

โอกาสในช่วง Oversold

ช่วง Oversold เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะเมื่อราคาปรับตัวขึ้น นักลงทุนจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้น ทั้งนี้ RSI ในช่วง Oversold จะเป็นสัญญาณที่บอกว่าราคาหุ้นกำลังจะกลับตัวขึ้น ดังนั้นการใช้เครื่องมือรูปแบบอื่น ๆ ร่วมด้วยจะช่วยทำให้คุณสามารถหาจุดกลับตัวที่แม่นยำได้ดีมากขึ้น

 

การจัดการกับช่วง Oversold

การใช้เครื่องมือวิเคราะห์รูปแบบอื่น เช่น MACD หรือ Bollinger Bands ร่วมกับ RSI จะช่วยให้คุณประเมินสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้นและลดความเสี่ยงในการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้หากคุณพบว่าราคาต่ำเกินไป การตั้งจุดซื้อที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถทำกำไรได้มากขึ้นเมื่อราคาปรับตัว

RSI คำนวณอย่างไร พร้อมแนะนำวิธีใช้งาน

สำหรับทางด้านของการคำนวณ RSI นั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อน แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ซึ่งขั้นตอนแรกคือต้องหาค่าเฉลี่ยของราคาปิดที่เพิ่มขึ้นและลดลงในช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปแล้วจะใช้ช่วงเวลา 14 วันในการนำมาคำนวณ

 

สูตรการคำนวณ RSI

RSI = 100(100/1+RS)

RS = ราคาเฉลี่ยของวันที่ปรับตัวขึ้นในช่วง N วัน / ราคาเฉลี่ยของวันที่ปรับตัวลง N วัน นำมาปรับเสกลให้อยู่ในช่วง 0-100

 

วิธีใช้งาน RSI

เมื่อได้รู้ถึงสูตรการคำนวณกันไปแล้ว คราวนี้มาดูในเรื่องของวิธีการใช้งานกันบ้าง สำหรับการระบุภาวะ Overbought และ Oversold มีดังนี้

 

Overbought (ซื้อมากเกินไป) : ค่า RSI อยู่เหนือ 70 แสดงว่าราคาอาจมีมูลค่าสูงเกินไป และอาจพร้อมสำหรับการกลับตัวของแนวโน้มหรือการปรับราคาลง

 

Oversold (ขายมากเกินไป) : ค่า RSI อยู่ต่ำกว่า 30 แสดงว่าราคาอาจมีมูลค่าต่ำเกินไป

 

ยืนยันแนวโน้ม : ขาขึ้น RSI เคลื่อนที่จากจุดต่ำกว่าขึ้นไปตัดเส้น 50 ขึ้นไป สำหรับขาลง : RSI เคลื่อนที่จากจุดสูงกว่าลงมาตัดเส้น 50 ลงไป

 

หาจุดเข้าซื้อและขาย : ในส่วนของจุดซื้อเมื่อ RSI เคลื่อนที่จาก Oversold ขึ้นมาตัดเส้น 50 และจุดขายเมื่อ RSI เคลื่อนที่จาก Overbought ลงมาตัดเส้น 50

 

วิธีใช้งาน RSI

 

RSI เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ต้องบอกว่ามีความจำเป็นต่อนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้การวิเคราะห์ความแรงของราคาหุ้น ค้นหาโอกาสซื้อ-ขาย และยืนยันแนวโน้มเป็นไปตามเป้าหมายอย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ควรติดตามข่าวสาร เทรนด์ใหม่ ต่อยอดความรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความได้เปรียบจึงควรศึกษา forex คืออะไร เข้าใจง่าย และดูว่าควร เทรด forex โบรกไหนดี จึงจะเหมาะสมกับสไตล์การลงทุนของคุณและได้ประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น