โครงสร้างกราฟ “หลอก” ของ SMC (Smart Money Concept) บทความนี้ได้มาจาก YouTube ช่อง mentfx และในวีดิโอนี้ได้มีการยกตัวอย่างโครงสร้างกราฟหลอกที่ดำเนินการโดยกลุ่มเจ้ามือหรือ Market Maker (สถาบันการเงิน , ธนาคาร , กองทุนต่างๆ)
โครงสร้างกราฟ “หลอก” ของ SMC (Smart Money Concept)
การเทรด Forex คู่เงินเดียวกัน สามารถทำกำไรได้ทั้ง Long และ Short ขึ้นอยู่กับการจัดการของเทรดเดอร์แต่ละคน และในวีดิโอนี้ เจ้าของช่อง จะมาแสดงให้เราเห็นถึงวิธีการเทรดของเขาที่สามารถรับมือกับเจ้ามือได้
“Fake Structure” หรือจะพูดอีกอย่างว่า รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่หลอกลวงตา ซึ่งเป็นพฤติกรรมของเจ้ามือ Market Maker ที่ทำกำไรโดยการเพิ่มLiquidity ปั่นหลอกให้เทรดเดอร์รายย่อยไข้วเขวต่างๆนาๆ
เทรดเดอร์รายย่อยมักจะเปิด Buy ตอนราคา Breakout แนวต้านขึ้นไป พวกก็ใช้แนวต้านนั้นเป็นจุดในการเพิ่ม Liquidityจุดไหนที่เป็นจุดวาง Stop Loss ของรายย่อย จุดนั้น คือ จุดที่รายใหญ่จะทำการเพิ่ม Liquidity
- ถ้า Market Maker ต้องการคำสั่ง Buy เยอะๆ เพื่อทำให้ราคาขึ้น พวกเขาก็จะหาวิธีให้เทรดเดอร์รายย่อยเปิด Sell
- ถ้า Market Maker ต้องการคำสั่ง Sell เยอะๆ เพื่อทำให้ราคาลง พวกเขาก็จะหาวิธีหลอกล่อเทรดดอร์รายย่อยให้เปิด Buy
วิธีเอาตัวรอดจากเจ้ามือ Market Maker คือการมองที่ Time frame ใหญ่ๆ ไว้ก่อน
- Time frame ใหญ่ๆจะไม่สามารถหลอกเราได้ อย่างเช่น รายเดือน, รายสัปดาห์, รายวัน 4 ชั่วโมง
- Time frame เล็กๆ สามารถปั้นกราฟหลอกเราได้ง่ายๆ อย่างเช่น รายนาที ระหว่างวัน
ดูว่า Breakout อยู่ตรงไหน?
เพราะว่า Market Maker จะเพิ่ม Liquidity โดยทำการหลอก Breakout, False Break , Stop Hunt, Bull Trap , Bear Trap ทั้งหมดนี้ คือ การเพิ่ม Liquidity ของเทรดเดอร์รายใหญ่
ตรงที่ไฮไลท์เงาในภาพเป็นโซน Liquidity
ซึ่งโซน Liquidity นี้คือเป้าหมายของของกลุ่ม Market Maker ที่ทำการขับเคลื่อนกราฟเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
ตัวอย่าง
- ดูจากภาพใหญ่แล้วย่อเข้ามาที่ Time frame 4 ชั่วโมง
- เราจะเห็นว่ากราฟมาในรูปแบบ Breakout ซึ่งเทรดเดอร์บางส่วนจะเปิดออเดอร์ตอนเจอสัญญาณ Breakout
- ในช่วง Fake Structure ส่วนใหญ่แล้วเป็นโครงสร้างหลอก(ไม่ว่ามันจะทำโครงสร้างเหมือนว่าเป็นขาลงด้านในกรอบ แต่หากมองในภาพใหญ่ยังเป็นเทรนด์ขาขึ้น)
Source
Author: