คู่มือการเทรด Forex เทรดเดอร์ห้ามพลาด!! โดยบทความนี้ได้มาจาก YouTube ช่อง Tradeciety.com เนื้อหาโดยรวมได้พูดถึงเกี่ยวกับเทคนิคการเทรด Forex ให้ประสบผลสำเร็จ เรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวของกราฟราคาซึ่งสามารถช่วยพัฒนาทักษะการเทรดให้เราเก่งยิ่งขึ้น และในวีดิโอนี้เจ้าของช่องก็จะมาพูดถึง
- เราควรเทรดในคู่เงินไหนดี?
- เราควรเทรดเวลาไหนดี?
- เทรดยังไงและกลยุทธ์ไหนดี?
- การจัดการความเสี่ยงในการเทรด
คู่มือการเทรด Forex เทรดเดอร์ห้ามพลาด!!
เทรดคู่เงินไหนดี ?
ตารางนี้มาจากเว็ปไซต์ของ Investing.com โดยที่ตารางจะมีคู่เงิน Forex เกือบทั้งหมดหรือจะพูดอีกอย่างได้ว่าเป็นคู่เงินที่คนส่วนใหญ่มักจะเทรดกัน
ตารางจะแสดงให้เราเห็นว่าคู่เงิน Forex ไหน มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด โดยเฉลี่ยนต่อวันเป็น Pips
ถาม: เราเทรดคู่เงินไหนดี ?
ตอบ : เทรดคู่เงินที่ความผันผวนต่อวันสูง หรือคู่เงินที่มีเปอร์เซ็นสูงเช่น AUD/JPY , AUD/USD, CAD/JPY, GBP/JYP, NZD/JPY
จากข้อมูลในตาราง เราควรโฟกัสดูที่ช่องเปอร์เซ็นต์ หากเปอร์เซ็นต์สูงแสดงว่าคู่เงินนั้นมีความผันผวนต่อวันสูงและมีศักยภาพสูงในการสร้างกำไรให้กับเรา
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ investing.com/tools/forex-volatility-calculator
ยกตัวอย่างที่ 1. คู่เงินที่ควรเข้าเทรด AUD/USD
- AUD/USD มีความผันผวนต่อวันที่ 1.09%
- จะเห็นได้ว่ากราฟราคาเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างสวยงาม เราสามารถคาดเดาได้ง่ายในการเทรด
ยกตัวอย่างที่ 2. คู่เงินที่ไม่ควรเข้าเทรด EUR/CHF
- EUR/CHF มีความผันผวนต่อวันที่ 53%
- จะเห็นได้ว่ากราฟราคาเคลื่อนไหวเป็นไซด์เวย์ซะส่วนใหญ่ คาดเดาทิศทางของราคาได้ยาก
เราควรเทรดเวลาไหนดี?
ตอบ: ช่วงเวลาที่คู่เงินผันผวน ตรงกับ ช่วงเวลาที่เราสะดวกเข้าเทรด
ยกตัวอย่าง 1. AUD/JPY คือคู่เงินที่มีความผันผวนสูงต่อวัน
- จะเห็นได้ว่า AUD/JPY มีความผันผวนต่อวันคือ 16%
- AUD/JPY ผันผวนมากตอนช่วงกลางคืนตามเวลา GMT เวลาตามมาตรฐานกรีนิช ประเทศอังกฤษ (ซึ่งเวลาจะช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 6 ชม.)
- เจ้าของช่องอยู่อังกฤษ ดังนั้นการเทรด AUD/JPY กลางคืนไม่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเขา
ยกตัวอย่าง 2. AUD/USD คือคู่เงินที่มีความผันผวนสูงต่อวันเช่นกัน
- จะเห็นได้ว่า AUD/USD มีความผันผวนต่อวันคือ 09%
- AUD/USD ผันผวนมากตอนช่วงกลางวันตามเวลา GMT (13.00-15.00PM)
- ดังนั้นคู่เงินนี้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเจ้าของช่อง
เทรดยังไงและกลยุทธ์ไหนดี?
6 รูปแบบการเทรด
- เทรดไปตามเทรนด์
- เทรดแบบดูการการกลับตัวของแนวโน้ม (Reversal trading)
- เทรดแบบ Range (Range Trading คือ การเทรดในตลาดที่เล่นเป็น “กรอบ” หรือ “ไซด์เวย์”)
- เทรดโดยดูจากพฤติกรรมแท่งเทียน (Pattern trading)
- เทรดตาม Indicator (Indicator trading)
- เทรดโดยวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental trading)
3 รูปแบบโครงสร้างราคาและเครื่องมือที่ช่วยในการเทรด
จากภาพเราจะเห็นได้ว่าราคาทยานพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งและมีการพักตัวที่แนวต้าน ให้เรารอดูว่าราคาจะ Breakout ทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ไหม ถ้าขึ้นไปได้แสดงว่าเทรนด์ยังคงเป็นขาขึ้นต่อไป เราสามารถใช้ รูปแบบโครงสร้างราคาและเครื่องมือต่างๆที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ในการคาดการณ์ว่าราคาจะดำเนินไปทางไหน?
1. วิเคราะห์ตลาดจาก Volume และราคา
- สิ่งที่เราต้องตรวจสอบและมองหาคือ Volume ดรอปตรงโซนแนวรับ
- วิเคราะห์จาก Time frame ที่ย่อลง จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
2. วิเคราะห์ตลาดด้วยรูปแบบ Wedge pattern
รูปแบบการเคลื่อนไหวราคาแบบ Wedge pattern หรือรูปแบบสามเหลี่ยมรูปลิ่ม เป็นรูปแบบที่เป็นทั้งแบบเมื่อเกิดขึ้นตามมาด้วยการเปลี่ยนเทรนหรือการทำเทรนต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทที่เกี่ยวข้อง รูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ การตีความจากโครงสร้างราคาที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเป็นรูปแบบ Wedge นั้นๆ เป็น
- รูปแบบกลับตัวของเทรนด์ (Reversal Pattern)
- ตามเทรนต่อไป (Trend Continuation Pattern)
จะเห็นว่ารูปแบบ Wedge เป็นความพยายามของเทรดเดอร์รายใหญ่ ที่ต้องการจะเข้าตลาดด้วยการปั่นโครงสร้างราคาด้วยการทะยอยสะสม positions ในพื้นที่ที่ต้องการ
ในส่วนที่เป็นรูปแบบ Wedge เนื่องจากกลุ่มเทรดเดอร์รายใหญ่ ยังไม่เปิดเผยออกมาว่าจะเทรดทางไหนเพราะการสะสม positions อาจเพื่อไปต่อหรือดันราคาสวนเทรนก็ได้
วิธีการให้ดูว่ากลุ่มเทรดเดอร์รายใหญ่ได้ทำสำเร็จตามความต้องการของพวกเขาหรือยัง ด้วยการดูแท่งเทียนที่ทำการ “Breakout candle” หรือเป็น Engulfing ที่เอาชนะ high หรือ Low ที่ใกล้สุดด้วย Momentum และปิดทางที่ราคาเบรคได้ ไม่ว่าจะเป็น Rising Wedge หรือ Falling Wedge
วิธีการเทรดแบบ Wedge pattern
- หารูปแบบ Wedge pattern
- รอให้ราคาทำการ Breakout Wedge pattern ตามภาพด้านล่างถ้า Breakout ขึ้นจะตามเทรนต่อไป ถ้าขึ้นแนวต้านไม่ได้จะกลับตัวเป็นขาลง
- จากนั้นเราสามารถดูได้จากสัญญาณคอนเฟิร์มเข้าตั้งค่าเปิดออเดอร์ซื้อ-ขายได้เลย
ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องระวังการ Breakout หลอกด้วย
วิเคราะห์ตลาดด้วยรูปแบบ Flag pattern
รูปแบบการเคลื่อนไหวของกราฟราคาที่มีโครงสร้างเหมือนเสาธง หรือที่เรียกว่า Flag pattern แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- Bear Flag Pattern
- Bull Flag Pattern
มีจิตวิทยาอยู่เบื้องหลัง
ยกตัวอย่าง Bear Flag Pattern เทรดเดอร์รู้ว่าราคากำลังเป็นเทรนด์ขาลง และเทรดเดอร์เหล่านั้นรู้สึกเหมือนกับพลาดโอกาสที่จะทำกำไรขาลง ห่วงว่าราคาจะตกลงไปอีก เลยเปิดออเดอร์ SELL
ในช่วงที่ราคาอยู่ในกรอบแคบ ๆ เทรดเดอร์บางส่วนรอที่จะเปิดสัญญาซื้อที่ระดับราคาสูงขึ้น แต่ถ้าไม่มีแรงซื้อหรือคำสั่งซื้อที่เพียงพอ การที่จะเปลี่ยนทิศทางของเสาธงก็จะเป็นไปไม่ได้ ราคาก็ยังคงทะลุลงเรื่อย ๆ
วิธีการเทรดแบบ Flag pattern
- หารูปแบบ Flag pattern
- รอให้ราคาทำการ Breakout Flag pattern
- จากภาพเราจะเห็นได้ว่า ราคาทำการ Breakout Bear Flag Pattern เป็นเหตุให้ราคายังคงวิ่งลงต่อไป
เทรด Time frames ไหนดี?
Timeframes ที่ดีขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นเทรดเดอร์สายไหน
การจัดการความเสี่ยงในการเทรด
- เสี่ยงเพียง 1 % หรือน้อยกว่านั้น ของเงินทุนเรา
- อัตรา Risk Reward Ratio ที่สมเหตุสมผล (เราไม่จำเป็นที่จะต้องเสี่ยงมากเพื่อให้ได้กำไรมาก แต่หากเราจัดสรรRisk Reward Ratio ให้ลงตัว มันสามารถทำให้เราได้กำไรอย่างยั่งยืน)
- มี Stop loss ทุกครั้ง (ซื่อสัตย์กับตัวเองโดยม่เลื่อนจุด Stop loss)
Source
Author: