ประวัติ George Soros ก่อนที่จะมาเป็นนักเก็งกำไรระดับโลก

เรื่องPatihanUhas

ประวัติ George Soros

ประวัติ George Soros ก่อนที่จะมาเป็นนักเก็งกำไรระดับโลก ผู้ก่อตั้งกองทุนควอนตัม ที่เขาเคยพาไปเขย่าทั่วโลกมาแล้ว

 

ประวัติ George Soros ก่อนจะมาเป็นนักเก็งกำไรระดับโลก

 

  • จอร์จ โซรอส (เกิด 12 สิงหาคม ค.ศ. 1930) ปัจจุบันปี 2022 เขามีอายุ 92 ปี เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี (ฮังการี + ยิว)
  • จอร์จ โซรอส เป็นนักธุรกิจ นักลงทุนหุ้นวิเคราะห์ค่าเงิน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Soros Fund Management (https://en.wikipedia.org/wiki/Soros_Fund_Management) และธุรกิจอื่นๆอีกหลายตัว
  • มหาเศรษฐีผู้ใจบุญ เขาได้บริจาคทรัพย์สมบัติส่วนตัวของเขามากกว่า 32,000 ล้านดอลลาร์ บริจาคและหลายครั้งด้วย เพื่อสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิ Open Society Institute **ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรนี้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความเป็นเสรีประชาธิปไตยในทั่วโลก (https://www.opensocietyfoundations.org/)

 

george soros

ภาพจาก forbes.com

 

และเขาก็ได้รับฉายาว่า modern-day Robin Hood” จากหนังสือ World Beyond Reason: The Orwellian Factor เขียนโดย James C. Lewis https://books.google.co.th (หน้า391)

 

เพราะตามสิ่งเขียน James เขียนเขาเอาเงินจากคนรวยมาแจกให้คนจน ในโลกสมัยใหม่ พวกนี้คือประเทศต่างๆ ของยุโรปตะวันออกและรัสเซีย โซรอสได้รับเงินมหาศาลจากการเก็งกำไรจากธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้ว ลงทุนในโครงการเพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า “สังคมเปิด” ในประเทศหลังคอมมิวนิสต์ที่ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกและอดีตสหภาพโซเวียต

  • ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ $8.6 Billion (ปี 2022)
  • จอร์จ โซรอส ถือเป็นอันดับ 1 ในรายชื่อ ‘นักเทรด Forex ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด’ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและถือว่าเป็นเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลกจากการเทรดระยะสั้นอีกด้วย จอร์จ โซรอส เป็นที่รู้จักในฐานะนักลงทุนที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งเขาได้รับสมญานามนี้มาจากการเป็นผู้จัดการด้านการเงินในตำนานที่สามารถทำกำไรได้มากถึงกว่า 1 พันล้านปอนด์จากการเทรดด้วยสถานะ short เงินปอนด์สเตอร์ลิง โดยเขาได้ทำการเทรดก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤติเงินปอนด์ ‘Black Wednesday’ ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1992

 

จอร์จ โซรอส ในวัยเด็ก

พ่อแม่ของจอร์จ โซรอส เป็นชาวยิวฐานะดี พ่อของเขาชื่อทีวาดอร์ โซรอส เป็นทนายความ ส่วนแม่ชื่อ เออร์เซเบท (Erzsébet Szűcs) มาจากครอบครัวขายผ้าไหมที่มีฐานะดี และตอนแรกเกิดนั้นจอร์จมีชื่อว่า ยัวกี้ ชวาร์ซ (Gyorgy Schwatz) ซึ่งเป็นชื่อที่พ่อเขาตั้งให้ แต่ต้องเปลี่ยนชื่อเพราะเหตุผลการหนีการถูกจับกุมจากนาซี

 

เออร์เซเบท และ ทีวาดอร์ โซรอสมีลูกด้วยกัน 2 คน คือ

  • พอล โซรอส
  • จอร์จ โซรอส

พอล โซรอส มักถูกเรียกว่า “โซรอสที่มองไม่เห็น” เป็นพี่ชายของ จอร์จ โซรอส ที่ประสบความสำเร็จเป็นนักธุรกิจใหญ่โต

 

พอล โซรอส เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 1926  เป็นวิศวกรเครื่องกล นักประดิษฐ์ นักธุรกิจ และผู้ใจบุญ เขาได้จากโลกนี้ไปในวันที่ 15 มิถุนายน 2013 ตอนนั้นเขามีอายุ 87 ปี ด้วยโรคโรคพาร์กินสันเบาหวาน มะเร็งขากรรไกร และมะเร็งลิ้น ซึ่งเขาได้รับความทุกข์ทรมานอย่างมากกับโรคเหล่านี้ ในช่วงบันปลายชีวิตก่อนที่จะสิ้นใจ

 

พอล และ จอร์จ โซรอส เกิดที่เมืองบูดาเปสต์ เมืองหลวงของประเทศฮังการี ทีวาดอร์ โซรอส เคยตกเป็นเชลยศึกเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้หนีออกมาได้  กลับอยู่กับครอบครัวที่บูดาเปสต์ และได้เขียนหนังสือเรื่อง Literatura Mondo เขียนเป็นภาษาเอสเปรันโต นวนิยายอัตชีวประวัติเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในช่วง นาซี ยึดครองบูดาเปสต์ฮังการี หนังสือขายดิบขายดี จนได้รับการแปลภาษาถึง 7 ภาษามี อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮังการี อิตาลี รัสเซีย เยอรมัน และตุรกี

 

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น 1 กันยายน 1939 ถึง 2 กันยายน 1945

กองทัพเยอรมันนาซีบุกยึดฮังการี ในเดือนมีนาคม 1944

 

ตอนนั้นโซรอส มีอายุได้ 13 ปี ได้ถูกบังคับให้ทำงานให้กับจูเดนรัตน์ “Judenrat” หรือที่ชาวเยอรมันเรียกสภานี้ว่า “Jewish Council of Elders” เป็นหน่วยงานในการบริหารสงครามโลกครั้งที่สอง ที่กำหนดโดยนาซีเยอรมนีในชุมชนชาวยิวทั่วยุโรป ที่ถูกยึดครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในสลัมของนาซี ชาวเยอรมันต้องการให้ชาวยิวจัดตั้ง Judenrat ในทุกชุมชนทั่วดินแดนที่ถูกยึดครอง เพื่อการควบคุมที่ง่ายขึ้น

 

*ถ้าใครอยากเห็นภาพว่าเหตุการณ์ครั้งนั้น มันโหดร้ายแค่ไหน แนะนำให้ไปดูหนังเรื่อง “The boy in the striped pajamas.” ที่ฉายเมื่อปี 2008 ที่เล่าถึงผลกระทบจากสงคราม ที่เปลี่ยนชีวิตครอบครัวนายทหารใหญ่ชาวเยอรมัน เมื่อพวกเขาถูกส่งไปประจำที่บ้านพักใกล้กับค่ายกักกันชาวยิว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

 

โซรอส เคยเล่าถึงประสบการณ์ในตอนนั้นให้กับไมเคิล ลูอิส (Michael Lewis เป็นนักเขียนชาวอเมริกันและนักข่าวการเงิน) ว่า

“พวกจูเดนรัตน์บอกให้เด็กตัวเล็กๆ แจกใบเนรเทศออกจากประเทศ และฉันถูกสั่งให้ไปที่ค่าย Jewish Council และก็ได้กระดาษแผ่นเล็กๆ มาเขียนว่า “รายงานตัวที่ งานสัมมนารับบี เวลา 9 โมงเช้า” และฉันก็ได้เอากระดาษใบนั้นไปให้พ่อฉันดู พ่อฉันรู้ทันทีว่ามันคืออะไร”

 

พ่อของจอร์จ รู้เลยว่า อันตรายมาถึงคนยิวอย่างแน่นอน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกชายทั้งสองของเขา ไม่ให้ถูกพวกนาซีจับตัวไป เขาจึงทำการติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อปลอมแปลงเอกสารและประวัติครอบครัวว่า ตระกูลโซรอสไม่ใช่คนยิว แต่เป็นครอบครัวคริสเตียน ทีวาดอร์ โซรอส จ่ายเงินให้กับข้าราชการในกระทรวงเกษตร เพื่อที่จะให้จอร์จกับพอลไปอยู่ที่นั่นในฐานะลูกบุญธรรมระหว่างฤดูร้อนของปี 1944

 

จอร์จ โซรอสขณะนั้นอายุ 14 ปี รอดตายจากการสังหารหมู่มาได้ เพราะมีชื่อเป็นลูกบุญธรรมของเจ้าหน้าที่ในกระทรวงเกษตร และในตอนนั้นมีคนยิวถูกสังหารไปกว่า 5 แสนคนในเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวพ่อของจอร์จเอง ก็ได้ช่วยชีวิตคนยิวจำนวนหนึ่งให้รอดจากการถูกส่งไปค่ายกักกัน

 

จอร์จ โซรอส ในวัยเด็กมีเรื่องให้ลุ้น ให้หวาดเสียวผจญภัยอยู่เสมอ โดยมีกฎสำคัญข้อเดียวคือ ต้องเอาชีวิตรอด อย่าให้ถูกจับได้ อาจารย์คนแรกของจอร์จ โซรอส คือ ทีวาดอร์ โซรอส พ่อของเขานั่นเอง โซรอสกล่าวว่าพ่อของเขานั้นเป็นนักเอาชีวิตรอด เขาเคยเล่าว่า..

 

พ่อนั้นเคยเป็นเชลยสงครามในช่วงปฏิวัติรัสเซีย คือ ในตอนที่พ่อของโซ รอส ติดคุกอยู่ที่ไซบีเรีย ของรัสเซีย มักจะมีคนแหกคุกหนีออกมาอยู่เสมอ มีทั้งแหกสำเร็จและแหกคุกไม่สำเร็จ เพราะสภาพอากาศที่เลวร้าย แต่แต่ทุกครั้งที่มีการแหกคุก ผู้คุมจะจับนักโทษออกมาและประหารเป็นตัวอย่าง ว่าถ้ามีคนแหกคุก คนข้างในจะต้องรับผิดชอบ ทีวาดอร์ โซรอส เขาคิดว่าถ้าฝื่นอยู่ในคุกต่อไป ก็เหมือนใช้ชีวิตรอวันตาย สู้เป็นคนแหกคุกเองดีกว่า และสุดท้ายแหกคุกออกมาได้ โดยเป้าหมายของคุณพ่อคือ “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ครอบครัวและตนเองจะต้องมีชีวิตรอด”

 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง

ว่ากันว่าจอร์จโซรอส ได้เลยลองเริ่มทำงานเกี่ยวกับข้องกับด้านการเงินเล็กน้อย ด้วยการเป็นพ่อค้าขายทองคำและอัญมณี โดยอาศัยโอกาสจากภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงในช่วงที่บ้านเมืองกำลังวุ่นวายหลังสงคราม (ในช่วง 1945-1947)

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1947

ต่อมาในปี 1947 จอร์จ โซรอส ในวัย 17 ปี ได้ตัดสินใจออกไปล่าหาประสบการณ์ยังต่างแดน ถ้าจะอยู่บูดาเปสต์ต่อไปก็มองไม่เห็นอนาคตของตัวเอง จึงได้ย้ายไปประเทศอังกฤษที่ลอนดอน ในตอนแรกเขาลังเลว่าจะไปอังกฤษหรือโซเวียตดี แต่พ่อของเขาบอกว่าถ้าอยากรู้เรื่องโซเวียตถามเขาก็ได้ เขาจึงเลือกไปประเทศอังกฤษ ในช่วงแรกที่ย้ายเข้ามา เขาตัวคนเดียว ไม่มีเงิน ไม่มีเพื่อน ต้องอดมื้อกินมื้อ ครั้งหนึ่งเขาเคยอิจฉาแม้กระทั่งแมวข้างถนนที่ได้กินปลาแฮร์ริ่ง เขาบอกกับตัวเองอยู่เสมอว่า เขาจะต้องผ่านมันไปได้ และชีวิตของเขาจะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน

 

ในส่วนพอล โซรอส โซเวียตเข้าใจผิดคิดว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยเอสเอสที่ต้องการตัว โซเวียตจึงจับกุมเขารวมกับนักโทษคนอื่นๆ แต่พอลก็หนีออกมาได้โดยการหลบหลังสะพานและซ่อนตัวอยู่ในบ้านร้างในไร่ เขารอดชีวิตมาได้

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1949

ในปี 1949 เขาต้องผ่าฟันอุปสรรคมากมายจนได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย London School of Economics อันมีชื่อเสียง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

 

จอร์จ โซรอส ได้ศึกษาและหลงใหลในงานเขียนของคาร์ล ป็อปเปอร์ (Karl Popper) และฟรีดริช ฮาเยค (Friedrich Hayek) และใฝ่ฝันอยากเป็นนักปรัชญา แต่พ่อของเขากดดันให้ต้องเรียนภาคการเงินอุตสาหกรรม ถึงอย่างนั้นแนวคิดเรื่องสังคมเปิดของคาร์ล ป็อปเปอร์ ยังเป็นภาพนำของโซรอส จากแนวคิดนั้นเขาค้นพบทางออกร่วมกันของลัทธิเผด็จการแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ จอร์จ กล่าว “คนอย่างผมจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ในเสรีภาพได้ โดยไม่ต้องถูกไล่ล่าฆ่าให้ตาย”

 

ในขณะที่เรียนมหาวิทยาลัย โซรอสทำงานทุกอย่างที่คิดว่าจะทำได้ เพื่อความอยู่รอด ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเสิร์ฟในบาร์ , ทำงานในโรงงานขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป , เป็นคนสวนเก็บแอปเปิล , เด็กยกกระเป๋าในสถานีรถไฟ  และเป็นช่างทาสีบ้าน

 

ตลอด 3 ปีที่เขาเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย เขาทำบันทึกรายรับรายจ่ายของเขาอย่างละเอียด พยายามลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด และเขาก็ไม่ลืมที่จะศึกษางานเขียนของคาร์ล ป็อปเปอร์

 

*คาร์ล ป็อปเปอร์ (Karl Popper) ชาวแองโกล – เซลติกชาวออสเตรเลีย นักปรัชญาของวิทยาศาสตร์ , นักวิชาการและสังคมวิจารณ์  ชาวออสเตรียอังกฤษ

 

นักปรัชญาวิทยาศาสตร์และอาจารย์ หนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของศตวรรษที่ 20 จาก University of Vienna ได้นำเสนอ ‘หลักการพิสูจน์ความเป็นเท็จ’ แบ่งแยกวิทยาศาสตร์ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (Nonscience) ว่า ผลลัพธ์สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จและในอีกมุมของเขาก็คือสนับสนุนและป้องกันประชาธิปไตยเสรี

 

ระหว่างที่เขาศึกษาที่ London School of Economics โซรอสได้เข้าเรียนหลักสูตรของ Karl Popper ซึ่งมีแนวคิดที่เขาสนใจเป็นอย่างมากคือ ทฤษฎี “reflexivity” หรือทฤษฎีการสะท้อนกลับไปมา

 

ด้วยความฉลาดทางด้านปรัชญาของเขา ทางมหาวิทยาลัยได้ขอให้โซรอสช่วยเป็นติวเตอร์เพื่อแลกกับเงิน 40 ปอนด์จากกองทุนเควกเกอร์ (Quaker) และหลังจากเรียนจบก็ถูกเรียกตัวให้ไปทำงานกับธนาคารเพื่อการลงทุน Singer & Friedlander. ในกลุ่มธุรกิจเก็งกำไร ซึ้งเน้นทองคำเป็นหลัก  (https://en.wikipedia.org/wiki/Kaupthing_Singer_%26_Friedlander)

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1951

ในปี 1951 โซรอสสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์สาขาปรัชญา London School of Economics and Political Science

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1954

ในปี 1954 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาปรัชญา London School of Economics and Political Science

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1956

ในปี 1956 เขาย้ายไปสหัฐ ที่นิวยอร์กซิตี้ ซึ่งเขาทำงานเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ของยุโรป ได้ทำงานกับ FM mayer ในตำแหน่งผู้ค้ากำไรและนักวิเคราะห์ ดูแลด้านหลักทรัพย์ของยุโรป ซึ่งห่างไกลจากความสนใจส่วนใหญ่ของคนอเมริกัน

 

ผู้ช่วยของจอร์จ โซรอส ในตอนนั้นคือ สเตนลีย์ ดรัคเคนมิลเลอร์ กล่าวในปี 1988 ว่า “สิ่งที่จอร์จทำเมื่อ 35 ปีที่แล้ว พึ่งจะมาเป็นที่นิยมกันในศวรรษที่แล้วนี้เอง”

 

จอร์จถึงหลักทรัพย์ยุโรปในปี 1960 ตัวจอร์จเองกล่าวว่า “ไม่มีใครรู้เกี่ยวกับมัน” “ดังนั้นผมจึงตั้งกำไรคร่าวๆ ได้ตามต้องการ ให้แก่บริษัทยุโรปที่ผมสนับสนุนอยู่”

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1959

ในปี 1959 หน้าที่การงานของเขาเริ่มรุ่งเรืองและได้ย้ายไปทำงานที่ Wertheim & Co

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1961

ในปี 1961 เขาได้เกลายเป็นพลเมืองของสหรัฐโดยสมบูรณ์แบบ

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1963

ในปี 1963 เขาย้ายไปทำงานกับ arnhold & s. bleichroeder ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนในนิวยอร์กซึ่งยังคงเป็น บริษัท จัดการกองทุนภายใต้การควบคุมของตระกูล Kellen และ Arnhold ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิจัยที่บริษัทนายหน้า

 

จอร์จโซรอส เป็นคนที่เหมาะสมอย่างเห็นได้ชัด และทำหน้าที่ได้ดีจนได้ตำแหน่งเป็นรองประธาน และในระหว่างนั้นเขาก็ยังคงทำงานด้านปรัชญาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยส่งงานกลับไปให้ ปอปเปอร์

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1969

ในปี 1969 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการกองทุน The double eagle hedge fund (doubleeaglecapital.com)   เขาได้ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้อย่างจริงจัง

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1973

ในปี 1973 โซรอสลาออกและมาก่อตั้งมูลนิธิของตัวเอง โดยร่วมงานกับจิม โรเจอร์ส นักลงทุนผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนที่มีชื่อว่า Quantum Fund กองทุนควอนตัมเชี่ยวชาญด้านการเก็งกำไรในสกุลเงิน หลักทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โชคลาภของจอร์จ โซรอสได้เกินหนึ่งร้อยล้านดอลลาร์แล้ว

 

ณ ตอนนั้นเขายังอยากเป็นนักปรัชญาอยู่ โดยมีความคิดที่ว่า การค้าขายอาจจะเกื้อหนุนงานที่เขารักได้

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1981

ในปี 1981 กองทุนของเขาก็ประสบความสำเร็จอีกครั้ง จนทำให้จอร์จ โซรอสได้ไปอยู่ในทำเนียบนักลงทุนชั้นนำของโลก จากนิตยาสาร Insertional Investor แต่ถึงอย่างนั้น จอร์จ โซรอสก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก นอกจากแวดวงการเงินและสื่อธุรกิจ

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1992

ในปี 1992 เดือนกันยายน กับเหตุการณ์ Black Wednesday จอร์จ โซรอส สร้างเงินได้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญภายในไม่กี่วันจากเหตุการณ์ (black Wednesday in the UK)  เหตุการณ์นี้ทำให้ จอร์จ โซรอส กลายเป็นหนึ่งในนักเทรดทางด้านสกุลเงินที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ณ เวลานั้น ผู้คนได้ให้ฉายากับเขาว่า “ชายผู้ทำลายธนาคารอังกฤษ”

 

สิ่งที่เขาทำ คือ โซรอสจะหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินคำนึงถึงเหตุผล เริ่มการทดสอบสมมติฐานนั้นว่ามันจะกลับเข้าสู่สมดุลหรือเปล่า เช่น เงินปอนด์ที่แข็งเกินไปเพราะเข้าตะกร้าการเงิน หรือเงินบาทที่แข็งเกินไปเมื่อเทียบกับสภาพเศรษฐกิจ (สั้นๆง่ายๆ คือหากำไรจากความผิดปกติของตลาด)

 

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ โซรอสเป็นคนที่ไม่บอกใครเลยว่า ตนกำลังทำอะไรอยู่ เพราะเขาถือว่าแนวคิดการลงทุนเป็นสิ่งมีค่า และไม่สมควรจะบอกใครไปทั่ว ดังนั้น เมื่อเขาพูดอะไรผ่านสื่อ คำพูดของเขาจึงเชื่อถืออะไรแทบไม่ได้เลย เพราะเขาชอบพูดเพื่อดูปฏิกิริยาของผู้คนมากกว่าที่จะพูดความคิดของเขาจริงๆ

 

จอร์จ โซรอส ในปี 1997

จอร์จ โซรอส นำทัพกองทุนควันตัม ฟันด์ บุกประเทศไทย จนเกิดวิกฤตค่าเงินบาท และวิกฤตนั้นคือ วิกฤตต้มยำกุ้ง

 

จอร์จ โซรอส ในปี 2016

สื่อทางการจีนเรียก จอร์จ โซรอส เป็น ผู้ก่อการร้ายทางเศรษฐกิจระดับโลก สำนักข่าวซินหัวสื่อของรัฐบาลจีนโจมตี จอร์จ โซรอส นักลงทุนผู้ทรงอิทธิพลชาวอเมริกันที่มีฉายาว่า “พ่อมดการเงิน” โดยกล่าวหาว่าโซรอสและนักลงทุนจำนวนหนึ่งกำลังโจมตีค่าเงินหยวนอย่างหนักด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้เงินหยวนเผชิญกับแรงกดดันมหาศาล และทำให้กระแสเงินลงทุนไหลออกจากจีนอย่างต่อเนื่อง จนรัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณนับแสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสกัดกั้นการไหลออกของเงินทุนและปกป้องสกุลเงินของประเทศ

 

จอร์จ โซรอส ในปี 2017-2018

เขาบริจาคเงินมากมายเพื่อทำตามอุดมการณ์ของเขา และในปี 2017 โซรอสมีทรัพย์สิน 25.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2017 นี้เองเขาคือ บุคคลที่รวยอันดับ 29 ของโลก แต่เขาบริจากเงินไป 17.6 ล้านดอลลาร์ ทำให้เขาเหลือทรัพย์สินปี 2018 อยู่ที่ 8พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2022 เขามีทรัพย์เพิ่มขึ้นมาอยู่ 8.6พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากภาพเห็นได้ว่าทรัพย์สินของจอร์จ โซรอส ลดลงเป็นอย่างมากเกือบ 70% แต่นั่น เป็นเพราะเขาได้บริจาคตามเป้าหมายของเขา

 

ชีวิตที่ยากลำบากในวัยเด็ก ส่งผลให้โซรอสมีความอดทนเหนือธรรมดา หล่อหลอมให้เขากลายเป็นนักปรัชญาที่เป็นหนึ่งในคนที่เข้าใจระบบทุนนิยมมากที่สุดคนนึงของโลก

 

ในส่วนของทีวาดอร์ และ เออร์เซเบท โซรอส

ทีวาดอร์ โซรอส เกิดในครอบครัวชาวยิวออร์โธดอกซ์ ประเทศฮังการี ใกล้ชายแดนกับยูเครน เมื่อทิวาดอร์อายุได้ 8 ขวบ พ่อของเขาก็ได้ย้ายครอบครัวไปที่นีเอียร์กีฮาซ่า (Nyíregyháza) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของการค้าขายในสมัยนั้นเขาได้พบกับเออร์เซเบทภรรยาของเขา แม่ของจอร์จ โซรอส เป็นครั้งแรกเมื่อเธออายุได้ 11 ขวบ พ่อของทั้งสองเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน และในที่สุดทั้งสองก็ได้แต่งงาน อยู่ด้วยกันจนมีลูก

 

ทีวาดอร์ โซรอส เป็นทนายความ นักเขียน และบรรณาธิการชาวฮังการี เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะพ่อของมหาเศรษฐีจอร์จ โซรอส และวิศวกรพอล โซรอส

 

ทีวาดอร์ โซรอส เคยตกเป็นเชลยศึกเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกรัสเซียจับและส่งตัวไปยังค่ายกักกันในประเทศไซบีเรีย เขาติดอยู่ในค่ายเป็นเวลาหลายปี และในที่สุดเขาได้หนีออกมาได้ กลับมาอยู่กับครอบครัวที่บูดาเปสต์ และได้เขียนหนังสือเรื่อง Literatura Mondo นวนิยายอัตชีวประวัติเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในช่วง นาซี ยึดครองบูดาเปสต์ฮังการี

 

ทีวาดอร์ โซรอส ปลูกฝังทัศนคติต่อลูกชายทั้งสองให้มีความรับผิดชอบต่อเงิน ไม่ว่าจะรวยสักแค่ไหนก็ต้องเคารพเงิน เขาได้เสียชีวิตที่นิวยอร์กในวัย 74 ปี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ในปี 1968

 

ในปี 1985 เออร์เซเบท โซรอส กลายเป็นแม้ม้ายในวัย 82 ปี แต่ลูกชายทั้งสองก็ได้ดูแลเธอเป็นอย่างดีไม่ให้ขาดตกบกพร่อง จอร์สเสนอรถยนต์พร้อมคนขับรถ เสนอบ้านหลังใหญ่หรูหราและคนรับใช้ แต่เธอกลับปฎิเสธและพอใจที่อยู่ในอพาร์ตเมนต์เล็กๆที่แมนแฮตตันใกล้ๆโคลัมบัส เซอร์เคิล ใน นิวยอร์ก

 

เธอได้ให้บันทึกเทปความทรงจำ หลังสามีของเธอจากไป ด้วยใจความที่ว่า “ครอบครัวของเราต้องเผชิญกับอะไรมากมาย ตอนนาซีมาบุกต้องซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้หลังคา ต้องอยู่ภายใต้ชื่อปลอม ทุกคนเกือบเอาชีวิตไม่รอดในช่วงสมคราม”  “จอร์สในวัย 17 ได้ออกไปใช้ชีวิตตัวคนเดียวที่ยุโรป ฉันกลัวมากที่จะไม่ได้เจอเขาอีก”

 

และในปี 1956 ช่วงที่ทุกอย่างสงบลงสองสามีภรรยาก็ได้ออกตามหาลูกชายทั้งสอง และก็ภูมิใจในตัวพวกเขาเป็นอย่างมากที่เอาชีวิตรอดมาได้ และอีกทั้งยังประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานด้วย ครั้งหนึ่งเมื่อจอร์จอายุได้ 7-8 ขวบ เขาได้วาดภาพพ่อของเขา เป็นเทพซุส ราชาแห่งทวยเทพ จอร์สเอาพ่อเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต ในปี 1985 เออร์เซเบท โซรอส ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบสุขด้วยโรคชรา

 

Source