Jesse Livermore ตำนานเทรดเดอร์ ที่นักเทรดต้องรู้จัก

เรื่องPatihanUhas

Jesse Livermore

ในโลกแห่งการเงินการลงทุนแนวเก็งกำไร จะต้องมีชื่อ Jesse Livermore (เจสซี่ ลิเวอร์มอร์) อยู่เป็นหนึ่งในนั้นด้วย เพราะว่าเขาเป็นที่รู้จักโด่งดังในกลุ่มนักลงทุน จนได้ฉายาว่า “Great Bear of Wall Street”

 

ชีวิตของชายคนนี้ ไม่ธรรมดา เขาทำเงินได้มหาศาลจากตลาดหุ้น และเจ๊งจนหมดตัวอยู่หลายครั้ง เขาเคยทำกำไรได้ 100 ล้านเหรียญ แต่ก็สูญเสียมันไปในเวลาไม่นาน

 

จากประสบการณ์หลายๆด้านที่เขาต้องเผชิญ พวกเราสามารถเอามาเป็น Case study ได้เป็นอย่างดิ นิสัยที่สุดโต่งกล้าได้กล้าเสีย ทำให้เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ กลายมาเป็นตำนานแห่งนักเกงกำไร

 

สารบัญ

Jesse Livermore ตำนานเทรดเดอร์ ที่ต้องรู้จัก

 

1877 ชีวิตในวัยเด็ก

เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ เกิดวันที่ 26 กรกฎาคม 1877 เกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อ 1914-1918) เมืองชรูว์สเบอรี รัฐแมสซาชูเซตส์ เขตนิวอิงแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

เขาเป็นลูกคนสุดท้อง ของครอบครัวเกษตรกรรม ดูเหมือนว่า เจสซี่ จะมีความสามารถพิเศษตั้งแต่เกิด ตอนเขาอายุได้ 3 ขวบ ก็สามารถเขียนและอ่านหนังสือได้แล้ว

 

เมื่ออายุ 5 ขวบพบว่า ตัวเขาเองชอบคณิตศาสตร์หรืออะไรที่เกี่ยวกับเลข เขามีความจำที่เป็นเลิศ พร้อมกับทักษะการคิดเลขเร็ว

 

อายุได้ 14 ปี “ช่วงวัยเดินทางตามฝัน”

พ่อได้บังคับให้เจสซี่ ออกจากโรงเรียน เพราะว่าอยากให้เจสซี่มาช่วยทำงานที่ฟาร์ม แต่ในส่วนของเจสซี่ ไม่ยอมทำตามความประสงค์ของพ่อ

 

จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้าน โดยมีแม่เป็นผู้ให้ท้าย เขาหนีไปเมืองบอสตันด้วยเงินเพียง 5 ดอลลาร์ในกระเป๋า แม่ได้ให้ที่อยู่บ้านญาติในเมืองบอสตัน

 

แต่หลังจากที่เขาเข้ามาในเมืองบอสตันแล้ว เขาไม่ได้ไปตามที่อยู่ที่แม่ให้ไว้ เพราะว่าเขาบังเอิญไปเจอบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ กำลังต้องการพนักงาน

 

ด้วยความที่เจสซี่ ลิเวอร์มอร์หลงใหลเกี่ยวกับตัวเลขและอะไรในทำนองนี้ จึงได้เจ้าไปสมัครงานโดยโกงอายุว่าแก่กว่าความเป็นจริง 6 ปี และทุกคนก็เชื่อเขาอย่างสนิทใจ อาจเป็นเพราะการวางตัวเป็นผู้ใหญ่ของเขาด้วย

 

เจสซี่ได้มาทำงานเป็นเด็กเขียนกระดานหุ้นที่บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ชื่อบริษัทว่า “Paine Webber”

 

ในช่วงสมัยนั้นยังไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หน้าที่จดราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวจึงต้องตกเป็นของมนุษย์

 

เมื่ออายุ 15 “จุดเริ่มต้นการลงทุนของ เจสซี่ ลิเวอร์มอร์”

เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ทำงานไปได้สักพัก โดยส่วนตัวเป็นคนชอบจดบันทึก เขาได้จดบันทึกราคาหุ้น และสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

 

จนเขาเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งพร้อมกับความรู้ที่เขาได้จากการจดบันทึก

 

เขาจึงตัดสินใจว่าจะลองวางเงินเดิมพันดูบ้าง แต่ตลาดหุ้นดูเหมือนว่าจะใหญ่เกินไปสำหรับเขา

 

พร้อมกับที่เขายังเป็นเด็กถ้าจะเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก

 

เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ จึงนำเงินจำนวนนั้นไปที่ Bucket shop

(Bucket shop เป็นธุรกิจที่อนุญาตให้เล่นการพนันตามราคาของหุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์ ตามคำตัดสินของศาลฎีกาส หรัฐในปี 1906 มันก็คือบ่อนที่ถูกกฎหมายนั้นเอง)

 

ร้านเหล่านี้เปิดให้ลูกค้าเดิมพันว่า หุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นหรือลง ปรากฏว่าเจสซี่ทำเงินได้มากถึง 1,000 USD ในขณะที่ตอนนั้นเขามีอายุได้เพียง 15 ปีเท่านั้น

 

ไม่มีใครทราบว่าเจสซี่นั้นทำได้อย่างไร เจสซี่ใช้วิธีเงินต่อเงิน ยิ่งเล่นยิ่งได้ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่ายๆ เหมือนเซียนการพนันที่เล่นเมื่อไหร่ก็ชนะขาดรอย

 

ชื่อเสียงการประสบความสำเร็จของเขาพูดต่อๆกัน จนทำให้ร้าน Bucket shop ทั่วทั้งบอสตัน ไม่ให้เจสซี่เข้ามาเล่นในร้านของตน เมื่อเดินเขาไปร้านไหนก็ถูกขับไล่ออกมาทันที

 

การที่เจสซี่ ลิเวอร์มอร์โดนปฏิเสธจากหลายๆร้าน ทำให้เขาตัดสินใจที่จะเข้าตลาดหุ้นของจริง ตลาดหุ้นแรกแบบถูกกฎหมายก็คือ New York stock Exchange

 

เขาคิดว่ามันน่าจำทำเงินได้ง่ายๆ เหมือนที่เคยทำมา แต่มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น หลังจากนั้นไม่กี่เดือน เจสซี่ต้องเสียเงินเกือบหมดไป

 

ในตอนนั้นเขายังไม่รู้สาเหตุว่าเขาทำพลาดตรงไหน สิ่งเดียวที่คิดได้ ณ ตอนนั้นคือ การเอาเงินที่เสียไปคืนมา

 

เจสซี่จึงตัดสินใจเดินทางไปบ่อน Bucket shop ที่อยู่ตอนกลางของประเทศ สาเหตุที่ต้องไปไกลขนาดนั้นคือ ร้านทั่วทั้งภาคตะวันออกแบนไม่ให้แจสซี่เข้าไป

 

(ถึงแม้จะแบกหน้าไปถึง Bucket shop ทางตอนกลางของประเทศ แต่เขาก็ต้องอำพรางตัวเอง ด้วยการใส่หนวดปลอมแต่งตัว เพื่อไม้ให้คนอื่นจับได้ )

 

ด้วยความมที่เงินเหลือน้อย เขาจึงไปขอยืมเงินเพื่อนเพื่อนำเงินไปลงทุน ในเวลาเพียงไม่นาน ในที่สุดทางร้าน Bucket shop ก็จับได้ ในที่สุดเขาก็ถูกห้ามไม่ให้เข้าอย่างถาวร

 

แต่อย่างน้อยเขาก็ทำกำไรได้ถึง $10,000 จาก Bucket shop เขาคืนเงินให้เพื่อนของทั้งหมดในทันที ส่วนที่เป็นกำไรเขาเก็บไว้ทำทุนต่อไป

 

ความเป็นจริงที่เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ขาดทุนจากหุ้น New York stock Exchange  “NYSE”  เพราะว่าเป็นตลาดหุ้นใหญ่และเป็นของจริง มีนักลงทุนจำนวนมากที่เทรดหุ้น ทำให้เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ยังไม่คุ้นชินกับสภาพตลาดและการเคลื่อนไหวของราคาแบบนี้ เขาจึงประสบปัญหาการขาดทุนจนเงินทุนเหลือเพียงไม่กี่ร้อยเหรียญ

 

ช่วงอายุ 20 – 27 ปี “ช่วงลองผิด ลองถูก”

เขาก็ไม่ต่างอะไรกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ มีได้กำไรมีขาดทุน จนเกือบหมดตัว แต่เขาก็พยายามที่จะเรียนรู้และยังคงจดบันทึก เพื่อศึกษาภาวะตลาดหุ้น และศึกษาพฤติกรรมหุ้น ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

 

เมื่ออายุ 23 ปี ในเดือนตุลาคม 1900 เจสซี ลิเวอร์มอร์ได้แต่งงานกับ เน็ตตี้ จอร์แดน แห่งอินเดีย

 

อย่างไรก็ตาม พวกเขาแยกทางกันหลังจากนั้นไม่นานและหย่าร้างกันในที่สุดในปี 1917

 

ในช่วงปี 1906 -1907 (อายุ 29- 30 ) “Right Place At the Right Time”

เขาสามารถทำกำไรจากการ Short Sell หุ้นมากถึง 25,000 เหรียญ ด้วยลางสังหรณ์และการคาดการณ์ภาวะตลาดจากที่เขาสังเกต

 

ในวันที่ 17 เมษายน 1906 ในขณะนั้นเขาได้พักร้อนอยู่ที่ Palm Beach, Florida เขาได้เปิด Short จำนวนมากในหุ้น Union Pacific Railroad

 

และอีกไม่นานต่อมาก็มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในซานฟานซิสโก “1906 San Francisco earthquake”

 

Jesse Livermore

ภาพจาก https://www.britannica.com/

 

ในช่วงนั้นเจสซี่ ลิเวอร์มอร์ เริ่มมีเงินมากพอที่จะซื้อรถ ซื้อบ้าน และใช้ชีวิตแบบหรูหรา ฟุ่มเฟือย

 

เขาสามารถทำกำไรจากการ Short Sell ในช่วงตลาดขาลงรุนแรง มากถึง $3,000,000 เพียงไม่กี่วัน

 

จนถึงขนาดวาณิชธนกิจรายใหญ่แบบ JP Morgan ยังต้องขอร้องให้เขาหยุดทำการขายซ๊อตหุ้น เพราะกลัวว่าจะเกิดวิกฤติตลาดหุ้นจะรุกรามใหญ่โต ประกอบกับสถาบันการเงินก็เริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง

 

เขาได้ทำการซื้อเรือยอร์ช (สัญลักษณ์ของอภิมหาเศรษฐี) มูลค่า $200,000 และอพาร์ทเม้นท์สุดหรูในเมือง Upper West Side ช่วงนี้ทำให้เขาเป็นที่โด่งดังมากในวงการตลาดหุ้น

 

ในปี 1908 (อายุ 31) “The Panic”

แน่นอนว่าเมื่อมีได้ก็ต้องมีเสียเจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ลิ้มรสของการเป็น เศรษฐีเงินล้านหรือ Millionaire ได้เพียงแต่ปีกว่า เพราะปี 1908 เขาต้องขาดทุนจากการเก็งกำไรในตลาดฝ้าย เพียงเพราะเขาเชื่อการทำนายของ Percy Thomas

 

ซึ่ง Percy Thomas เป็นนักวิเคราะห์ชื่อดัง เขาทิ้งข้าวสาลีที่มีกำไรอยู่ หันไปซื้อฝ้ายอย่างเดียว ปรากฎว่าราคาร่วงไม่หยุด.. ปกติหากเล่นผิดทาง เขาจะยอมแพ้แต่เนิ่นๆ

 

แต่ครั้งนี้ ลิเวอร์มอร์ ไม่ยอม Cut loss และซื้อถัวเฉลี่ยขาลงต่อไป จนสุดท้ายต้องหมดตัว โดยสูญเสียเงินไปกว่า 90% สร้าง หนี้สินจนสูงถึง $1,000,000

 

 ทั้งๆที่ในตอนแรกเขาได้วิเคราะห์ว่าหุ้นฝ้ายราคากำลังตก แต่เขาก็ดันไปเชื่อคนอื่นมากกว่าตัวเอง

 

การขาดทุนครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อจิตใจของ เจสซี่ ลิวอร์เมอร์

 

หลังจากนั้นเป็นต้นมา เขาไม่ฟังคำพูดหรือเชื่อในคำพูดของคนอื่นอีกเลยในเรื่องของการซื้อขายสินทรัพย์

 

และเมื่อใดที่เขาต้องทำการตัดสินใจในการซื้อขาย เขาจะอยู่คนเดียวในห้องเงียบๆ เท่านั้น

 

ในปี 1915 (อายุ 38) “ล้มเหลวอีกครั้ง”

เขาถูกประกาศเป็นบุคคลล้มละลาย และมีหนี้มากกว่า $2,000,000 แม้หมดตัวไป แต่เขายังมีชื่อเสียงอยู่บ้าง จึงมีเครดิตพอที่กู้เงินกลับมาลุยใหม่

 

ตอนแรกยังมีขาดทุน เพราะตลาดเป็นช่วง Sideway อยู่นาน เขาเทรดมาเรื่อยๆ ขาดทุนบ้าง ได้กำไรบ้าง จนมาถึงในปี 1917 เขาได้ชำระหนี้ทั้งหมดของเขา

 

ในปี 1918 (อายุ 41) “ก่อร่างสร้างตัวขึ้นได้อีกครั้ง”

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ตลาดหุ้นกลับมาเป็นขาขึ้น และเขาทำกำไรจากหุ้นเหล็กที่เป็นที่ต้องการมากในตอนนั้น เขามีเงินระดับ $3,000,000 อีกครั้ง

 

และช่วงนั้นเอง เขาก็กลับมาเทรดฝ้ายอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เขาซื้อมันอย่างหนัก จนพยายามควบคุมราคาในกระดานได้เลย

 

แต่เขาได้รับการขอร้องจากประธานาธิบดี Woodrow Wilson (สังกัดพรรคเดโมแครต) ที่เชิญเขาไปคุยใน White house เขาก็ตอบตกลงว่าจะขายคืน ณ ราคาเท่าทุน

 

และในปีนี้เองเขาได้แต่งงานกับโดโรธี ฟอกซ์ เวนท์ ที่วัย 22 ปี พวกเขามีลูกชายด้วยกันสองคนคือ เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ และ พอล ลิเวอร์มอร์

 

จากนั้นเขาก็ซื้อบ้านราคาแพงใน Great Neck และปล่อยให้ภรรยาของเขาใช้จ่ายมากที่สุดเท่าที่เธอต้องการในการตกแต่ง

 

ในปี 1927 บ้านของเขาถูกโจรเข้ามาปล้นพร้อมอาวุธปืน หลังจากเหตุการณนั้นเกิดขึ้น ทำให้ครอบครัวเกิดการระหองระแหง

 

โดโรธีมีนิสัยชอบดื่มสังสรรค์เป็นชีวิตประจำวัน จนทำให้สองต้องห่างกัน โดโรธีได้ย้ายไปอยู่กับสามีใหม่ที่รัฐ Nevada

 

ในวันที่16 กันยายน 1932 เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ และ โดโรธีได้อย่าร้างกันโดยสมบูรณ์ เธอจึงแต่งงานกันแฟนใหม่ในทันทีหลังจากที่ได้ใบหย่า

 

และในเวลาต่อมาเธอก็ได้ขายบ้านใน Great Neck ที่มูลค่ารวมทั้งหมด $3.5 million แต่เธอขายไปในราคาเพียง $222,000

 

อัญมณีและแหวนแต่งงานที่ลิเวอร์มอร์ให้โดโรธีถูกขายไปในราคาไม่กี่ดอลลาร์

 

เหตุการณ์นี้ทำให้ เจสซี่ ลิเวอร์มอร์เครียดและรู้สึกอับอายเป็นอย่างมาก

 

ในปี 1924-1929 “ช่วงเป็นปีทองของ เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ในการทำไร แต่ชีวิตตกต่ำ”

เขาทำกำไรทั้งจากตลาดหุ้นและตลาดสินค้าเกษตร ได้กำไรจำนวนมากหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาได้สร้างกำไรจากการเทรดหุ้น และพวกสินค้าเกษตร อย่างข้าวสาลี และข้าวโพด

 

ในปีที่รุ่งเรื่องที่สุดคือ 1929 (อายุ 52) เขาได้เปิด Short อย่างมหาศาล ในช่วงที่ตลาดหุ้นพังในเหตุการณ์ Wall Street Crash of 1929

 

เขามองว่าเศรษฐกิจไม่ได้ดีพอที่จะทำให้หุ้นต่อได้ ตลาดน่าจะลง โดยใช้บริการโบรกเกอร์กว่า 100 เจ้า เพื่อซ่อนออเดอร์ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่เขาคาดไว้

 

เมื่อเหตุการณ์ “Black Tuesday” มาถึงตลาดหุ้นสหรัฐลงไม่หยุดติดต่อกันหนึ่งอาทิตย์ ดัชนีดาวโจนส์ติดลบ 12.82%- 11.73% ตามลำดับ

 

ข่าวลือเรื่องตลาดหุ้นพังทลายกระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว แต่เจสซี่ ลิเวอร์มอร์กลับสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลจากเหตุการณ์ครั้งนี้

 

โดยจากเหตุการณ์นี้เขาได้ปั้นพอร์ตให้มีมูลค่าสูงถึงกว่า $100,000,000 ทำให้ชื่อเขาโด่งดังมากใน Wall Street อีกครั้ง ชีวิตของเขากลับมาโด่งดังอีกครั้ง

 

ชีวิตของเจสซี่ ลิเวอร์มอร์ หลังจากทำกำไรได้อย่างมาก ก็ยิ่งใช้ชีวิตหรูหรา เขามีคฤหาสน์หลังใหญ่ มีเรือยอช มีทุกสิ่งที่เศรษฐีคนหนึ่งจะมีได้

 

แต่ชีวิตเขาก็ใช่ว่าจะมีความสุข เพราะปัญหาจากลูก ที่ติดยาเสพติด ชอบปาร์ตี้ และแม่ทะเลาะกับลูก

 

วันหนึ่งทั้งสองคนทะเลาะกันอย่างหนักมาก โดโรธีเผลอยิงปืนไปโดนลูกชาย เจสซี แอล. ลิเวอร์มอร์ จูเนียร์ ลูกชายวัย 16 ปี เสียชีวิตในที่สุด ข้อมูลจาก The New York Time

 

หลังจากนั้นบ้างก็แตกระแหง ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเขาเอาแต่โทษตัวเองและมองว่าเขาเป็นคนที่ล้มเหลวในการใช้ชีวิตในครอบครัว

 

ส่งผลให้เกิดความเครียด และกลายเป็นโรคซึมเศร้าในท้ายที่สุด

 

ในปี 1930 (อายุ 53) “ภาวะโรคซึมเศร้ารุมเร้า”

เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ได้มีปัญหาโรคความจำเสื่อม รวมถึงปัญหาส่วนตัวอีกมากมาย เรื่องภรรยาทำตัวเหลวไหล

 

ทำให้เขาเครียดหนักขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม รวมถึงกลายเป็นโรคซึมเศร้า

 

ในปี 1933 (อายุ 56) “แต่งงานครั้งที่ 3”

 

เมื่ออายุ 56 ปี วันที่ 28 มีนาคม 1933 เขาแต่งงานกับ แฮเรียต เมตซ์ โนเบิลนักร้องและนักสังคมสงเคราะห์วัย 38 ปี

 

พวกเขาพบกันในปี 1931 ที่เวียนนา ที่ซึ่งเมตซ์ โนเบิลกำลังแสดงอยู่ และเจสซี่ ลิเวอร์มอร์ก็อยู่ท่ามกลางผู้ชม ตามจีบจนติด จนได้แต่งงานอยู่กินด้วยกัน ไม่มีลูก

 

Harriet Metz and Jesse Livermore not long after meeting in 1934.

 

ในปี 1934 (อายุ 57) “ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย”

การเทรดของเขาไม่ได้ดีเหมือนแต่ก่อน ด้วยสภาพจิตใจและอาการป่วยของเขา ทำให้เกิดการขาดทุน จนสุดท้ายของต้องสูญเสียเงินทั้งหมด และถูกประกาศให้ล้มละลาย

 

โดยเขามีหนี้สินสูงถึง $2.5 ล้าน และเขาได้ถูกแบนจาก Chicago Board of Trade ถึงแม้เขาจะขาดทุนอย่างหนัก

 

แต่เขายังพอมีเงินจากกองทุนและผลตอบแทนจากพันธ์บัตรทำให้เขาสามารถ ใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ลำบาก แต่ไม่สามารถกลับมาสร้างผลกำไรได้เหมือนเดิม

 

ในปี 1939 (อายุ 62) “เริ่มต้นเขียนหนังสือ”

ลูกชายของเขาได้แนะนำให้เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับเทคนิคการซื้อขายหุ้น เจสซี่ ลิเวอร์มอร์เขียนหนังสือเสร็จสิ้นและตีพิมพ์ชื่อ “How to trade in stocks” ในเดือนมีนาคม 1940

 

แต่หนังสือขายไม่ดีเท่าไหร่นัก เพราะว่าในช่วงนั้นตลาดหุ้นสหรัฐย่ำแย่มากจากเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ “ช่วงสงครามโลกครั้งที่2”

 

จุดจบของ เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ ในปี 1940 (อายุ 63)

สุดท้ายวันที่ 28 พฤศจิกายน 1940 Jesse Livermore ได้ยิงตัวตายที่โรงแรม Sherry Netherland Hotel ใน Manhattan โดยทิ้งข้อความสุดท้ายให้กับภรรยาไว้ว่า

 

“My dear Nina: Can’t help it. Things have been bad with me. I am tired of fighting. Can’t carry on any longer. This is the only way out. I am unworthy of your love. I am a failure. I am truly sorry, but this is the only way out for me. Love Laurie

 

นีน่า ที่รัก : ผมรู้สึกเหนื่อยล้าและท้อแท้เหลือเกินกับชีวิต ผมไม่อยากสู้อีกต่อไปแล้ว ผมแบกความเหนื่อยยากลำบากมาตลอดทั้งชีวิต และครั้งตอนนี้ผมแบกมันไม่ไหวแล้วจริงๆ ผมรู้สึกว่าตัวผมนั้นไร้ค่า ล้มเหลวในการใช้ชีวิต และการจบชีวิตนี้เป็นทางออกทางเดียวที่ดีสุด ที่รักผมรู้สึกเสียใจนะและก็ขอโทษกับการตัดสินครั้งนี้ของผม การจบชีวิตคงเป็นทางเลือกเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาให้กับผมได้ : Love Laurie

 

ซึ่งสุดท้ายหลังจากเขาเสียชีวิต เขามีทรัพย์สินอยู่ประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

จุดจบของ เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ อาจจะจะไม่ได้จบแบบสวยหรู แถมหวือหวา และเขาเองยังมองว่าชีวิตตัวเองนั้นล้มเหลว

 

แต่ถ้าเราพิจารณาเรื่องราวที่ผ่านมาของเขาดีๆ จะพบว่าแง่คิดต่างๆ นั้นเป็นเรื่องคลาสิคและยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบัน

 

ที่สำคัญหลายข้อผิดพลาดของเขา ยังเป็นบทเรียนที่ดีสอนใจ เราได้อีกด้วย

 

Source