รู้จัก ทฤษฎี Loss Aversion กลัวขาดทุน จนพอร์ตไม่โต

เรื่องPatihanUhas

Loss Aversion

รู้จัก ทฤษฎี Loss Aversion กลัวขาดทุน จนพอร์ตไม่โต  ไม่กล้า Stop Loss ต้องดู! จิตวิทยา สำหรับคนที่ กลัว Stop Loss หรือ ความรู้สึกสูญเสียที่มีมากกว่าได้รับ คนเราให้ค่าความทุกข์มากกว่าความสุข

 

ทฤษฎี Loss Aversion คืออะไร

ทฤษฎี Loss Aversion คือ ทฤษฎีทางจิตวิทยาสำหรับการกลัวการสูญเสีย เพราะมนุษย์เราให้ความสำคัญกับความสูญเสียหรือความเจ็บปวด มากกว่าสิ่งที่ได้รับ

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ Loss Aversion ในชีวิต

  • เรามักจะจดจำ คนที่ทิ้งเราให้อกหักได้ดี มากกว่าคนที่เลิกรากันด้วยดี
  • เรามักจะจดจำ สิ่งที่ทำให้เราเจ็บได้ดี มากกว่าสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข
  • เราเจอเงิน 100 บาท ความรู้สึกไม่เท่ากับ การที่เราทำเงิน 100 บาทหาย
  • เรายอมไม่เลี้ยงสัตว์ เพราะเรากลัวเสียใจ ในวันที่สัตว์เลี้ยงตัวนั้นไม่อยู่
  • เรากลัวที่จะมีแฟน เพราะกลัวจะผิดหวังจากความรัก

 

อารมณ์ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นจาก ภาวะ Loss Aversion หากผู้อ่านไม่แน่ใจว่า อารมณ์ของเราเป็นไปตามทฤษฎีนี้จริงหรือเปล่า ให้ลองสำรวจความรู้สึกเหล่านี้ของตัวเองดูว่าเป็นแบบจริงหรือไม่?

 

อารมณ์เหล่านี้ จึงทำให้มนุษย์โดยทั่วไปจึง ไม่กล้า Stop Loss เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่เรากำลังจะยอมรับการสูญเสียครั้งนี้จาก Stop Loss สู้ถือออเดอร์ไว้แบบมีความหวังดีกว่า หวังว่าออเดอร์ที่ติดลบอยู่จะกลับมาเป็นกำไร นี่จึงเป็นความหวังของเทรดเดอร์ ทำให้ไม่กล้าที่จะ Stop Loss

 

loss aversion คืออะไร

ภาพจาก thedecisionlab.com

ทฤษฎี Loss Aversion

ผลวิจัยเผยว่า การสูญเสียทรงพลังกว่าการได้รับถึง 2 เท่า จึงทำให้คนเรามองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน และทำให้เราอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์มากกว่าคำชม Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และ Amos Tversky ที่เป็นผู้ช่วยของแดเนล ทั้งสองช่วยกันทำการวิจัย และนิยามทฤษฎีนี้

 

โดยให้เหตุผลที่เรียบง่ายว่า “คนเราเกลียดการสูญเสียมากกว่าดีใจกับการได้มา” หรือจะให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือ คนเราให้ค่าความทุกข์มากกว่าความสุข ที่เป็นเช่นนี้เพราะ คนเรา “ยึดติด” กับสิ่งของที่เรามี โดยเฉพาะถ้าสิ่งของนั้นเราเป็นคนทุ่มแรงสร้างมันมากับมือ เสียแรง-เสียเงิน-เสียเวลา เราจะยิ่งเสียมันไปได้ยากยิ่งขึ้น

 

ให้ภาพอธิบาย หากคุณหาเงินได้มา 100 $ คุณรู้สึกก็ดีใจนะ ก็ดี ก็ไม่ได้แย่ แต่เวลาเสียไป 100 $  เสียใจแบบจะเป็นจะตาย ทำไมเราจึง “หลีกเลี่ยงการสูญเสีย” ?  เรื่องนี้เป็นนิสัยที่สืบทอดกันมาผ่าน DNA จากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ย้อนกลับไปสมัยก่อนความเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคโบราณนั้นเปราะบางมาก

 

ความผิดพลาดแบบโง่เขลาเพียงครั้งเดียว อาจนำความตายมาสู่ชีวิตได้ทันที (ยกตัวอย่างเช่นคุณพลาดไปกินผลไม้พิษ วิ่งสะดุดล้มระหว่างหนีเสือ ก็ทำให้คุณตายได้ในทันที มันจึงทำให้มนุษย์กลัวการที่จะสูญเสีย)

 

คนที่รอดชีวิตคือคนที่ระมัดระวังภัย คนกลุ่มนี้จะรอบคอบสุดๆ มักไม่เอาตัวเองไปเสี่ยงอันตราย จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียทุกรูปแบบ ความกลัวจึงกลายมาเป็นสันชาตญาณที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตรอดอยู่ได้ นอกจากนี้วัฒนธรรมยังมีส่วนในการเพิ่มความกลัวใน Loss Aversion

 

เพราะว่าถ้าหากตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว นอกจากตัวเองจะรู้สึกแย่แล้วยังโดนกระแสคนรอบข้างหรือสังคมซ้ำเติมอีก

 

โดยรวมแล้วมีอยู่ 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้มนุษย์ “หลีกเลี่ยงการสูญเสีย”

  • การทำงานของระบบประสาท
  • สถานะทางสังคม
  • วัฒนธรรม

 

แต่ละคนมีมากมีน้อยแตกต่างกันไป ตามปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น

 

นอกจากนี้ มีการทดลองหนึ่ง แจกโบรชัวร์ 2 แบบให้ผู้ป่วย 2 กลุ่ม เกี่ยวกับการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง (Breast Self-Examination หรือ BSE)

  • กลุ่มแรก ได้โบรชัวร์แบบที่ 1 เขียนว่า ผู้หญิงที่ตรวจ BSE มีโอกาสสูงขึ้นมากที่จะตรวจเจอ และจะสามารถรักษาหายได้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ และจะไม่เป็นหนัก
  • กลุ่มที่สอง ได้โบรชัวร์แบบที่ 2 เขียนว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้ตรวจ BSE มีโอกาสน้อยมากที่จะตรวจเจอและและมีโอกาสน้อยมากที่จะรักษาหายได้ทันท่วงที มีโอกาสป่วยหนัก

 

การติดตามสัมภาษณ์หลังจากนั้นพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่สอง มีการตื่นตัวรับรู้ถึง BSE สูงกว่ากลุ่มแรก แบบมีนัยยะสำคัญ แม้ทั้ง 2 โบรชัวร์เหมือนกัน แต่การเปลี่ยนข้อความ “เน้นย้ำถึงการสูญเสีย” กลับได้ผลกระทบที่สูงกว่า

 

การทดลองเพื่อให้เห็นชัดเจนว่า Loss Aversion ทำงานยังไง ?

มีกล่องจับฉลาก 2 กล่องให้เลือก

  • กล่องแรก: ได้เงิน 5,000 บาทชัวร์ๆ
  • กล่องที่สอง: อาจจะได้เงิน 20,000 บาท หรือ ไม่ได้อะไรเลย

คนส่วนใหญ่จะเลือกกล่องแรก เพราะเขายอมได้น้อย ดีกว่าที่ต้องมารู้สึกเสียดาย ที่จับรางวัลมาแล้ว ปรากฏว่าเขาไม่ได้อะไรเลย

 

วิจัยของ Daniel Kahneman และ Amos Tversky กับการเลือกซื้อรถ

เวลาเราไปเลือกซื้อรถเต็มฟังก์ชั่น กับรถที่ยังไม่ได้เพิ่มฟังก์ชั่น ทางร้านเปิดตัวขายรถที่เต็มฟังก์ชั่นในราคา 1,000,000 กับรถโมเดลพื้นฐานอยู่ที่ 900,000

 

ปรากฏว่า คนส่วนมากให้ความสนใจกับโมเดลพื้นฐานแต่มาเพิ่มฟังก์ชั่นอื่นๆทีหลัง โดยมีความรู้สึกว่าตัวเองได้กำไร แต่ถ้าหากเริ่มขายที่โมเดลเต็มฟังก์ชั่น แล้วนำคุณสมบัติออกทำให้รู้สึกเหมือนสูญเสีย

 

ทั้งๆ ที่จำนวนเงินก็เท่ากัน แต่เรากลับให้น้ำหนักความรู้สึกกับมันไม่เท่ากันเสียอย่างนั้น การที่เรามัวแต่โฟกัสกับความเสียหาย มันทำให้เราไม่ได้นึกถึงวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยให้เราได้ผลกำไร

 

Loss Aversion กับ บริษัทประกันชีวิต

Loss Aversion อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทประกันชีวิตทั่วโลก มันทรงพลังขนาดทำให้คนเรายอมจ่ายค่าประกันที่มีราคาแพงๆ ติดต่อกันเป็นสิบปี ให้กับบริษัทประกันชีวิต แม้ว่าโอกาสที่เราจะเสียชีวิตมีน้อยมาก เพราะว่าเขาจับจุดความกลัวที่สูญเสียของมนุษย์ตรงนี้ได้

 

Loss Aversion กับ ชีวิตคู่

คู่รักที่คบกันนานๆ หลายคู่มักจะไม่กล้าเลิกกันง่ายๆ บางคนต้องทนทุกข์ทรมานเพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ต่อไป เพียงเพราะว่าเสียดายเวลา เสียดายอะไรต่างๆนาที่ทำร่วมกันมา จึงทำให้ไม่กล้าที่จบความสัมพันธ์ที่เป็นToxic

 

Loss Aversion กับ การลงทุน

ความกลัวขาดทุน จุดอ่อนนี้ส่งผลให้การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนของมนุษย์ผิดพลาดไปหมดและทำให้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น คือการที่คุณยินดีที่สละโอกาสในได้รับผลตอบแทนมากเกินไปเพียงเพื่อแลกกับการเลี่ยงที่จะไม่ต้องขาดทุน

 

ตัวอย่าง Loss Aversion กับการลงทุนในหุ้น หากเห็นว่ากำไรน้อยลงกว่าเมื่อวาน สมองจะตีความว่าเป็นการสูญเสีย ทำให้ไม่ยินดีที่จะขายออกแม้ว่าตนเองยังคงกำไรอยู่ก็ตาม

ทฤษฎี Loss Aversion

 

ยิ่งตลาดลงไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งที่จะไม่ยอมขาย จนกระทั่งไม่เห็นโอกาสที่จะกลับมากำไรเหมือนเดิมจึงขายออกมาในจุดที่กำไรน้อยหรือไม่ก็ขาดทุน

 

โดยรวมแล้ว การเลือกสินทรัพย์ที่ดีจึงไม่สามารถให้ผลตอบแทนดีได้ เนื่องจากการตัดสินใจอย่างไม่สมเหตุสมผล ได้แก่ การเดินไปในที่ที่ไม่คุ้นเคยด้วยความมั่นใจเกินไปแทนที่จะระมัดระวัง การซื้อหุ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งที่ควรทยอยขายออกในภาวะตลาดขาขึ้น

 

หรือการไม่กล้าขายทำกำไรขณะที่ยังมีโอกาสในภาวะตลาดขาลง เป็นต้น “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”

 

Source