4 กลยุทธ์การเทรด Forex ด้วย MACD (คอร์สเต็มหลักสูตร) บทความนี้ได้มาจาก YouTube ช่อง Trade Prime และในวีดิโอนี้เจ้าของช่องก็ได้มาสอนเกี่ยวกับ การซื้อ-ขาย Forex โดยใช้ MACD indicator รวมแล้วมีทั้งหมด 4 กลยุทธ์ด้วยกัน (แบบเต็มหลักสูตร)
4 กลยุทธ์การเทรด Forex ด้วย MACD (คอร์สเต็มหลักสูตร)
หลักสูตรการใช้ MACD indicator อย่างสมบูรณ์แบบ สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่
หัวข้อที่เราจะเรียนในวีดิโอนี้ คือ
- ทำความรู้จักกับ MACD indicator (ว่าคืออะไรและมันทำงานอย่างไร?)
- ส่วนประกอบของ MACD indicator (Macd Line, Signal Line, Histogram )
- เจาะลึกในการใช้ MACD indicator (Histogram slope, Zero Line, ETC. )
- 4 กลยุทธ์การเทรดForex ด้วย MACD indicator
ทำความรู้จักกับ MACD indicator
MACD indicator คืออะไร
MACD ชื่อเต็มของ indicator คือ Moving Average Convergence Divergence คือการบรรจบกันของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ใช้เพื่อระบุแนวโน้มและโมเมนตัมของราคา
ส่วนประกอบของ MACD indicator
(Macd Line, Signal Line, Histogram)
MACD indicator ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
- Macd Line
- Signal Line
- Historigram
1. MACD Line คือการนำเอาเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นมาแล้วดูระยะห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยและเส้น Exponential(EMA) โดยจะคำนวณจาก 12 EMA – 26 EMA สิ่งนี้หมายถึง
- เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้น 12 EMA อยู่เหนือเส้น26EMA : Macd Line ก็จะอยู่ข้างบนเส้น Zero Line เช่นกัน
- เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้น 12 EMA อยู่ต่ำกว่าเส้น 26 EMA: Macd Line ก็จะอยู่ข้างล่างเส้น Zero Line เช่นกัน
2. Signal Line คือ EMA 9 วัน ของ MACD ใช้เพื่อดูแนวโน้มราคาประกอบกับ MACD Line ซึ่ง Signal Line Crossover เป็นสัญญาณที่พบได้บ่อยที่สุด และมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ Bullish Crossover เกิดขึ้นเมื่อ MACD มีทิศทางขึ้นและตัดขึ้น Signal Line และ Bearish Crossover เกิดขึ้นเมื่อ MACD มีทิศทางลงและตัดลง Signal Line
3. Histogram หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Indicator ของ MACD ที่ใช้เส้นศูนย์ (Zero Line) เป็นเส้นฐาน ซึ่งสามารถใช้จับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมได้เร็วกว่า Signal Line Crossover ในบางครั้ง โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของ Slope ของ Histogram เช่น
- Histogram จะเป็นบวก (กราฟแท่งเป็นสีเขียว) เมื่อเส้น MACD สูงกว่าเส้น Signal Line
- Histogram จะเป็นลบ (กราฟแท่งเป็นแดง) เมื่อเส้น MACD ต่ำกว่าเส้น Signal Line
เจาะลึกในการใช้ MACD indicator
(Histogram slope, Zero Line, ETC.)
1. ใช้ MACD indicator โดยดู Histogram slope
ความชันหรือรูปร่างของฮิตโตแกรม ทำให้เราเข้าใจแนวโน้มได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
- เมื่อราคาอยู่ในแนวโน้มที่แข็งแกร่ง Histogram จะเป็นสีเข้ม (สีเขียวเข้ม,สีแดงเข้ม)
- เมื่อราคาอยู่ในแนวโน้มที่เป็น sideways Histogram จะเป็นสีอ่อน (สีเขียวอ่อน,สีแดงอ่อน)
ยกตัวอย่าง
1. Histogram ที่ลูกศรชี้ที่เป็นกราฟแท่งสีเขียวสั้นๆ นั้นเป็นสัญญาณที่มีนัยสำคัญว่า นี่เป็นจุดเริ่มต้นของราคาเป็นบวกหรือเป็นโมเมตัมขาขึ้น (มองหาจุดเข้า“BUY”)
2. เมื่อกราฟแท่ง Histogram เปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน นั้นเป็นสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่าโมเมนตัมขาขึ้นเริ่มอ่อนตัวลง กราฟราคาวิ่งเป็น sideways (เราควรทำการ Take profit ณ จุดนี้ )
2. เมื่อกราฟแท่ง Histogram เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม นั้นเป็นสัญญาณที่บอกว่าราคาเริ่มเป็นโมเมนตัมขาลง เพราะว่ามีการเปิดออเดอร์เข้า “Sell” เป็นจำนวนมาก
3. เมื่อกราฟแท่ง Histogram เปลี่ยนเป็นสีแดงอ่อน นั้นเป็นสัญญาณที่บอกว่าราคาโมเมนตัมขาลงเริ่มอ่อนตัวลง มีแนวโน้มการกลับเทรนด์เป็นขาขึ้นได้
*** ทั้งนี้ทั้งนั้นเราไม่ควรใช้ Histogram slope เพียงอย่างเดียวในการตัดสินใจซื้อ-ขาย เราควรจะดูองค์ประกอบหรือเครื่อมืออื่นๆร่วมด้วย
2. ใช้ MACD indicator โดยดู Crossover
ตัวอย่างที่ 1. จุดตัดของ เส้น 12 EMA, 26EMA
- การดูแค่การตัดเส้นกันของเส้น 12 EMA, 26EMA ขอเสียของการดูแค่สองเส้นนี้มันทำให้เราเข้าตลาดช้าเกินไป
ตัวอย่างที่ 2. จุดตัดของ Macd กับ Signal Line
- จุดตัดกันของเส้น Macd กับ Signal Line เกิดขึ้นไวกว่าเส้นเส้น 12 EMA, 26EMA ในตัวอย่างที่
- การดูจุดตัดของ Macd กับ Signal Line มันทำให้เราเปิดออเดอร์ขายที่มีประสิทธิภาพและสร้างกำไรได้มากกว่า
3. ใช้ MACD indicator โดยดู Zero Line Crossovers
จุดตัดของ Macd กับ Signal Line สามารถเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว แต่ถ้าจะให้ดีต้องมีสัญญานคอนเฟิร์มอีก นั้นคือ เส้นทั้งสองวิ่งข้ามผ่านเส้น Zero Line
ตัวอย่าง…. ดังในภาพข้างใต้นี้
4. ใช้ MACD indicator โดยดู Zero Line Pullbacks
ในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง MACD Line มีการ Line Pullback ที่ Zero Line บ่อยครั้ง ตัวอย่าง.. ดังในภาพข้างใต้นี้ (ซึ่งจุดนี้เราควรเปิดออเดอร์ “BUY”)
5. ใช้ MACD indicator โดยดู Divergence
Divergence เป็นสัญญาณของการกลับตัว
- Divergence เกิดขึ้นเมื่อ ราคา กับ Macd ให้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน
- เราใช้ฮิสโตแกรประกอบด้วยในการระบุ Divergence
Divergence มี 2 ประเภท คือ
- Bullish Divergence
- Bearish Divergence
Bullish Divergence (การกลับตัวเป็นเทรนด์ขาขึ้น)
- Price จะเคลื่อนไหวเป็น Lower high, Lower low
- Macd จะเคลื่อนไหวเป็น Higher low, Higher high
Bearish Divergence (การกลับตัวเป็นเทรนด์ขาลง)
- Price จะเคลื่อนไหวเป็น Higher low, Higher high
- Macd จะเคลื่อนไหวเป็น Lower high, Lower low
4 กลยุทธ์ในการซื้อ-ขาย Forex โดยใช้ MACD indicator
ลำดับที่ 1. และ 2. คือกลยุทธ์การทรดแบบ Divergence
ลำดับที่ 3. และ 4. คือกลยุทธ์การทรดไปตามเทรนด์
กลยุทธ์ที่หนึ่ง Divergence + Support/Resistance
กฎของกลยุทธ์ Divergence + Support/Resistance
- ระบุเส้นแนวรับ,แนวต้าน ใน 4 Hr Timeframe
- รอดูสัญญาณ Divergence ใน 1 Hr Timeframe
ยกตัวอย่าง กราฟคู่เงิน GBP/USD
- เริ่มต้นโดยการหาเส้นแนวรับ,แนวต้านใน Timeframe 4 ชั่วโมง
- รอดูสัญญาณ Divergence ใน 1 Hr Timeframe
- และแล้วเราก็เจอ Price จะเคลื่อนไหวเป็น Higher low, Higher high ส่วน Macd จะเคลื่อนไหวเป็น Lower high, Lower low
- Price วิ่งเข้าไปแตะที่เส้นแนวรับ, แนวต้าน มีแนวโน้มสูงที่จะกลับเทรนด์เป็นขาลง เพราะว่าการที่ Macd อ่อนตัวลง นั้นแสดงว่าผู้ซื้อสูญเสียโมเมนตัม
หาจุดเข้าเปิดออเดอร์ “SELL”
เราต้องระบุจุดต่ำสุด ที่อยู่ระหว่างยอดสองยอดใน Macd
- นี้คือยอดสองยอดใน Macd ที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคา
- จากนั้นให้เราโฟกัสไปที่ฮิสโตรแกรมสีแดงที่อยู่ระหว่างยอดสองยอดฮิตโตแกรมสีเขียว
- จากนั้นทำการลากเป็นเส้นตรง เพื่อรอให้ราคาวิ่งลงมา และเปิดออเดอร์ “SELL”
กลยุทธ์ที่สอง Divergence + Bollinger Bands
- Bollinger Bands เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการแบบการกลับตัวของเทรนด์
- Bollinger Bands ในช่วงที่ความผันผวนมาก กรอบ Bands จะกว้างขึ้น และในช่วงที่ความผันผวนน้อย กรอบ Bands จะแคบลง
- เราสามารถหา High กับ Low เชิงเปรียบเทียบ จากพฤติกรรมการแกว่งตัวของราคาระหว่างกรอบ Bands ได้
- 90% ราคาจะอยู่กรอบ Bands หากว่าราคาออกนอก Bands มีความเป็นไปได้สูงที่ราคาจะกลับเข้ามาอยู่ในกรอบอีกครั้ง
- ในช่วงที่ราคาขึ้นไปทะลุกรอบ Bands ด้านบนก็สามารถอนุมานได้ว่า ราคาขึ้นไปมากเกินไปในช่วงนั้น (อาจเป็น High ของรอบการแกว่งตัว)
- ในช่วงที่ราคาลงมาทะลุกรอบด้านล่าง ก็สามารถอนุมานได้ว่า ราคาช่วงนั้นลงมามากเกินไป (อาจเป็น Low ของรอบการแกว่งตัว)
ตั้งค่า Bollinger Bands ตามนี้
ใช้ Bollinger Bands ร่วมกับ MACD
ตัวอย่างการใช้ Bollinger Bands ร่วมกับ Macd ในการหาจุดเข้าตลาด
3 สัญญานในการเข้าเปิดออเดอร์
- เราจะเห็นได้ว่าราคาวิ่งออกมานอกกรอบ Bollinger Bands (มีความเป็นไปได้สูงมาก ว่ายังไงราคาก็ต้องวิ่งเข้ากรอบ)
- ราคากับ Macd เคลื่อนไหวไปคนละทิศทาง (เป็นรูปแบบ Divergence)
- เมื่อใดที่ราคาวิ่งข้ามเส้น Bollinger Bands เข้ามาด้านใน ควรเปิดออเดอร์ “BUY” ในทันที ทาง
กลยุทธ์ที่สาม Bands & Zero Line Pullbacks
สำหรับกลยุทธ์นี้ประกอบด้วย 4 Indicators (Macd+ 3 EMA’s)
ตั้งค่า 3 EMA’s ตามภาพด้านล่างนี้
3 EMA’s นี้ทำหน้ามีคล้ายกับแนวรับแนวต้าน (ดังในภาพด้านล่าง)
การใช้เส้น 3 EMA’s กับ Macd
- ราคาวิ่งอยู่เหนือ เส้น 3 EMA’s แสดงว่าเป็น Up trend
- จากนั้นจะเห็นได้ว่า มีการตัดกันของเส้น Macd กับ Signal Line ด้านใต้เส้น Zero Line (ซึ่งเส้นสีน้ำเงินตัดเส้นสีส้มขึ้นไป)
- เป็นสัญญานว่าราคากำลังจะเป็น Up trend
- อีกสัญญาณ ก็คือ Pullback กำลังจะสิ้นสุดลง
***สำหรับจุดเข้าเปิดออเดอร์ เราจะไม่ใช้จุดตัดกันของ เส้น Macd กับ Signal Line เพราะว่ามันจะใช้ไม่ได้ผลกับการเทรดแบบ Pullback เพราะว่ามันเข้าตลดช้าเกินไป แต่ได้ผลกับ Divergence
- จุดเข้าเปิดออเดอร์ที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่าคือ การทำเทรนด์สั้นใน Pullback และต่อมาราคาได้ทำการฝ่าวงล้อมเส้น 3 EMA’s ขึ้นไป จุดนี้เป็นจุดที่ควรเปิดออเดอร์ “BUY”
กลยุทธ์ที่สี่ Swap Zones & Zero Line Pullbacks
- เราจะเห็นได้ว่า เส้นหนึ่งเส้นสามารถเปลี่ยนหน้าที่กันได้ จากแนวรับกลายเป็นแนวต้าน เราจะเรียกเส้นนี้ว่า โซน SWAP
วิธีหาจุดเข้าเปิดออเดอร์
- วาดโซน SWAP
- รอดูเส้น Macd กับ Signal Line ตัดกันเป็นเทรนด์ขาขึ้น ราคา Pullbacks ขึ้นเส้นข้าม Zero Line ตรงจุดนั้นถือว่าเป็นจุดเข้าเปิดออเดอร์ “BUY” อย่างมีประสิทธิภาพ
Source
สรุปหัวข้อในบทความนี้
What is the MACD ?
Uses of MACD :
- Histogram Slope
- Crossovers
- Zero Line Crossovers
- Zero Line Pullbacks
- Divergence
Advanced Strategies
- Divergence & Support / Resistance
- Divergence & Bollinger Bands
- EMA Bands & Zero Line Pullbacks
- Swap Zones & Zero Line Pullbacks
Author: