เมื่อราคาร่วงลง แล้วรีบขาย Panic Selling จิตวิทยาในการเทรด

เรื่องPatihanUhas

panic selling

เมื่อราคาร่วงลง แล้วรีบขาย Panic Selling จิตวิทยาในการเทรด การเทขายหุ้นแบบตื่นตระหนก ถ้าจะพูดให้ภาพชัดๆก็เหมือนการขายแบบ “กระต่ายตื่นตูม” หรือการขายแบบอุปทานหมู่ เนื่องด้วยช่วงเวลานั้นเทรดเดอร์กำลังตกอยู่ในสภาวะอารมณ์ของความกลัว กลัวที่จะขาดทุนมากกว่าเดิม

 

เมื่อราคาร่วงลง แล้วรีบขาย Panic Selling จิตวิทยาในการเทรด

 

อาการตื่นตระหนก มักจะเกิดขึ้นในเวลาที่นักลงทุนได้รับข่าวร้าย , วิกฤตทางเศรษกิจ , ภาวะสงคราม , ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในตลาดทำการเทขายหุ้นที่มีอยู่ในปริมาณมากๆ หรือ ราคาหุ้นตกลงมาแบบไม่มีเหตุผล

 

เหมือนกับเหตุการณ์ Black Monday เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 1987 ที่เป็นวิกฤติการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถูกบันทึกว่าเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ยของตลาดหุ้น

 

ไม่ว่าจะเนื่องด้วยเหตุผลใดๆก็ตามที่ส่งผลกระทบให้เหล่านักลงทุนเห่กันขายหุ้นโดยปราศจากการวิเคราะห์อย่างมีสติถี่ถ้วน จึงทำให้พวกเขาตัดสินใจขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ออกไปก่อน

 

และเมื่อผู้ลงทุนจำนวนมากอยากขาย ในขณะที่ฝั่งผู้ต้องการซื้อยังไม่นึกอยากซื้อทันที ก็จะส่งผลให้ราคาตกลงมาอย่างรวดเร็ว ผู้ลงทุนที่เดิมยังไม่ได้อยากจะขาย พอเห็นราคาตก ก็ใจไม่ดี อยากจะขายออกบ้าง ส่งผลซ้ำให้ราคาหลักทรัพย์ต่างๆ ลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ด้วยเวลาอันสั้น พูดง่ายๆคือ อุปทานหมู่ของนักลงทุนที่มีทิศทางไปในแนวทางเดียวกัน

 

อย่างไรก็ตาม Panic Selling ที่เกิดขึ้นในบางครั้ง เป็นผลจากปัจจัยลบระยะสั้นเท่านั้น มันเปิดช่องทางทำให้นักลงทุนหรือนักเก็งกำไรบางส่วนสามารถฉวยโอกาสนี้ในการทำกำไรได้เช่นกัน

 

 

7  เคล็ดลับที่จะช่วยหลีกเลี่ยง ไม่ให้เกิดอาการ Panic selling

 

1. หลีกเลี่ยงการเทรดโดยใช้อารมณ์

การลงทุนในตลาดหุ้นมีความเสี่ยงและมีความผันผวนสูง การลงทุนเป็นเรื่องของหลักการและเหตุผล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจซื้อหรือขายด้วยอารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งทำให้พวกเขาไม่ประสบความสำเร็จ

 

หากเทรดเดอร์ต้องการที่จะประสบผลสำเร็จ ต้องสวมจิตวิญญาณของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์ โดยการเรียนรู้จากแนวความคิดของเขา

 

ยกตัวอย่างแนวคิดหนึ่ง ที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวไว้ว่า “จงกลัวเมื่อคนอื่นกำลังโลภ และจงโลภเมื่อคนอื่นกำลังกลัว” “Be fearful when others are greedy and greedy when others are fearful”

 

ในฐานะนักลงทุน คุณจะต้องทำตัวตรงกันข้ามกับสภาวะทางอารมณ์ของคุณ แม้หลักการลงทุนของวอร์เรน บัฟเฟตต์เป็นหลักการที่เรียบง่าย แต่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ การควบคุมอารมณ์คือสิ่งสำคัญในการลงทุนที่จะช่วยให้คุณไม่ซื้อ-ขายตามอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะผิด

 

บ่อยครั้งนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จก็ไม่ได้เป็นคนที่ใช้หลักการที่ซับซ้อนอะไร แต่แค่เป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่เท่านั้นเอง

 

การที่คุณสามารถควบคุมอารมณ์ของคุณได้ มันจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงสภาวะตลาด ณ ตอนนั้น

 

2. มองหาโอกาสจากวิกฤต

การที่คุณซึมซับชุดความคิดของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ จะทำให้คุณเห็นความล้มเหลวของตลาดเป็นโอกาสในการซื้อหุ้นในราคาที่ถูกและค่า ROI ที่สูง

 

3. อย่าลืมว่าตลาดตีกลับเสมอ

ดูจากภาพรวมในอดีต ตลาดมักจะฟื้นตัวเสมอ …พูดถึงภาพรวมของ “ตลาด” ไม่ใช่หุ้นตัวใดตัวหนึ่ง หุ้นบางตัวฟื้นตัวขึ้นพร้อมกับตลาด แต่ก็ทำให้นักลงทุนเสียโอกาสนั้นไปเพราะขายไปในช่วงที่ตลาดตกต่ำ

 

ทุกอย่างมีความเป็นไปได้เสมอ ถ้าเราศึกษามันอย่างรอบคอบ และไม่ไหลไปตามกระแสของสังคม ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นการจะคาดเดาอนาคตได้ขึ้นอยู่กับ Skills ของนักลงทุนแต่ล่ะคน

 

4. วางแบบแผนอย่างชาญฉลาด

การวางแบบแผนเป็นส่วนพื้นฐานของการลงทุน ถ้าคุณลงทุนโดยปราศจากแผนการ หรือลงทุนในสิ่งที่ไม่ได้เข้าใจมันอย่างถ่องแท้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการพนันเลย

 

ในช่วงที่ตลาดตกต่ำ การมีแผนการที่ดีมันสามารถช่วยในนักลงทุนรับมือหรือเก็งกำไรได้จากสถานการณ์เหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อย

 

5. ถือหุ้นระยะยาวลดความเสี่ยง

การลงทุนในหุ้นระยะยาว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกและวิธีการลงทุนที่สามารถเพิ่มโอกาสด้านการลงทุนของคุณให้ไปถึงเป้าหมายได้

 

การลงทุนระยะยาว หรือวิธีการลงทุนแบบ Value investment (VI) นั้น มักเป็นการเลือกลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี หุ้นมีความต้องการในตลาดสูงมีสภาพคล่องดี

 

เลือกหุ้นผิดชีวิตเปลี่ยนถ้าคุณซื้อหุ้นจม จนตัวเองต้องเดือดร้อน ควรจะถอนตัวออกมาให้ไว

 

การลงทุนในหุ้นระยะยาวต้องใช้เวลานานในการศึกษา การเลือกหุ้นลงทุนระยะยาวผิดไปอาจทำให้เป้าหมายด้านการลงทุนของคุณล้มเหลวไปได้เลย ดังนั้นการลงทุนในหุ้นระยะยาวจึงต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ เพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

 

6. ห้ามตัวเองไม่ให้ตัวเองเข้าไปเช็คพอร์ตบ่อยๆ

เพราะการเข้าไปดูพอร์ตบ่อยๆในสถาการณ์ที่ย่ำแย่แบบนี้ มักจะทำให้คุณจิตตกได้ง่าย  นักวิจัยพบว่าในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นผันผวนในแดนลบ จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจ มีอาการตื่นตระหนก ควบคุมตนเองไม่ได้ หรือซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

ถึงขนาดมีการตั้งชื่ออาการทางจิตลักษณะนี้ว่า ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรงทางการเงิน

 

คำแนะนำง่ายๆ สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ใจไม่แข็ง คืออย่าเข้าไปดูผลตอบแทนของพอร์ตบ่อยๆ เพราะถ้าหากเข้าไปเช็คบ่อยมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสทำการซื้อขายมากเท่านั้น และส่วนมากจากการตัดสินใจที่อารมณ์ยังไม่พร้อมเป็นเหตุทำให้ขาดทุน

 

7. หยุดเสพสื่อสักพัก

การติดตามข่าวไม่ว่าจะจากทีวี หนังสือพิมพ์ หรือช่องทาง YouTube ในช่วงที่ภาวะเศรฐกิจย่ำแย่ โควิด หุ้นตก สงคราม ยิ่งคุณเสพมันมากเท่าไหร่ จิตคุณยิ่งตกมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งดูยิ่งเพิ่มความกลัวและวิตกกังวลให้กับคุณ

 

บทความส่งท้าย

วิกฤติทางการเงินของตลาดหุ้นมีมานานนับหลายทศวรรษแล้ว และก็ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้อย่างชัดเจนว่าครั้งต่อไปในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น

 

แต่ในฐานะนักลงทุนอย่างคุณๆที่อยากจะประสบความสำเร็จในตลาดนี้ สิ่งที่สมควรโฟกัสคือการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านจิตใจและในด้านเงินลงทุน

 

ทั้งนั้นก็ต้องทำการศึกษาฝึกฝนทักษะให้เฉียบเหลมไปด้วย คอยดูสถานการณ์อย่างมีสติ ไม่มีอามรณ์ร่วมไปกับมัน เมื่อคุณมองเห็นโอกาสหรือช่องทางก็กระโจมเข้าใส่ในทันทีเลย

 

 

Source

 

กลับสู่หน้าหลัก  uhas.com

ไปอ่านบทความ  Forex คือ