กฎ 3 ข้อเมื่อใช้ Stop Loss Forex เทรดเดอร์ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากพอ อาจคิดว่าการใช้ Stop Loss อาจจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นเท่าไหร่ เพราะอาจมีความคิดที่ว่าตลาดอาจจะหวนกลับมาก็ได้ อดทนรออีกซักหน่อยคงจะดีขึ้น
กฎ 3 ข้อเมื่อใช้ Stop Loss Forex
แต่ความคิดแบบนั้นเป็นความคิดที่ผิดและเหตุผลแบบนั้นมันใช้ไม่ได้ เพราะหากการคาดคะเนมันไม่เป็นไปอย่างนั้นก็อาจจะทำให้เทรดเดอร์เกิดการสูญเสียกำไรและเงินลงทุน
เนื่องจากไม่มีการควบคุมการสูญเสียในลิมิตที่ตั้งรับความเสี่ยงไว้ได้ และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้มีคนคิดค้นเครื่องมือจำกัดการขาดทุนขึ้นมา เทรดเดอร์ควรใช้ Stop Loss เพื่อปิดการซื้อขายที่ขาดทุนโดยอัติโนมัติในระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
Stop Loss หมายถึงการหยุดเพื่อไม่ให้ราคาหลักทรัพย์ในพอร์ตนั้นลดลงไปมากกว่านี้ ซึ่งขณะที่ทำการ Stop loss นั้นเทรดเดอร์อาจขาดทุนหรือได้กำไรอยู่ในขณะที่ขายก็ได้ แต่ขายออกไปเพื่อป้องกันไม่ให้กำไรลดลงกว่าที่เป็นหรือขาดทุนมากยิ่งขึ้น
การตั้งค่าคำสั่ง Stop Loss Forex
การตั้งค่า คำสั่ง Stop Loss จะเปรียบเสมือนว่าคุณออกคำสั่งล่วงหน้าไว้กับโบรกเกอร์ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดคอมพิวเตอร์หรือเชื่อมต่อบัญชีเทรดของคุณอยู่ก็ตาม ซึ่งถ้าหากคุณไม่มีเวลาติดตามสถานะการซื้อขายของคุณตลอด
การตั้งค่า Stop Loss จะเป็นตัวช่วยในการปกป้องเงินทุนของคุณจากการกระชากอย่างรุนแรงของราคา โดยเฉพาะในตลาด Forex ได้ และในทางปฏิบัติจริงๆ นั้นมันอาจเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ที่คุณจะสามารถตั้งค่า Stop Loss ได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เริ่มเทรดเป็นครั้งแรกๆ
ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเทรดเดอร์ควรจะทดสอบสัญญาณการซื้อขายของคุณ และตรวจสอบว่า การตั้งค่า Stop loss ในระบบเทรดของคุณจะสามารถควบคุมความเสี่ยงและรักษาพอร์ตในเติบโตในระยะยาวได้จริงไหม
การตั้งค่า Stop Loss จะช่วยให้เทรดเดอร์ไม่เพิ่มโอกาส ให้มีการสงสัยในแผนการซื้อขายและข้อข้อผิดพลาดที่คาดคะเนไม่ได้ และเมื่อเทรดเดอร์มีประสบการณ์มากเท่าไหร่ คุณก็จะมีความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของตลาดและมันจะยังช่วยให้เทรดเดอร์มีวินัยมากขึ้นอีกด้วย
การปิดการซื้อขายด้วยตัวเองนั้นเป็นการเปิดโอกาส และเพิ่มช่องว่างในการเทรดผิดพลาด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ที่เกินกว่าจะรับมือได้ เช่น การซื้อขายหรือขนาดจำนวนที่ไม่ถูกต้อง หรือเหตุการณ์ไฟดับก็เกิดขึ้นได้เพราะมันเป็นเรื่องไม่คาดคิด
ดังนั้น เทรดเดอร์ไม่ควรปล่อยการเทรดของคุณให้อยู่ในความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น การมี Stop loss สำรองไว้มันเป็นเรื่องที่ดี
กฎ 3 ข้อที่ควรทำตามในการใช้ Stop Loss
1. ไม่ใช้อารมณ์มาหยุดการขาดทุน
การตั้งค่าการหยุดขาดทุนเทรดเดอร์จึงต้องกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะทำการซื้อขาย เป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่นอนหากปล่อยให้อารมณ์ตื่นตระหนกเข้ามาระหว่างการหยุดขาดทุน
2. ปล่อยตาม Stop Loss
การปล่อยไปตาม Stop Loss มันหมายถึงการควบคุมทิศทางของการซื้อขายที่ชนะเพราะมันจะล็อคผลกำไรและจัดการความเสี่ยงของคุณ
3. อย่าขยายจุดหยุดขาดทุน
การเพิ่มจุดหยุดขาดทุนมันเป็นการเพิ่มความเสี่ยง และจำนวนเงินที่คุณจะสูญเสียมากขึ้น เมื่อตลาดถึงจุดหยุดตามแผนที่คุณวางไว้นั่นแสดงว่าการซื้อขายของคุณได้เสร็จสิ้นแล้วรอโอกาสต่อไปในการทำกำไร หากเทรดเดอร์ทำการขยายจุดขาดทุน มันก็ไม่เกิดประโยชน์และเทรดเดอร์ไม่ควรทำแบบนั้น ซึ่งมันเท่ากับว่าคุณก็ไม่ได้ใช้ Stop loss ให้ทำงานกับคุณจริงๆ
เพียง 3 ข้อนี้เป็นกฎที่เข้าใจง่ายหากเทรดเดอร์นำไปปรับปรุงใช้และปฎิบัติได้จริงก็จะสามารถส่งผลดีต่อพอร์ตการซื้อขายของเทรดเดอร์ได้ดีทีเดียว
ทำไมเราถึงกลัวการ Stop Loss
เทรดเดอร์หลายคนยอมถือออเดอร์ที่ติดลบ และยอมให้ออเดอร์ที่ติดลบไม่กี่ออเดอร์ ลากพอร์ตลงทุนของเราลงไปจนสร้างความเสียหายให้พอร์ตลงทุนของเราได้ บางครั้งอาจจะถึง พอร์ต Forex แตก เลยทีเดียว แต่กลับทำใจยอม Stop Loss ไม่ได้
จริงๆ แล้ว สาเหตุเหล่านี้ มีเหตุผลทางจิตวิทยาอธิบายเอาไว้ ว่ามนุษย์เรากลัวความสูญเสียเป็นอย่างมาก เมื่อมีการขาดทุนเกิดขึ้น มนุษย์เรามักจะแกล้งทำเป็นไม่สนใจ เขาจะพยายามหลีกเลี่ยงทุกอย่างที่ทำให้เขาสูญเสียในตอนนั้น เช่น การตัดใจ Stop Loss เป็นต้น เหตุผลทางจิตวิทยานี้คือ Loss Aversion
เข้าใจ Loss Aversion
ผลวิจัยเผยว่า การสูญเสียทรงพลังกว่าการได้รับถึง 2 เท่า จึงทำให้คนเรามองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน และทำให้เราอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์มากกว่าคำชม Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และ Amos Tversky ที่เป็นผู้ช่วยของแดเนล ทั้งสองช่วยกันทำการวิจัย และนิยามทฤษฎีนี้
โดยให้เหตุผลที่เรียบง่ายว่า “คนเราเกลียดการสูญเสียมากกว่าดีใจกับการได้มา” หรือจะให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือ คนเราให้ค่าความทุกข์มากกว่าความสุข ที่เป็นเช่นนี้เพราะ คนเรา “ยึดติด” กับสิ่งของที่เรามี โดยเฉพาะถ้าสิ่งของนั้นเราเป็นคนทุ่มแรงสร้างมันมากับมือ เสียแรง-เสียเงิน-เสียเวลา เราจะยิ่งเสียมันไปได้ยากยิ่งขึ้น
ให้ภาพอธิบาย หากคุณหาเงินได้มา 100 $ คุณรู้สึกก็ดีใจน่ะ- ก็ดี – ก็ไม่ได้แย่ แต่เวลาเสียไป 100 $ เสียใจแบบจะเป็นจะตาย ทำไมเราจึง “หลีกเลี่ยงการสูญเสีย” ? เรื่องนี้เป็นนิสัยที่สืบทอดกันมาผ่าน DNA จากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ย้อนกลับไปสมัยก่อนความเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคโบราณนั้นเปราะบางมาก
ความผิดพลาดแบบโง่เขลาเพียงครั้งเดียว อาจนำความตายมาสู่ชีวิตได้ทันที (ยกตัวอย่างเช่นคุณพลาดไปกินผลไม้พิษ วิ่งสะดุดล้มระหว่างหนีเสือ ก็ทำให้คุณตายได้ในทันที มันจึงทำให้มนุษย์กลัวการที่จะสูญเสีย)
คนที่รอดชีวิตคือคนที่ระมัดระวังภัย คนกลุ่มนี้จะรอบคอบสุดๆ มักไม่เอาตัวเองไปเสี่ยงอันตราย จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียทุกรูปแบบ ความกลัวจึงกลายมาเป็นสันชาตญาณที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตรอดอยู่ได้ นอกจากนี้วัฒนธรรมยังมีส่วนในการเพิ่มความกลัวใน Loss Aversion
เพราะว่าถ้าหากตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว นอกจากตัวเองจะรู้สึกแย่แล้วยังโดนกระแสคนรอบข้างหรือสังคมซ้ำเติมอีก
โดยรวมแล้วมีอยู่ 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้มนุษย์ “หลีกเลี่ยงการสูญเสีย”
- การทำงานของระบบประสาท
- สถานะทางสังคม
- วัฒนธรรม
แต่ละคนมีมากมีน้อยแตกต่างกันไป ตามปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น
นอกจากนี้ มีการทดลองหนึ่ง แจกโบรชัวร์ 2 แบบให้ผู้ป่วย 2 กลุ่ม เกี่ยวกับการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง (Breast Self-Examination หรือ BSE)
- กลุ่มแรก ได้โบรชัวร์แบบที่ 1 เขียนว่า ผู้หญิงที่ตรวจ BSE มีโอกาสสูงขึ้นมากที่จะตรวจเจอ และจะสามารถรักษาหายได้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ และจะไม่เป็นหนัก
- กลุ่มที่สอง ได้โบรชัวร์แบบที่ 2 เขียนว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้ตรวจ BSE มีโอกาสน้อยมากที่จะตรวจเจอและและมีโอกาสน้อยมากที่จะรักษาหายได้ทันท่วงที มีโอกาสป่วยหนัก
การติดตามสัมภาษณ์หลังจากนั้นพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่สอง มีการตื่นตัวรับรู้ถึง BSE สูงกว่ากลุ่มแรก แบบมีนัยยะสำคัญ แม้ทั้ง 2 โบรชัวร์เหมือนกัน แต่การเปลี่ยนข้อความ “เน้นย้ำถึงการสูญเสีย” กลับได้ผลกระทบที่สูงกว่า
ผลการทดลอง Loss Aversion
มีกล่องจับฉลาก 2 กล่องให้เลือก
- กล่องแรก: ได้เงิน 5,000 บาทชัวร์ๆ
- กล่องที่สอง: อาจจะได้เงิน 20,000 บาท หรือ ไม่ได้อะไรเลย
คนส่วนใหญ่จะเลือกกล่องแรก เพราะเขายอมได้น้อย ดีกว่าที่ต้องมารู้สึกเสียดาย ที่จับรางวัลมาแล้ว ปรากฏว่าเขาไม่ได้อะไรเลย
กลับสู่หน้าหลัก uhas
ไปอ่านบทความ เข้าเทรด forex
Tags:
Author: