บทเรียนเทรดเดอร์ วิกฤตฟองสบู่แตก ครั้งแรกของโลก จากการเก็งกำไรของคน

เรื่องPatihanUhas

วิกฤตฟองสบู่แตก

วิกฤตดอกทิวลิปถือว่าเป็นฟองสบู่ครั้งแรกของโลกที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 -17 โดยเกิดจากเก็งกำไร “หัวทิวลิป” อย่างไร้เหตุผลในฮอลแลนด์ หรืออีกชื่อก็คือเนเธอร์แลนด์

 

อาจจะมีบางคนที่สับสนว่าฮอลแลนด์กับเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเดียวกันไหม ?  คำตอบก็คือ..ใช่ (แล้วแต่คนจะเรียกขาน ขึ้นอยู่ที่ว่าเขาเหล่านั้นคุ้นชินกับคำไหน)

 

ที่มาของฮอลแลนด์และเนเธอร์แลนด์

  • ฮอลแลนด์เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะมีลักษณะภูมิประเทศติดกับทะเล ทำให้เป็นเมืองท่าสำคัญในการทำการค้ากับประเทศอื่น ดังนั้นเมื่อประเทศคู่ค้ามาติดต่อค้าขายก็จะติดเรียกชื่อฮอลแลนด์ที่เป็นชื่อจังหวัด จนกลายเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากของคนทั่วไป
  • ในส่วนของคำว่าเนเธอร์แลนด์ มีรากศัพท์มาจาก Neder มีความหมายว่า ต่ำ เหตุที่กลายมาเป็นชื่อประเทศ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะพื้นดินที่ค่อนข้างต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
  • ในปี 2020 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้มีประกาศว่าจะหยุดให้เรียกชื่อประเทศว่าฮอลแลนด์แล้ว โดยจะให้เรียกว่า เนเธอร์แลนด์ เพียงชื่อเดียว เพราะว่ารัฐต้องการที่จะ Rebrand หรือปรับภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อเป้าหมายในการโปรโมทการท่องเที่ยว

 

วิกฤตคลั่งดอกทิวลิปคืออะไร?

“วิกฤตคลั่งดอกทิวลิป” (Tulip Mania)  หรือ “วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป” (The Dutch Tuplip Mania Bubble) คือภาวะฟองสบู่ทางการเงินครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกในศตวรรษที่ 16-17 ที่ยุโรป ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของดัตช์ (Dutch Golden Age) ซึ่งเป็นยุคที่มีความเจริญทางการค้าขาย เศรษฐกิจเฟื่องฟู อัตราดอกเบี้ยต่ำและอัตราการรู้หนังสือสูง วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า และศิลปะกว้างไกลเลื่องลือไปทั่วโลก จิตรกรของสมัยนี้สร้างแบบฉบับการเขียนงานจิตรกรรม และ ทิ้งอิทธิพลงานที่เป็นอนุสรณ์ต่อนักเขียนภาพรุ่นต่อมาเป็นอันมาก

 

ช่วงยุคทองของดัตช์มาจากการค้าขายทางเรือ (บริษัท Dutch East India)

ประเทศเนเธอแลนด์ประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรครั้งใหญ่ ในช่วงสงครามเพื่อความเป็นอิสรภาพจากสเปน ซึ่งเริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1560 และดำเนินต่อไปจนถึงช่วงทศวรรษ 1600 ในช่วงเวลานี้พ่อค้ามาถึงเมืองท่าต่างๆ เช่น อัมสเตอร์ดัม ฮาร์เลม และเดลฟต์ และก่อตั้งกลุ่มการค้าขาย รวมถึงบริษัท Dutch East India ที่มีชื่อเสียง

 

การเปิดกว้างของการค้าและการระดมทุนของบริษัท Dutch East India นำความมั่งคั่งมหาศาลมาสู่เนเธอร์แลนด์แม้จะเกิดสงครามก็ตาม ส่งผลให้บริษัท Dutch East Indiaมีอำนาจเท่ากับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

 

เนเธอร์แลนด์ปกครองไปด้วยกลุ่มพ่อค้าหรือนักธุรกิจหัวการค้าที่มั่งคั่ง แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ถูกปกครองโดยขุนนางชั้นผู้ใหญ่  ดังนั้นในเนเธอร์แลนด์ถือว่าเป็นดินแดนอิสระในศตวรรษที่ 17 โครงสร้างสังคมของเนเธอร์แลนด์ถูกกำหนดด้วยรายได้เป็นหลัก ผู้ครองที่ดินและนักบวช มีความสำคัญหรืออิทธิพลน้อยกว่าชนชั้นพ่อค้าที่มีบทบาทโดดเด่นมากในสังคมชาวดัตช์

 

พ่อค้าที่ร่ำรวยมุ่งสู่การขยายอำนาจด้วยการซื้อที่ดินให้อยู่ในครอบครอง  ส่วนชนชั้นสูงหรือขุนนางเก่าปะปนอยู่กับชนชั้นอื่นๆในสังคม ด้วยการแต่งงานกับพ่อค้าที่มั่งคั่ง หรือผันตัวมาเป็นพ่อค้าเองหรือรับราชการทหารแทน พ่อค้าเริ่มหันมาทำมีส่วนร่วมกับสังคมเพื่อเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจและยกระดับฐานะตัวเอง

 

เมื่อตระกูลขุนนางเก่าเริ่มกลายเป็นชนชั้นกลาง ข้าราชการถูกมองเป็นชนชั้นที่รองลงมาในสังคม ส่วนแรงงานไร้ฝีมือ แม่บ้าน บริกร กะลาสี หรือกลุ่มอื่นๆเป็นกลุ่มชนชั้นรากหญ้าในสังคม อย่างไรก็ตาม แรงงานในเนเธอร์แลนด์ก็ยังได้รับค่าจ้างที่สูงกว่าที่อื่นในยุโรปและมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีกว่าแม้จะเสียภาษีมากกว่าปกติ

 

ในศตวรรษที่ 16 สุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ได้มอบดอกทิวลิปให้เป็นของขวัญแด่กษัตริย์แห่งฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์) และหลังจากนั้นทิวลิปได้กระจัดกระจายไปในยุโรปชาติอื่นๆ ทำให้ชาวยุโรปได้รู้จักกับดอกไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรก

 

ด้วยความเป็นสินค้าที่หายาก ดอกทิวลิปจึงได้กลายมาเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยอย่างรวดเร็วและเป็นสิ่งที่เป็น Status symbol (สัญลักษณ์แสดงฐานะ) ของผู้เป็นเจ้า คนที่มีเงินต้องการซื้อดอกทิวลิปเพื่อแสดงถึงฐานะความร่ำรวย ทำให้เกิดความนิยมในการแสวงหาหัวทิวลิปมาเป็นเจ้าของกันเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาทิวลิปสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ

 

เหตุการณ์ Tulip Mania ได้เกิดขึ้นในช่วงปลายของยุคทอง เกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขายหัวทิวลิปสายพันธุ์ใหม่กันอย่างสูงผิดปกติจนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลันในเดือนกุมภาพันธ์ 1637 ถือกันว่าเป็นเหตุการณ์แรกของ ภาวะฟองสบู่จากการเก็งกำไร

 

ผู้คนจำนวนมากแทบต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ใบสัญญาซื้อทิวลิปที่แลกมาด้วยราคาสูงลิบลิ่ว กลับกลายเป็นแค่เศษกระดาษเปล่าๆ ขณะที่ดอกทิวลิป ก็กลายเป็นแค่ดอกไม้ธรรมดาในที่สุด

 

6 ภาพวาด ที่แสดงถึงยุคทองของดัตช์  roselinde.me/amsterdam-golden-age-painting

 

ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึงภัยอันตรายของตลาดเสรีที่ได้มาจากบทเรียนจากวิกฤตคลั่งดอกทิวลิปในทศวรรตที่ 17

 

ประวัติศาสตร์ของดอกทิวลิป

ก่อนที่จะกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเนเธอแลนด์

ทิวลิป ดอกไม้ก้านยาวรูปทรงน่ารัก ทั้งยังสวยสดด้วยสีสันโทนร้อน เป็นดอกไม้ที่ทำให้ใคร ๆ ต่างก็นึกถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ที่จริงแล้วทิวลิปเป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากเอเชียกลาง เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของประเทศตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน เชื่อกันว่าชื่อ ทิวลิป มาจากคำว่า Turban หรือผ้าโพกหัวในภาษาเปอร์เซีย เนื่องจากลักษณะของดอกทิวลิปที่มีความโค้งมนคล้ายกับผ้าโพกหัว

 

ในอดีตดอกทิวลิปโตตามแถบเทือกเขาเทียนซาน หรือเทือกเขาสวรรค์ และเริ่มมีการเพาะพันธุ์ในจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วงศตวรรษที่ 10 ก่อนจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำจักรวรรดิออตโตมัน ทิวลิปปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุต่าง ๆ รวมถึงในวรรณคดีเปอร์เซียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ ถึงแม้จะมีต้นกำเนิดจากแถบเอเชียกลาง แต่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ดอกทิวลิปได้ถูกนำไปเผยแพร่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป รวมถึงประเทศฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์) จนนำไปสู่วิกฤติฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ”Tulip Mania” ที่โด่งดัง จนทำให้ทิวลิปกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเนเธอร์แลนด์

 

ประวัติศาสตร์ของดอกทิวลิป (โดยละเอียด)

ภาพจาก The Tulip Folly Wikimedia Commons

 

ทิวลิปไม่มีต้นกำเนิดมาจากยุโรป แต่มีถิ่นกำเนิดมาจากเทือกเขา Tien Shan เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างจีนและคีร์กีซสถานและคาซัคสถาน บนเส้นทานสายไหม

 

ทิวลิปสามาอยู่ได้ภายใต้หิมะในฤดูหนาว ดอกไม้ชนดนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายโดยการขุดหัวหรือเหง้าของมันที่ฝังอยู่ในใต้ดิน

 

ทิวลิปแห่งเทียนซาน http://www.greentours.co.uk/Gallery/Asia/Tulips-of-the-Tien-Shan/3/

 

บนเส้นทางสายไหมคือที่เชื่อมโลกตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน การค้าบนเส้นทางสายไหมเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ความงามของดอทิวลิปได้เตะตาพ่อค้าชาวเปอร์เซีย เขาจึงได้ขุดหัวดอกทิวลิปและนำมันกลับไปยัง Persia หลังจากนั้น ดอกทิวลิก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความงามและความรักที่โรแมนติก

 

ในศตวรรษที่ 10  ทิวลิปก็แพร่สายพันธ์ไปยังออตโตมันหรือตรุกีในปัจจุบัน ต่อมาช่วงศตวรรษที่ 12 อาณาจักรอานาโตเลียนเซลจุกเรืองอำนาจ ผ่านการปกครองแบบศักดินา ดอกทิวลิปถูกนำมาใช้ออกแบบ เพื่อการตกแต่งและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับ เพราะว่าพวกเขามองว่าดอกทิวลิปเป็นสัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์บนแดนดิน ดอกทิวลิปจึงแฝงอยู่ในบทกวีและผลงานศิลปะ

 

Mevlâna หรือ Rumi

ภาพจาก https://th.wikipedia.org

 

ในศตวรรษที่ 13 Mevlâna หรือ Rumi เป็นกวีคนแรกที่กล่าวถึงดอกทิวลิปแห่งอานาโตเลียเอาไว้ในกลอน ในบทกลอนนั้นกล่าวว่า “สีดำแห่งความลับของดอกทิวลิปในสวน แสดงออกมาเป็นสีแดงแห่งความสุข ที่ปรากฏอยู่ภายนอก” รวมถึง “การเบ่งบานเป็นรอยยิ้มที่น่าเศร้าที่สุด” เพราะเมื่อดอกทิวลิปบาน มันก็จะไม่สดอีกต่อไปและเริ่มจะร่วงโรย

 

ภาพจาก Fatih Sultan Mehmet insideoutinistanbul.com

 

จนถึงศตวรรษที่ 15 สุลต่านเมห์เม็ดที่ 2(Mehmed II ,Fatih Sultan Mehmet) แห่งจักรวรรดิออตโตมัน เป็นสุลต่านผู้ปกครองอาณาจักรออตโตมันในสมัยศตวรรษที่ 15 และพระองค์ก็ทรงเก่งกาจ เกรียงไกรจนได้รับสมัญญาว่า “เมห์เหม็ดผู้พิชิต (Mehmed the Conqueror)”พระองค์สามารถนำทหารบุกเข้ายึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลและถล่มอาณาจักรไบแซนไทน์จนราบคาบ

 

สุลต่านเมห์เม็ดที่ 2ได้โปรดปราญดอกทิวลิปเป็นอย่างมาก จึงได้สั่งให้ปลูกดอกทิวลิปเพื่อตกแต่งภายในเขตพระราชวังเพื่อชื่มชมในยามที่ดอกทิวลิปนั้นเบ่งบาน สวนทิวลิปขนาดใหญ่มีคนงานดูแลสวนถึง 920 คนในตอนนั้น และในที่สุดดอกทิวลิปก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของจักวรรดิออตโตมัน

 

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ที่ถึงขั้นถือว่าเป็นยุคทองของดอกทิวลิปเลยก็ว่าได้ จนได้ชื่อว่าเป็น ‘Age of Tulip’ หรือ ‘Tulip Era’ งานนิทรรศการดอกทิวลิปก็เริ่มถูกจัดขึ้น โดยในอาณาจักรตุรกี ณ ขณะนั้นได้มีการตั้งกฏขึ้นมาเลยว่าการขโมยหรือซื้อขายทิวลิปนอกเมืองหลวงนั้นถือเป็นความผิดทางอาญา และการลงโทษก็รุนแรงถึงขั้นต้องถูกเนรเทศให้ออกนอกเมืองหรือนอกประเทศไปเลยทีเดียว

 

การเดินทางของดอกทิวลิปเข้าสู่ยุโรป

(Tulip Mania วิกฤติคลั่งดอกทิวลิป เกิดการปั่นราคา คนยอมขายบ้าน-ที่ดิน เพื่อกับแลกดอกทิวลิป)

 

มูลค่าของสินค้าขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อผู้ขาย อย่างไรก็ตามหากสินค้าเป็นที่ต้องการอย่างมาก ราคาของสินค้าก็อาจจะทะยานสูงขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ความต้องการดังกล่าวมาจากมูลค่าของสินค้าจริงๆ หรือมาจากการปั่นราคากันแน่ เรามาถอดตัวอย่างจากวิกฤติการณ์คลั่งดอกทิวลิปกัน

 

ย้อนกลับไปเมื่อยุค 1600 สมัยนั้นยุโรปไม่มีดอกทิวลิป เพราะมันเป็นพืชของแถบตะวันออกกลาง เช่น อิรัก ตุรกี และดินแดนใกล้เคียง

 

การเดินทางของดอกทิวลิปเข้าสู่ยุโรปมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน

  1. ตามประวัติศาสตร์ คาดว่าสุลต่านแห่งตุรกี ส่งมอบหัวทิวลิปไปยังยุโรปในยุคนั้น จนดอกไม้ชนิดนี้ได้รับความนิยมไปทั่ว โดยเฉพาะในเนเธอร์แลนด์และที่พิเศษก็คือมันขึ้นได้ดีกับสภาพแวดล้อมในประเทศเนเธอร์แลนด์
  2. คาโรลูส คลูซิอูส (Carolus Clusius)นักชีววิทยา ในปีคริสต์ศักราช 1590 นักชีววิทยาคาโรลูสได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการของสวนพฤกษาศาตร์ Hortus Botanicus Leiden เมือง Leiden ประเทศเนเธอร์แลนด์ สวนพฤกษาศาตร์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปีคริสต์ศักราช 1587 โดยเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย Leiden และถือได้ว่าเป็นสวนพฤกษาศาตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป

 

โดยเริ่มแรกของการเดินทางของดอกทิวลิปมายังเนเธอร์แลนด์นั่น ก็เพื่อจุดประสงค์งานวิจัยพืชพันธุ์ทางการแพทย์และยา ซึ่งนักชีววิทยาคาโรลูสได้ทำงานในส่วนนี้โดยเฉพาะ และเพื่อนของเค้าที่ชื่อว่า Ogier Ghiselain de Busbecq ซึ่งเป็นชาวตุรกี และเป็นทูตของเมืองคอนสแตนทิโนเปิลในขณะนั้น (อิสตันบูลในปัจจุบัน) เป็นผู้ที่ส่งหัวของต้นทิวลิปมาให้คาโรลูสได้ทดลองปลูกในสวนของเค้าเพื่อทำงานวิจัย

 

ในช่วงปี ค.ศ. 1600-1700 เป็นช่วงยุคทองของดัช เศรษฐกิจรุ่งเรือง คนรวยเดินกันเพียบ ในเมื่อคนรวยเยอะขนาดนี้ก็ต้องมีสิ่งของฟุ่มเฟื่อยกันบ้าง และแล้วประจวบเหมาะ ดอกทิวลิปก็เข้ามาในช่วงนั่นพอดี ซึ่งดอกทิวลิปไม่ใช่พืชพื้นเมืองยุโรป มันจึงดูสวยงามแปลกตา ทำให้ในสมัยนั้นถ้าใครมีดอกทิวลิป ถือว่า เป็นไฮโซ

 

เนื่องจากดอกทิวลิปเป็นของหายาก คนสมัยนั้นจึงนิยมใช้มันเป็นเครื่องแสดงฐานะ พูดง่ายๆ คือสวนบ้านใครมีดอกทิวลิป คนนั้นคือคนรวย

 

หากเป็นดอกทิวลิปสีพื้น ราคาอาจไม่มากเท่าไหร่ แต่หากเป็นดอกทิวลิปที่มีริ้วสีหรือลวดลายแทรกเช่น สีเหลืองอมแดง สีขาวอมม่วง ถูกยกระดับให้กลายเป็น “แรร์ไอเท็ม” หรือของหายากที่มีราคาสูง เหล่านี้เรียกว่า Broken Bulbs ซึ่งทำให้ราคาสามารถพุ่งสูงไปถึง 5,000 ฟรอลินส์ หรือคิดคร่าว ๆ เท่ากับประมาณ 750,000 เหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว

 

สายพันธุ์ Semper Augustus มีมูลค่ามหาศาล โดยหัวเดียวขายได้ 3000 กิลเดอร์ขึ้นไป (ประมาณ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปัจจุบัน) https://www.virology.ws/2012/03/14/tulips-broken-by-viruses/

 

Broken Tulip หรือทิวลิปแตกสี มีลวดลายแปลกตาเป็นลายเส้น ลายกลีบโดยการแตกสีดังกล่าวเกิดจากต้นทิวลิปที่ติดเชื้อไวรัส Mosaic Virus ซึ่งการขยายพันธ์และคัดพันธ์ดังกล่าวจะสามารถทำได้จากการแตกหน่อเท่านั้นทำให้การผลิตของทิวลิปแตกสีทำได้ช้ามาก

 

ดอกทิวลิป Semper Augustus ถือเป็นดอกทิวลิปที่สวยที่สุดในยุคนั้น ราคาของมันมีมูลค่าสูงสุดถึง 5,500 fl. มีมูลค่าเทียบเท่าในทองคำเท่ากับ 178,200 ดอลลาร์ (ประเมินที่ 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

https://penelope.uchicago.edu/~grout/encyclopaedia_romana/aconite/semperaugustus.html#:~:text=The%20Semper%20Augustus%20that%20purportedly,would%20have%20been%20much%20greater.

 

ทำไมทิวลิปจึงมีราคาแพง ?

นอกจากจะเป็นดอกไม้ที่สวยดูแพง อีกทั้งยังเป็นสินค้านำเข้าและยังเป็นพืชที่ต้องใช้เวลาในการปลูกอีกด้วย

 

หัวทิวลิป

 

ทิวลิปเป็นดอกไม้ที่ปลูกจากหัว ที่เมื่อมองจากภายนอกจะดูคล้ายหัวหอมสีขาวนม ที่ดูเหมือนไม่มีกลีบเหมือนหัวหอมธรรมดา การปลูกสามารถทำได้จากการเพาะเมล็ด หรือการปลูกจากหน่อที่แตกออกจากหัวแม่ แต่ถ้าปลูกจากเมล็ดก็จะใช้เวลาประมาณระหว่าง 7 ถึง 12 ปีจึงจะได้ดอก

 

เมื่อหัวเจริญเติบโตขึ้นเป็นดอก หัวเดิมก็จะตายไปและจะมีหัวใหม่โตขึ้นมาแทนที่ และหน่อเล็กๆ ถ้าปลูกอย่างถูกต้องแล้วหน่อเล็กนี้ก็จะโตขึ้นมาเป็นหัวใหม่ต่างหากแต่ไวรัสที่ทำให้ดอกแตกสีแพร่ขยายได้ด้วยการปลูกจากหน่อเท่านั้นไม่ใช่ด้วยเมล็ด ฉะนั้นการที่จะเพาะสายพันธุ์ใหม่ได้จึงใช้เวลาหลายปี และยิ่งช้าลงถ้ามีไวรัส

 

ดอกทิวลิปแต่ละชนิดก็จะบานอยู่เพียงอาทิตย์เดียว ราวระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมก่อนที่จะโรย หลังจากนั้นก็จะมีหน่อเล็กๆ แตกขึ้นมา สามารถขุดและย้ายหัวได้ตั้งแต่ราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน

 

มีข่าวที่โด่งดังมากในช่วงนั้น ว่ามีกะลาสีเรือคนหนึ่งเขาคิดว่าหัวทิวลิปคือหัวหอมเขาจึงได้กินมันพร้อมกับแซนด์วิชปลาเฮอริ่ง นั้นคือความผิดอันร้ายแรงเป็นเหตุทำให้ชายกะลาสีเรือถูกตั้งข้อหาอาชญากรและถูกจำคุก (เห็นว่าคนในยุคนั้นให้คุณค่าแก่ดอกทิวลิปเป็นอย่างมาก)

 

การเก็งกำไรหรือปั่นราคาในดอกทิวลิป

ในปี1634 แรงผลักดันราคาทิวลิปที่ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของทิวลิปในฝรั่งเศส ก็เริ่มทำให้มีผู้เก็งกำไรเข้ามามีบทบาทในตลาด ทำให้พ่อค้าชาวดัตช์ก็เริ่มก่อตั้งตลาดการซื้อขายล่วงหน้าที่สัญญาการซื้อหัวทิวลิปเมื่อสิ้นฤดูสามารถนำมาซื้อขายกันในตลาดได้ ผู้ค้าขายจะพบกันใน “colleges” ในโรงเหล้า โดยผู้ซื้อต้องจ่าย “ค่าธรรมเนียมไวน์” 2.5% ซึ่งอาจสูงถึง 3 โฟลรินต่อหนึ่งสัญญาและทำให้ราคาของหน่อทิวลิปแตกสีกระโดดสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อราคาสูงขึ้นจึงมีการซื้อขายสัญญาจองซื้อหน่อทิวลิปเป็นทอดๆ

 

ภาพจาก seekingalpha.com/article/4132684-real-tulip-mania-looked-nothing-like-bitcoin

 

นอกจากราคาดอกทิวลิปแตกสีแล้ว ราคาของดอกทิวลิปธรรมดาเองก็แพงตามไปด้วย ว่ากันว่าในช่วงที่ผู้คนกำลังคลั่งดอกทิวลิปอย่างถึงที่สุด มูลค่าของหน่อทิวลิปหน่อเดียวสามารถแลกได้กับที่ดีขนาด 12 เอเคอร์ (30 ไร่) กันเลยทีเดียว หรือบางครั้งอาจจะต้องแลกเปลี่ยนด้วยสินค้าทางการเกษตรและเครื่องไม้อย่างดีเป็นจำนวนมาก

 

หัวทิวลิปจะมีขายเฉพาะเดือนกันยายน หลังดอกเหี่ยวแห้งแล้ว แต่ความต้องการซื้อมันมีทั้งปี ทีนี้จะทำยังไง!?

มันจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า “การทำสัญญาซื้อขายหัวทิวลิปล่วงหน้า” สัญญานี้ก็อธิบายง่ายๆ ประมาณว่า.. ทำสัญญากันไว้ตอนต้นปี พอเดือนกันยายนก็ส่งมอบหัวทิวลิปกัน ไม่มีอะไรซับซ้อน

 

แต่..เพราะความโลภของมนุษย์

 

จากสัญญาที่ทำกันไว้ระหว่างสองฝ่าย แทนที่จะจบลงแค่นั้น ก็เกิดการซื้อขาย “ใบกระดาษสัญญา” เพื่อทำกำไร บ้างก็ซื้อสัญญาที่ถูกกว่า ไปขายแพงขึ้น เพราะคาดคะเนว่าหัวทิวลิปจะราคาสูงขึ้นเมื่อถึงปลายปี

 

หรือบางคนก็มีถึงขั้นเอาไปเก็งพนันกันว่าทิวลิปสวนนี้จะเป็นหัวที่มีสีแซม ปลูกเป็นดอกได้ราคาดี หัวที่ถูกเก็งนั้นก็จะมีราคาสูงไปอีก แรกเริ่มเดิมทีนั้น การเก็งกำไรนี้เกิดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัมก่อน…จากนั้นจึงแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ประเทศ เท่านั้นยังไม่พอ มีการเก็งกำไรแบบนี้ในฝรั่งเศส อังกฤษ ซึ่งตลาดก็ไม่ได้พลุกพล่านและมีราคาสูงเท่าที่เนเธอร์แลนด์ พอมีการเก็งกำไรเยอะขึ้น ตอนนี้มันไม่ได้แค่เพียงกลุ่มนายทุนมาเก็งกำไรเท่านั้น

 

แม้แต่ชาวบ้านที่ไม่มีกระทั่งหัวทิวลิป หรือมีเงินไม่พอ ก็นำตัวเลขราคาของหัวทิวลิปไปเก็งกำไรกันเฉยๆ ก็มี

 

https://www.history.com/news/tulip-mania-financial-crash-holland ดัชนีราคามาตรฐานสำหรับสัญญาค้าขายหัวทิวลิปที่สร้างโดย Thompson 2007, p. 101 ทอมสันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับราคาระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ – 1 พฤษภาคม ฉะนั้นลักษณะของการหดตัวลงจึงไม่เป็นที่ทราบแต่แม้จะไม่ทราบรูปแบบของการตกของราคาที่ถูกต้อง แต่ที่ทราบคือตลาดทิวลิปหดตัวอย่างเฉียบพลัน

 

  • ปี 1634 ราคาของหัวทิวลิปอยู่ที่ประมาณ 1 กิลเดอร์
  • ปี 1635 ราคาหัวทิวลิปพุ่งขึ้นไปถึง 25-40 กิลเดอร์ สูงกว่าเดิม 40 เท่า!!
  • ปลายปี 1636 หัวทิวลิปบางหัวอาจจะมีราคาสูงถึง 100-150 กิลเดอร์
  • ต้นปี 1637 หัวทิวลิปที่ถูกเก็งว่าราคาแพง พุ่งสูงถึง 200 กิลเดอร์

 

บางคนเห็นทิวลิปพุ่งขึ้นไปจาก 25 เป็น 40 กิลเดอร์ เขาก็คิดว่าราคาคงจะพุ่งไปอีก ถึงขั้นไปกู้ยืมเงินมาซื้อสัญญาหัวทิวลิป และขายต่อได้กำไรงาม บางคนถึงกับกู้เงิน บางคนขายที่เพื่อที่จะมาเก็งกำไรในหัวดอกทิวลิป

 

การขายดอกทิวลิปในลักษณะเก็งกำไรแต่ความต้องการที่แท้จริงของดอกทิวลิปอาจจะไม่ได้สูงตามนั้นจะยังคงดำเนินต่อไปได้หากมีผู้เก็งกำไรเข้ามารับซื้อต่อกันไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อราคามันสูงเกิดจริงจนดูเหมือนจะไม่มีเหตุผล ตลอดปี1636 ราคาสัญญาของหัวทิวลิปที่หายากก็ยังคงถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนพฤศจิกายน ราคาสัญญาทิวลิปธรรมดาที่ไม่แตกสีก็เริ่มสูงตามขึ้นไปด้วย ดัตช์เรียกสัญญาการซื้อขายทิวลิปว่า “windhandel” ซึ่งหมายถึง “การซื้อขายลม”

 

การซื้อขายก็หยุดลงในเดือนกุมภาพันธ์ 1637 เมื่อไม่มีใครบ้าพอจะเข้าซื้อดอกทิวลิปราคาเท่าบ้านอีกต่อไป ประกอบกับเกิดภาวะโรคระบาดกาฬโรคทั่วยุโรปทำให้เกิดปัญญาฟองสบู่ดอกทิวลิปแตกขึ้น เพราะสุดท้ายนักเพาะทิวลิปก็ขายทิวลิปตามสัญญาเป็นทอดๆ และผู้ซื้อคนสุดท้ายได้แค่หน่อทิวลิปในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงหลายสิบเท่า จากราคาที่สูงถึง 200 กิลเดอร์ ในช่วงต้นปี 1637 พอถึงเดือนพฤษภาคม ราคาหัวทิวลิปลดลงไปสู่จุดเริ่มแรกที่ 1-2 กิลเดอร์ ภายในเวลาไม่ถึงครึ่งปี

 

กลายเป็นความวิตกที่ส่งต่อกันเป็นลูกโซ่ เมื่อสัญญา 1 ฉบับขายไม่ออก ผู้คนต่างกังวล บางคนเอาสัญญาตัวเองมาขายในราคาที่ถูกลง และนั่นก็คล้ายกับการเทขายในตลาดหุ้นในช่วงวิกฤติ นั่นทำให้ราคาของมันย่ำแย่ไปอีก

 

เมื่อเห็นว่ามีคนเอาสัญญามาขายถูกลง มันก็จะมีทั้งคนที่รับซื้อเพราะคิดว่าเดี๋ยวคงขึ้นไปอีก กับคนที่พยายามขายเพราะกลัวมันตกลงไปมากๆปรากฏว่าฝ่ายหลังมีมากกว่า และมันก็เหมือนกับวิกฤติการเงินหลายๆ ครั้ง ราคาดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เพราะทุกคนอยากจะขาย แต่ไม่มีใครอยากซื้อ

 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกขึ้น ทางผู้ซื้อผู้ขายก็พยายามที่จะร้องขอให้ทางรัฐบาลเนเธอร์แลนช่วยเหลือ แม้จะมีมาตรการต่างๆ ออกมาแต่ก็ช่วยเหลือไม่ได้มากนักเนื่องจากสัญญาหลายๆ อย่างเป็นสัญญาระหว่างบุคคลไม่ใช่สัญญาที่ทำกับตลาดหลักทรัพย์และศาลเองก็มองว่ามีความคล้ายคลึงกับการพนันทำให้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้

 

ภาพวาดล้อเลียนเหตุการณ์ความคลั่งทิวลิป by Jan Brueghel the Younger /Frans Hals Museum

 

ปัญหานี้ไม่ได้กระทบเฉพาะเศรษฐกิจของอัมสเตอร์ดัมเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงเมืองเล็กเมืองน้อย ฝรั่งเศส อังกฤษ และระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกันในยุโรป แต่ไม่มีที่ใดเลวร้ายไปกว่าเนเธอร์แลนด์แล้ว ว่ากันว่านั่นคือจุดเริ่มต้นการเสื่อมสลายของ “ยุคทองแห่งดัตช์” และทำให้เศรษฐกิจเนเธอร์แลนด์หยุดนิ่งไปนานหลายปี

 

นอกเหนือจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเหตการณ์วิกฤตดอกทิวลิป ที่มีชื่อเรื่องว่า Tulip Fever ซึ่งสร้างจากนวนิยายโดย Deborah Moggach

 

วิกฤติดอกทิวลิป ถูกบันทึกว่าเป็นวิกฤติการเงินยุคใหม่ครั้งแรกของโลก

และหลังจากนั้น เรามักจะเห็นวิกฤติต่างๆ บนโลก ที่สะท้อนการ “เก็งกำไร” ที่มากเกินควร ทำให้สินทรัพย์บางอย่างมีมูลค่าสูงเกินจะเป็น จนสุดท้ายพอมันสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เวลานั้นก็สายเกินกว่าที่จะทำอะไร

ส่วนคนที่ออกจากวงเก็งกำไรไม่ทัน ต่างสิ้นเนื้อประดาตัว

 

ยกตัวอย่างคร่าวๆ ของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่

  • ศตวรรษที่ 16 ฟองสบู่ดอกทิวลิป
  • ศตวรรษที่17 ฟองสบู่ทะเลใต้ – การเจ๊งหุ้นของนิวตัน
  • ศตวรรษที่ 18 ฟองสบู่รถไฟ
  • ศตวรรษที่ 19 บาบารุ เคอิเค พิษฟองสบู่ญี่ปุ่น
  • ศตวรรษที่ 20 ฟองสบู่ดอทคอม

 

ภาพจาก investopedia.com/articles/personal-finance/062315/five-largest-asset-bubbles-history.asp

 

หลังจากนั้นเราก็จะเห็นได้ว่ามีภาวะฟองสบู่เกิดขึ้นมาตามๆกัน เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเชื่อว่าจะยังคงเกิดขึ้นอยู่ต่อไป ตราบใดที่ “ความโลภ” ยังเป็นของที่อยู่กับ “มนุษย์” นั่นเอง…

 

Source