ตราสารหนี้ คืออะไร ทำไมเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ

เรื่องUhasAuthor

ตราสารหนี้ คืออะไร ทำไมเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ

ในยุคที่ตลาดการลงทุนผันผวนไม่แน่นอน ตราสารหนี้คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่นักลงทุนใช้ เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง ในบทความนี้เราจะพาคุณไปเจาะลึกทุกแง่มุมของตราสารหนี้ โดยจะเริ่มตั้งแต่ ตราสารหนี้ คืออะไร มีกี่ประเภท รวมถึงความเสี่ยงที่ควรรู้ และแนวโน้มในอนาคต เพื่อเป็นแนวทางให้คุณได้เห็นภาพที่ชัดเจน และช่วยทำให้คุณตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

ตราสารหนี้ คืออะไร มีกี่ประเภท 

ตราสารหนี้ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า พันธบัตรรัฐบาล นั้น เปรียบเสมือนสัญญาการกู้ยืมเงินระหว่างผู้ซื้อ (นักลงทุน) กับผู้ขาย (ผู้ออกตราสารหนี้ เช่น รัฐบาล หรือบริษัทเอกชน) ทั้งนี้เมื่อคุณซื้อตราสารหนี้ ก็จะหมายความว่าคุณได้ให้ยืมเงินแก่ผู้ออกตราสารหนี้นั้นไป และในอนาคตผู้ออกจะต้องจ่ายเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยให้กับคุณตามที่ระบุไว้ในสัญญา

ทำความเข้าใจพันธบัตรรัฐบาล คืออะไร

พันธบัตรรัฐบาล เปรียบเสมือนสัญญาที่รัฐบาลทำไว้กับเรา โดยรัฐบาลจะยืมเงินจากเราผ่านการออกพันธบัตร และสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้เราเป็นระยะ ๆ พร้อมกับคืนเงินต้นตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ซึ่งพันธบัตรแต่ละตัวก็จะมีอายุที่แตกต่างกัน ยิ่งอายุมาก ผลตอบแทนก็อาจจะสูงขึ้น แต่ความผันผวนของราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ทำความเข้าใจหุ้นกู้เอกชน คืออะไร 

หุ้นกู้เอกชน คือสัญญาการกู้ยืมเงินเหมือนกับพันธบัตรรัฐบาล แต่ผู้ที่ออกหุ้นกู้จะเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งเมื่อคุณซื้อหุ้นกู้เอกชน ก็จะหมายความว่าคุณกำลังให้ยืมเงินแก่บริษัทนั้น ๆ และบริษัทก็จะจ่ายดอกเบี้ยให้คุณเป็นระยะ ๆ พร้อมกับคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด 

โดยทั่วไปแล้ว หุ้นกู้เอกชนจะให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากมีความเสี่ยงที่สูงกว่าและมีความเสี่ยงที่บริษัทจะผิดนัดชำระหนี้ได้มากกว่า หากบริษัทประสบกับปัญหาทางการเงิน ทั้งนี้ราคาของหุ้นกู้เอกชนอาจจะมีความผันผวนตามสภาพตลาดและผลประกอบการของบริษัท

ตราสารหนี้ระยะสั้น กับ ตราสารหนี้ระยะยาว ต่างกันอย่างไร

ตราสารหนี้ระยะสั้น กับ ตราสารหนี้ระยะยาว ต่างกันอย่างไร

ตราสารหนี้ แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการแบ่งตามระยะเวลา โดยได้แบ่งออกเป็น ตราสารหนี้ระยะสั้น และตราสารหนี้ระยะยาว ทั้งนี้ตามหลักแล้วความแตกต่างของทั้งสองประเภทนี้จะอยู่ที่ อายุของตราสารหนี้ และความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปดังนี้

ตราสารหนี้ระยะสั้น

ตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-term Debt Securities) จะมีอายุการลงทุนค่อนข้างสั้น โดยทั่วไปมักจะไม่เกิน 1 ปี และมีผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย หรือสภาวะเศรษฐกิจ ที่น้อยกว่าตราสารหนี้ระยะยาว นอกจากนี้ยังสามารถนำไปขายแลกเงินสดได้ง่าย เนื่องจากมีตลาดรองรับที่ค่อนข้างใหญ่

ตราสารหนี้ระยะยาว

ตราสารหนี้ระยะยาว (Long-term Debt Securities) จะมีอายุการลงทุนยาวนาน ซึ่งอาจจะ 5 ปี 10 ปี หรือมากกว่านั้นก็ได้ และก็จะมาพร้อมกับความเสี่ยงของปัจจัยภายนอกที่มากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น สำหรับในส่วนของผลตอบแทนนั้นโดยทั่วไปแล้วจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูง

ความเสี่ยงในการลงทุนตราสารหนี้ 

ความเสี่ยงในการลงทุนตราสารหนี้

แม้ว่าการลงทุนในตราสารหนี้จะถือเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงใด ๆ เลย ซึ่งการทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงต่าง ๆ จะช่วยทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น ความเสี่ยงหลัก ๆ ที่พบในการลงทุนตราสารหนี้ ได้แก่

1. ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)

  • เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น : ส่งผลให้ราคาของตราสารหนี้ที่เรามีอยู่จะลดลงไป เนื่องจากนักลงทุนจะหันไปซื้อตราสารหนี้ใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า
  • เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง : ส่งผลให้ราคาของตราสารหนี้ที่เรามีอยู่จะเพิ่มขึ้นทันที เนื่องจากตราสารหนี้ของเรามีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าตราสารหนี้ใหม่

2. ความเสี่ยงจากเครดิต (Credit Risk)

การลงทุนในตราสารหนี้มีความเสี่ยงที่ทั้งบริษัทและรัฐบาลอาจจะจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนเราไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้ หรืออาจจะจ่ายล่าช้าได้ โดยเฉพาะบริษัทที่มีปัญหาทางการเงินหรือมีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่เราจะไม่ได้เงินคืนตามที่คาดหวัง

3. ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง (Liquidity Risk)

ตราสารหนี้บางประเภทมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องต่ำ ซึ่งหมายความว่าหากนักลงทุนต้องการขายตราสารหนี้นั้นก่อนถึงกำหนด อาจจะต้องเผชิญกับความยากลำบากในการหาผู้ซื้อ หรืออาจจะต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ทำให้สูญเสียผลตอบแทนไป

4. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk)

เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ก็จะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เงินที่เราได้รับจากดอกเบี้ยมีมูลค่าน้อยลง กล่าวคือเงินจำนวนเท่าเดิมแต่สามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิม ส่งผลให้อำนาจซื้อของเราลดลงตามไปด้วย

5. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk)

สำหรับตราสารหนี้ที่ออกในสกุลเงินต่างประเทศ ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจะขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งถ้าหากสกุลเงินของประเทศที่ออกตราสารหนี้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินบาท นักลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามไปด้วย แต่หากสกุลเงินอ่อนค่าลง ผลตอบแทนที่ได้รับก็จะลดลงตามไปเช่นกัน

สรุป

ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากมีการรับประกันการชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคงในการลงทุน และด้วยความหลากหลายของตราสารหนี้ จึงทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนที่แตกต่างกันได้ 

ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจนักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุของตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ย และความน่าเชื่อถือของผู้ออก เพื่อเลือกตราสารหนี้ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนให้มากที่สุด และทางเรามีคอร์สสอนเทรดทองคำที่จะมีเทคนิคเทรดทองคำมากมายที่จะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างกำไรให้กับคุณได้ ทางที่ดี คุณควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดก่อนทำการลงทุน