CPI ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับเทรดเดอร์

เรื่องUhasAuthor

1 CPI ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับเทรดเดอร์

สิ่งที่เป็นตัวกำหนดมูลค่าของเงินและแนวโน้มต่าง ๆ ในการลงทุนของเหล่าเทรดเดอร์คือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในวงการการลงทุนจะเรียกว่า ดัชนี CPI มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันว่า ดัชนี CPI คืออะไร และมีประโยชน์กับเหล่าเทรดเดอร์อย่างไรกันบ้าง

 

ดัชนี CPI คืออะไร

2 ดัชนี CPI คืออะไร

ค่าดัชนี CPI ย่อมาจาก Consumer Price Index เป็นตัวเลขที่วัดค่าจากราคาบริโภคของครัวเรือน หรือก็คืออัตราการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในแต่ละช่วงระยะเวลา ซึ่งดัชนี CPI เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักลงทุนทั้งหลายใช้สำหรับวัดอัตราเงินเฟ้อ เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและทิศทางการลงทุน อัตรา CPI สูงขึ้นฉันใด เงินเฟ้อก็มีแนวโน้มที่จะไม่ลดลงฉันนั้น อย่างไรก็ตาม ต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์อีกด้วย

ดัชนี CPI ที่เพิ่มขึ้นหมายถึงอะไร

ดัชนี CPI ที่เพิ่มขึ้นนั้นหมายถึง ประชากรในประเทศมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ภายในประเทศมากขึ้น ความต้องการหรือ demand ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้ค่าสกุลเงินภายในประเทศนั้น ๆ แข็งตัวขึ้นตามมา

ดัชนี CPI ที่ลดลงหมายถึงอะไร

ดัชนี CPI ที่ลดลง หมายถึง ประชากรในประเทศมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ภายในประเทศน้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับข้อดังกล่าว เมื่อความต้องการ demand ลดลง ทำให้เศรษฐกิจเกิดการหดตัว เพราะเศรษฐกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วยการหมุนเวียนของเงิน

ประเภทของ CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะการวัดและการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) : วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการทั้งหมดในตะกร้าสินค้า รวมถึงสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงาน
  • ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) : วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ โดยไม่รวมสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนสูง
  • ดัชนีราคาผู้บริโภคตามภูมิภาค (Regional CPI) : วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการแยกตามพื้นที่หรือภูมิภาคต่าง ๆ
  • ดัชนีราคาผู้บริโภคตามกลุ่มรายได้ (Income-based CPI) : วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการตามระดับรายได้ของผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ

วิธีคำนวณหาค่า CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค

การคำนวณค่า CPI เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการเทียบกับปีฐาน โดยขั้นตอนการคำนวณค่า CPI มีดังนี้

  1. กำหนดปีฐาน (Base Year) เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงในการเปรียบเทียบ โดยกำหนดให้ค่า CPI ในปีฐาน = 100
  2. เก็บข้อมูลราคาสินค้าและบริการในตะกร้าสินค้า ซึ่งเป็นตัวแทนการบริโภคของครัวเรือนทั่วไป
  3. คำนวณค่า CPI โดยใช้สูตร:
  4. CPI = (ราคาสินค้าและบริการในปีปัจจุบัน / ราคาสินค้าและบริการในปีฐาน) × 100
  5. คำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลง CPI (อัตราเงินเฟ้อ) โดยใช้สูตร:
  6. อัตราเงินเฟ้อ = [(CPI ปีปัจจุบัน – CPI ปีก่อน) / CPI ปีก่อน] × 100

วิธีวิเคราะห์ค่า CPI ดัชนีราคาผู้บริโภค

การวิเคราะห์ค่า CPI เป็นทักษะสำคัญสำหรับนักลงทุนและเทรดเดอร์ โดยแนวทางการวิเคราะห์ค่า CPI มีดังนี้

  • ดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง : วิเคราะห์ทิศทางการเคลื่อนไหวของค่า CPI ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • เปรียบเทียบกับเป้าหมายเงินเฟ้อ : ดูว่าค่า CPI อยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางกำหนดหรือไม่
  • พิจารณาปัจจัยภายนอก : วิเคราะห์ผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญ เช่น นโยบายรัฐบาล ภัยธรรมชาติ หรือวิกฤตเศรษฐกิจ
  • แยกวิเคราะห์รายหมวด : ดูการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละหมวดสินค้าและบริการ เพื่อเข้าใจสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
  • เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดอื่น : วิเคราะห์ร่วมกับดัชนีทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น GDP อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราการว่างงาน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี CPI

3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี CPI

ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี CPI มีดังนี้

  1. P ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นตามมา จึงกระทบต่อความต้องการซื้อของครัวเรือน ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า ค่า CPI สูงนั่นเอง
  2. ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น  เมื่อความต้องการซื้อและบริการมากขึ้น แต่สินค้าและการบริการกลับมีน้อย ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างทั่วถึง จะส่งผลให้ค่า CPI สูงขึ้นตามมา
  3. การใช้จ่ายของรัฐบาลและการเก็บภาษี หรือธุรกิจต่าง ๆ ต้องเสียภาษีตามกฎหมายเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว หากรัฐบาลมีการปรับโครงสร้างการเก็บภาษี ไม่ว่าจะเพิ่มหรือลด ก็มีส่วนทำให้ต้นสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งระดับค่าดัชนี CPI แน่นอน

ดัชนี CPI มีความสำคัญต่อเทรดเดอร์อย่างไร

ดัชนี CPI เปรียบเสมือนตัวกำหนดทิศทางและความเสี่ยงของการลงทุน เพราะค่า CPI เป็นการวัดอัตราเงินเฟ้อโดยตรง ซึ่งเหล่าเทรดเดอร์จะใช้ค่า CPI วิเคราะห์สภาพการเงินภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราเงินเฟ้อนั้น ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของ อัตราดอกเบี้ย ราคาพันธบัตร และมูลค่าเงิน เป็นต้น เป็นการวิเคราะห์จังหวะในการลงทุน ผลตอบแทนที่ได้มา จะคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ ดัชนีCPI จึงเป็นปัจจัยสำคัญ

ดัชนี CPI ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน

เมื่อค่า CPI ลดลงเกินความคาดหมาย อัตราดอกเบี้ยจากที่ผ่าน ๆ มามีแนวโน้มว่า จะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งเป็นการลดอัตราเงินเฟ้อลง สิ่งที่จะตามมาคือ สกุลเงินดอลลาร์จะมีมูลค่ามากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินอื่น ๆ แข็งค่าขึ้นตามมาเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ราคาสินค้าและบริการก็จะลดลง

ดัชนี CPI อาจนำไปสู่ความผันผวนของตลาดการเงิน

การปรับเปลี่ยนของดัชนี CPI ส่งผลต่อความผันผวนของตลาดการลงทุนอย่างมาก เพราะการเคลื่อนตัวสูงขึ้นของ CPI จะบ่งบอกถึงระยะของเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงอย่างมากสำหรับนักลงทุน เช่น เงินดอลลาร์ หุ้น หรือเหรียญคริปโต 

เพื่อวางแผนลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า

สิ่งสำคัญของค่า CPI นั้นจะสามารถบอกภาวะเศรษฐกิจเป็นภาพรวมได้ นักลงทุนที่มีประสบการณ์จะประเมินค่า CPI เพื่อเป็นเกณฑ์การลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หาก CPI สูงขึ้น ก็เป็นโอกาสดีที่จะลงทุนในสินทรัพย์อย่างทองคำ แต่หาก CPI ลดลง ก็เป็นโอกาสสำหรับการลงทุนที่มีความผันผวนสูง 

สรุปบทความ

ได้ทราบถึงความหมายของดัชนี CPI คืออะไร จะเห็นได้ว่า มันสามารถนำไปวิเคราะห์สภาวะทางเศรษฐกิจได้จริง  ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของนักลงทุนหรือนักเทรดforex เบื้องต้น เลยก็ว่าได้ เพราะสามารถใช้ค่า CPI เป็นเข็มทิศในการลงทุน ใครที่ต้องการจังหวะและโอกาสที่แม่นยำในการเก็งกำไรลองใช้ประโยชน์ของ CPI ได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นควรศึกษาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน