ทฤษฎีดาว Dow Theory คืออะไร ? เทรดเดอร์ต้องรู้ เทรดเดอร์ในตลาด Forex นั้น 90% จะเป็นนักวิเคราะห์กราฟราคาด้วยวิชาเทคนิคคอล และในการวิเคราะห์กราฟราคาด้วยวิชาเทคนิคคอลนั้นมีทฤษฎีต่างๆมากมาย แต่หนึ่งในทฤษฎีที่โด่งดังมากที่สุดในตลาด Forex รวมไปถึงตลาดหุ้นด้วย คงหนีไม่พ้นทฤษฎีดาว
เรียกได้ว่าทฤษฎีดาว Dow Theory นี้คือต้นแบบอีกหลายๆทฤษฎีที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค หรือเรียกได้ว่าเป็นต้นฉบับของการวิเคราะห์กราฟปัจจัยทางเทคนิคเลยก็ว่าได้
หากไม่มีทฤษฎีดาว ก็อาจจะไม่มีการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคอย่างในทุกวันนี้ และที่สำคัญผู้ที่คิดค้นทฤษฎีดาว Dow Theory ขึ้นมาคือ Charles H. Dow เขายังเป็นคนคิดค้น ดัชนีราคาในการวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นคนแรกอีกด้วย เรียกได้ว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียว
ทฤษฎีดาว Dow Theory คืออะไร ?
ทฤษฎีดาว Dow Theory เป็นทฤษฎีต้นแบบของการวิเคราะห์กราฟด้วยวิชาเทคนิคคอล (Technical Analysis) โดยผู้คิดค้นทฤษฎีดาว Dow Theory คือนาย Charles H. Dow ซึ่งหลายคนเชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave เป็นทฤษฎีหนึ่งที่แตกมาจากทฤษฎีดาว แต่ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave มีรายละเอียดลึกลงไปอีก
แนวคิดของทฤษฎีดาว Dow Theory เชื่อว่าการขึ้นลงของราคาหุ้นนั้นเปรียบเสมือนกับน้ำทะเล หมายถึงตอนที่ราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นระยะทางของกราฟขาขึ้นนั้นจะยาวนานกว่าระยะกราฟขาลงอย่างแน่นอน และราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะทางของกราฟขาลงนั้นจะยาวนานกว่าระยะกราฟขาขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคลื่นทะเลตอนน้ำขึ้นกับคลื่นทะเลตอนน้ำลง
ทฤษฎีดาว Dow Theory ได้แบ่งแนวโน้มของกราฟราคาเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลา
1. Primary Trend แนวโน้มใหญ่
Primary Trend แนวโน้มใหญ่หรือแนวโน้มระยะยาว ซึ่งปกติแนวโน้มนี้จะใช้เวลาตั้งแต่ 200 วันขึ้นไป ในบางครั้งระยะเวลาของแนวโน้มนี้อาจจะยาวนานถึง 4 ปี ลักษณะแนวโน้มก็เหมือนเรื่องแนวโน้มทั่วไป แบ่งเป็น 2 แนวโน้ม
- แนวโน้มขาขึ้น จุดสูงสุดใหม่สูงกว่าจุดสูงเก่าและจุดต่ำสุดใหม่ต่ำอยู่สูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า ระยะเวลาที่ราคาปรับตัวขึ้นยาวนานกว่าระยะเวลาที่กราฟราคาปรับตัวลง
- แนวโน้มขาลง จุดสูงสุดใหม่ต่ำกว่าจุดสูงเก่าและจุดต่ำสุดใหม่ต่ำอยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเก่า ระยะเวลาที่ราคาปรับตัวลงยาวนานกว่าระยะเวลาที่กราฟราคาปรับตัวขึ้น (ตรงข้ามกับแนวโน้มขาขึ้น)
2. Intermediate Trend แนวโน้มรอง
Intermediate Trend แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลาง ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนกับ Primary Trend แนวโน้มใหญ่หรือแนวโน้มระยะยาวทุกอย่าง แตกต่างกันเพียงแค่ระยะเวลาของแนวโน้มเท่านั้น ซึ่งแนวโน้ม Intermediate Trend แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลางจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์อาจจะยาวนานไปถึงหลายเดือนเลยก็ได้
3. Minor Trend แนวโน้มย่อย
Minor Trend แนวโน้มย่อยหรือแนวโน้มระยะสั้น ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนกับ Primary Trend แนวโน้มใหญ่ และ Intermediate Trend แนวโน้มรองทุกอย่าง แตกต่างกันเพียงแค่ระยะเวลาของแนวโน้มเท่านั้น ซึ่งแนวโน้ม Minor Trend แนวโน้มย่อยหรือแนวโน้มระยะสั้นจะใช้เวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์
สภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง
ซึ่งสภาวะตลาดในทฤษฎีดาว นั้นจะแบ่งเป็น 2 สภาวะตลาดได้แก่ Bull Market (ตลาดกระทิง) และ Bear Market (ตลาดหมี)
Bull Market (ตลาดกระทิง)
Bull Market (ตลาดกระทิง) หมายถึงตลาดที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หรือ Uptrend สาเหตุที่เรียกว่า Bull Market หรือ ตลาดกระทิง เพราะว่าท่าทางของกระทิงนั้นคือ การขวิดหัวขึ้น หรือขวิดราคาขึ้น ทำให้ใครหลายคนนึกไปถึงท่าทางของกระทิง ตอนทีกระทิงนั้นมีการขวิดขึ้น ว่าลักษณะท่าทางราคานั้นเหมือนโดนกระทิงขวิดขึ้น จึงเป็นที่มาของคำว่า “Bull Market หรือ ตลาดกระทิง”
โดย Bull Market (ตลาดกระทิง) หรือแนวโน้มขาขึ้น จะมีอยู่ 3 ช่วงระยะเวลาด้วยกัน
ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase)
หมายถึงช่วงแรกที่ราคานั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น ราคาหุ้นนั้นอาจจะซบเซาหรือลงมาตกต่ำ ผู้คนมากมายอาจจะเริ่มซื้อหุ้นเอาไว้เพื่อเก็บเผื่อไว้ในระยะยาว เนื่องจากว่าราคาหุ้นได้ลงมาตกต่ำ ทำให้หากซื้อหุ้นในช่วงนี้ทำให้ได้หุ้นมาในราคาถูก แต่ก็ยังมีใครหลายคนไม่กล้าตัดสินใจซื้อเพราะไม่คิดว่าราคาหุ้นจะขึ้นมาได้
ระยะกักตุนหุ้น (Participation Phase)
หมายถึงหลังจากมีข่าวดีเข้ามากับหุ้น ทำให้มีผู้คนกล้าซื้อหุ้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากช่วงระยะแรก “ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase)” อย่างเห็นได้ชัด ในช่วงระยะนี้ผู้คนมากมายอาจจะเริ่มมองเห็นแล้วว่าราคานั้นกำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ช่วงตื่นทอง (Excess Phase)
หมายถึงหุ้นมีการขยับขึ้นหลายวันติดต่อกันหรือขยับตัวสูงขึ้นจากเดิมมากหลังจากผ่าน 2 ช่วงระยะมาได้แล้ว ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase) และ ระยะกักตุนหุ้น (Participation Phase) จนมาถึงในช่วงนี้ ผู้คนจำนวนมากเริ่มเห็นด้วยกันว่านี่คือแนวโน้มขาขึ้น ทำให้ผู้คนแห่ซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก ในช่วงอาจจะทำให้ราคาขึ้นไปสูงลิ้วหรือสูงแบบทวีคูณ เมื่อราคาปรับสูงจนเป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีผู้คนบางส่วนเริ่มทะยอยขายหุ้นเพื่อทำกำไร ส่งผลให้ราคามีการปรับตัวลงมาเรื่อยๆและในเมื่อราคามันมีการปรับตัวลง อาจจะส่งผลให้ผู้คนบางกลุ่มเกิดความกลัวแล้วเทขายตามๆกัน สาเหตุเหล่านี้อาจจะเป็นต้นเหตุของการสิ้นสุดแนวโน้มขาขึ้น
Bear Market (ตลาดหมี)
Bear Market (ตลาดหมี) หมายถึงตลาดที่อยู่ในแนวโน้มขาลง หรือ Downtrend สาเหตุที่เรียกว่า Bear Market หรือ ตลาดหมี เพราะว่าท่าทางของหมีนั้นคือ การนำมือพร้อมเล็บอันแหลมคมตะปบลง การตบเหยื่อลง หรือการตบให้ราคามันลง ทำให้ใครหลายคนนึกไปถึงท่าทางของหมี ว่าลักษณะราคาที่มีการปรับตัวลงนั้นคล้ายโดนหมีตบลง จึงเป็นที่มาของคำว่า “Bear Market หรือ ตลาดหมี”
โดย Bear Market (ตลาดหมี) หรือแนวโน้มขาลง จะมีอยู่ 3 ช่วงระยะเวลาด้วยกัน
ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase)
หมายถึงเมื่อราคาหุ้นมีการปรับตัวสูงขึ้นจนมีราคาสูงมากกว่าราคามูลค่าที่แท้จริง ทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผู้คนจำนวนมากเทขายเพื่อทำกำไร โดยระยะนี้เป็นผลกระทบมาจากระยะ “ช่วงตื่นทอง (Excess Phase)”
ระยะตกใจ (Panic Phase)
ระยะนี้เป็นระยะต่อจากระยะแจกจ่าย (Distribution Phase) แต่แตกต่างกันตรงที่ระยะแจกจ่ายนั้นผู้คนอีกจำนวนมากยังไม่เทขายหุ้น แต่ระยะนี้ผู้คนจำนวนมากเริ่มจับทางได้ทำให้มีการเทขายจำนวนมากกว่าระยะแจกจ่ายและนักลงทุนบางส่วนเริ่มมีการ Stop Loss เพราะคิดว่าราคานั้นน่าจะขึ้นไปต่อไม่ไหวแล้ว
ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase)
ในระยะนี้มีผู้คนจำนวนมากที่รู้แล้วว่านี่คือแนวโน้มขาลง ทำให้มีผู้คนจำนวนมากเทขายหุ้นทั้งเพื่อทำกำไร Take Profit และเพื่อการหยุดขาดทุน Stop Loss ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ราคาหุ้นนั้นตกต่ำมากที่สุด
นี่เป็นหลักการของทฤษฎีดาว ซึ่งในความจริงแล้วทฤษฎีนี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้ทำกำไรหรือใช้เป็นเทคนิคในการทำกำไร แต่เป็นเรื่องที่เทรดเดอร์ Forex นั้นใช้เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบราคา เข้าใจแนวโน้มของราคาและเข้าใจอารมณ์ของราคา เพื่อเป็นแนวทางเพื่อให้เทรดเดอร์เข้าใจสภาวะตลาด เพื่อให้เทรดเดอร์นั้นเตรียมตัวกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
Author: