เข้าใจอารมณ์ของกราฟ อารมณ์ของตลาด ช่วยให้เทรดดีขึ้น

เรื่องPatihanUhas

อารมณ์ของตลาด

เข้าใจอารมณ์ของกราฟ อารมณ์ของตลาด ช่วยให้เทรดดีขึ้น จงเฝ้าดูและระวังอารมณ์ของตัวเอง เพราะว่าอารมณ์และความคิดเหล่านี้ที่มันสามารถนำหายนะมาสู่คุณได้ ยิ่งคุณตระหนักรู้ตัวเองเร็วมากเท่าไหร่ มันยิ่งช่วยให้คุณประหยัดเงินหรือสร้างผลกำไรได้มากขึ้นเท่านั้น

 

เข้าใจอารมณ์ของกราฟ อารมณ์ของตลาด ช่วยให้เทรดดีขึ้น

 

 

มาพูดเรื่องของคริปโตกัน Cryptocurrency เป็นเรื่องของอนาคต ณ เวลานี้โลกยังคงถกเถียงและหาคำตอบสำหรับทิศทางที่แท้จริงของ Cryptocurrency หรือเงินดิจิตอล ว่ามันจะเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปทางไหน

 

นักลงทุน นักการเงิน ผู้ที่อยู่ในแวดวงการลงทุนแบบเก่าทั้งหุ้น อสังหาฯ และตลาดเทรดการเงินอย่าง Forex ต่างกำลังจับตามองการเข้ามาแทรกแซงของเงินดิจิตอล

 

ถึงกระนั้นก็มีเพียงส่วนน้อยของประชากรที่ลงทุน เฉพาะในเนเธอร์แลนด์เพียง 1% — 2% ของครัวเรือนที่ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลในปีนี้(2017) และผู้คนจำนวนน้อยที่ใช้ cryptocurrencies จริง ๆ เนื่องจากมีเพียงไม่กี่แห่งที่ยอมรับวิธีการชำระเงินเหล่านี้

 

แต่ก็ต้องยอมรับว่า นี่คือ จุดเริ่มต้นเท่านั้นเอง

 

นอกจากความจริงที่ว่ายังไม่มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มากนัก ยังเข้าใจยากอีกด้วย โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางเทคนิค Cryptocurrency มีความผันผวนสูง จึงมีความเสี่ยงสูง กลไกด้านราคาขึ้นลงไม่สามารถคาดเดาได้แน่นอน และไม่มีใครทราบอย่างแท้จริงว่าปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการปรับตัวขึ้นลงของราคาเหรียญ

 

เราจึงจำเป็นต้องใช้ จิตวิทยาฮิวริสติก หรือ จิตวิทยาทางลัด ที่เข้าช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาหรือเรียนรู้แนวคิดใหม่ เป็นกระบวนการทางจิตที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาและเรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ

 

กระบวนการเหล่านี้ทำให้ปัญหาซับซ้อนน้อยลงโดยการเพิกเฉยต่อข้อมูลบางอย่างที่เข้ามาในสมองทั้งโดยรู้ตัวหรือ โดยไม่รู้ตัวทุกวันนี้ฮิวริสติกส์ได้กลายเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลในด้านการตัดสินและการตัดสินใจ

 

และถ้าหากเราใช้ จิตวิทยาฮิวริสติก ในการวิเคราะห์พฤติกรรม และอารมณ์ของเราเองในการเทรด ก็จะช่วยให้การเทรดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

การเข้าสู่ตลาด crypto มักจะจุดเริ่มต้นคล้ายๆกัน อาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือกลุ่มแวดวงสังคม ที่เขาลงทุนแล้วได้เงินจริง จึงมีแนวโน้มที่คนอย่างเราๆอยากจะลองเข้าตลาดนี้ดูบ้าง

 

ชายนิรนามกล่าว “ลงทุนเงินไว้ที่ใดที่หนึ่งในคริปโตแล้วรอดูให้มันเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหรือสามเท่า!” พวกเขาอาจจะพูด ง่ายเหมือนบีบมะนาว แต่เมื่อใดที่คุณได้ลองเข้าสู่ตลาดคริปโตแล้ว คุณจะพบว่าทุกอย่างมันสามารถเป็นไปได้เสมอ คุณรายล้อมไปด้วยโอกาสและการเพิ่มเงินทุนให้มากขึ้น

 

แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มเทรด คุณจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือกับดักหลุมพรางทางอารมณ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการเตรียมตัวทางจิตใจและพิจารณาอคติและปัจจัยทางจิตวิทยา 6 อคติดังต่อไป

 

อารมณ์ของตลาด

 

1. Social Proof (การตัดสินใจโดยอ้างอิงตามสังคม)

Everyone at work is doing this : Since everyone is doing this cryto thing. I ought to look into it.ในเมื่อทุกคนเทรดคริปโตกัน ฉันต้องลองบ้างละ!! (เคลิ้มตามแวดวงสังคม)

 

เมื่อคุณสังเกตเห็นว่า มีผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆที่กำลังมองหาสกุลเงินดิจิทัลและลงทุนในตลาดจริงๆ แต่คุณยังต้องทำวิจัยของคุณก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วม แต่ถ้าหากมีคนจำนวนมากเต็มใจที่จะเดิมพันด้วยเงินของพวกเขาอย่างมั่นใจ มันต้องเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การลองใช่ไหม?

 

เมื่อคนเราไม่แน่ใจว่าต้องเลือกอะไร โดยโดยสัญชาตญาณของมนุษย์แล้วมักดูว่าคนส่วนใหญ่ทำอะไรกันแล้วทำตาม

 

การดูสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกของคุณเองนั้นเรียกว่าการพิสูจน์ทางสังคม (Social Proof)

 

เนื่องจากเทคโนโลยีคริปโตมีความซับซ้อนมากและหลายคนไม่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อคุณกำลังจะนำเงินของคุณไปเป็นสกุลเงินดิจิทัล ให้พยายามมองข้ามความคิดของฝูงชน หาข้อมูลให้ได้มากที่สุดในการตัดใจก่อนที่จะลงทุน

 

2. Authority (การตัดสินใจโดยอ้างอิงตามผู้เชี่ยวชาญ)

Just tell me what to do : OK, he seems to know a lot about this , I’ll do whatever he does.

 

“ว้าว…ผู้ชายคนนนี้ทำเงินได้เยอะจัง น่าทึ่งมาก ฉันจะเอาเขาเป็นแบบอย่างและทำตามแบบแผนของเขา” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ชายคนนั้นอาจจะเก่งจริงหรือไม่จริงก็มีความเป็นไปได้ทั้งสอง

 

ในตอนเริ่มต้น เป็นไปได้ว่าคุณไม่มีความรู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ และการที่คนเราจะหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติม

 

คนส่วนมากจะมองหาคนที่ประสบความสำเร็จที่สร้างเงินในตลาดคริปโตทีล่ะมากๆ (หรือบางคนอาจจะเฟค) ดังนั้นคนที่เริ่มต้นใหม่มักจะหาบุคคลเหล่านี้มาเป็นแบบอย่างและแนวทางในการเทรด

 

ในสายตาของคุณ จะมองเขาเปรียบเสมือนดั่งผู้เชี่ยวชาญและมีอำนาจ ภาพลักษณ์ของเขาดูดี๊ดี และแลดูน่าเชื่อถือ เขาเหล่านั้นยังมีประวัติการทำเงินด้วย cryptocurrencies อีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถทำนายอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

 

3. Inaction Inertia (อาการกินแหนงแคลงใจ…แต่ก็พยายามปลง)

Never mind, it’s too late: “Nevermind, I’m too late anyway. The ship has sailed.”

 

“ไม่เป็นไร..ช่างมันเหอะ ฉันมาสายเกินไป เรือแล่นออกจากท่าไปแล้ว”

 

ลองนึกภาพได้ยินเพื่อนพูดคุยเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาซื้อเหรียญที่ 10% ของราคาปัจจุบัน คุณอาจคิดว่ามันสายเกินไปแล้ว ความรู้สึกนี้สามารถนำไปสู่ความเฉื่อยๆ กินแหนงแคลงใจ

 

Inaction Inertia เป็นสภาวะหนึ่งที่ได้รับหลังจากพลาดดีล ทำให้คุณมีโอกาสน้อยมากที่จะซื้อเหรียญเดียวกันในอนาคตด้วยราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

ผู้คนไม่ชอบที่จะพลาดโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงเรื่องเงิน สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ และอาการนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ FOMO ไม่อยากพลาดโอกาสอีกแล้ว

 

กินแหนงแคลงใจเสียดายที่ไม่ได้ซื้อตอนนั้น >>> เมื่อโอกาสมาถึงกลัวพลาดโอกาส FOMO (รีบเกินไปขาดการไตร่ตรอง)

 

4. Fear of Missing Out (FOMO) (อาการกลัวที่จะพลาดโอกาส)

Wait, it’s still rising? : It’s still rising ? I’m going to miss this opportunity. I’m in.!! “ กราฟยังจะขึ้นอยู่อีกหรือเปล่านะ?  ไม่ได้การล่ะ ฉันต้องเข้าร่วมขบวนด้วย…ฉันจะไม่ยอมพลาดโอกาสดีๆแบบนี้ไปอีกแล้ว”

 

บางทีปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่ชัดเจนที่สุดที่ทำให้ผู้คนตื่นเต้นที่จะลงทุนนั้นเรียกว่า FOMO-effect หรือความกลัวที่จะพลาดโอกาส

 

คุณรู้สึกว่ามันโง่มากที่จะไม่เข้าร่วม คุณเห็นมันในโซเชียลมีเดียและคุณได้ยินที่ ที่ทำงานหรือที่ชุมนุมทางสังคม ยิ่งตระหนักว่าคุณต้องไม่พลาดโอกาสดีๆแบบนี้ หารู้ไม่ว่าหายนะกำลังมาเยือน

 

5. Confirmation Bias (การหาข้อมูลมายืนยืนในสิ่งที่ตนเชื่อ)

I’ll be fine : “It’s ok, it’ll bounce back this a solid investment.”  “ไม่เป็นไร… เดี๋ยวราคามันจะต้องกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม”

 

การมองโลกในแง่บวกหรือปลอบใจตัวเองเป็นสิ่งดี แต่ถ้าขาดการไตร่ตรองที่ดีถือว่าอันตรายต่อนักลงทุนอย่าเราๆ ให้ตกอยู่ในภาวะ Confirmation Bias หรืออคติ ความลำเอียงต่อความเชื่อของตน มองเพียงด้านเดียว เพียงด้านที่ตัวเองอยากมอง เพื่อความสบายใจ

 

ลองนึกภาพว่าคุณได้ลงเงินทุนไปพอสมควรในช่วงของ FOMO  และมีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับตัวที่คุณซื้อ ทั้งด้านบวกและด้านลบ

 

ในสถานการณ์นี้ คุณมักจะมองหาความคิดเห็นในเชิงบวกเพื่อยืนยัน คุณตัดสินใจถูกแล้ว เช่น การวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวาดเส้นบนแผนภูมิที่คอยตอกย้ำทฤษฎีของคุณและความคิดที่ปรารถนาของคุณ

 

6. Loss Aversion (อาการหลีกหนีความสูญเสีย)

Hype and the Fear, Uncertainty, Doubt (FUD) lifecycle: “Nope nope nope this was a mistake , I’m out”

 

“ไม่นะ ไม่นะ ไม่นะ….ฉันต้องรีบถอนออกแล้ว”

 

Loss Aversion  คือการหลีกเลี่ยงความสูญเสีย อาการนี้ส่งผลให้เราหวงเงินต้นมาก ต้องหาวิธีปกป้องเงินต้นไม่ให้เสี่ยงต่อการเสียหายเยอะ

 

ใดๆก็แล้วแต่ให้เก็บคำของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไปคิด  “จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ และจงโลภเมื่อคนอื่นกลัวเท่านั้น” คนที่สามารถทำได้ มีโอกาสมากขึ้นในการทำเงินในตลาดที่มีแรงกระตุ้นจากอารมณ์ของมวลชน

 

หากเราสามารถประเมินสถานการณ์ได้หลายๆ ทาง ก็จะทำให้เราพอเห็นภาพรวมมากขึ้นว่ามีอะไรที่สามารถเกิดขึ้นได้บ้างและสิ่งนี้ก็น่าจะเป็นตัวช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจกับการตัดสินใจมากขึ้น ที่สำคัญคือเราต้องฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง อย่านึกเสียดายสิ่งที่เราเสียไป เอาจิตใจไปมุ่งมั่นสร้างผลตอบแทนที่ดีกัน!

 

Source