ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ forex เบื้องต้น มีค่าหนึ่งที่จำเป็นต้องรู้นั่นก็คือ ema นับว่าเป็นค่าสำคัญที่จะสามารถเช็กสถานการณ์ในการลงทุนได้ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลารีบไปทำความรู้จักกับค่า ema เพิ่มกันเลยดีกว่า
EMA คืออะไร
หากท่านรู้จัก Moving Average (เส้นค่าเคลื่อนที่เฉลี่ย) แล้ว EMA ก็คือหนึ่งในเทคนิคของ MA นั่นเอง
EMA ในตลาด Forex หมายถึง Exponential Moving Average (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล) ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์และการซื้อขายบนกราฟราคาหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นๆ ในตลาด Forex
EMA มีลักษณะที่คล้ายกับ Simple Moving Average (SMA) โดยที่มีการคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาปิดของสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ แต่ EMA มีความแตกต่างตรงที่มีการให้น้ำหนักที่มากขึ้นกับราคาล่าสุด ซึ่งทำให้ EMA มีการปรับตัวเร็วกว่าต่อการเปลี่ยนแปลงในราคา
วิธีการใช้งานและคำนวณ EMA
สูตรสำหรับคำนวณ EMA (Exponential Moving Average) คือ:
EMAn = (ราคาปิดปัจจุบัน * ตัวคูณ) + (EMA วันก่อนหน้า x (1 – ค่าถ่วงน้ำหนัก(Alpha))) โดย
ค่าถ่วงน้ำหนัก(Alpha) = 2 / (ช่วงเวลา(N) +1)
EMA มักถูกใช้ในการติดตามแนวโน้มของตลาด โดยที่เวลาที่ EMA สูงกว่าราคาปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มของตลาดที่เป็นบวก และเมื่อ EMA ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มของตลาดที่เป็นลบ นักลงทุนสามารถใช้ EMA เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการซื้อขายสินทรัพย์ในตลาด Forex อย่างไรก็ตาม EMA ก็ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ เช่น RSI เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดในระยะยาวและระยะสั้น และนี่เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้นที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ตลาด Forex
1. ใช้ระบุแนวโน้ม
โดยเมื่อรู้วิธีการคำนวณเส้น EMA แล้ว ต่อไปก็คือการอ่านเส้น โดยเส้น EMA สามารถใช้เพื่อระบุแนวโน้มของราคาได้ โดย
หากราคาเคลื่อนตัวอยู่ต่ำกว่าเส้น EMA หมายความว่ามีแรงกดดันจากการขายมาทำให้ราคาจึงลดตัวลง และมีแนวโน้มที่จะเกิดตลาดขาลง
ในขณะที่หากราคาเคลื่อนตัวเหนือกว่าเส้น EMA หมายความว่ามีแรงซื้อเข้ามาเยอะทำให้ราคาปรับตัวขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเกิดตลาดขาขึ้น
2. ใช้เป็นแนวรับแนวต้าน
การใช้ EMA กับแนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ
ใช้กับกรณีที่เส้นแนวโน้มวิ่งเหนืออยู่บนเส้น EMA และเป็นตลาดขาขึ้น เมื่อใดที่เส้นแนวโน้มได้ตกลงมาใกล้เคียงกับเส้น EMA หมายถึงว่ามีแนวโน้มที่ราคาจะขึ้นไปสูงเหมือนเดิม
แนวต้าน
ใช้ในกรณีที่เส้นแนวโน้มวิ่งต่ำกว่าเส้น EMA และเป็นตลาดขาลง เมื่อใดที่เส้นแนวโน้มได้ปรับตัวขึ้นมาจนใกล้กับเส้น EMA หมายถึงว่ามีแนวโน้มที่ราคาจะกลับตัวลงมาเหมือนเดิม
EMA ต่างจาก SMA อย่างไร
ในการที่จะทราบได้ว่า EMA และ SMA แตกต่างกันอย่างไร ท่านต้องเข้าใจก่อนว่า EMA และ SMA คืออะไร ? โดยในบทความนี้ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า
EMA ( Exponential Moving Average) คือ การคำนวณหาค่าเฉลี่ยด้วยการถ่วงน้ำหนักแบบ Exponential และให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดมากกว่า
ในขณะที่ SMA (Simple Moving Average) คือ การคำนวณหาค่าเฉลี่ยแบบพื้นฐาน คือการนำค่าทั้งหมดมาหารเท่า โดยที่กำหนดให้น้ำหนักของแต่ละค่าเฉลี่ยมีน้ำหนักที่เท่ากัน ดังนั้นการหาเส้น SMA จะไม่สะท้อนถึงราคาล่าสุด
จากคำนิยามของ EMA และ SMA จะเห็นได้ว่า EMA เมื่อคำนวณออกมาแล้ว จะได้ค่าที่สะท้อนให้เห็นถึงค่าที่ใกล้เคียงกับค่าของปัจจุบันได้มากกว่าค่าของ SMA เนื่องจากค่าของ EMA ให้น้ำหนักกับราคาล่าสุด ในขณะที่ SMA ให้น้ำหนักเท่ากันโดยเฉลี่ย เพราะฉะนั้นในการหา EMA จะเน้นไปที่แนวโน้มในการหาจุดกลับตัวหรือการเปลี่ยนแปลงของราคาในระยะสั้น ในขณะที่ SMA จะใช้ในกรณีที่ต้องการมองภาพรวมของแนวโน้มราคาในช่วงระยะยาว
สรุปบทความ
EMA เป็นหนึ่งใน MA ที่เป็น Indicator หรือเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาได้ เพื่อใช้ในการทำกำไร โดย EMA จะเน้นไปที่การหาแนวโน้มของราคาในระยะสั้น เนื่องจากการคำนวณโดยมีการถ่วงน้ำหนักของราคาปัจจุบันมากกว่าราคาในอดีต แตกต่างกับ SMA ที่เป็นการคำนวณเพื่อจุดประสงค์ในการหาภาพรวมของแนวโน้ม เหมาะกับการมองภาพใหญ่มากกว่าการทำกำไรระยะสั้น
Author: