การวิเคราะห์กราฟด้วย Price Action 12 รูปแบบ ตามหลักสูตร RTM

เรื่องPatihanUhas

การวิเคราะห์กราฟด้วย Price Action

การวิเคราะห์กราฟด้วย Price Action 12 รูปแบบ ตามหลักสูตร RTM

 

การวิเคราะห์กราฟด้วย Price Action 12 รูปแบบ ตามหลักสูตร RTM

 

RTM : Read the market : การอ่านราคาในตลาด

 

การซื้อขายในตลาดForex ให้มีประสิทธิภาพ เราต้องเข้าใจว่า เหตุใดราคาจึงอยู่แนวนี้ และราคามีแนวโน้มที่จะไปในทิศทางใด?  ตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดก็นั้นก็คือกราฟราคา ที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมการซื้อ- ขาย (อุปสงค์และอุปทาน) ของเทรดเดอร์ในตลาด ในกราฟราคามันเก็บเงื่อนงำทั้งหมดที่เราควรต้องรู้ หากเรารู้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็สามารถที่จะวิเคราะห์แนวโน้มได้

 

การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือศาสตร์แห่งการพยากรณ์ทิศทางของราคาผ่านการศึกษาข้อมูลตลาดในอดีตโดยการวิเคราะห์สถิติที่ได้จากกิจกรรมการซื้อขาย และการวิเคราะห์ทางเทคนิคหัวข้อหนึ่งที่จำเป็นต้องรู้เลยก็คือ  “แนวโน้ม” หรือ Trend

 

แนวโน้มคืออะไร

พูดง่ายๆ ว่าเทรนด์นั้นไม่มีอะไรมากไปกว่า “ทิศทาง” ที่คู่สกุลเงินกำลังทำการซื้อขาย

 

ประเภทของแนวโน้ม

หากคุณถามเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ถึงสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเทรนด์ พวกเขาอาจจะตอบคล้ายๆกัน ว่า

 

แนวโน้มมี 3 ประเภท คือ ขาขึ้น, ขาลง และ Sideways

 

***อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงมีเพียง 2 แนวโน้มเท่านั้น!!

 

มีเพียงแค่

  • Up trend (เทรนด์ขาขึ้น)
  • Down trend (เทรนด์ขาลง)

 

เพียงเท่านั้น ส่วน“Sideways Trend” ไม่มีอยู่จริง เพราะแม้ว่าราคาจะเคลื่อนไหวในช่วงSideways แต่ราคายังคงมีกี่ซื้อขาย ขึ้นและลง..

 

นอกจากนี้คำสั่งสามารถวางได้ 2 ประเภทเท่านั้น คือคำสั่งซื้อและคำสั่งขาย ไม่มีคำสั่ง Sideways

 

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง

  • การอ่านราคา (Price Reading)
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)

 

ตามหลักสูตร Read the market (RTM) ในการอ่านพฤติกรรมราคาแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ  Past , Approach, Reaction

 

ซึ่งมีทั้งหมดด้วยกัน 12 รูปแบบ

Past มี 6 รูปแบบดังนี้

 

1. รูปแบบ Supply and Demand

Supply กับ Demand คือ โซนราคาที่คนที่มีความต้องการซื้อขายมาวางออเดอร์ซื้อขาย จึงทำให้เกิดเป็นโซนราคา

  • Supply ก็คือ โซนที่คนส่วนใหญ่อยากขาย
  • Demand ก็คือ โซนที่คนส่วนใหญ่อยากซื้อ

 

จะเห็นว่า โซนที่คนวางขาย คือ ด้านบน (Supply) ส่วน Demand คนจะวางด้านล่าง เพราะคนต้องการซื้อถูกและขายแพงซึ่งจะมีรูปแบบย่อย คือ RBD DBR and RBR DBD

 

  • R = Rally (วิ่ง)
  • D = Drop (พุ่ง)
  • B = Base (พักฐาน)

 

RBD : DBR

 

การเคลื่อนไหว จะเกิดตามภาพ ซึ่งแตกต่างตามขาขึ้นและขาลง.. RBD เป็นขาลง และ DBR เป็นขาขึ้น

 

DBD : RBR

 

ขณะที่บางครั้งการเคลื่อนไหวจะสั้น …DBD เท่ากับ การเคลื่อนไหวขาลง และ RBR เป็นขาขึ้น

 

2. รูปแบบ Support and Resistance

Support Resistance เกิดขึ้นเมื่อ ราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวข้ามไปได้ เพราะว่า ปริมาณซื้อขายพื้นที่ดังกล่าวยังไม่หมด สืบเนื่องจากหลักของ Demand Supply ถ้าหากหมดจะเปลี่ยนแปลงขึ้นไปได้

 

จะสังเกตว่าแนวรับ(Support)ก็คือ Demand Zone ถ้า Demand เหลือน้อยกว่า Supply ราคาก็ลดลง เพราะไม่มีคนซื้อแล้ว แต่คนขายมีจำนวนมาก ขณะที่ขาขึ้นก็จะตรงข้ามกัน

 

3. รูปแบบ PAZ- Price Action Zones

PAZ มันคือ โซนราคาที่เกิด Price Action ไม่ว่าจะเป็น poles, flags, stacked supply/demand and compression ซึ่งยิ่งทดสอบแล้วไม่ผ่าน หรือ FTR (Failure to Return) นั่นเองมีตัวอย่างดังนี้

 

4. รูปแบบ Caps on Price – RBD/DBR

Caps on Price คือ การที่ราคาพุ่งขึ้นมาจนถึง RBD คือ พุ่งมาแล้วพักฐาน แล้วจะมีการทำกำไร ซึ่งจะทำให้เกิดการทดสอบ ดังรูปใน RBD

 

หลังจากนั้นจะเกิดการทำกำไรใน Engulf หรือ Compression ทำให้ร่วงลง แต่ว่าไม่สามารถทำ new low ได้และมีแนวโน้มพุ่งขึ้นไปอีก

 

5. รูปแบบ Flag Limits – DBD/RBR

Flag Limit ซึ่งเป็นรูปแบบ DBD และ RBR จะเกิดขึ้นเมื่อ เกิด Long Pole (ลงยาว) ขึ้นยาว (ทั้ง Buy, Sell) หลังจากนั้นราคาจะแกว่งตัว ซึ่งจะมีสัญญาณที่เรียกว่า Flag Limit Area หลังจากนั้น ราคาจะแกว่งตัวเป็น Side ways เพราะราคาเปลี่ยน momentum ดังในรูปข้างใต้

 

การเกิด Flag Limit ทำให้เรารู้ว่าคาจะเปลี่ยน momentum.. แล้วทำให้เราสามารถมาเทรด Demand Supply ได้

 

6. รูปแบบ Fail to Return – FTR

FTR หรือ Fail to Return คือ ไม่สามารถกลับตัวได้ จะเปลี่ยนไปในทิศทางเทรนด์อยู่เช่นนั้น คือ พักฐานแล้วก็ไปต่อ พักฐานแล้วก็ไปต่อ ดังตัวอย่าง

 

Approach มี 2 รูปแบบดังนี้

1. รูปแบบ Compression

Compression คือ การที่ราคากระจุกตัว เกิดเป็นพื้นที่ที่ราคาอัดแน่นกัน ดังนี้

ในภาพ Clean D คือ Demand Zone ชัด ๆ CP คือการบีบอัด (Compression) ซึ่งจะมีการกำหนดลักษณะของ Compression ที่ทำให้ราคากระจุกตัว ในพื้นที่บริเวณ Demand Zone ทำให้พื้นที่นั้นผ่านยากยิ่งขึ้น

 

2. รูปแบบ 3 Drive

3 Drive คือ การเคลื่อนที่ต่อเนื่องของราคา 3 ครั้ง ดังต่อไปนี้

ภาพจาก https://tradingcenter.org

 

Reaction มี 4 รูปแบบดังนี้

1. รูปแบบ Engulf

Engulf หรือ Engulfing เป็นรูปแบบราคาที่ “กลืนกิน” แบ่งเป็น 2 แบบ โดยมีลักษณะเนื้อเทียน (Body) ที่ใหญ่กว่าและครอบคลุมเนื้อเทียนก่อนหน้า ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “Engulfs” แต่เกิดในสภาวะตลาดที่ต่างกันโดย Bull Engulfing จะเกิดขึ้นในสภาวะตลาดขาลง ในขณะที่ Bear Engulfing

 

ตัวอย่างที่ 1 ในภาพเกิดพักฐาน หลังจาก Engulf ที่ Demand Zone สีฟ้า

 

ตัวอย่างที่2

ภาพจาก dailyfx.com/education/candlestick-patterns/engulfing-candle.html

 

ตัวอย่าง แท่งเทียนสีเขียว กินแท่งอื่นๆ ข้างหลัง

ภาพจาก livingfromtrading.com

2. รูปแบบ Quasimodo

Quasimodo Pattern คือ เทคนิคการเทรดรูปแบบกลับตัว เป็นรูปแบบการกลับตัวที่เกิดขึ้นหลังจากที่ราคามีแนวโน้มที่ชัดเจน เมื่อราคาทำจุดสูงสูุดใหม่และจุดต่ำสุดใหม่ที่ยกสูงขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น หรือราคาทำจุดต่ำสูุดใหม่และจุดสูงสุดใหม่ที่ลดระดับลงในแนวโน้มขาลง

 

QM คือ ระดับราคาที่ไปทดสอบการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากที่รายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ต่อเนื่องจาก ENGULF ซึ่งรูปแบบของ Quasimodo เป็น Price Action ที่มีการพูดถึงมากที่สุดในการเทรด Supply Demand

 

จากภาพจะเห็นการเกิด Quasimodo ในการทดสอบ Supply Zone รอบที่ 2 ในพื้นที่สีส้ม

 

ตัวอย่างที่ 2

 

3. รูปแบบ Diamond

ภาพจาก forexbee.co

 

4. รูปแบบ The CanCan

ภาพจาก tradingview.com/ideas/cancan/

 

สรุป

และทั้งหมดนี้ที่กล่าวไปนี้เป็น 12 รูปแบบ ของพฤติกรรมราคาตามหลักสูตรของ RTM หากเราทำการศึกษาและวิเคราะห์เป็นอย่างดี  ความรู้นี้สามารถช่วยเพิ่มอัตราการชนะให้เราได้

 

Source