เมื่อเข้าสู่ปัญหาเผชิญภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้า รวมไปถึงค่าบริการต่างๆ ได้มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้กลุ่มนักลงทุน หันมาให้ความสนใจกับการลงทุน หุ้นกู้กันเป็นอย่างมาก แต่การที่จะลงทุน ก็จะต้องเริ่มต้นด้วยการเข้ามาศึกษา หุ้นกู้ คือ อะไร เหมาะกับใครบ้างที่สำคัญหุ้นกู้และหุ้นสามัญนั้นมีความแตกต่างอย่างไรในบทความนี้มีคำตอบแน่นอน
หุ้นกู้ คืออะไร
หุ้นกู้ คือ ตราสารหนี้ ได้มีการกำหนดเพื่อที่จะออกสู่สนามของการลงทุน จากภาคเอกชน เพื่อที่จะระดมทุน สำหรับการนำไปใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามแผนงานของทางบริษัท เช่น ขยายกิจการ เป็นต้น การออกหุ้นกู้ในประเทศไทยจะอยู่ที่ หน่วยละจำนวน 1,000 บาท กำหนดขั้นต่ำที่ 100,000 บาท ทั้งนี้ก็แล้วแต่เงื่อนไขด้วย และที่สำคัญผู้ลงทุน จะได้รับดอกเบี้ย ตลอดของช่วงอายุหุ้นกู้ และเมื่อครบกำหนดอายุก็จะได้รับเงินต้นคืนอีกด้วย
ประเภทของหุ้นกู้มีอะไรบ้าง
สำหรับหุ้นกู้สามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond) : ให้สิทธิผู้ถือได้รับชำระเงินคืนก่อนหุ้นกู้ประเภทอื่นและหุ้นทุน เมื่อบริษัทล้มละลาย มีความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนอาจน้อยกว่า
- หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture) : ได้รับชำระเงินคืนหลังหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ แต่ก่อนหุ้นสามัญ มีความเสี่ยงและผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
- หุ้นกู้มีหลักประกัน (Secured Bond) : มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ถือมีสิทธิในสินทรัพย์นั้นเท่าเทียมกัน มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน
- หุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Bond) : ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ถือต้องแบ่งเฉลี่ยเงินคืนกับเจ้าหนี้ไม่มีประกันอื่นๆ มีความเสี่ยงและผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้มีหลักประกัน
- หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) : สามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไข มีโอกาสได้รับผลตอบแทนเพิ่มจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยมักต่ำกว่า
การลงทุนในหุ้นกู้ เหมาะกับใคร ?
การลงทุนหุ้นกู้ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ ไม่คาดหวังผลตอบแทนสูง และต้องการกระจายความเสี่ยง ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่าการออมทรัพย์ และเหมาะสำหรับมือใหม่ที่หัดเรียนรู้เกี่ยวกับหุ้นในระยะแรกด้วย เพราะถือว่าเป็นหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ
หุ้นกู้ VS หุ้นสามัญ ต่างอย่างไร ?
หุ้นกู้ มีความแตกต่างจากหุ้นสามัญ ก็คือ เมื่อซื้อหุ้นสามัญ จะอยู่ในสถานะเจ้าของ ซึ่งสัดส่วนของความเป็นเจ้าของ ก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นสามัญที่ท่านได้ถืออยู่ ซึ่งหมายความว่าจะต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมด้วยกับบริษัทดังกล่าว แต่สำหรับหุ้นกู้อยู่ในสถานะเจ้าหนี้ เมื่อบริษัทดังกล่าวล้มละลาย ก็มีสิทธิที่จะได้รับเงินทุนคืนก่อน ดังนั้นการเช็คว่าจะซื้อหุ้นแบบไหนถึงจะดีจำเป็นต้องรู้อย่างละเอียด
ข้อดีของการลงทุนหุ้นกู้
- ความเสี่ยงต่ำ : มีความผันผวนน้อยกว่าหุ้นสามัญ
- ผลตอบแทนแน่นอน : ได้รับดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา
- ความปลอดภัยสูง : มีโอกาสได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด
- กระจายความเสี่ยง : ช่วยกระจายการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอ
- สภาพคล่อง : สามารถซื้อขายในตลาดรองได้
- ภาษี : อัตราภาษีที่จ่ายอาจต่ำกว่าการลงทุนประเภทอื่น
- เงินลงทุนขั้นต่ำ : สามารถเริ่มต้นลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก
ศัพท์ที่ควรรู้ก่อนการลงทุนในหุ้นกู้
อายุหุ้นกู้ (Duration) คืออะไร
อายุหุ้นกู้ จะกำหนดเป็นปี เช่น 3 ปี 5 ปี หรือตามกำหนด ซึ่งมาตรฐานของประเทศไทย จะมีการกำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย ตรงกันทุกงวด เช่น ทุกวันที่ 11 ของเดือน เป็นต้น
Credit Rating คืออะไร
Credit Rating จะมีการจ่าย ปีละ 2 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน แต่หุ้นกู้บางรุ่น ก็อาจจะมีการจ่ายปี 4 ครั้ง หรือทุก 3 เดือน
สำหรับใครที่เข้ามาเลือกลงทุนหุ้นกู้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่น่าสนใจไม่น้อยกันเลยทีเดียว ซึ่งจุดเด่นเลยก็คือ มีโอกาสที่จะได้รับเงินต้นคืนทุกบาททุกสตางค์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุนในแต่ละครั้ง ก็ควรศึกษาโปรแกรมเทรดและรายละเอียดอย่างแม่นยำ ไม่ควรประมาทเด็ดขาด
ความเสี่ยงที่ควรรู้ก่อนลงทุนหุ้นกู้
แม้ว่าหุ้นกู้จะถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นสามัญ แต่นักลงทุนก็ควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ความเสี่ยงหลักๆ ได้แก่ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนไม่ได้รับดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนตามกำหนด นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งอาจส่งผลต่อมูลค่าของหุ้นกู้ที่ถืออยู่
อีกประเด็นที่ควรพิจารณาคือความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด อาจเกิดความยากลำบากในการหาผู้ซื้อหรือได้ราคาที่ต่ำกว่าที่คาดหวัง นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองก็อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้ได้ ดังนั้น การศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบและการกระจายการลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนในหุ้นกู้
Author: