เพื่อนแท้นักเทรด ปกป้องผลประโยชน์ให้คุณ
9
รายชื่อโบรกเกอร์
ร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล
9
สารบัญที่จะต้องรู้ก่อนเทรด
- ตลาด Forex คืออะไร
- Bid, Ask และ Spread คืออะไร
- Pip และ Point คืออะไร
- ค่า Pips และ ค่า lots คืออะไร
- MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 คืออะไร
- Indicator คืออะไร
- Leverage Forex คืออะไร
- Money Management คืออะไร
- กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart) คืออะไร
- โบรกเกอร์ Forex คืออะไร
- การเลือกโบรกเกอร์ Forex
- แนวโน้ม Forex คืออะไร
- ระบบเทรด Forex คืออะไร
- ข่าว นอนฟาร์ม (Non Farm) คืออะไร
- เลือกโบรกเกอร์ Forex จากรีวิว
- ระดับของเทรดเดอร์
- Bitcoin คืออะไร <<
XRP และ Ripple คืออะไร
XRP และ Ripple หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน หลายคนอาจจะมองว่า XRP คือ Ripple แต่ในความจริงแล้ว XRP ไม่ใช่ Ripple หากอธิบายใจเข้าใจง่ายๆ คือ XRP ถูกสร้างโดยบริษัท Ripple Labs, Inc. หรือเรามักจะเรียกกันว่า Ripple ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2555 โดยใช้ชื่อ Opencoin ก่อนจะเปลี่ยนเป็น Ripple Labs, Inc. ในปี 2558
XRP หรือชื่อในโปรแกรมเทรดจะเป็น XRP/USD โดย 1 XRPUSD = 0.5 หมายความว่า 1 XRPUSD มีค่าเท่ากับ 0.5 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง XRP จัดเป็นสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency ประเภทหนึ่ง ถูกสร้างโดย Ripple Labs, Inc. โดยมีนาย Jed McCaleb เป็นผู้ก่อตั้ง และเขายังเป็น ผู้ก่อตั้ง ของเหรียญ Stellar อีกด้วย โดยจุดประสงค์หลักของ XRP คือเป็นสื่อกลางในการทำ Settlement ระหว่างธนาคาร
ราคา XRP ทำจุดสูงสุดใหม่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2020 ที่ราคา 0.83070$ ก่อนจะร่วงลงมาที่ราคา 0.16400 ในวันที่ 29 ธันวาคม 2020 จากคดีฟ้องร้องบริษัท Ripple
วีดีโอเข้าใจง่าย
ประวัติของ XRP และ Ripple
Ripple Labs, Inc. เป็นบริษัทที่สร้างสกุลเงินดิจิทัล XRP ขึ้นมา ในปี 2012 เดิมมีชื่อว่า Opencoin ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Ripple ในปี 2015 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย, อเมริกา
โดยตัว XRP จัดเป็นสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ Bitcoin แต่อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า XRP ไม่ได้เหมือนกับสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ที่ไม่มีศูนย์กลาง เนื่องจากว่า สกุลเงินดิจิทัลตัวอื่นๆมีจุดเด่นเรื่องไร้ศูนย์กลาง แต่ดูเหมือนว่า XRP จะไม่ได้เป็นแบบนั้นซะทีเดียว เนื่องจากว่าไม่มีการเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาขุดหรือให้บุคคลภายนอกมาร่วมกันเป็นผู้ยืนยันการทำธุรกรรมได้ และะเป็นระบบ Private Blockchain หมายความว่าผู้ที่สามารถยืนยันธุรกรรมของระบบได้มีเพียงธนาคารหรือหน่วยงานที่จำกัดไว้เท่านั้น ดังนั้นจึงมีคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจในการปิดบัญชีหรือผลิต XRP เพิ่มตามใจชอบได้
แต่อย่างไรก็ตาม XRP ถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า สกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency ตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความรวดเร็วและค่าธรรมเนียมที่แสนต่ำ
ตัวอย่าง การโอนย้าย XRP
มีการโอนย้าย XRP ในเดือนธันวาคม 2017 ธุรกรรมจำนวน 900 ล้าน XRP หากเทียบเป็นเงินไทยมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท แต่เสียค่าธรรมเนียมแค่ 0.000012 XRP หรือไม่ถึง 1 สตางค์ จึงทำให้ XRP เป็นสกุลเงินที่ธนาคารยักษ์ใหญ่ของไทยจับตามอง โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ของบริษัทแม่อย่าง Ripple Labs, Inc.
ภาพจาก ripple.com
XRP คืออะไร
โดยตัว XRP จัดเป็นสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency ประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับการใช้โอนเงิน
มีกรณีศึกษากรณีหนึ่งคือ มีการโอน XRP มูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาท แต่เสียค่าธรรมเนียมไม่ถึง 1 สตางค์
XRP เอาไปทำอะไร
XRP เหมาะสำหรับการใช้แทนเงินสด หากเมื่อก่อน การที่เราจะโอนเงินไปต่างประเทศ อาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากต้องผ่านตัวกลางถึง 2 ตัวกลางด้วยกัน
ตัวอย่าง
เราจะโอนเงินไป สวีเดน หลายคนอาจจะคิดว่าการทำงานจะเป็น การโอนเงินจากไทย ไปสวีเดน มีขั้นตอนแค่ 2 ขั้นตอนเท่านั้นคือ ไทย -> สวีเดน แต่ในความจริงแล้วจะเป็นแบบนี้ ไทย -> ตัวกลาง -> ตัวกลาง สวีเดน เมื่อมีการผ่านตัวกลางมากเท่าไหร่ ระยะเวลาก็ยิ่งใช้นานมากเท่านั้น และแค่นั้นไม่พอ ค่าธรรมเนียมก็จะสูงตาม แต่ XRP มาแทรกกลางตรงนี้ ไม่ต้องมีตัวกลางให้ตัวเชื่อมกันระหว่างธนาคารทั่วโลก มี XRP
การโอนเงินด้วยระบบ XRP
ก่อนหน้านี้เรานำเงินเข้าธนาคาร ธนาคารต่างๆ ก็จะต้องเอาเงินเข้าสู่ตัวกลาง ตัวกลางก็จะส่งเงินเราต่อไปเรื่อยๆ ทำให้ระยะเวลาในการโอนเงินแบบเดิมอาจจะต้องใช้เวลานานมากว่า 2 วัน เพราะมีการผ่านหลายระบบ แต่ถ้าธนาคารมี XRP ไว้อยู่แล้วล่ะ เมื่อเราโอนเงินไปสวีเดน เงินที่เราจะโอนไป ธนาคารไปเปลี่ยนเป็น XRP แล้วส่ง XRP ไปที่ธนาคารสวีเดน แล้วธนาคารสวีเดนก็จะเปลี่ยน XRP ให้เป็นสกุลเงินยูโร นี่จึงเป็นสาเหตุให้คนทั่วไปสนใจลงทุนใน XRP
หลายคนสงสัยว่า ทำไม XRP ถึงน่าลงทุนทั้งๆที่มีนี้คือ สกุลเงินไม่ใช่หรอ ในความจริงแล้วก็ใช่ แต่ไม่ทั้งหมด สกุลเงินที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้สามารถที่จะผลิตได้ตามใจรัฐบาล แต่ XRP ไม่สามารถสร้างใหม่ได้ มีจำนวนจำกัดและจะลดลงเรื่อยๆ หากมีการใช้ XRP ทุกครั้งที่เราเสียค่าธรรมเนียมจากการโอนย้าย XRP นั้นคือ XRP หายไปจากโลกใบนี้ ทำให้ปริมาณของ XRP ลดลงเรื่อยๆ ถ้าตลาดมีความต้องการ XRP มากขึ้น ก็มีโอกาสสูงที่ XRP จะมีราคาที่สูงขึ้นตามกลไกตลาด ความต้องการซื้อ ความต้องการขาย (Demand and Supply)
4 สิ่งที่คุณจะต้องรู้ก่อนลงทุน XRP
Address หรือ Wallet
เปรียบเสมือนกับบัญชีธนาคาร ประกอบด้วยตัวเลขและตัวหนังสือพิมพ์ พิมพ์ใหญ่ มีความยาว 21 ตัวอักษร เป็นเหมือนเลขบัญชีธนาคาร แต่เป็นบัญชีธนาคารที่ไม่สามารถแฮคได้และคุณจะมีกี่บัญชีก็ได้ หากเป็นเสกุลเงินปกติบัญชีนี้คุณจะต้องไปเปิดกับธนาคาร แต่สำหรับ Address หรือ Wallet หรือบัญชีฝากบิทคอยน์ออนไลน์นี้ คุณสามารถเปิดจากเว็บใดหรือแอพพลิเคชั่นใดก็ได้ที่มี Address หรือ Wallet แต่ถ้าหากให้แนะนำผมขอแนะนำเว็บซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิตอลของไทย Satang และ Bitkub ซึ่ง 2 เว็บนี้สามารถเปลี่ยนจากสกุลเงินบิทคอยท์เป็นสกุลเงินบาทได้อีกด้วย
รวมไปถึงโบรกเกอร์ Forex อย่าง exness และ FBS ก็มีสกุลเงินดิจิทัลอีกกด้วย
Block Chain
เปรียบเสมือนไฟล์ที่บันทึกการฝากถอนเงินของทุกๆคน เรื่องเทคโนโลยี Block Chain ถือเป็นเรื่องที่ยาวมาก ขออธิบายในบทความของ Block Chain โดยเฉพาะเลยนะครับ
เงินลงทุนซื้อ XRP มีชื่อ XRP ไม่ใช่ Ripple
คือเงินของคุณ หากคุณไม่มีเงินคุณก็จะไม่สามารถซื้อขายได้
Address หรือ Wallet
โบรกเกอร์ คือ ตัวกลางที่รับซื้อขาย XRP ซึ่งโบรกเกอร์ในไทยในปัจจุบันสามารถ ซื้อขาย XRP ได้อย่างถูกต้องและได้รับการคุ้มครองจาก กลต (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
จะหา XRP ได้จากที่ใด
การได้มาซึ่ง XRP คือการซื้อขาย ไม่สามารถขุดได้เหมือนหลายๆ สกุลเงิน
สกุลดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุด
อ้างอิง coinmarketcap.com
มุมมอง Bitcoin ของทีมงาน Uhas.com
ช่วงเวลา XRP
ตลาด Cryptocurrency เปิดทำกำไรตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดแม้แต่วันเดียวเนื่องจากตัวระบบออกแบบมาในรูปแบบ ไม่มีศูนย์กลาง ไม่มีที่ตั้งทุกอย่างเชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ตจึงทำให้ตลาด Cryptocurrency เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
การเริ่มต้น ซื้อขาย XRP
- ศึกษาและทำความเข้าใจตลาด Cryptocurrency และตัว XRP
- เลือกโบรกเกอร์ ที่ดี
- ซื้อขายบนโปรแกรมเทรด
- เริ่มเทรด ด้วยบัญชีเงินปลอม เมื่อเป็นกำไรค่อยเริ่มบัญชีเงินจริง
- วางแผนการจัดการเงินลงทุน (Money Management) ให้ดี
- เมื่อขาดทุนอย่ายอมแพ้ แล้วกลับมาสู้ใหม่ แต่ต้องมีการเรียนรู้จากความผิดพลาด
XRP มีความเสี่ยงอะไรบ้าง
1. XRP มีรายใหญ่ถือครองอยู่
บริษัท Ripple ถือยัง XRP มากกว่า 60% หากบริษัท Ripple เทขายก็อาจจะส่งผลให้ราคาร่วงมหาศาล
แต่นาย Brad Garlinghouse ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Ripple ออกมายืนยันว่าทาง Ripple ไม่สามารถควบคุมราคา XRP และนาย Brad Garlinghouse กล่าวว่าทางบริษัทไม่มีความต้องการที่จะขาย XRP ทิ้งโดยตรงเพื่อควบคุมราคา ต่างจาก Bitcoin ที่มีผู้ถือรายใหญ่คอยปั่น คอยทุบราคาอยู่เบื้องหลัง
2. มีคดีฟ้องร้องบริษัทแม่ที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ของ XRP
ก.ล.ต.สหรัฐฯ (Securities and Exchange Commission หรือ SEC) ได้ฟ้อง Ripple และผู้บริหาร 2 คนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 โดยอ้างว่า CEO หรือนาย Brad Garlinghouse และ Chris Larsen ผู้ร่วมก่อตั้งได้ระดมทุนมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์จากการขาย XRP โดยไม่ได้จดทะเบียนกับ ก.ล.ต. ซึ่ง XRP นั้นถือเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน (Unregistered securities) ซึ่งขัดกับกฎหมายสหรัฐ เพราะถือว่าไม่ให้ข้อมูลที่เพียงพอกับนักลงทุน ซึ่งการฟ้องร้องในครั้งนี้อาจจะส่งผลให้ราคาผันผวนอย่างมาก
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.blognone.com/node/120300