คุณกำลัง เสพติดการเทรด อยู่หรือเปล่า? เป็นเพราะอะไร? มาเช็คกันหน่อย!
เรื่องPatihanUhas
คุณกำลัง เสพติดการเทรด อยู่หรือเปล่า? เป็นเพราะอะไร? มาเช็คกันหน่อย! การเสพติดการเทรดก็ไม่ต่างจากการเสพติดแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสพติดเหล้า การเสพติดชอปปิ้ง การเสพติดบุหรี่ การเสพติดการพนัน และการเสพติดอื่นๆอีกมากมาย
คุณกำลัง เสพติดการเทรด อยู่หรือเปล่า? เป็นเพราะอะไร? มาเช็คกันหน่อย!
ในยุคสมัยปัจจุบัน Day trading ได้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสำหรับบุคคลทั่วไป เหมือนเป็นเทรนด์ที่หลายๆคนทำตามๆกัน นอกเหนือจากนั้น การเป็น Day trader มันยังได้สามารถสร้างรายได้ให้กับพวกเขาอีกด้วย การเข้าถึงก็ง่าย มีหลากหลายโบรกเกอร์ให้เลือกใช้บริการ ใช้งานก็ง่ายค่าธรรมเนียมก็ไม่ได้แพงมากเหมือนสมัยก่อน
เหตุการณ์ล็อกดาวน์จาก Covid-19 ทำให้ผู้คนโดยส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจในการเทรดมากขึ้น มีนักลงทุนหน้าใหม่หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินอย่างบ้าคลั่ง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและผู้เชี่ยวชาญด้านโรคการติดพนันบางคนมองว่า “การเป็น Day trading นั้นคล้ายกับการพนันมากกว่าการลงทุน” มันมีเส้นบางๆที่กั้นกันระหว่างการเป็นเดย์เทรดเดอร์จริงๆ กับ การทำตัวเป็นเดย์เทรดเดอร์ที่เหมือนกับการทำงานประจำ การจะเป็นเดย์เทรดเดอร์จริงๆอย่างเชี่ยวชาญนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆด้าน ทั้งประสบการณ์ สมาธิ เวลา พลังงานหรือจิตวิทยาในการเทรด
ทำไม Day trader ถึงเสพติดการเทรด
- การเทรดที่สร้างผลกำไร
- อารมณ์ในการเทรด
ในขณะที่เราเทรดด้วยอามรณ์ที่ตื่นเต้น ตอนนั้นสมองได้หลั่งสารเคมีทางประสาทเช่นโดปามีนและเซโรโทนิน ในการกระตุ้นสมอง และมันส่งผลให้เรารู้สึกดีหรือรู้สึกมีความสุขไปกับการเทรด หรือในช่วงที่เราสามารถทำกำไรได้ สารเหล่านี้ก็จะหลั่งออกมา เมื่อเวลาผ่านไป สมองจะอาศัยการกระตุ้นของสารเหล่านี้เพื่อสร้างความสุขให้กับเรา นั้นก็หมายความว่าจริงๆแล้วเราไม่ได้เสพติดการเทรดแต่เราเสพติด “อารมณ์” ในการเทรดมากกว่า
นอกเหนือจากที่กล่าวไป ยังมีอีก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยทางจิตวิทยาพันธุกรรม และปัจจัยทางสังคมสิ่งแวดล้อม ที่สามารถกระตุ้นให้เรามีอาการเสพติดการเทรด
ตัวอย่างเช่น
ปัญหาสุขภาพจิตที่แฝงอยู่ข้างใน เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล หรือประวัติการเล่นการเสพติดการพนันของคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เรามีความเสี่ยงต่อการเสพติดการเทรดมากขึ้น
ปัจจัยทางสังคม เช่น การทำงานในภาคการเงิน การมีเพื่อนหรือครอบครัวที่เป็นนักลงทุนในตลาดการเงินก็เป็นปัจจัยเช่นกัน
สรุปปัจจัย 3 ด้านที่ทำให้เรา เสพติดการเทรด
- สมอง
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อม
10 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง เสพติดการเทรด
1. คุณพบว่าตัวเองกำลังเพิ่มความเสี่ยงที่มากขึ้นโดยไม่มีกลยุทธ์ใดๆมารองรับ คุณเดิมพันด้วยเงินที่มากขึ้นเพียงเพราะว่าความตื่นเต้นหรือเป็นความพึงพอใจของคุณเอง
2. คุณพบว่าตัวเองกำลังหมกมุ่นอยู่กับการค้นคว้าหาข้อมูลในการซื้อขายหรือจ้องดูกราฟอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
3. คุณพบว่าตัวเองหมดความสนใจในกิจกรรมทางสังคมอื่นหรือแม้กระทั้งกิจกรรมยามว่างที่คุณเคยทำ คุณยอมที่จะแลกเวลาว่างเหล่านั้นมาให้ความสนใจกับการเทรดแทน
4. คุณพบว่าตัวเองกำลังเทรดด้วยอารมณ์ เช่นเทรดด้วยความโกรธ ความเครียด (กระตุ้นการหลังของสารอะดรีนาลีน) หรือเทรดแก้เบื่อ หรือเทรดเพื่อสร้างความพึงพอใจ
5. คุณพยายามที่จะลดกิจกรรมในการเทรดลง ไม่ว่าการเทรดให้น้อยลง หรือการหมกมุ่นให้น้อยลง แต่คุณก็ทำไม่ได้
6. คุณพบว่าตัวเองทำการเทรดด้วยความกดดัน หรือความปารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำกำไรในการเทรด
7. คุณพบว่าตัวเองมีความเครียด ความวิตกกังวล อารมณ์ไม่ดี ความหงุดหงิด หรืออาการทางจิตอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์และไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่ได้ทำการเทรด
8. คุณต้องคอยระแวงและโกหกคนที่คุณรักหรือครอบครัวของคุณเกี่ยวกับการที่คุณเทรด
9. คุณขโมยเงินคนอื่นมา กู้เงิน ขายทรัพย์สินอื่นๆ หรือใช้เงินที่ควรจะใช้จ่ายไปกับเรื่องสำคัญๆ มาลงทุนในการเทรดแทน
10. คุณยังคงดำเนินในการเทรดต่อไป แม้จะส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางการเงิน ความสัมพันธ์ สุขภาพร่างกายหรือจิตใจของคุณ
อย่างไรก็ตาม การเทรดที่ดีนั้นใช่ว่าเราจะต้องเทรดให้ได้กำไรเยอะๆ หรือเทรดตลอดเวลาไม่หยุดไม่หย่อน แต่การเทรดที่ดีคือ “การเทรดที่เราเห็นโอกาสที่ดีที่สุดขึ้นตรงหน้า”
Source
Author: