แนวรับแนวต้าน คืออะไร
แนวรับแนวต้าน คือเรื่องพื้นฐานในการวิเคราะห์กราฟราคาที่เทรดเดอร์ควรทำความเข้าใจก่อนเทรดเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นแนวรับแนวต้าน Forex หรือแนวรับแนวต้านหุ้น คือสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เนื่องจากการวิเคราะห์กราฟราคาหลายๆ กลยุทธ์ มักจะใช้แนวรับแนวต้านเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ราคาจาก Trend Line, วิเคราะห์กราฟคาจากแนวโน้ม และวิเคราะห์กราฟราคาจาก Divergence และอื่นๆอีกมากมาย แล้วจะมีวิธีหรือเครื่องมือหาแนวรับแนวต้านอะไรบ้าง
รวมไปถึงindicator หาแนวรับแนวต้าน เครื่องมือหาแนวรับแนวต้านหลายๆ ตัวที่ใช้หลัก แนวรับแนวต้านในการวิเคราะห์ เช่น Fibonacci, Moving Average และ Bollinger Bands แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักสิ่งเหล่านี้ เรามาทำความเข้าใจก่อนดีกว่าว่า “แนวรับแนวต้าน Forex” คืออะไร
แนวรับคือ
แนวรับ แนวต้าน (Support Resistance) หมายความหมายตรงตามชื่อเลย เป็นโซนที่ราคาไม่สามารถผ่านไปได้ ถ้าพูดถึงแนวรับ คือ ราคาไม่สามารถทะลุลงมาได้ ถ้าเป็นแนวต้าน คือ ราคาไม่สามารถทะลุ ขึ้นข้างบนได้ อ่านถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะยังสับสนมึน งง อยู่ ผมจึงอยากอธิบายเพิ่มเติมแบบละเอียดในแต่ละโซนว่าคืออะไร
แนวรับ คืออะไร
แนวรับ คือ จุดที่ราคามาถึงแล้วไม่สามารถทะลุลงมาได้ ตามตัวอย่างในภาพข้างล่าง
จากภาพโซนแนวรับ คือ โซนสีฟ้า เห็นได้ว่าเมื่อราคามีการลงมาถึงโซนสีฟ้า ราคาไม่สามารถทะลุลงมาได้ มีหลายครั้งที่ราคาพยายามลงมาแตะโซนสีฟ้า แต่ก็ไม่สามารถทะลุลงไปได้ ทำให้เราเรียกจุดนี้ว่า แนวรับที่แข็งแกร่ง โดยทั่วไปเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะพยามเข้า Buy เมื่อราคามันมาถึงแนวรับ โดยเฉพาะแนวรับที่แข็งแกร่ง และจะตั้ง Stop Loss เผื่อไว้หลังแนวรับไว้เป็นแผนสำรอง
ทำไมราคาถึงมีแนวรับเกิดขึ้น
มีการผลักดันจากนักลงทุนส่วนหนึ่งไม่ให้ราคาลงมาต่ำกว่านี้ เนื่องจากว่านักลงทุนอาจมองว่าตอนนี้ราคาก็ถูกมากแล้ว จึงทำให้มีแรงซื้อเข้ามาสู้ เมื่อแรงซื้อชนะแรงขาย จึงทำให้ราคาดีดตัวขึ้นไปได้
ตัวอย่างเช่น คุณซื้อที่ดินมาราคา 1 ล้านบาท ผ่านไป 1 ปี ที่ดินติดๆ กับที่ดินของคุณราคาเหลือ 5 แสนบาท ถ้ามองในมุมมองนักลงทุน คุณก็จะคิดว่า ตอนนี้ราคามันก็มันถูกจังเลยซื้อไว้ทำกำไรดีกว่า เพราะตรงนี้ทำเลก็ดีไม่น้อย นี่เป็นที่มาของแรงซื้อ เพราะมีนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่ามันถูกเกินไป จนอยากซื้อไว้ทำกำไรในอนาคต จึงทำให้มีแรงซื้อเข้ามาดันราคาไว้
ไม่ใช่ทุกแนวรับ ราคาจะผ่านไปไม่ได้
อย่างที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ว่า สาเหตุที่เกิดแนวรับเกิดขึ้นเนื่องจาก มีการผลักดันจากนักลงทุนส่วนหนึ่งไม่ให้ราคาลงมาต่ำกว่านี้ เนื่องจากว่านักลงทุนอาจมองว่า เมื่อแรงซื้อชนะแรงขาย จึงทำให้ราคาดีดตัวขึ้นไปได้ แต่ถ้าแรงซื้อไม่สามารถเอาชนะแรงขายได้ ราคาก็จะทะลุแนวรับในที่สุด ตามภาพข้างล่าง
โดยทั่วไปเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะพยาม Stop Loss ออเดอร์ Buy ก่อนหน้านี้ แล้วเปิดออเดอร์ Sell แทน เนื่องจากว่ามีแรงขายมากเกินไป จนราคาทะลุแนวรับลงมาได้ในที่สุด และอาจจะทำให้ราคากำลังจะเป็นแนวโน้มขาลง
แนวต้าน คืออะไร
แนวต้าน คือ จุดที่ราคามาถึงแล้วไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้ ตามตัวอย่างในภาพข้างล่าง
จากภาพโซนแนวต้าน คือ โซนสีฟ้า เห็นได้ว่าเมื่อราคามีการขึ้นไปถึงโซนสีฟ้า ราคาไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้ มีหลายครั้งที่ราคาพยายามขึ้นไปแตะโซนสีฟ้า แต่ก็ไม่สามารถทะลุขึ้นไปต่อได้ ทำให้เราเรียกจุดนี้ว่า แนวต้านที่แข็งแกร่ง
โดยทั่วไปเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะพยามเข้า Sell เมื่อราคามันมาถึงแนวต้าน โดยเฉพาะแนวต้านที่แข็งแกร่ง และจะตั้ง Stop Loss เผื่อไว้หลังแนวต้านไว้เป็นแผนสำรอง
ทำไมราคาถึงมีแนวต้านเกิดขึ้น
มีการผลักดันจากนักลงทุนส่วนหนึ่งไม่ให้ราคาขึ้นไปสูงกว่านี้ เนื่องจากว่านักลงทุนอาจมองว่าตอนนี้ราคาก็แพงมากแล้ว จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่มีการเทขายเมื่อราคาอยู่โซนแนวรับ เมื่อมีแรงขายชนะแรงซื้อ จึงทำให้ราคาตกลงมา
ตัวอย่างเช่น คุณซื้อที่ดินมาราคา 1 ล้านบาท ผ่านไป 1 ปี ที่ดินขึ้นเป็น 2 ล้านบาท ถ้ามองในมุมมองนักลงทุน คุณก็จะคิดว่า ตอนนี้ราคามันก็แพงขึ้นแล้วนะขายเอากำไรดีกว่า นี่เป็นที่มาของแรงขาย เพราะมีนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่ามันแพงเกินไป จนอยากขายทำกำไรแล้ว จึงทำให้มีแรงขายออกมาจำนวนมาก
ไม่ใช่ทุกแนวต้าน ราคาจะผ่านไปไม่ได้
อย่างที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ว่า สาเหตุที่เกิดแนวต้านเกิดขึ้นเนื่องจาก มีการผลักดันจากนักลงทุนส่วนหนึ่งไม่ให้ราคาขึ้นไปสูงกว่านี้ เนื่องจากว่านักลงทุนอาจมองว่าตอนนี้ราคาก็แพงมากแล้ว จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่มีการเทขายเมื่อราคาอยู่โซนแนวรับ เมื่อมีแรงขายชนะแรงซื้อ จึงทำให้ราคาตกลงมา แต่ถ้าแรงขายไม่สามารถเอาชนะแรงซื้อได้ ราคาก็จะทะลุแนวต้านขึ้นไปในที่สุด ตามภาพข้างล่าง
โดยทั่วไปเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะพยาม Stop Loss ออเดอร์ Sell ก่อนหน้านี้ แล้วเปิดออเดอร์ Buy แทน เนื่องจากว่ามีแรงซื้อมากเกินไป จนราคาทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ในที่สุด และอาจจะทำให้ราคากำลังจะเป็นแนวโน้มขาขึ้น
แนวรับแนวต้าน Forex สัมพันธ์กับการขึ้นลงของราคาอย่างไร
อยากให้ผู้อ่านลงจินตนาการถึงการขายของ ทำไมราคาถึงมีขึ้นและลง นั่นเป็นเพราะความต้องการของตลาด อยากให้คุณผู้อ่านลองนึกถึงราคาหน้ากากอนามัยในช่วงโควิดระบาดในช่วงแรก ที่ราคาขึ้นไปสูงมากกว่า 1 เท่าตัวจากราคาปกติ นั่นเป็นเพราะว่าปริมาณหน้ากากอนามัยที่มีขายในท้องตลาด มีปริมาณเท่าเดิมวิธีหาแนวรับแนวต้านง่าย ๆ แต่ใช้ได้จริง
บริเวณที่มีราคากลับมาเทส ตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
โดยมองไปที่จุดกลับตัวของราคา แล้วมองย้อนกลับไปว่า บริเวณนั้นเคยมีราคาเคยกลับตัวบริเวณนี้หรือไม่ ถ้ามีมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป สามารถตีเส้นแนวนอนไว้ได้เลย เพราะบริเวณนั้นเป็นแนวรับหรือแนวต้าน ที่มีราคากลับมาเทสบ่อยๆ นั่นเอง ถือว่าเป็นจุดที่มีผู้คนรอซื้อหรือขายอยู่นั่นเอง
จากภาพด้านล่าง เห็นได้ว่า ราคาได้ลงมาทดสอบแนวรับมากกว่า 2 ครั้ง ถึงจะเรียกจุดนั้นว่าเป็นแนวรับได้
แนวรับเปลี่ยนเป็นแนวต้าน แนวต้านเปลี่ยนเป็นแนวรับ
กรณีที่กราฟเป็นแนวโน้ม ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือลง นั่นก็คือกราฟจะต้องทำ Swing high หรือ Swing low และเมื่อกราฟย่อตัวกลับมา Swing high หรือ Swing low นั่นแหละที่จะทำหน้าที่เป็นแนวรับหรือแนวต้าน
ในแนวโน้มขาขึ้น Swing high ที่เคยเป็นแนวต้านก็จะกลายเป็นแนวรับ ในแนวโน้มขาลง swing low ที่เคยเป็นแนวรับก็จะกลายเป็นแนวต้าน เสมือนว่าบริเวณนั้นมีผู้คนรอซื้อหรือขาย บางคนผิดทางรอที่จะแก้ไม้อยู่นั่นเอง
จากภาพด้านล่าง เห็นได้ว่า ราคาทะลุแนวรับลงมา เส้นที่เคยเป็นแนวรับ กลายเป็นแนวต้านในทีสุด
แนวต้านจิตวิทยา
รายใหญ่ในตลาด ส่วนมากมักจะไม่ใช้การเทรด้วยมือ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ AI หรือระบบเทรดอัตโนมัติ ดังนั้นการที่จะตั้งโปรแกรมในการเข้าเทรด เพื่อให้ง่ายต่อการวางออเดอร์ล่วงหน้า การใส่เลขในระบบที่เป็นเลขกลม ๆ จึงเป็นเรื่องง่าย บริเวณราคาที่ลงท้ายด้วยเลขกลม ๆ อาจจะเป็นแนวรับแนวต้านทางจิตวิทยาได้ ตัวอย่าง EUR/USD 1.20500 21200 เป็นต้น
จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุด
เป็นจุดที่กราฟเคยกลับตัว และเป็นบริเวณที่ราคาไปถึงได้ยาก หรือนาน ๆ จะไปถึงสักครั้ง ก็นับว่าเป็นแนวรับแนวต้านได้เช่นกัน ผู้คนส่วนใหญ่จะเฝ้าระวังว่าจะผ่านจุดนั้นไปได้หรือไม่ หรืออาจจะมีรายใหญ่ที่เคยทำการซื้อหรือขายด้วยปริมาณเป็นมาก ๆ ทำการซื้อหรือขายอีกครั้งก็เป็นได้
การหา แนวรับ แนวต้าน Forex คือการหาจุดที่คิดว่าจะมีการซื้อหรือขายของผู้คนในตลาด เป็นหัวใจสำคัญของการเข้าเทรด เพราะการที่จะสามารถเก็งกำไรได้ ก็จะต้องเข้าไปยังทิศทางเดียวกับผู้คนส่วนใหญ่ในตลาด เพราะเงินทุนเพียงน้อยนิดของเทรดเดอร์รายย่อย จะไม่สามารถเปลี่ยนแนวโน้มของราคาได้เลย
แนวรับแนวต้าน Forex คือหัวใจสำคัญของการทำกำไร ถ้าหาแนวรับแนวต้านได้และใช้เป็น ก็สามารถทำกำไรได้แล้ว เพียงแต่จะต้องฝึกฝนในการหาให้ชำนาญ และเมื่อนั้นจะเข้าใจและคาดการณ์การเคลื่อนที่ของราคาได้ ไม่ว่าเทรดด้วยทฤษฎีไหนก็ต้องใช้ ทำไมไม่ฝึกการใช้แนวรับแนวต้านให้ชำนาญไปเลยล่ะ
ตัวอย่างอินดิเคเตอร์ที่ใช้ แนวรับแนวต้าน Forex ในการวิเคราะห์
ตามที่เกริ่นไปในช่วงต้นของบทความว่า มีอินดิเคเตอร์หลายๆ ตัวที่ใช้หลัก แนวรับแนวต้าน Forex ในการวิเคราะห์ เช่น Fibonacci Retracement, Moving Average และ Bollinger Bands1. Fibonacci Retracement
Fibonacci Retracement เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ยอดนิยมมากที่สุดในตลาด Forex ที่ใช้หลักการหาแนวรับแนวต้าน Forex ในการวิเคราะห์กราฟราคา จากภาพด้านล่างจะเห็นได้ชัดเจนว่า ราคาเมื่อย่อลงมาถึงเส้น Fibonacci Retracement ที่ 50.0 ตรงไฮไลท์สีน้ำเงิน ราคาก็จะมีการปรับตัวขึ้น ตรงนี้เราเรียกว่าแนวรับนั่นเองจากภาพข้างบนเห็นได้ชัดเจนว่า ราคาเมื่อย่อลงมาถึงเส้น Fibonacci Retracement ที่ 50.0 ตรงไฮไลท์สีน้ำเงิน ราคาก็จะมีการปรับตัวขึ้น ตรงนี้เราเรียกว่าแนวรับนั่นเอง
จากภาพด้านบน เห็นได้ว่า การวิเคราะห์กราฟราคาด้วย Fibonacci Retracement จะใช้หาแนวรับแนวต้าน เพื่อดูราคาเป้าหมายในการหาจุดซื้อ
2. Moving Average
Moving Average เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาด Forex แต่มีเทรดเดอร์หลายคนนิยมใช้เส้น Moving Average ตัดกันแล้วทำการเข้าซื้อ แต่ก็มีเทรดเดอร์หลายคนนิยมใช้ Moving Average ค่าเฉลี่ยสูงๆ เพื่อหาราคา แนวรับแนวต้าน Forex
3. Bollinger Bands
Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์กราฟราคาจากแนวรับแนวต้าน Forex จากเส้น Bollinger Bands ที่ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น โดยเส้นบนสุด จะใช้เป็นแนวต้าน และเส้นล่างสุดจะเป็นแนวรับ ส่วนเส้นกลางจะเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้าน ตามภาพข้างล่าง
Author: